สวจ. จัดงานเสวนาถอดรหัสมิจฉาชีพออนไลน์ : รู้เท่าทันก่อนตกเป็นเหยื่อเรื่องที่ทุกคนควรรู้


ถอดรหัสมิจฉาชีพออนไลน์ รู้เท่าทันก่อนตกเป็นเหยื่อเรื่องที่ทุกคนควรรู้ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ทั้งในระดับบุคคล องค์กร และประเทศชาติ ฟังเสวนาจากผู้รู้และมีประสบการณ์ตรง ทั้งภาครัฐ เอกชน และวิชาการ รู้เท่าทันก่อนตกเป็นเหยื่อเรื่องที่ทุกคนควรรู้ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ทั้งในระดับบุคคล องค์กร และประเทศชาติ

นำโดย

  • ดร.เวทางค์ พ่วงทรัพย์ วศ.2529 รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  • อ.ปริญญา หอมเอนก วศ.2529 ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.)
  • คุณถิรพันธุ์ สรรพกิจ วศ.2532 & CP16 รองผู้จัดการ, หัวหน้าสายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
  • รศ.ดร.เกริก ภิรมย์โสภา วศ.2538 & CP22 อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • ดำเนินรายการโดย ดร.สุรพันธ์ เมฆนาวิน วศ.2526 & CP10 อุปนายกสมาคมศิษย์เก่าคอมพิวเตอร์จุฬาฯ อดีตกรรมการ บมจ.กสท โทรคมนาคม และ บมจ. ทีโอที

พบกันวันเสาร์ที่ 14 กันยายน 2567 เวลา 14.00 – 16.00 น. ณ ประชุมชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม (ตึก 4)

ลงทะเบียน https://alumni.intania.com/event/CyberSecurity-14Sep ที่นั่งมีจำนวนจำกัด

หมายเหตุ: เนื่องจากวันดังกล่าวมีงานซ้อมรับปริญญาของบางคณะ แนะนำให้เดินทางด้วยรถสาธารณะหรือหากนำรถมาโปรดจอดที่อาคารจอดรถคณะอักษรศาสตร์หรือคณะรัฐศาสตร์ ค่าจอดตามอัตราที่กำหนดปกติ

การถอดรหัสมิจฉาชีพออนไลน์หมายถึงการเข้าใจและระบุลักษณะต่างๆ ที่มิจฉาชีพใช้ในการหลอกลวงหรือโกงผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท เช่น Phishing (ฟิชชิง): มิจฉาชีพจะส่งอีเมลหรือข้อความที่ดูเหมือนว่ามาจากบริษัทหรือหน่วยงานที่เชื่อถือได้ เช่น ธนาคาร หรือเว็บไซต์ชื่อดัง โดยจะขอข้อมูลส่วนตัว เช่น รหัสผ่าน หรือข้อมูลบัตรเครดิต เมื่อผู้เสียหายกรอกข้อมูล มิจฉาชีพจะนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ไม่ดี Scam (สแกม): มิจฉาชีพจะหลอกให้ผู้คนส่งเงินหรือทรัพย์สินไปให้ โดยอาจจะแสร้งทำเป็นเพื่อนหรือญาติ หรืออาจใช้การเสนอขายสินค้าหรือบริการที่ไม่เป็นจริง Ransomware (แรนซัมแวร์): มิจฉาชีพจะปล่อยซอฟต์แวร์ที่เข้ารหัสข้อมูลในคอมพิวเตอร์ของเหยื่อ ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้ จากนั้นจะเรียกร้องค่าไถ่เพื่อปลดล็อกข้อมูล Identity Theft (การขโมยตัวตน): มิจฉาชีพจะใช้ข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อ เช่น หมายเลขบัตรประชาชน หรือหมายเลขบัตรเครดิต เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินหรือสมัครสินเชื่อในชื่อของเหยื่อ Investment Fraud (การหลอกลวงการลงทุน): มิจฉาชีพจะหลอกให้ผู้เสียหายลงทุนในโครงการที่ไม่เป็นจริง หรือให้ซื้อขายสินทรัพย์ที่ไม่มีมูลค่า

เพราะฉะนั้นการป้องกันตัวเองจากมิจฉาชีพออนไลน์คือการรู้จักกับลักษณะของการหลอกลวงเหล่านี้ และไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวหรือการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านทางออนไลน์หากไม่แน่ใจในความปลอดภัยของเว็บไซต์หรือแหล่งที่มา ทั้งนี้หากต้องการรับฟังรายละเอียดจากผู้เชี่ยวชาญที่จะมาให้ความรู้ในการระมัดระวังพวกมิจฉาชีพ อย่าลืมรีบลงทะเบียน เพราะที่นั่งมีจำกัด แล้วพบกันนะครับ/ค่ะ

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save