OKMD สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ของเยาวชนและคนไทย

OKMD สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ของเยาวชนและคนไทย


การเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นสภาพภูมิอากาศ โรคระบาด หรือเทคโนโลยี ได้ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมอย่างไม่มีขีดจำกัด ความรู้และความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งจำเป็นที่คนไทยโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ต้องมี เพื่อใช้ในการพัฒนาตนเองและประกอบอาชีพ เพราะความรู้คือโอกาส ผู้ที่เข้าถึงแหล่งความรู้และสามารถคิดวิเคราะห์จนเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ก่อน จะสามารถเข้าถึงโอกาสในการทำมาหากินได้ก่อน OKMD เป็นหน่วยงานสำคัญของประเทศที่มีบทบาทและภารกิจในการพัฒนาความคิด เพิ่มความรู้ และสร้างสรรค์ภูมิปัญญาให้แก่ประชาชนผ่านกระบวนการเรียนรู้สาธารณะ

OKMD

ที่ผ่านมา OKMD ได้ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้เข้าหากันผ่านการบูรณาการจัดการการเรียนรู้และบริหารหน่วยงานที่ทำหน้าที่ผลักดันให้เกิดความต้องการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจผ่านพิพิธภัณฑ์ การค้นคว้าเพื่อเข้าถึงความรู้ผ่านห้องสมุด หรือการเรียนรู้เพื่อการทำมาหากินผ่านกิจกรรมสร้างทักษะอาชีพต่าง ๆ ซึ่งมีผู้ได้รับประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมเข้าใช้บริการในปีล่าสุด พ.ศ. 2565 ณ ปัจจุบัน คือ 104,276,531 คน-ครั้ง และเชื่อว่ามีผู้นำความรู้เหล่านั้นไปต่อยอดและสร้างเป็นประโยชน์ทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจให้แก่ประเทศไทยอีกมากมาย

“ขยายโอกาสการเข้าถึงนวัตกรรมแหล่งเรียนรู้และองค์ความรู้ ตามแนวโน้มเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้แก่คนไทยทุกช่วงวัย”

ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร วศ.2528/29
ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร วศ.2528/29

ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร วศ.2528/29 ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้หรือที่เรียกว่า OKMD ร่วมพูดคุยถึงประเด็น “ภาระหน้าที่ ของ OKMD และแนวทางในการพัฒนายกระดับความรู้ความสามารถของเยาวชนและคนไทย เพื่อการพัฒนาประเทศในอนาคต” ในรายการพูดจาประสาช่าง ทางสถานีวิทยุจุฬาฯ FM101.5 MHz

ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร เรียนจบปริญญาตรีวิศวกรรมโยธา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาได้เรียนปริญญาโทวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) และได้ทุนจากรัฐบาลเรียนต่ปริญญาเอกวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซต(MIT) หลังจากนั้นเข้ารับราชการในกระทรวงพลังงาน อยากมีความรู้และประสบการณ์ในแหล่งเรียนรู้ใหม่ๆ และพบว่าระบบราชการไทยมีสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ซึ่งเป็นองค์กรมหาชน มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Office of Knowledge Management and Development (OKMD) และอยู่ระหว่างสรรหาผู้อำนวยการคนใหม่ จึงตั้งใจเข้าสมัครเพราะอยากมีส่วนส่งเสริมเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา และปรับบทบาทกระบวนการเรียนรู้ของสังคมไทย จนได้รับการคัดเลือกให้เข้ามาเป็นผู้อำนวยการจากคณะกรรมการของ OKMD

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ สบร. เป็นองค์กรบริหารและจัดการความรู้ที่สมบูรณ์ หลากหลาย ทำหน้าที่พัฒนาต่อยอดองค์ความรู้และยกระดับคุณภาพชีวิตที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ให้บริการและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ต้นแบบ ทั้งในรูปแบบของอุทยานการเรียนรู้ และพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ส่งเสริมให้มีพื้นที่สร้างสรรค์ที่เอื้อต่อการเข้าถึงและการใช้บริการด้านการเรียนรู้ รวมทั้งพื้นที่ในการค้นคว้า แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจ ทั้งที่เป็นพื้นที่จริงทางกายภาพและพื้นที่เสมือนจริง สนับสนุนและส่งเสริมระชาชนทุกช่วงวัย โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส สามารถเข้าถึงข้อมูลและความรู้ที่หลากหลาย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความรู้ อีกทั้งยังได้ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ถึงพัฒนาทักษะที่หลากหลาย พร้อมสร้างสังคมการเรียนรู้ในภูมิภาค ท้องถิ่นและชุมชน เพื่อลดวามเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล รวมทั้งการนำความรู้ไปต่อยอดและขยายผล เพื่อสร้างรายได้และยกระดับความเป็นอยู่ สร้างนวัตกรรมและพัฒนาการเรียนรู้รูปแบบใหม่ของคนทุกช่วงวัย รวมถึงกลุ่มอยโอกาส เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปเป็นต้นแบบขยายผล

เพราะการเรียนรู้ไม่ได้อยู่เฉพาะในห้องเรียน

OKMD เป็นองค์กรมหาชน จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2547 ยุครัฐบาลของนายกทักษิณ ชินวัตร เป็นองค์กรประเภท Agenda Based มีบาง Agenda ที่ Cross ฟังก์ชันระหว่างกระทรวงต่าง ๆ OKMD เป็น Agenda เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งกระทรวงศึกษาฯ และกระทรวงการอุดมศึกษาฯ บางเรื่องโยงกับวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว กระบวนการเรียนรู้ในลักษณะนี้ถือว่าเป็น Agenda Based เป็น Cross Ministerial Agency เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ของคนไทยนอกระบบโรงเรียนเพราะการเรียนรู้ในนระบบโรงเรียนและมหาวิทยาลัยดีในระดับหนึ่งอยู่แล้ว แต่นอกรั้วโรงเรียนและมหาวิทยาลัยคนไทยจะมีกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ในอดีตจะใช้ 2 กลไกหลัก คือ ห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์มีอยู่หลายประเภท ทั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ประเภทโบราณสถานที่เน้นเฉพาะของเก่าโบราณ และพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมมากเพราะเป็นการเล่าเรื่องภาพในอดีตว่าเป็นอย่างไร และในอนาคตควรจะเป็นอย่างไร

Museum Siam

Museum Siam พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แนวใหม่เน้นการพัฒนาความคิด เพิ่มความรู้และสร้างสรรค์ภูมิปัญญา

OKMD เองได้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ขึ้นมา 1 แห่ง เรียกว่า Museum Siam ตั้งอยู่ที่ท่าเตียนเป็นพื้นที่กระทรวงพาณิชย์เก่า เล่าเรื่องราวหลายเรื่องปัจจุบันพื้นที่ Exhibition จะจัดแสดงนิทรรศการชุด “ถอดรหัสไทย” ที่จะพาทุกคนไปเรียนรู้พัฒนาการความเป็น “ไทย” ตั้งแต่รากเหง้าในอดีตจนถึงปัจจุบันจากบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์พื้นที่สุวรรณภูมิ และพื้นที่การเกษตร เพื่อให้มองภาพ Thainess ในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร รวมทั้งยังเกี่ยวข้องกับ Soft Power ศิลปวัฒนธรรม การสร้าง Creative Academy, Creative Space ต่าง ๆ

ภาระหน้าที่ของ OKMD

OKMD มีหน้าที่สร้างกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาแหล่งความรู้รูปแบบใหม่ ซึ่งมีตัวแปรหลักอยู่ 1 ตัว คือ เทคโนโลยี ในอดีตทุกอย่างเป็นแบบ On Site แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีทำให้แหล่งเรียนรู้เข้าไปอยู่ในโลกดิจิทัล และกระบวนการเรียนรู้ต้องพึ่งพาระบบดิจิทัลมากพอสมควรถึง 80% และยังสามารถใชสื้่อสังคมหาความรู้ผ่านมือถือได้ในอนาคตอาจจะใช้แว่นตาหรือหูฟังในการหาความรู้ เป็นต้น

“ทิศทางของ OKMD นอกจากจะพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แล้ว ต้องทำให้ทันสมัยกับเทคโนโลยีในยุคนั้น ๆ ซึ่งปัจจุบันเป็นเรื่องของ Technology Media ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Metaverse, Social หรือ AI เป็นต้น”

OKMD ให้ความสำคัญเรื่องการสร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูลและความรู้ที่แท้จริง

ปัจจุบันคนส่วนมากนิยมใช้ Google หรือ Wikipedia ในการ Search หาข้อมูล แต่ไม่มีทางรู้เลยว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและสามารถเชื่อถือได้หรือไม่เรื่องการสร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูลและความรู้ที่แท้จริงเป็นเรื่องที่ OKMD ให้ความสำคัญ เพราะความรู้ผ่านสื่อดิจิทัลอย่างเดียวอาจไม่สมบูรณ์แบบต้องมีผู้รู้มาให้ความรู้เพิ่มเติม อาจเป็นตัวบุคคลหรือเป็น Machine ซึ่งสามารถเลือกที่จะรับรู้และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ได้

ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีเป็น Machine Learning หรือระบบ AI เครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มรู้มากขึ้นจากฐานข้อมูลและสถิติต่างๆ ที่รวบรวมมา เพราะฉะนั้นกระบวนการทางธุรกิจหรืออุตสาหกรรมหลายแห่งเริ่มนำ Machine Learning หรือระบบ AI เข้าไปประกอบกับ Process การผลิตสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ทำใหพึ้่งพาผูรู้ห้ รือคนนอ้ ยลง และเริ่ม Disrupt ว่า Process บางอย่างไม่จำเป็นต้องพึ่งพาคนมาก แต่เรากำลังชี้ให้เห็นว่าคนยังมีบทบาท และหัวใจสำคัญของคนที่มีความรู้คือต้องถ่ายทอดความรู้ให้เป็นและสามารถส่งต่อให้แก่รุ่นน้องหรือรุ่นลูกหลานได้ และรุ่นหลานก็สามารถกระจายผลนำความรู้ไปต่อยอดรูปแบบอื่น ๆ สามารถสร้างงาน สร้างอนาคตได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ OKMD กำลังตั้งใจทำในช่วงนี้อย่างมาก คือ

  1. ทำให้คนมีความใฝ่รู้
  2. ผู้รู้จริง
  3. สามารถกระจายความรู้ในรูปแบบของการเล่าเรื่องได้ เช่น การเล่าเรื่องจากตัวบุคคล การทำคลิปวีดิทัศน์ หรือ Broadcast สามารถกระจายความรู้ไปช่องทางต่าง ๆ ให้ผู้อื่นรับรู้ได้

Museum Siam แสดงนิทรรศการแบบถาวรหรือแบบหมุนเวียน แต่เมื่อไรจะมีพิพิธภัณฑ์จัดแสดงที่เกี่ยวข้องกับวิศวฯ?

Museum Siam มีพื้นที่ 2 ส่วน แบ่งส่วนชัดเจน คือ

  1. นิทรรศการหลัก พื้นที่นิทรรศการถาวร ซึ่งอยู่มานานประมาณ 4-5 ปี และจะต้องปรับปรุง
  2. นิทรรศการหมุนเวียน ขึ้นอยู่กับว่าในแต่ละปีคนไทยสนใจในเรื่องอะไร ทาง Museum Siam จะจัดนิทรรศการหมุนเวียนปีละ 2 ครั้ง และหลังจากจัดแสดงเสร็จจะย้ายไปพิพิธภัณฑ์อื่นในเครือของ Museum Siam ส่วน Theme หรือเรื่องที่เล่าในพิพิธภัณฑ์จะหมุนเวียน แล้วแต่ช่วงเวลา ปัจจุบันแสดงนิทรรศการ “ตึกเก่า เล่าใหม่” เพราะเป็นช่วงครบรอบ 100 ปี ของอาคาร Museum Siam ซึ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 รุ่นเดียวกับพระที่นั่งอนันตสมาคม สร้างโดยสถาปนิกและวิศวกรในยุคเดียวกัน ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดใช้งานเป็น “กระทรวงพาณิชย์” ใน พ.ศ. 2465 ทาง Museum Siam ได้รับมอบอาคารแห่งนี้ใน พ.ศ. 2547 เป็นเรื่องความทรงจำของผู้คนที่เคยทำงานหรือมาใช้บริการที่นี่เป็นตึกเก่าที่เต็มไปด้วยเรื่องราวมากมายให้เล่าขาน หรือพิพิธภัณฑ์หมุนเวียนอื่น ๆ ในอดีตช่วง 2-3 ปีที่แล้ว เช่น ครบ 20 ปี วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง พ.ศ. 2540 ประเทศไทยประสบวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในภาคการเงิน และได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไปยังทุกส่วนของสังคม

ในอนาคตน่าจะมีพิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมซึ่งขอยกตัวอย่าง มีองค์กรหรือหน่วยราชการหลายแห่งที่มีความรู้หรือสะสมความรู้ไว้มาก บางหน่วยมีอาคารเก่าซึ่งพยายามแปลงให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ เช่น การรถไฟ หรือการทางพิเศษ เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับองค์กรหรือศาสตร์ที่องค์กรทำงานอยู่แต่ยังขาดความเชื่อมโยงเรื่องของการหาความรู้ เช่น หากต้องหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องวิศวกรรมเกี่ยวกับระบบรางควรไปชมนิทรรศการอะไรบ้าง และนโยบายที่ทำให้เกิดความเชื่อมโยงของความรู้นั้นเป็นหน้าที่ของ OKMD ที่ต้องส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมโยงและผสมผสาน ทำให้ผู้คนที่อยากรู้ในเรื่องนี้ทราบว่าควรไปที่ใดและต้องเริ่มที่ใดก่อนเป็นอันดับแรก ในส่วนของ Museum ที่เกี่ยวข้องกับวิศวฯ ควรมีหลายรูปแบบ ทั้งนี้บางประเทศจะมีในรูปแบบ Engineering For Future เช่น วิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับอวกาศ และวิศวกรรมที่ค้นพบเรื่องราวใต้ทะเลลึก

แนวทางในการพัฒนายกระดับความรู้ ความสามารถของเยาวชนและคนไทยเพื่อการพัฒนาประเทศในอนาคต

ดร.ทวารัฐ กล่าวว่า ประเทศไทยยังขาดเรื่องนี้เพราะจิกซอว์ไม่ต่อกันคือ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับ Reskill หากเรามีช่างอยู่แล้วและต้องการเปลี่ยนบทบาทช่างที่เรียนมาด้านหนึ่งให้ทำในอีกรูปแบบหนึ่ง ยังขาดกลไกที่เชื่อมโยงต่อยอดให้สุดทาง ยกตัวอย่าง วิศวกรรมระบบราง อาจจะเป็นส่วนควบผสมผสานระหว่างผู้ที่เรียนวิศวฯ เครื่องกล กับไฟฟ้า มีกลไกส่งเสริมการเปลี่ยน Skill จากช่างไฟฟ้าจนสามารถทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบรางได้ หรือแม้กระทั่งวิศวกรรมระบบรางอาจจะเกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโยธา ซึ่งสามารถสร้างสะพานและขุดอุโมงค์พร้อมกันได้ หากสามารถทำให้เป็นศาสตร์เดียวกันหรือเรียนควบคู่กันได้ก็จะสมบูรณ์แบบได้ในคนคนเดียว

เพราะฉะนั้น แนวคิด Reskill เป็นกลไกที่ทาง OKMD และตัว ดร.ทวารัฐ เองตั้งใจทำ เมื่อเข้ามารับตำแหน่งได้ 1 เดือนกว่า ๆ ก็พบว่ากลไกที่จะส่งเสริมการ Upskill หรือ Reskill เป็นประเด็นระดับชาติ เท่าที่รับทราบ พื้นที่ EEC 3 จังหวัดต้องการช่างฝีมือหลักแสนอัตรา แต่วิทยาลัยอาชีวศึกษาหรือมหาวิทยาลัยบางแห่งผลิตวิศวกรออกมาไม่ตรงกับความต้องการของงาน ทำให้ต้องมีการอบรมเพิ่ม

ในการปรับเรื่องการผลิตบัณฑิต ถ้าเปลี่ยนเส้นทางอาชีพหรือต้องการเพิ่มทักษะความรู้ Take Short Course และมีกลไกที่สามารถได้ใบ Certificate นำไปประกอบอาชีพได้ในอนาคต สิ่งสะสมเหล่านี้จะมีคุณค่ามาก ซึ่งตัว ดร.ทวารัฐ เองก็มีโอกาสได้เข้าสู่ระบบนี้ของทางอังกฤษ ช่วงนั้นอยู่สังกัดกระทรวงพลังงาน มีทุนสนับสนุนให้ผู้บริหารไป Take Course ในต่างประเทศ ที่อังกฤษจะมีหลักสูตร Sustainability นอกจากจะมีความรู้ในเรื่องของการประหยัดพลังงาน หรือเรื่องพลังงานทดแทนแล้ว ต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องอื่น ๆ ด้วย ทั้งที่เป็น Sustainable Finance รวมทั้งเรื่องที่จัดการเกี่ยวกับ Circular Economy เป็นต้น มีการส่งเสริมให้ Take Course สั้น ๆ เพียง 3-7 วัน สามารถสะสม Point ได้ในช่วงเวลา 1 ปี และได้รับใบ Certificate รับรอง เพราะฉะนั้นลักษณะนี้เป็นกลไกอย่างหนึ่งซึ่งหากประเทศไทยมีการบูรณาการทำเรื่องนี้ ช่างที่อยู่ในระบบเมืองไทยจะสามารถ Upskill หรือ Reskill ได้

ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร กล่าวทิ้งท้ายว่า เรื่องสำคัญที่อยากฝากไปถึงน้อง ๆ คือ เรื่อง Upskill หรือ Reskill สำหรับ Workforce ในประเทศไทย คือ การเรียนภาษาที่ 3 ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เช่น ภาษาจีน หรือญี่ปุ่น หรือภาษาที่สามารถสื่อสารกับนายจ้างให้เข้าใจได้ สามารถ Upgrade ตัวเองไปได้อีกระดับหนึ่ง การ Upskill หรือ Reskill ในเรื่องของภาษาสามารถทำได้โดยเร็ว


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save