วิศวฯ จุฬาฯ ร่วมกับ กัลฟ์ และสถานีวิทยุ จุฬาฯ จัดการแข่งขันการสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วน (Hackathon) และนำเสนอผลงานรอบชิงชนะเลิศ (Pitching) ภายใต้โครงการ Green Mission by Chula x GULF


คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (กัลฟ์) และสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สถานีวิทยุแห่งจุฬาฯ) ภายใต้กำกับดูแลของ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ BOOTCAMP และประกวดแนวคิดเพื่อแข่งขันการสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วน (Hackathon) โครงการ Green Mission by Chula x GULF ภารกิจรักษ์ยั่งยืน โดยปีนี้จัดในหัวข้อ “Beware Your Step ก้าวต่อไปไร้รอยเท้า”

วันที่ 22-25 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ณ ห้องประชุม 201 อาคารสระบุรี 4 ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จ.สระบุรี โดยได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.อมร เพชรสม ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร และผู้อำนวยการสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณญาณิศา วัฒนคำนวณ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวต้อนรับและสรุปผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ และเป็นประธานในพิธีมอบโล่รางวัล พร้อมทั้งให้โอวาทแก่น้อง ๆ นักเรียน และคณาจารย์ที่ปรึกษาที่เข้าร่วมโครงการ

รองศาสตราจารย์ ดร.อมร เพชรสม ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร และผู้อำนวยการสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวแสดงความยินดีกับนักเรียนและคณาจารย์ที่ปรึกษาทุกทีมที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการจากทุกภูมิภาคของประเทศทั้ง 20 ทีม ตลอดระยะเวลา 4 วัน ซึ่งเป็นประสบการณ์นอกห้องเรียนที่มีโอกาสได้รับความรู้จากกิจกรรมต่าง ๆ รวมแข่งขันการสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วน (Hackathon) 24 ชั่วโมง รวมทั้งกล่าวขอบคุณ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด มหาชน ที่ให้การสนับสนุนโครงการ ส่งผลให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์อย่างดียิ่ง ตามเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้เยาวชนได้ตระหนักในเรื่องของสิ่งแวดล้อม สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจริงในโรงเรียน ท้องถิ่นของตนเอง จะส่งผลสู่สังคมที่ยั่งยืนในอนาคต

โดยตลอด 4 วัน 3 คืนที่ผ่านมามีการจัดกิจกรรมประกอบไปด้วย การอบรมเชิงปฎิบัติการ BOOTCAMP ซึ่งมีกิจกรรมที่น่าสนใจต่าง ๆ เพื่อเป็นการฝึกทักษะและเตรียมความพร้อมให้กับน้อง ๆ ก่อนเริ่มการแข่งขันการสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วน (Hackathon) 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมการตามร้อยเท้าพลังงาน ณ โรงไฟฟ้าอุทัย เพื่อเรียนรู้พื้นฐานของโรงงานผลิตไฟฟ้า กิจกรรมการ Brainstorm เรื่อง Carbon Footprint และ Climate Change เพื่อฝึกการทำสื่อการสอน กิจกรรมการฝึกทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ (Critical Thinking) ผ่านการโต้วาทีในหัวข้อด้านสิ่งแวดล้อม กิจกรรมฐานการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งหมด 5 ฐาน โดยในแต่ละฐานจะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ที่หลากหลาย เช่น การคำนวณ Carbon footprint การสืบค้นและจับใจความสำคัญของข้อมูล เป็นต้น กิจกรรม The Magic of Mind set ที่จะช่วยให้เกิดแนวทางวางแผนชีวิตและการเรียน สำหรับการแข่งขันการสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วน (Hackathon) ภายใต้หัวข้อ “การพัฒนาชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนและเป็นกลางทางคาร์บอน” ทั้งนี้จากการคัดเลือกผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ จำนวนกว่า 670 ทีมจากโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย มีเพียง 20 ทีมเท่านั้นที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก และได้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ BOOTCAMP และการแข่งขันการสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วน (Hackathon) ซึ่งมีนักเรียน 8 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบ final pitching และทำการนำเสนอโครงการนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของตนเองและตอบคำถามจากคณะกรรมการรวมเป็นเวลา 10 นาที โดยผลการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศมีรายละเอียด ดังนี้

  • รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล ได้แก่ ทีมยอดมนุษย์เรอแมน จากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 2 ได้รับเงินรางวัล 40,000 บาท พร้อมโล่รางวัล ซึ่งได้นำเสนอนวัตกรรม “อาหารกุ้ง C ต่ำ (Low Carbon Shrimp Feed)” สมาชิกในทีมประกอบด้วย นายพิสุทธิ ตระกูลไชยพฤกษ์ นางสาวณัฏธิดา ขุมเงิน และนางสาวสุวพิชชา สุสานนท์ โดยมีครูพงศธร ปัญญนุกิจ เป็นครูที่ปรึกษา- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 รางวัล ได้แก่ ทีม Albedonara จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมโล่รางวัล ซึ่งได้นำเสนอนวัตกรรม “การพัฒนาการท่องเที่ยงเชิงอนุรักษ์” สมาชิกในทีมประกอบด้วย นายกฤษณพงษ์ กอบกิจ นางสาววนัชพร สุทธิพิริยะหทัย และนางสาวมิน สรณาคมน์ โดยมีครูปวรปรัชญ์ อิ่มละมัย เป็นครูที่ปรึกษา
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 1 รางวัล ได้แก่ ทีมมหันตภัยวายร้ายแห่ง SMA จากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จ.สงขลา ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่รางวัล ซึ่งได้นำเสนอนวัตกรรม “เก้าเส้งโมเดล” สมาชิกในทีมประกอบด้วย นายธนาพัจน์ ทองศรีเมือง นายคณพศ สนิทมัจโร นายณัฐวรัชญ์ บุญศรี ที่ปรึกษา โดยมี นายสมศักดิ์ คงสกุล เป็นครูที่ปรึกษา
  • รางวัลชมเชย จำนวน 5 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท ได้แก่ ทีม GREEN HORIZON จากโรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย ได้นำเสนอนวัตกรรม “โคโคชาร์ (CoCo Char)” สมาชิกในทีมประกอบด้วย นางสาวไพลิน บรรเทาทุกข์ นางสาวพศิกา ทิวเกษม และนายวชิรวิทย์ อันทอง โดยมีครูบัณฑิต หล้าเพชร เป็นครูที่ปรึกษา ทีมสามัคคีคืออะไร จากโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จ.ยะลา ได้นำเสนอนวัตกรรม “YALA DURIAN PEAL APPLICATION” สมาชิกในทีมประกอบด้วย นายปฐวี จงกลพืช นางสาวอรชัญญา เรืองยศ และนางสาวสิริกร นลินเบญจพรรณ โดยมีครูยศธร กานต์ชนาพงศ์ เป็นครูที่ปรึกษา ทีมสี่ยอดกุมารหาญกล้า จากโรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา นำเสนอนวัตกรรม “การลด CO2 และน้ำเสียในอุตสาหกรรมการฟอกหนังวัว” สมาชิกในทีมประกอบด้วย นางสาวธมลวรรณ เอี่ยมมีชัย นางสาวสริตา วงค์มะณีฉาย และนางสาวปัณณธร หันพะเนิน โดยมีครูศุภวิชญ์ วรวุฒิ เป็นครูที่ปรึกษา ทีม We are bears แต่ไม่กินแซนวิชแฮมชีส จากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ได้นำเสนอนวัตกรรม “Energy Manager Model” สมาชิกในทีมประกอบด้วย นายอชิตะ อินทกรอุดม นายชนาวิทชญ์ กรอบบาง และนายพงศ์ธนา เขมะพันธุ์มนัส โดยมีครูสุพัตรา อินทรีจ่าง เป็นครูที่ปรึกษา และทีม It’s WeSanity plus1 จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร นำเสนอนวัตกรรม “จากสายลับ CIA สู่ผู้ก่อตั้งสหกรณ์โคขุนโพนยางคำ” สมาชิกในทีมประกอบด้วยนายปฏิพล เจริญผล นายกรวิชญ์ พรมวัง และนายพอเพียง ศรีพันธ์ โดยมีครูนพล สระแก้ว เป็นครูที่ปรึกษา
  • นอกจากนี้ยังมี รางวัล Popular Vote by Gulf : เงินรางวัล 10,000 บาท จำนวน 1 รางวัล ที่นักเรียนแต่ละทีม จะส่งผลงาน 2 ชิ้นงาน คือคลิปวีดีโอ สั้น 45 วินาที และภาพ Info โปรเจกต์ 1920 x 1080 โดยมีเนื้อหา คือ แนะนำทีม เล่าความประทับใจ โปรเจคที่ทำใน Hackathon ส่งผลงานภายในวันที่ 27 ตุลาคม 67 จากนั้นจะนำผลงานขึ้น facebook Gulf Spark แล้วเปิดให้โหวต วันที่ 28 ตุลาคม – 8 พฤศจิกายน 67 เวลา 16.00 น ใครมียอด Engagement Like /share/comment มากที่สุดคือผู้ที่ได้รับรางวัล จะประกาศวันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 เพจ Facebook Gulf SPARK

ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวสรุปถึงวัตถุประสงค์และผลการดำเนินงานของโครงการ Green Mission by Chula x GULF ภารกิจรักษ์ยั่งยืนโดยเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กัลฟ์ และสถานีวิทยุแห่งจุฬาฯ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้เยาวชนได้นำความคิดสร้างสรรค์มาผสานกับวิทยาการและความรู้เพื่อร่วมกันสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน เพื่อสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจให้กับเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการฯ เกี่ยวกับสภาพปัญหา ผลกระทบ และแนวทางการจัดการก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืน ปลูกฝังและส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เกิดการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนในระยะยาว โดยคาดหวังว่าผู้เข้าร่วมโครงการจากทุกภูมิภาคของประเทศไทย นำความรู้ความสามารถไปต่อยอด และประยุกต์ใช้จริงในท้องถิ่นของตนเองได้ รวมทั้งในอนาคตคาดหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนและการตอบรับที่ดีเช่นเดียวกับโครงการในครั้งนี้

คุณญาณิศา วัฒนคำนวณ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง ความร่วมมือครั้งนี้ว่า บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) รู้สึกยินดีที่ได้ร่วมทำโครงการ Green Mission by Chula x GULF งานนี้ไม่เพียงแต่เป็นการปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชนไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นการเปิดโอกาสให้พวกเขาได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์อนาคตที่ยั่งยืนอีกด้วย กัลฟ์เชื่อมั่นในศักยภาพของเยาวชนไทย ที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนสังคมสู่ความยั่งยืน โครงการนี้จะเป็นเวทีให้พวกเขาได้คิดนอกกรอบ แสดงออกถึงศักยภาพอย่างเต็มที่ ได้เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญทีมวิศวะ จุฬาฯ การได้ทำงานร่วมกับเพื่อนที่มีความคิดสร้างสรรค์เหมือนกัน เพื่อต่อยอดไอเดียใหม่ ๆ ได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการแก้ไขปัญหาในโลกยุคใหม่ เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ส่งผลกระทบต่อทุกคน หวังว่าแนวคิดนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างสิ่งใหม่ ๆ นำไปประยุกต์ใช้ได้จริงต่อไป โครงการนี้ยังสอดคล้องกับพันธกิจของกัลฟ์ในการมุ่งลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามเป้าหมายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมเยาวชนคนรุ่นให้ให้มีใจรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไป


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save