1. ติดตาม #ข้อมูลคุณภาพอากาศทางเว็บไซต์ http://sensorforall.com/ มีการรายงานสถานการณ์ คำแนะนำ พร้อมให้ความรู้เรื่องฝุ่นและคุณภาพอากาศ : ระบบนี้ พัฒนาโดยโครงการ Sensor for All ที่ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ของประเทศ อาทิ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (#กฟผ) กรมควบคุมมลพิษ การเคหะแห่งชาติ เป็นต้น
2. ทีมงานได้ต่อยอดพัฒนา #แอปพลิเคชัน Sensor For All ที่พร้อมให้ทุกท่าน Download ไปใช้งานบนสมาร์ทโฟนทุกระบบ เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล เพื่อดูแลสุขภาพจากมลพิษอากาศ รวมถึงส่งต่อข้อมูลให้กับคนที่ห่วงใย
3. ทุกท่านสามารถตรวจสอบความเข้มข้นฝุ่นล่วงหน้าด้วย #ระบบคาดการณ์ฝุ่นอัจฉริยะ ที่พัฒนาโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สามารถคาดการณ์ความเข้มข้นฝุ่น PM2.5 ล่วงหน้าสูงสุด 3 วันด้วยระบบ AI ที่พัฒนาด้วยระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่จากทั้งข้อมูลฝุ่นย้อนหลัง สภาพภูมิอากาศ และจุดความร้อนรอบประเทศไทย : เรากำลังพัฒนาระบบนี้ให้ครบถ้วนในทุกพื้นที่ และสมบูรณ์แบบมากที่สุดครับ
สุดท้ายนี้ “สิ่งที่มีมูลค่ามากที่สุดในยุคนี้ไม่ใช่เงิน แต่เป็นข้อมูล (Data) ที่ผ่านการรวบรวมและเปิดกว้างสำหรับทุกคน”
สิ่งที่ทำให้ข้อมูลมีมูลค่า คือ #ผู้เชี่ยวชาญที่มีใจในการทำงาน Sensor for All จะเป็นหนึ่งในโครงการต้นแบบที่แสดงให้เห็นถึงนวัตกรรมสู่ความยั่งยืน แสดงให้เห็นว่าคนไทยก็สามารถทำได้
ความสำเร็จของโครงการนี้จะขยายผลไปยังภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อการแก้ปัญหาโครงการอื่น ๆ เช่น มลพิษอากาศชนิดอื่น ๆ (ตาม AQI) มลพิษทางเสียง ขยะ พลาสติก และภัยพิบัติธรรมชาติต่อไป”
https://www.chula.ac.th/news/41078/
จากใจ ดร.โอ คณาจารย์ และทีมงานทุกคนครับ