บทสัมภาษณ์พิเศษในครั้งนี้จะมาถอดบทความของ รศ. ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดี คนใหม่ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่พึ่งได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ในโอกาสนี้กองบรรณาธิการวารสารอินทาเนียต้องขอแสดงความยินดีด้วยเป็นอย่างยิ่ง
รศ. ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนหน้านี้เคยรับตำแหน่งผู้อำนวยการหลักสูตร INTERNATIONAL SCHOOL OF ENGINEERING (ISE) และเคยรับตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
อนาคตของคณะวิศวฯ จุฬาฯ จะก้าวสู่ความเป็นนานาชาติให้มากขึ้น
หลักสูตรนานาชาติสร้าง Character ของบัณฑิตที่ออกไปค่อนข้างมีเอกลักษณ์ เห็นได้ว่าการเติบโตของนิสิตนานาชาติไปได้ไกลและหลากหลายมากขึ้น ในบริบทของการเติบโตในด้านความเป็นนานาชาติของคณะวิศวฯ มี Factor อยู่ 2-3 ประการที่คิดว่าจำเป็น ซึ่งได้นำ Key Success ที่เคยทำงานในหลักสูตร ISE เข้ามาปรับใช้ สิ่งแรกที่เราทำจากภายในคือ
- Engineering Internation of Environment ที่ดีช่วยเสริมคณะในเรื่อง Activity, Exchange, Internship ที่มีทั้งต่างชาติและนิสิตของคณะวิศวฯ ได้ออกไป Exchange ข้างนอก รวมถึงกิจกรรมของนิสิตในด้านต่าง ๆ และเพิ่ม International Visibility เป็นเรื่องที่สำคัญเมื่อมีความเป็นนานาชาติอยู่ในแต่ละภาคอยู่แล้ว เพียงแต่จะมาจัดองคาพยพและจัดรูปแบบให้เหมาะสมและ Access ได้ง่าย นี่คือในส่วนของ Communication ต่าง ๆ
- Growth Engine หลักสูตร ISE จะเน้นในเรื่องของ Undergraduate ซึ่งคณะอยากจะขยายความสำเร็จในส่วนนี้ไปในระดับของ Graduate ด้วย การตั้ง International Graduate School ในคณะ ซึ่งภาควิชาทั้ง 12 ภาควิชา มีความเป็นเลิศในเรื่องของบัณฑิตศึกษาอยู่แล้ว และแต่ละภาควิชามีนิสิตนานาชาติอยู่แล้ว แล้วคณะจะทำตรงนี้ให้แข็งแรงขึ้นได้อย่างไร ดูแลตรงนี้ให้ดีมากกว่าเดิม
นอกจากนี้คณะยังมีหลักสูตรใหม่ ๆ ที่ตรงความต้องการทั้งในประเทศและนานาชาติด้วย เช่น หลักสูตร Semiconductor ได้ผ่านกรรมการของคณะแล้ว ปัจจุบันมีความต้องการบัณฑิตมากขึ้นและบัณฑิตที่จะจบในหลักสูตรนี้ควรจะมี Skill ในเรื่องของ Global Skill และ Global Spirit อยากขยายขอบเขตของคณะไปในทิศทางนี้มากขึ้น ในเรื่องของปริญญาโท ได้มีการทำงานกับหลาย ๆ ประเทศเช่นเดียวกัน ในเรื่องของโปรแกรมที่มีเด็กต่างชาติเข้ามาเรียนปริญญาโทและปริญญาเอกกับคณะมากขึ้น ในช่วงที่อยู่หลักสูตร ISE จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยที่นิสิตต่างชาติสนใจเข้ามาเรียนและเข้ามาหาประสบการณ์อย่างน้อย 1 เทอม หรือ 1 ปี เราจะขยายนิสิตที่ต้องการเข้ามาแลกเปลี่ยนให้อยู่ในระดับปริญญาโทมากขึ้น ได้ทำ MOU กับหลาย ๆ ประเทศให้มีนิสิตต่างชาติเข้ามาเรียนปริญญาโท Double Degree เป็นอีกส่วนหนึ่งที่พยายามขยายความเป็น International สร้างการเติบโตในคณะวิศวฯ จุฬาฯ
“เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะตอนนี้คณะไม่ได้ Carry เรื่องการสร้างบัณฑิต แต่มองในเรื่องของการสร้างบุคลากร วิศวกร ที่มีความสามารถในการทำงานให้แก่ประเทศไทยและต่างประเทศได้ เพิ่มสาขาวิชาหรือภาควิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับนานาชาติมากขึ้น”
ส่วนสำคัญที่สุดคือ ภาควิชา เรื่องของงานวิจัยและห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ของแต่ละภาควิชา มองกลไกเป็นหลัก มี Growth Engine ตัวหนึ่งที่อยากสร้างให้แก่คณะคือ เรื่องของการทำ Forefront Research Innovation Center ทำศูนย์วิจัยที่รวบรวมงานวิจัยระดับชี้นำสังคม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยการสร้าง Platform ขึ้นมา ทำให้แต่ละที่สามารถเข้ามาใน Platform สร้างหน่วยงานวิจัยและวิจัยได้
ปัจจุบันงานวิจัยเปลี่ยนไปมาก ส่วนน้อยที่จะพบคนที่ทำงานสาขาเดียว สาขาใหญ่ ๆ เพราะฉะนั้นการสร้าง Platform เพื่อสนับสนุนการทำงาน การเติบโต ทั้งในประเทศและนักวิจัยต่างประเทศจะเป็น Magnet อันหนึ่งที่เราจะดึง Talent ทั้งใน Local และ Global ด้วย และเอื้อกับ International School ที่เราจะตั้งขึ้นมาทั้งในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
วิกฤตของสถาบันอุดมศึกษา
วิกฤติสถาบันอุดมศึกษาในขณะนี้ คือ งบประมาณที่ลดลง จำนวนนักศึกษาแรกเข้าลดลง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีรวดเร็วฉับพลันมาก
ต้องยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริงและเข้าใจความเป็นธรรมชาติ เราอยู่ในโลกที่อัตราการเกิดไม่สูง และในประเทศไทยนักเรียนที่จะเข้ามาสู่ระดับอุดมศึกษามีจำนวนลดลงตามลำดับ จากที่ศึกษา ปริมาณไม่ได้ลดลงอย่างเดียว แต่ความต้องการของเด็กที่จะเข้ามาสู่ระดับอุดมศึกษามีการเปลี่ยนไปด้วย เปลี่ยนไปตามความต้องการของโลกและอุตสาหกรรมรวมทั้งสังคม
ในสังคมต้องการคนที่สามารถเข้าไปตอบโจทย์โซลูชันและมักต้องมี Skill ที่หลากหลาย ถ้าพูดถึงการปรับปรุงภายในคณะพยายามจะสร้าง Trend ใหม่ ๆ ของหลักสูตรที่นิสิตมีความเชี่ยวชาญไม่ใช่สาขาเดียว ทุก ๆ สาขา Encourage ให้แต่ละ Department แต่ละภาควิชามีการเปิด Minor ขึ้น นอกจากนิสิตจะมีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เรียนแล้ว ยังสามารถสร้างความเชี่ยวชาญในสาขาอื่น ๆ ได้ เช่น อยู่ในภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลสามารถเข้าไปเชี่ยวชาญในด้าน AI Computer ได้ ตรงนี้จะตอบโจทย์ความต้องการของนิสิตที่ต้องการเข้ามาเรียนและมี Skill ที่เพิ่มเติม ซึ่งคณะจะปรับปรุงภายในให้มีเรื่องเหล่านี้เพิ่มขึ้น ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินงาน
เด็กเข้ามาในหลักสูตรเริ่มมีจำนวนลดลงเรื่อย ๆ ทั้งมหาวิทยาลัยในไทยและต่างประเทศ สิ่งที่คณะมองคือ ไม่ใช่เพียงภาพรวม 4 ปี ในการสร้างบัณฑิต แต่มองตั้งแต่เรื่องที่เด็กเรียนจบจากชั้นมัธยมเข้ามาศึกษาในสถาบันจนจบการศึกษา พบว่ารูปแบบการเรียนเปลี่ยนไป ปกติจะอยู่ในรูปแบบที่นิสิตมาเรียนกับคณะจบการศึกษาไปก็จะประกอบอาชีพที่ตนเรียนมา ตอนนี้ Disrupt หมด คือเริ่มจากที่เด็กเข้ามาเรียนจนจบการศึกษาจากเรา 4 ปี จบแล้วเขาต้องมีการพัฒนาตัวเองขึ้นไปอีก เพื่อ Success Sustain ในเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ เป็น Circular Learning เพราะฉะนั้นในฐานะที่สร้าง Talent ให้แก่ประเทศไทย ต้องมอง ถ้าสำเร็จได้จะขยายการศึกษาในลักษณะ Lifelong Learning มากขึ้น
เมื่อดูแลนิสิตที่จบการศึกษาแล้ว แต่มองในเรื่องของการขยาย Success ในอนาคตเรื่องของการประกอบอาชีพของเขาได้อย่างไร โดยที่จะมี Platform Lifelong Learning สร้าง Skill ต่าง ๆ จะมีการเชิญนิสิตเก่าและ Expert ต่าง ๆ เข้ามาช่วยสอน Skill ที่จำเป็นจะเป็น Lifelong Learning Platform ที่ขยายขอบเขตจาก 4 ปี เป็นแบบ Life Time เพราะฉะนั้นเป้าหมายของคณะนอกจากจะมีนิสิตในหลักสูตร เครือข่ายนิสิตเก่าที่จบไปแล้ว ยังเป็นนักเรียนในหลักสูตร Lifelong ของคณะและยังเป็นครูกลับมาสอนนิสิตเก่าของคณะด้วย นี่คือ Platform ที่คิดและคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อตัวอุตสาหกรรม
รวมไปถึงเรื่องที่จำเป็นต่อประเทศ จำเป็นต่ออุตสาหกรรมและสังคมโลก เริ่มสร้างสิ่งที่เรียกว่า Sandbox เป็นหลักสูตรที่คณะพยายามสร้างให้ตรงความต้องการของอุตสาหกรรม สามารถเข้ามาเรียนตรง Target ว่าเป็นอย่างไร เป็นส่วนหนึ่งที่คณะคิดว่าจะสร้างอีกรูปแบบหนึ่งของการศึกษาเพื่อให้ตอบรับกับปัจจุบันให้มากขึ้น
ในขณะเดียวกันได้เปิดอีก Platform ที่ชื่อว่า IES เป็น Platform ของ Lifelong Learning ในระดับปริญญาโท Sustainability Engineering เป็นทั้งระดับ Lifelong Learning และปริญญาโท นิสิตสามารถเลือกเรียนเพิ่มเติมในขณะที่เรียนอยู่ในระดับปริญญาตรี เก็บหน่วยกิตจนกระทั่งครบ Module และขอปริญญาโทตอนทำ Thesis จบการศึกษาได้ หลักสูตรของ ISE ได้มีการปรับเปลี่ยนไปเรียบร้อยแล้ว จบปี 4 และทำงานวิจัยอีก 1 ปี รับปริญญาโทในหลักสูตรต่อเนื่องของคณะได้อีกหลักสูตรหนึ่ง
ปัจจุบันคณะรับนิสิตต่างชาติเข้ามาศึกษาประมาณ 7-10% สำหรับ Full Time และนิสิตแลกเปลี่ยนประมาณ 70-100 คน จากฝรั่งเศส สวีเดน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน เป็นสิ่งที่คณะฯ สร้าง International Environment ให้ค่อนข้างสูง เขามีความไว้ใจคณะ เชื่อในมาตรฐานการศึกษาและมั่นใจนิสิต
นิสิตเองไม่ได้ต้องการเพียงความเข้มข้นทางวิชาการ แต่ยังต้องการในเรื่องของ Life ที่ดี คณะมีกิจกรรมหลายหลากที่นิสิตเข้ามาแล้วรู้สึกว่าเป็นบ้านหลังที่ 2
คณะวิศวฯ จุฬาฯ มีคณาจารย์จากต่างประเทศมาสอนและมอบความรู้ให้แก่นิสิต อีกทั้งยังเปิดรับสมัครและคัดเลือก ทั้งก่อนสอบ การสอน ดูโปรไฟล์ และประเมินการสอนอย่างเข้มข้นว่าเป็นอย่างไร เพราะคณะอยากให้อาจารย์ที่จะมาสอนเป็นหลักให้แก่นิสิต นอกจากการเรียนยังมีในเรื่องของ Lifestyle ด้วย เพราะความเป็น Environment International ไม่ใช่เพียงเรื่องการเรียนแต่ยังเป็นเรื่องของความรู้สึก และ Royalty เพราะเมื่อคณาจารย์กลับไปประเทศ เปรียบเสมือนเป็น Ambassador ของคณะ สามารถที่จะอธิบายในเรื่องของคลาสเรียน ความเป็นอยู่ ที่คระไปเผยแพร่ ถือว่าประสบความสำเร็จในเรื่องนี้พอสมควร มุ่งหวังว่าจะสร้าง Connection ไม่ใช่เฉพาะวิศวฯ จุฬาฯ มองเราว่าช่วยสร้าง Connection ให้แก่ประเทศของเราด้วย
โครงการ ChAMP
คณะวิศวฯ จุฬาฯ มี Motto อยู่อันหนึ่ง สิ่งสำคัญสูงสุด คือ People นอกจากจะมีคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ อีกกลุ่มคือนิสิต คือสิ่งที่มี Asset สูงสุด ไม่ใช่เฉพาะในจุฬาฯ เท่านั้น แต่เป็นระดับประเทศ และวันที่จบเป็นบัณฑิตยังเป็นนิสิตเก่าของคณะฯ เพราะฉะนั้นบัณฑิตคือ นิสิตเก่า ทั้งหมดคือ Asset ของประเทศเรา
ต้องเรียนว่าคณะวิศวฯ จุฬาฯ มีนิสิตเก่าที่ประสบความสำเร็จทั้งในประเทศและต่างประเทศ คณะพยายามจะ Integrate เข้ามาบริหารกับคณะพอสมควรและคณะมองว่านิสิตเก่าสามารถเข้ามาช่วยเหลือคณะวิศวฯ จุฬาฯ ได้อีกมากมาย เช่น คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อยอดขยายโครงการ ChAMP (Chulalongkorn Alumni Mentorship Program) นำเมนเทอร์ (Mentor) รุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในอาชีพการงานมาให้คำแนะนำแก่เมนที (Mentee) รุ่นน้องนิสิตปริญญาตรี คณะได้ดำเนินโครงการนี้เข้าปีที่ 6 เป็นโครงการที่นิสิตเก่าวิศวฯ เข้ามาช่วยดูแลนิสิตรุ่นน้องว่าอนาคตเป็นอย่างไร ทั้งเป้าหมายการเรียนและการใช้ชีวิตหลังจบการศึกษาจะทำอย่างไร เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ๆ จึงขยายเป้าหมายตรงนี้เข้ามาในคณะ
โครงการนี้เป็นการ Career Development Center ที่จะสามารถสร้างสิ่งดี ๆ ให้แก่คณะ และยังเป็นการสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้องของชาวอินทาเนีย จะเป็นการให้นิสิตเก่าเข้ามาบริหารจัดการในเรื่องต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ถนัดของแต่ละคนเข้ามาผสมผสานความลงตัวนี้ อีกทั้งยังเป็นการขยายโครงการ ChAMP ไปสู่นิสิตทุก ๆ คน และช่วยขยายขอบเขตการทำงานของคณะวิศวฯ ได้มากกว่าเดิม เปิดรูปแบบของการบริหารเป็น Open Mind Open Access การทำงานในครั้งนี้นอกจากจะทำงานร่วมกับนิสิตเก่าที่ให้เขาเข้ามาบริหารจัดการยังได้มีการทำงานร่วมกับสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สวจ.) ด้วยเพื่อเปิดรับข้อมูลแล้วการทำงานร่วมกัน
คณะวิศวฯ จุฬาฯ ส่งเสริม Start up
การทำธุรกิจ การทำ Start up เป็นเรื่องที่สำคัญ
ในอดีตการทำ Start up ในมหาวิทยาลัยค่อนข้างยาก แต่ปัจจุบันโอกาสในการทำนั้นมีมากขึ้นเป็น Value Added ที่สำคัญมาก ๆ สำหรับเศรษฐกิจรุ่นใหม่ และต้องยอมรับว่าเป็น Growth Engine เล็ก ๆ ถ้าเกิดบริษัทใดบริษัทหนึ่งเติบโตขึ้นมาเป็นยูนิคอน จะสร้างประโยชน์ให้แก่เมืองไทยและคณะอย่างมากมาย
จึงเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นความร่วมมือทั้งฝั่งคณะวิศวฯ ที่พยายามสร้าง Environment ให้เกิดตรงนี้ให้มากขึ้น ในขณะเดียวกันเราพยายามร่วมมือกับนิสิตเก่าที่เข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
Start up คือ ขั้นตอนการพัฒนาคนที่มีความสามารถในเรื่องของการทำ Technical Business ในด้านวิศวฯ เป็นคนที่เข้าใจ แม้ว่าทำออกไปแล้วจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่จะเข้าใจว่าอุปสรรคของการทำงานมีอะไรบ้าง เป็นขั้นตอนที่ดีที่สุดอันหนึ่ง
คณะวิศวฯ จุฬาฯ มีการจัดตั้ง CU Engineering Enterprise ขึ้นมาเพื่อเป็น Holder ในการดูแลบริษัท Start up ในคณะวิศวฯ โดยตรง ต้องขอขอบคุณ ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล ที่วางรากฐานที่ดีเอาไว้ รวมไปถึงเรื่อง Innovative Sandbox เป็น Sandbox ที่ทั้งคณาจารย์ นิสิต สามารถนำไอเดียหรืองานวิจัยที่ตัวเองอยากจะ Meet Commercial Value พยายามจะสร้างบริษัทSpin-Off ออกไป
เรามองว่า Sandbox ที่เป็น Business ที่เรายอมรับให้ Fail ได้ เพราะเราไม่ได้สนใจเรื่อง Success Business เพียงอย่างเดียว แต่สนใจกระบวนการที่สร้างคนขึ้นมามาก ๆ ได้อย่างไร และเมื่อเขาเข้าทำงานที่บริษัทเขาจะมีภาพของการทำบริหารเชิงธุรกิจที่มากขึ้น เข้าใจความต้องการของอุตสาหกรรมมากขึ้น เข้าใจกระบวนการทำเข้าไปสู่ความต้องการของผู้ใช้ได้จริง ๆ ตรงนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ
นิสิตเก่ามีคนที่มีศักยภาพที่จะเข้ามาช่วยเรื่องพวกนี้ได้มากพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Connect เข้าสู่แหล่งลงทุนต่าง ๆ คณะเองมีส่วนช่วยเหลือในเรื่องของทุนในส่วนหนึ่งให้ได้ลองว่าเป็นอย่างไรบ้าง อย่างตึก 100 ปี เรามีบริษัท Start up อยู่หลายบริษัทและดูแลอยู่ คิดว่านี้แหละจะเป็นแรงสำคัญในอนาคต
กว่าที่จะสร้างขึ้นมาได้แต่ละบริษัทนั้นก็มีขั้นตอนหลายขั้นตอน พอสร้างขึ้นมาแล้วก็ต้องให้ความสำคัญในการ Carry ต่อไปยังขั้น Expand เพราะคณะรู้ว่าส่วนหนึ่งของนิสิตอยากจะเดินสายนี้ ดังนั้นจะต้องมีช่องทางให้นิสิตเติบโต เป็น Start up ที่คณะส่งเสริมมีทั้งคณาจารย์ นิสิตเก่า เป็นการทำงานกันในหลากหลายรูปแบบ
“สำหรับความยากในช่วงที่ผมทำงานวิจัยครั้งแรก คือ ความยากจากการเอาตัวตนออกจากการรักงานของเรา และเรามักจะภูมิใจจากงานชิ้นนั้น และคิดว่างานชิ้นเอกนี้เมื่อเรานำไปเสนอกับใคร เขาจะต้องยอมรับแน่ นั่นคือสิ่งที่ผมพลาด และความสำคัญในการทำ Start up คือ การทำในสิ่งที่ตลาดหรือผู้ใช้งานต้องการได้”
การประกันคุณภาพมีทั้งระบบของ สมศ. TABEE ABET คิดว่าควรจะเดินแบบใดจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่บัณฑิตของเรา
การประกันคุณภาพการศึกษา
ก่อนอื่นต้องดูว่าหัวใจของการดูคุณภาพการศึกษาคืออะไร หัวใจคือระบบ ระบบที่สามารถดูว่ามีมาตรฐานและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทั้งหลักสูตรการบริหารงานต่าง ๆ ยกระดับขึ้นไป เป็นสิ่งที่คณะเดินหน้าทำอยู่แล้ว เรื่องของการทำ Outcome Based เรื่องของการทำหลักสูตรมุ่งไปสร้าง Outcome Based ให้แก่นิสิต มีระบบต่าง ๆ ข้างในอยู่ ต้องยอมรับว่าในการใช้ระบบมีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน ในระดับมหาวิทยาลัยทั่วไปมีระบบหนึ่งที่เรียกว่า EdPEx ในการรับรองระบบคุณภาพการศึกษา เป็นระบบคล้าย ๆ กับการทำพัฒนาระบบคุณภาพข้างใน เราดำเนินงานอยู่แล้วจะเดินหน้าใช้ระบบในการรันภาพรวมในการบริหารคณะ เพราะรู้ว่าเป็นระบบที่สำคัญในการสร้างความเป็นมาตรฐานหลาย ๆ ด้านไปเรื่อย ๆ คณะวิศวฯ จุฬาฯ ได้ผ่าน EdPEx200 ไปเรียบร้อยแล้วและจะมุ่งสู่ระดับที่สูงขึ้นไป พร้อมด้วยความมีศักยภาพในทุกรูปแบบ
ส่วนที่สำคัญของการรับรองหลักสูตรของคณะวิศวฯ มีอยู่ 3 รูปแบบด้วยกัน คือ
- AUNQA
- ABET
- TABEE
ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล เป็นผู้วางรากฐานที่ดีเอาไว้ คณะได้ทำตามมาตรฐานนี้ทั้งคู่ แต่ในหลักสูตรนานาชาติเราทำ ABET ทั้งหมด ในเดือนตุลาคมคณะจะได้รับการเข้ามาตรวจของการรับรอง ABET ในหลักสูตร Nano Engineering ส่วนหลักสูตรอื่น ๆ จะทำในปีถัดไป เราจะมุ่งไปยังมาตรฐานนานาชาติ
ถ้ามองในเชิงหลักสูตร ถ้าทำ TABEE จะสามารถตอบโจทย์อันใดอันหนึ่ง ถ้าเราทำจริง ๆ เรื่อง ABET เราเดินหน้าไปแล้ว ขณะเดียวกัน สิ่งสำคัญวิศวฯ จุฬาฯ เราไม่ได้แค่ทำหลักสูตร เรายังมองถึงอนาคตไกล ๆ ของประเทศ มองเรื่องของคณะวิศวฯ ในประเทศหลาย ๆ มหาวิทยาลัย ว่าเป็นอย่างไรบ้างในทุก ๆ หลักสูตร
หากเราเข้าไปสนับสนุนในเรื่องของ TABEE เพราะ TABEE เป็นองค์กรหนึ่งที่สำคัญ ถ้าได้รับการรับรองจาก TABEE จะทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ยืนได้ด้วยตัวเองทั่วทั้งประเทศ เพราะเราสามารถเข้าไปช่วยใน Long Term Mission จะเข้าไปตอบโจทย์ทั้งประเทศ ช่วยในหลักสูตรที่หลายหลาก หลักสูตรวิศวฯ ไม่ได้มีเพียงในมหาวิทยาลัยหลัก ๆ มีทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เขาจะได้มีโอกาสยกระดับ Outcome-based Education หรือชื่อย่อว่า OBE ขึ้นมา คณะก็จะเดินหน้า 2 รูปแบบ มาตรฐานนานาชาตินั้นเรามีการปรับเปลี่ยนพัฒนาอยู่ตลอด ในส่วนของ TABEE เราก็จะเข้าไปช่วยยกระดับทั้งประเทศให้ขึ้นมาในรูปแบบยอมรับได้และได้มาตรฐานที่อยู่ในระดับทัดเทียมกับนานาชาติเช่นเดียวกันในอนาคต
พร้อมพัฒนาศักยภาพอยู่เสมอ
คณะมีความมุ่งหวัง เพราะพยายามจะสร้างวิศวกรที่ไม่ได้ทำงานในระดับประเทศอย่างเดียว รูปแบบเปลี่ยนไปมากมายคณะจึงพยายามสร้างวิศวกรที่ตอบโจทย์ทั้งในประเทศและระดับนานานชาติ เพราะฉะนั้นคณะพยายามสร้าง Environment สร้างการเรียนรู้ สร้าง Outcome ของนิสิตให้มีคุณสมบัติให้ท้าทายโจทย์ในประเทศและต่างประเทศได้ นี่คือจุดมุ่งหมายที่คณะต้องการจะสร้าง
Value บัณฑิตที่จบไปเป็น Access ที่สูงที่สุดของคณะ โดยการปรับทุกอย่างให้ตรงความต้องการ ความท้าทายคือจะทำอย่างไรถึงจะทำงานทั้งหลักสูตรและเรื่องของงานวิจัยให้ตอบโจทย์ทั้งในประเทศและขยายไปยังระดับนานาชาติได้ เช่นเดียวกัน ล่าสุดเราได้เปิดหลักสูตร Semiconductor เพิ่มขึ้นมาเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรม และ EV ที่มีความต้องการในจำนวนคนที่สูง มีการปรับหลักสูตรตรงนี้เมื่อ 5 ปีที่แล้ว เพื่อรองรับอุตสาหกรรม ในด้าน AI และ Robotic หลังจากที่มีการปรับลดหน่วยกิตคณะได้นำเสนอเพิ่มวิชา AI และ Digital Technology ให้นิสิตทุกคนได้มีโอกาสได้เรียน เพราะฉะนั้นนิสิตทุกคนที่เข้ามาในรั้วจุฬาฯ จะมี Skills ที่ Up to Date สามารถที่จะมาเรียนในสาขาที่ตัวเองชอบได้ โดยมีเทคโนโลยีที่จะรองรับให้นิสิตเติบโตในอนาคตหรือศึกษาต่อได้อย่างมั่นใจ
ที่มา: อินทาเนีย ฉบับที่ 3 ปี พ.ศ. 2567 คอลัมน์ สัมภาษณ์พิเศษ โดย กองบรรณาธิการ