บทความรายการพูดจาประสาช่าง โดย ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ ในหัวข้อ “เตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วม 2567 สถานีต่อไปเจ้าพระยา”


รายการพูดจาประสาช่าง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ ได้เล่าถึงสถานการณ์น้ำในประเทศไทยปี 2567 ในหัวข้อ “เตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วม 2567 สถานีต่อไปเจ้าพระยา” เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ และประชาชนได้รับทราบ และเตรียมรับมือกับสถานการณ์น้ำที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ กล่าวว่า ในช่วงสัปดาห์นี้เป็นต้นไปฝนส่วนใหญ่เกิดจากร่องมรสุมและหย่อมความกดอากาศต่ำ พาดผ่านภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ซึ่งภาคกลางจะได้รับน้ำจากอิทธิพล 2 พายุที่ผ่านมา ทำให้ได้รับปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นในทางบวก แต่ในทางลบก็มีเช่นกันคือ ได้ปริมาณน้ำที่มากเกินไป ในบางแห่งมีการเร่งการระบายน้ำออกเพราะต้องรองรับน้ำมวลใหม่ที่กำลังจะมา ทำให้ส่วนราชการ จังหวัด และประชาชน กังวลในเรื่องของปริมาณน้ำที่จะมากระทบตอนล่างของลำน้ำหรือไม่ อาทิ ลำน้ำห้วยหลวง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมพายุและร่องมรสุมนี้ด้วย ทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยหลวงเต็ม 100% และมีการระบายออกพอสมควร ซึ่งจากนี้ไปภาคเหนือตอนบนหรืออีสานตอนบน หากได้รับอิทธิพลตรงนี้แล้ว อ่างเก็บน้ำจะค่อย ๆ เต็ม สิ่งที่ต้องรอต่อไปคือ ตอนกลางของประเทศ บริเวณภาคอีสานตอนล่าง จังหวัดนครราชสีมา ปริมาณน้ำยังต่ำอยู่ ซึ่ง บวก ลบ ประมาณ 50% ซึ่งต้องอาศัยน้ำเหล่านี้ในช่วงฤดูแล้ง

สำหรับปริมาณน้ำฝนในขณะนี้จะมากกว่าค่าเฉลี่ยตั้งแต่ช่วงกลางเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป ซึ่งฝนที่ตกหนักตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิงหาคม – ปัจจุบัน ทำให้ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตั้งแต่เดือนมกราคม – ปัจจุบัน สูงกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 2-3% ซึ่งจะสูงช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน เท่านั้น มีปริมาณตกฝนหนักในช่วงนี้และมีปริมาณฝนที่เล็กน้อยกว่าค่าปกติในภาคตะวันออกเท่านั้น นอกนั้นจะสูงกว่า

สำหรับแหล่งเก็บน้ำในขณะนี้ดูจาก 2 แหล่ง ใหญ่ ๆ คือ 38 แห่ง และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 470 แห่ง โดยรวมของปริมาณน้ำที่มีขณะนี้มีประมาณ 71% ซึ่งแบ่งเป็นมากบ้าง น้อยบ้าง และมากกว่าปีที่แล้วประมาณ 5,000 กว่าล้านลูกบาศก์เมตร จะเห็นว่าน้ำที่มีปริมาณมากกว่า 80% มีอยู่ 11 แห่ง ภาคเหนือที่เขื่อนเขื่อนสิริกิติ์และเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ภาคอีสาน เขื่อนห้วยหลวง ภาคตะวันตก เขื่อนวชิราลงกรณ ภาคตะวันออก เขื่อนขุนด่านปราการชล เป็นต้น ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่จำเป็นต้องเฝ้าระวัง อีกส่วนคือ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำน้อยมาก แบ่งเป็นระยะ 30% และ 50% ถ้าน้อยกว่า 30% มี 2 แห่ง คือ เขื่อนลำตะคองและเขื่อนทับเสลา ซึ่งในส่วนที่เราต้องเฝ้าระวังมาก ส่วนที่มีน้อยกว่า 50% คือ 9 แห่ง ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ภาคอีสานและภาคกลางบางแห่ง ส่วนของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เริ่มส่งสัญญาณแล้วในเรื่องของฝนตกหนัก คาดการณ์ว่าต้นเดือนตุลาคมปริมาณน้ำในเขื่อนจะเต็ม ซึ่งสถานการณ์น้ำที่เราเฝ้ามองอยู่คือ น้ำในลุ่มเจ้าพระยา ซึ่งมีอยู่ 4 เขื่อนหลักที่เต็มแล้ว คือ เขื่อนสิริกิติ์ที่จะเต็มคือ 89% ในส่วนของเขื่อนภูมิพลยังสามารถรับน้ำได้อีกปริมาณมาก เขื่อนแควน้อย 57% เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 54% ในอนาคตข้างหน้าเขื่อนแควน้อยและป่าสักชลสิทธิ์จะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ที่สำคัญปลายเดือนกันยายนฝนจะตกหนักบริเวณภาคกลางและจะไปที่ภาคอีสานตอนล่าง ซึ่งเป็นสถานการณ์น้ำทั่วไปเมื่อถึงฤดูกาลเราต้องเข้าใจลักษณะทางภูมิศาสตร์ว่า ตั้งแต่ภาคเหนือไล่ลงมาสู่ภาคกลางแหล่งเก็บน้ำทุกแหล่งอยู่ในช่วงขาขึ้นเราจะกักเก็บน้ำให้มากที่สุด

สำหรับสัปดาห์นี้ภาคเหนือตอนบนมีแนวโน้มว่าจะไม่มีลมมรสุมเนื่องจากลมหนาวที่กระแทกเข้ามา อาจจะยกเว้นในเรื่องของพายุ ซึ่งถ้าดูจากสถานการณ์ปัจจุบันภาคเหนือตอนบนและอีสานตอนบนจะโล่ง แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำนานาชาติ และระดับน้ำตอนนี้ต่ำกว่าตลิ่ง ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่ไม่มาก

ซึ่งในอนาคตฝนจะตกในภาคเหนือตอนล่างจะไปซ้ำกับที่เดิมไล่ตั้งแต่ลุ่มน้ำยม คือ จังหวัดสุโขทัย ซึ่งน้ำจะท่วมเป็นครั้งที่ 2 อีกส่วนคือ จังหวัดตาก คือลุ่มน้ำวัง ซึ่งจังหวัดลำปางฝนยังตกหนักอยู่และจะไหลสู่จังหวัดตาก ซึ่งอำเภอสามเงาเป็นพื้นที่ ๆน้ำท่วมบ่อยมากและน้ำจะไหลลงสู่แม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร ไหลไปสมทบกับแม่น้ำวังและแม่น้ำน่านซึ่งไหลรวมกันที่จังหวัดนครสวรรค์ แม่น้ำยมจะไหลสู่จังหวัดสุโขทัย และรวมกับแม่น้ำน่านที่จังหวัดนครสวรรค์ ในส่วนของจังหวัดนครสวรรค์น้ำเพิ่มขึ้นและหากถึงปริมาณ 3,000 ลูกบาศก์เมตร หน่วยงานต้องเริ่มผันน้ำสู่ทางปีกตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงกลางเดือนตุลาคม และบริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยาอาจมีการเร่งระบายน้ำมากขึ้นเพื่อรอให้เกษตรที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำเก็บเกี่ยวก่อนถึงจะปล่อยน้ำลงไปได้ และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ซึ่งมีปริมาณน้ำไม่มากนักแต่ขยับสูงขึ้นซึ่งเป็นเขื่อนที่มีความจุน้อยกว่าปริมาณน้ำท่าค่อนข้างเยอะมาก ซึ่งน้ำบริเวณเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์จะไหลเข้ามาที่เขื่อนพระราม 6 มาบรรจบที่แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งอาจเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้แม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นและน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาจะมีลุ่มน้ำสะแกกรังเป็นตัวแปรสำคัญ ในส่วนของภาคกลางหลังวันที่ 5-10 ตุลาคม เป็นต้นไป เริ่มเล็งเห็นผลกระทบและคาดการณ์ได้อย่างแท้จริง

ช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ปริมาณฝนที่จะเข้ามามากในฝั่งตะวันตก ต้องเฝ้าระวังประมาณกลางเดือนตุลาคมเป็นต้นไป

การบริหารและจัดการพร่องและหน่วงน้ำ ในอ่างเก็บน้ำเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ผู้รับผิดชอบต้องกำกับดูแลให้ระดับน้ำอยู่ระหว่าง Upper and Lower Rule Curve มีความเข้าใจพฤติกรรมของฝน ความจุรับน้ำของท้ายลำน้ำ ความสมบูรณ์ของอุปกรณ์และประตูระบายน้ำ รวมถึงสภาวะลำน้ำท้ายอ่างเก็บน้ำที่น้ำจะไปบรรจบ เป็นต้น นอกเหนือจากการประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

สามารถรับฟังสถานการณ์น้ำเพิ่มเติมในรายการ “พูดจาประสาช่าง” ที่ออกอากาศในวันที่อาทิตย์ที่ 29 กันยายน พศ. 2567 ทางสถานีวิทยุจุฬาฯ FM 101.5 MHz เพิ่มเติมได้ที่ลิงก์นี้ https://curadio.chula.ac.th/Radio-Demand.php?program=202409290830


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save