INTANIA for Southern Hospitals เพื่อปรับปรุงห้องความดันลบสำหรับป้องกันโรคติดเชื้อ

INTANIA for Southern Hospitals เพื่อปรับปรุงห้องความดันลบสำหรับป้องกันโรคติดเชื้อ


เป็นการปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในโรงพยาบาลที่มีความจำเป็นในการรักษาผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ เช่น โควิด-19 หัด วัณโรค ไข้หวัดใหญ่ เมอร์สซาร์ส

ปัจจุบัน โรงพยาบาลทุกโรงต้องปรับปรุงคุณภาพอากาศในห้องปฏิบัติการให้สอดคล้องกับมาตรฐานใหม่จึงมีความต้องการคำนวณแนะนำในการออกแบบ ติดตั้ง จากทาวิศวกร และบางกรณีต้องการความช่วยเหลือเรื่องการระดมทุน เพื่อให้โรงพยาบาลมีความพร้อม สามารถยกระดับการดูแลประชาชนเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ประเทศชาติโดยรวม

การที่เราสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ดีเป็นสิ่งที่ดี แต่เราต้องรีบดำเนินการปรับปรุงห้องปฏิบัติการ เพราะโอกาสเกิดการระบาดนั้นยังคงมีอยู่และห้องปลอดเชื้อก็ยังคงมีประโยชน์ต่อไปแก่โรคอื่น ๆ เช่นกัน

INTANIA for Southern Hospitals

วัตถุประสงค์

เพื่อออกแบบและปรับปรุงโรงพยาบาลเป็นห้องความดันลบ (Negative Pressure) และห้องปราศจากเชื้อ (Sterilized Air Room) โดยสามารถนำไปใช้งานเป็น

  • ห้องผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (Patient under Investigation Room)
  • หอผู้ป่วยแยกโรค (Cohort Ward)
  • ห้องแยกผู้ป่วยติดเชื้อทางอากาศ (Airborne Infection Isolation Room)
  • ห้องฉุกเฉิน (Emergency Room)
  • ห้องผู้ป่วยวิกฤต (Intensive Care Unit)

INTANIA for Southern Hospitals

ประโยชน์ที่ได้รับ

  • ปรับปรุงพื้นที่ภายในโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • ใช้สำหรับผู้ป่วยหรือผู้สงสัยว่ามีอาการจากโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
  • เพิ่มศักยภาพของโรงพยาบาลในการรับมือกับผู้ป่วยทางเดินหายใจคนอื่น ๆ
  • ส่งเสริมอาชีพและสร้างงานให้แก่ผู้รับเหมาและแรงงานในพื้นที่

INTANIA for Southern Hospitals

Q: ทราบได้อย่างไรว่าโรงพยาบาลขาดแคลนและต้องการอะไรบ้าง
A: ทีมนิสิตเก่าวิศวฯ จุฬาฯลงพื้นที่จริงเพื่อสำรวจความต้องการของโรงพยาบาลในพื้นที่โดยคัดเลือกโรงพยาบาลที่ขาดแคลนทรัพยากร และต้องการการสนับสนุนเรื่องการออกแบบมาเข้าร่วมโครงการ

Q: การปรับปรุงห้องใช้ได้เฉพาะกรณีโควิด-19 หรือไม่
A: ภายหลังการปรับปรุงห้องแล้วเสร็จ ทางโรงพยาบาลสามารถนำไปใช้ตามความต้องการ เพื่อรับมือกับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ ได้ โดยสามารถใช้เป็น

  • ห้องผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (Patient Under Invertigation Room)
  • ห้องแยกผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินอากาศ (Airborne Infection Isolation Room)
  • หอผู้ป่วยแยกโรค (Cohort Ward)
  • ห้องฉุกเฉิน (Emergency Room)
  • ห้องผู้ป่วยวิกฤต (Intensive Care Room)
  • ห้องปฏิบัติการอื่น ๆ ตามความต้องการของโรงพยาบาล

Q: ทำไมจึงจำเพาะเจาะจงลงไปที่ภาคใต้
A: 1. พื้นที่ภาคใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 4 จังหวัดชายแดนรวมถึงจังหวัดภูเก็ต มียอดผู้ติดโรคโควิด-19 เป็นลำดับต้น ๆ ของประเทศ
2. ประชาชนเดินทางเข้าด่านบริเวณที่ติดกับประเทศมาเลเซียจำนวนมากและต่อเนื่อง ทำให้การคัดกรองเป็นภาระหนักของเจ้าหน้าที่
3. งบประมาณการติดตั้ง เครื่องมือห้องตรวจ ห้องรักษา และวัสดุสิ้นเปลืองยังไม่สอดคล้องกับภารกิจ

Q: สามารถออกใบเสร็จเพื่อหักภาษีได้หรือและหักได้กี่เท่า
A: เป็นการบริจาคสนับสนุนโรงพยาบาลรัฐโดยตรง ซึ่งทางโรงพยาบาลจะดำเนินการออกใบเสร็จให้หลังจากจบโครงการ ทั้งนี้ผู้ประสงค์รับใบเสร็จเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของยอดบริจาคจริง สามารถแสดงความประสงค์ได้ในแบบฟอร์มการรับบริจาค โดยระบุชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์

Q: ใครเป็นผู้ก่อสร้างและผู้ควบคุมงาน
A: ออกแบบและคุมงานโดยทีมนิสิตเก่าวิศวฯ จุฬาฯ ภายใต้คำแนะนำของทีมวิศวฯ จุฬาฯ ที่มีประสบการณ์จากส่วนกลาง ก่อสร้างโดยช่างท้องถิ่นที่ผ่านการพิจารณาโดย Third Party

Q: ใช้มาตรฐานใดในการออกแบบห้องระบบมีประสิทธิภาพเพียงพอกับมาตรฐานทางการแพทย์ที่ต้องการหรือไม่
A: การออกแบบใช้มาตรฐาน ASHRAE Standard 170-Ventilation of Health Care Facilities และคู่มือปรับปรุงคุณภาพอากาศในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก ซึ่งกำหนดให้มีการควบคุมงานที่เข้มงวด และการตรวจสอบก่อนการเดินเครื่อง โดยมีการตรวจวัดค่าต่าง ๆ หลังการติดตั้งแล้วเสร็จ และมีการนำ Third Party เข้าร่วมทวนสอบตามมาตรฐานสากล

Q: ค่าออกแบบและค่าก่อสร้างเป็นเงินเท่าไร ทางสมาคมฯ ช่วยสนับสนุนด้านใดบ้าง
A: โรงพยาบาลต่าง ๆ มีรายละเอียดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพของโรงพยาบาลแต่ละโรงทางสมาคมฯ สนับสนุนงบประมาณส่วนแรก รวมถึงการระดมทุนจากนิสิตเก่า เพื่อเข้าดำเนินการ

Q: มีกำหนดการส่งมอบอย่างไร
A: โรงพยาบาลหัวหินเป็นโรงพยาบาลแรกที่คาดว่าจะแล้วเสร็จ โดยมีกำหนดการส่งมอบภายในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563

ร่วมบริจาคได้ที่

https://forms.gle/qydP94TPphcnwDD56
*ลดหย่อนภาษีได้

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คุณเสาวณีย์ วีระสวัสดิ์
Tel. 08-1297-0434
Email: saowanee.vee@gmail.com
Facebook Page: สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Line ID: @intaniaalumni


ที่มา: อินทาเนีย ฉบับที่ 3 ปี พ.ศ. 2563 คอลัมน์ รอบรั้วจามจุรี โดย กองบรรณาธิการ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save