Digital Learning Solution ตอบโจทย์ Business Results เขาทำกันอย่างไร

Digital Learning Solution ตอบโจทย์ Business Results เขาทำกันอย่างไร


Results, Results, Results …

การทำงานในยุคโควิด-19 ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่ง่าย เพราะด้วยทรัพยากรที่มีจำกัด สภาวะตลาดและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลง ความไม่แน่นอนที่มีอยู่สูงปรี๊ด โจทย์ของทุกองค์กรที่ไม่ว่าจะทำอะไรในตอนนี้ ก็จะต้องมุ่งที่ผลลัพธ์ก่อนเป็นอันดับแรก

ขณะเดียวกันบทความที่เผยแพร่เมื่อเร็ว ๆ นี้จาก McKinsey “Adapting workplace learning in the time of coronavirus” ชี้ว่า การสร้างและพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร เป็นภารกิจที่ไม่ควรจะหยุดชะงัก แม้จะมีโควิด-19 และความไม่แน่นอนต่าง ๆถาโถมกันเข้ามา โดยเฉพาะในภาวะ New Normalในหลาย ๆ ด้านที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ ที่องค์กรจะต้อง Transform ให้ก้าวข้ามภาวะวิกฤตนี้ให้ได้ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนและพัฒนาทักษะ (Upskill, Reskill) ของคนในองค์กรให้สอดคล้องกับโจทย์ใหม่หรือทิศทางใหม่ขององค์กร จึงเป็นสิ่งต้องทำให้เข้มข้นขึ้น ผ่านการเข้าใจโจทย์ทางธุรกิจที่ชัดเจน และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ เพื่อให้การเรียนรู้และพัฒนาจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ทางธุรกิจได้จริง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Digital Learning Solutions ที่สามารถตอบโจทย์ของงบประมาณ ความยืดหยุ่นคล่องตัว การสนองตอบต่อไลฟ์สไตล์ของคนทำงานในยุคนี้ และสร้างผลลัพธ์ที่สามารถวัดความคุ้มค่าของการลงทุนได้

เพราะต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมาหลายองค์กรอาจจะเจ็บช้ำกับการลงทุนลงแรงไปมากมาย แต่สุดท้ายมีพนักงานเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่เข้าไปเรียนหรือใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่ทำไว้ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ที่พบคือเนื้อหาที่นำมาไม่ตอบโจทย์ ทั้งในแง่ของเนื้อหาที่ให้เรียนรู้ และรูปแบบของการเรียนรู้ ไม่สอดรับกับบริบทขององค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ต้องการผลลัพธ์ทางธุรกิจมากกว่าการมานั่งเรียนหลักสูตรยาว ๆ

โจทย์สำคัญคือจะทำอย่างไรที่จะแก้ Pain Points ของ Digital Learning Solutions ในอดีตได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในการสร้างหลักสูตร หรือวิธีการเรียนรู้ที่ไม่ตอบโจทย์กับสถานการณ์ของธุรกิจที่รวดเร็ว ที่ต้องเอาเวลาที่มีไปโฟกัสในการทำงานทำให้ไม่มีเวลาที่จะมาเรียนรู้เรื่องที่ “Nice to have”อีกต่อไป การขาดแคลนทีมงานที่มีประสบการณ์ในการทำเรื่องนี้ การขาดแคลนคอนเทนต์ที่มีคุณภาพและตรงความต้องการ การขาดแคลนเครื่องมือวัดผลที่มีประสิทธิภาพ ความเร่งด่วนในการพัฒนา ฯลฯ

Total Digital Learning Solution for Result

ผมจึงอยากจะขอแชร์กระบวนการทำ Digital Learning Solutions ในยุคใหม่ที่ผสมผสานวิธีของสตาร์ตอัปกับกระบวนการเดิมให้สามารถตอบโจทย์การเรียนรู้ของพนักงานและองค์กรได้อย่างแท้จริง สามารถแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้

  1. การทำ Empathize & Analyze การทำหลักสูตรการเรียนรู้และพัฒนาบุคลากรในอดีตอาจจะเน้นไปที่การวิเคราะห์ความต้องการเฉพาะของผู้ เรียนเท่านั้น แต่หากจะทำ Digital Learning Solutionsให้สามารถตอบโจทย์ผู้เรียนและให้เกิดผลลัพธ์ต่อองค์กรได้อย่างแท้จริงจะต้องมีกระบวนการทำ Empathize & Analyze ใน 3 ด้าน คือBusiness, People และ Technology ในมิติของ Business เราจะทำความเข้าใจผู้บริหารระดับสูง และทีมกลยุทธ์องค์กร เพื่อเข้าใจโจทย์และ Direction ทางธุรกิจ ในมิติของ People เราจะทำความเข้าใจตัวพนักงาน เพื่อเข้าใจถึงลักษณะการทำงาน และรูปแบบการเรียนรู้ของพนักงาน และมิติสุดท้ายคือทำความเข้าใจ และวิเคราะห์ Technology ที่จะนำมาใช้ หรือที่ปัจจุบันองค์กรมีอยู่เพื่อ Utilize เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด การที่องค์กรต้องทำความเข้าใจและทั้ง 3 ด้านนี้ เพื่อช่วยให้เราเข้าใจอย่างแท้จริง ถึงผลลัพธ์ที่ต้องการจะได้รับ (Outcomes) และเข้าใจถึงบริบท (Circumstances) ที่จะเป็นข้อมูลสำคัญที่จะช่วยในขั้นตอนต่อไป
  2. Design & Develop เมื่อทำความเข้าใจกับโจทย์ให้ชัดเจนแล้ว ลำดับต่อไปคือการออกแบบและพัฒนาโซลูชันการเรียนรู้เพื่อให้ตอบโจทย์ดังกล่าว ผ่านการนำหลักคิดของ Instructional System Design (ISD) ในการเข้าใจ Learning Outcomes และการเลือกใช้ Interventions ของการเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย ให้ตรงกับข้อมูลที่เราได้มาจากการ Empathize และการกำหนด Learning Outcomes ที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนซึ่งมักจะประกอบไปด้วยคนหลากหลายเจนเนอเรชันที่อาจจะมีรูปแบบการเรียนรู้ (Preference) ที่แตกต่างกัน เพราะบางครั้งเราจะพบว่าหลาย ๆ ครั้งที่เราออกแบบ Digital Learning แล้วมีอัตราการเข้าไปใช้ หรืออัตราการ Adoption ที่ต่ำนั้น จริง ๆ แล้วอาจจะมาจากทั้งตัวเนื้อหาที่นำมานั้นไม่มีคุณภาพ ทำให้ไม่ตอบโจทย์ในการที่จะทำให้ผู้เรียนทำงานได้ดีขึ้น รวมถึงวิธีหรือช่องทางการเรียนรู้ที่ไม่ตอบโจทย์หรือรสนิยมของเขามากกว่า กระบวนการออกแบบโซลูชันการเรียนรู้ที่ดีจะต้องเข้าไปสำรวจดูถึงหน้างานของผู้เรียนว่ามีลักษณะหรือข้อจำกัดอย่างไร และเลือกออกแบบหรือลงทุนทั้งในเนื้อหาที่มีคุณภาพ และเทคโนโลยีที่นำมาใช้ เพื่อให้คุ้มค่าและสามารถวัดผลการลงทุนกับการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
  3. Sprint Test & Run หลังจากทำความเข้าใจโจทย์แล้วนำไปออกแบบแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่สำคัญคือการทำ Sprint & Test โดยการนำ Prototype ไปทดสอบกับ Pilot Group และนำผลของ Feedback มาปรับปรุง Prototype นั้น ๆ จนได้ Solution ที่จะสามารถนำมาขยายผลให้ครอบคลุมกับ Target Group โดยในขั้นนี้นั้นจะเน้นในเรื่องของการให้เกิดการ Hiring Solution ที่ออกแบบมาเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างยั่งยืน

สุดท้ายผมอยากจะฝากทุกท่านว่า องค์ประกอบที่จะทำให้ Digital Learning Solution ตอบโจทย์ในการช่วยขับเคลื่อนพฤติกรรมคนในองค์กรที่จะนำพาไปสู่ผลลัพธ์ (Business Results) ขององค์กรอย่างแท้จริงจะต้องคำนึงถึง 3 ส่วน 1. Content คือเนื้อหาที่จะออกแบบเป็น Solution จะต้องได้คุณภาพและตอบโจทย์ธุรกิจ 2. People & Process ที่จะต้องออกแบบรูปแบบการเรียนรู้ที่จะต้องสอดรับกับพฤติกรรมการทำงานของพนักงานและตอบโจทย์เป้าหมายการเรียนรู้ 3. Technology ที่จะต้องช่วยให้เรา Flexible ในการออกแบบ, Engage ประสบการณ์ในการใช้งาน, Scale ให้เข้าถึงได้ง่ายกับพนักงานทุกระดับ และ Sustain Behavior ได้อย่างแท้จร

หากผู้อ่านท่านใดสนใจหรือมีแผนจัดทำ Digital Learning Solutions เพื่อให้ตอบโจทย์ขององค์กรและผลลัพธ์ทางธุรกิจ ผมยินดีให้คำปรึกษาแนะนำกับพี่น้องชาววิศวฯ จุฬาฯ ทุกท่านครับ


ที่มา: อินทาเนีย ฉบับที่ 3 ปี พ.ศ. 2563 คอลัมน์ เก็บมาฝาก โดย วิกรม คงสกุลยานนท์ วศ.41


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save