มุมมองว่าด้วย พร้อม (Notes on Ready)

มุมมองว่าด้วย พร้อม (Notes on Ready)


คำถามว่า…พร้อมไหม
พร้อมหรือยัง

คงเป็นคำทักทายที่แสดงความห่วงใยถึงภารกิจที่กำลังจะทำ หรือสถานการณ์ที่กำลังจะเผชิญ ไม่ว่าโดยสมัครใจหรือไม่ก็ตาม หากได้คำตอบว่า พร้อมหรือพร้อมแล้ว ก็คงเป็นคำยืนยันที่แสดงความเชื่อมั่นว่าได้ทำสิ่งที่ควรทำเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ทำให้รู้สึกสบายใจมากกว่าคำตอบว่า ไม่พร้อมหรือยังไม่พร้อม ซึ่งคงเป็นเพียงอารมณ์ความรู้สึกในตอนนั้น อย่างไรก็ตาม พร้อมมากก็ย่อมดีกว่าน่าสบายใจมากกว่าพร้อมน้อย แต่ก็ยังวางใจ นอนใจไม่ได้

คำว่า พร้อม (Ready) เป็นคุณศัพท์แสดงคุณสมบัติ คุณภาพหรือสถานภาพ (State) หมายถึง ร่วมกัน เวลาเดียวกัน ครบครันครบถ้วนครบทุกอย่าง เรียบร้อยบริบูรณ์ รวมทั้งเป็นกริยา หมายถึง เตรียมครบถ้วน จัดให้พร้อม โดยคำว่า ความพร้อม (Readiness)เป็นนาม ส่วนคำว่า เตรียมพร้อม (Prepare) เป็นกริยาแสดงการกระทำให้พร้อม (Prepared) เพื่อให้มีความพร้อม (Preparedness) คำว่า การเตรียมพร้อม หรือการเตรียมความพร้อม (Preparation) เป็นนาม ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนสถานภาพความพร้อม (State Transition) จากสถานภาพหนึ่งไปอีกสถานภาพหนึ่ง โดยคาดว่าจะพร้อมขึ้นหรือพร้อมกว่าเดิม

เตรียมพร้อมกับเปลี่ยนแปลง (Prepare and Change)

ความพร้อมเกี่ยวพันแนบแน่นกับความเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ เตรียมพร้อมกับเปลี่ยนแปลง (Prepare and Change) เป็นกิจกรรมการกระทำที่สัมพันธ์กัน เตรียมพร้อมจึงเปลี่ยนแปลงความพร้อม (Readiness) โดยที่ความเปลี่ยนแปลง (Changes) เป็นลักษณะธรรมชาติที่แปรผันและไม่แน่นอน ส่วนการเปลี่ยนแปลง (Changing) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เสมอเป็นปกติ โดยเฉพาะการกระทำที่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ สร้างความเปลี่ยนแปลง (Make the Changes) ทั้งทำเองและถูกทำ และบริหารความเปลี่ยนแปลง (Manage the Changes) รวมถึงการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) ซึ่งเน้นพิจารณากระบวนการเปลี่ยนแปลงโดยรวม เตรียมพร้อมจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

ความเปลี่ยนแปลงเป็นเหตุปัจจัยและผลปัจจัยของการเปลี่ยนแปลง โดยที่การเปลี่ยนแปลงเป็นกิจกรรมเป็นกรรมปัจจัยของความเปลี่ยนแปลง ความเปลี่ยนแปลงและการเปลี่ยนแปลงเป็นเหตุผลปัจจัยของกันและกัน ฉันใดฉันนั้น ความพร้อมและการเตรียมพร้อมต่างเป็นเหตุผลและเป็นปัจจัยของกันและกัน กล่าวคือ พร้อมเป็นทวิภาค (Duality) แบบอัญมัญสัมพันธ์ ของกันและกัน ซึ่งกันและกัน (Mutuality and Reciprocity)

เตรียมพร้อม หมายถึง เตรียมตัวเตรียมกำลังเตรียมการไว้ให้พร้อมสาระสำคัญอยู่ที่ เตรียม (Prearrange) ซึ่งเน้นทั้งกรรมภาพ การดำเนินการ (Process) และผลภาพ ผลการดำเนินการ (Outcome) หมายถึง จัดแจงไว้ให้เสร็จเรียบร้อย จัดหรือทำไว้ล่วงหน้า หรือเพื่อรับเหตุการณ์ข้างหน้า ดังนั้น เตรียมพร้อม ประกอบด้วย ทำสิ่งที่ต้องทำให้แล้วเสร็จทั้งหมดให้สำเร็จเรียบร้อยก่อน ทำสิ่งที่ต้องทำให้เสร็จสำเร็จเรียบร้อยเร็วขึ้นก่อนเวลา ทำสิ่งที่ควรต้องทำให้เสร็จสำเร็จเรียบร้อยตามเวลา และทำสิ่งที่คิดว่าควรจะต้องทำให้เสร็จสำเร็จเรียบร้อยโดยไม่รีรอ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อจะได้สามารถคิดและทำสิ่งอื่นต่อไปได้ และทำให้ได้ดีด้วย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ต้องทำ ควรทำหรือน่าทำก็ตาม

หากขยายบทสนทนาคำถามคำตอบให้ได้ใจความมากขึ้น ก็จะรวมความถึงว่า อะไรพร้อม เตรียมพรอ้ มอะไร พร้อมเพื่ออะไร ควบคู่ไปด้วยกันว่า พร้อมเมื่อไร เตรียมพร้อมเมื่อไร พร้อมสำหรับเมื่อไร นั่นคือพร้อมมีกาลเทศะเป็นปัจจัย กล่าวอีกนัยหนึ่ง ความพร้อมเป็นฟังก์ชัน (Function) ของปัจจัยกาละ (Time Factor) กับปัจจัยเทศะ (Space Factor) ซึ่งอาศัยความเข้าใจเรื่อง รู้จักกาลเทศะ (Sense of Space and Time) นอกจากนั้น ความพร้อมยังเป็นปัจจัยเป็นตัวแปรที่แสดงสถานภาพความพร้อมของปัจจัยอื่นปัจจัยหนึ่งหรือหลายปัจจัย ดังนั้น ความพร้อมเป็นฟังก์ชันประสม (Composite Function) ของปัจจัย

แม้ว่าโดยภาษาพูดทั่วไปความพร้อมจะใช้แบบทวิภาค (Dichotomy) ว่าพร้อมหรือไม่พร้อม เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในความเป็นจริงค่าความพร้อมไม่ได้เรียบง่ายตัดแบ่งชัดเจนเช่นนั้น แต่เป็นค่าบนแถบความต่อเนื่อง (Continuity) ยิ่งกว่านั้น การกำหนดขอบเขตความครบถ้วนสมบูรณ์ของความพร้อม คือ ปัจจัยที่กำลังสนใจพิจารณา หรือตัวแปรของฟังก์ชัน ก็มีประเด็นความยุ่งยากละเอียดอ่อนซับซ้อน เช่นเดียวกับกรณีการกำหนดปัญหา (Problem Denition) ด้วยลักษณะทั้ง 2 ประการนี้ คำว่า พร้อม จึงมักใช้ในความหมายต่างกัน และเข้าใจต่างกัน ทำให้มีสมมติฐาน ความคาดหมายที่ต่างกัน การเลือกในการปฏิบัติจึงต่างกัน รวมถึงกิจกรรมการเตรียมพร้อมทั้งหลาย ผลลัพธ์จึงต่างกันในหลายทิศทางหลายมิติ จนบ่อยครั้งที่บางคนไม่รู้ว่าทำไมบางอย่างเกิดขึ้นหรือไม่

การวิเคราะห์แสดงเหตุผลของความพร้อม หรือวิจยกรรม (Investigative Explication) จึงจำเป็นต้องพิจารณาระบุชี้ชัดถึงระดับองค์ประกอบหรือปัจจัยตามกรอบความคิดทั้งหลาย (Conceptual Framework) อย่างรอบคอบ ด้วยหลักโยนิโสมนสิการ (Attention and Inspection) และหลักอิทัปปัจจยตา (Causation)

กรอบความคิดที่ใช้ในการพิจารณาความพร้อมปกติทั่วไปมีมากมายหลากหลาย ซึ่งอาจศึกษาเรียนรู้ได้จากการเปิดรับตามหลักปรโตโฆสะ (Persuasion and Direction) เช่น กรรม (Deed: 3T) ได้แก่ คิด พูด และทำ หรือมโนกรรม วจีกรรม และกายกรรม ประโยค (Sentence) ได้แก่ ประธาน กริยา และกรรม รวมทั้งคำขยาย กระบวนการ (Process: IPO) ได้แก่ นำเข้า ขั้นตอน และนำออก วิวัฒน์บนเหตุผล (Evolve on Causality) ได้แก่ วิวัฒนกรรม (Evolution) คือ แก้ไข ปรับปรุงและพัฒนา การวิเคราะห์สถานภาพ (CO’SWOT) ได้แก่ ปัจจัยในตัวส่วนตัว จุดแข็ง (S) กับจุดอ่อน (W) คือ ความสามารถ (Risk Capability) ปัจจัยนอกตัวรอบตัว โอกาส (O) กับภัยคุกคาม (T) คือ เหตุการณ์ (Risk Event) และปัจจัยแนบตัวรัดตัว อุปสรรค (O’) ความท้าทาย (C) คือ ทัศนวิสัย (Risk Visibility) วงจรดำเนินการต่อเนื่อง (A Continuous Conducting Cycle: 4D) ได้แก่ กำหนดแนวคิด จัดการทรัพยากร ลงมือปฏิบัติ และก้าวหน้าพัฒนา องค์ประกอบพื้นฐาน (Basic Building Blocks: 11P) ได้แก่ คน สารัตถปัจจัย ปรัชญา โครงสร้าง วัตถุประสงค์ หลักการ นโยบาย ขั้นตอน วิธีปฏิบัติ การปฏิบัติ และผลการปฏิบัติ องค์ประกอบรากฐาน (Common Constructing Components: 11C) ได้แก่ ปริณาม สังขารปัจจัย บริภาค บริบท บริลักษณ์ จิตภาพ สมรรถภาพ กรณียภาพ บูรณภาพ สมถภาพ และผลภาพ

หากพิจารณากรอบความคิดโครงสร้างประโยคเป็นตัวอย่างพร้อม {ประโยค} หมายถึงทั้ง 3 ส่วนต้องพร้อม ได้แก่ ประธาน (Subject) กริยา (Verb) และกรรม (Object) กล่าวคือ พร้อม {ประธาน, กริยา, กรรม} ลำดับถัดไปแยกส่วน ส่วนแรก พร้อม {ประธาน} หมายถึงทั้งร่างกายและจิตใจต้องพร้อม คือ กายภาพ (Material) กับจิตภาพ (Mental) ต่อไปถึงอายตนะ ส่วนกลางพร้อม{กริยา} หมายถึงทั้งกระทำ (Active) และถูกกระทำ (Passive) ต้องพร้อม และส่วนท้าย พร้อม{กรรม} หมายถึงทั้งสิ่งสนใจสิ่งสอดคล้องสิ่งสัมพันธ์ หรือระบบ (System) และสิ่งแวดล้อม (Environment) ต้องพร้อม ซึ่งเมื่อคำนึงถึงความต่างทางเวลา (Tense) ด้วยแล้วจะได้รูปขยายเป็น พร้อม {กายภาพ, จิตภาพ, กระทำ, ถูกกระทำ, สิ่งสอดคล้อง, สิ่งแวดล้อม, เวลา} เป็นค่าความพร้อมของประโยคนี้

หากพิจารณาไตร่ตรองตามช่วงเวลา (Epoch) ความพร้อมในอดีตเป็นรากฐาน (Foundation) ของความพร้อม ซึ่งอาศัย สติปัญญา (Conception) ความพร้อมในปัจจุบันเป็นพื้นฐาน (Fabrication) ซึ่งอาศัยสติสมาธิ (Concentration) ส่วนความพร้อมในอนาคตเป็นผลฐาน (Fruition) ซึ่งอาศัยสติสัมปชัญญะ (Consideration) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชวนญาณ เชาวน์ ปฏิภาณไหวพริบ ดังนั้น สติ (Consciousness) จึงเปรียบเหมือนหัวใจของความพร้อม ซึ่งเป็นมิติความพร้อมส่วนบุคคลที่จำเป็นต้องดำรงรักษาเจริญไว้ให้ดีอยู่เสมออย่างต่อเนื่อง

อ่านต่อได้ฉบับหน้า … มุมมองว่าด้วย พร้อม (NOTES ON READY) ตอนที่ 2


ที่มา: อินทาเนีย ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2565 คอลัมน์ ข้อคิดจากนิสิตเก่า โดย ดร.ปิยะพันธ์ ทยานิธิ วศ.23


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save