กำเนิดชนชาติไทย ปฐมบทแห่งความเป็นไทย (ตอนที่ 2)

กำเนิดชนชาติไทย ปฐมบทแห่งความเป็นไทย (ตอนที่ 2)


นักวิทยาศาสตร์ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างความรู้ (Knowledge) กับ ความเชื่อ (Belief) ไว้ว่า “มีความขัดแย้งที่แตกต่างกันระหว่างความรูกั้บความเชื่อเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ก็น่าจะถึงเวลาแล้วที่ความเชื่อทั้งหลายควรถูกทดแทนที่ด้วยความรู้อันเป็นความจริงที่ถูกต้อง เพราะความเชื่อทั้งหลายนั้นมิได้อยู่บนฐานของความรู้ แต่เป็นเพียงความหลงเชื่อกันอย่างงมงาย จึงควรจะถูกแก้ไขด้วยการศึกษาที่ถูกต้องเพื่อเปิดให้มีการคิดค้นคว้าในการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ สถาบันการศึกษาจึงนับเป็นองค์กรสำคัญที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนอย่างถูกต้องเป็นอย่างยิ่ง ”

กำเนิดชนชาติไทย…ปฐมบทแห่งความเป็นไท
หนังสือเรื่อง “กำเนิดชนชาติไทย…ปฐมบทแห่งความเป็นไทย” เรียบเรียงโดย พระรุ่งเรือง ปภสสโร วศ.18 (ดร.รุ่งเรือง ลิ้มชูปฏิภาณ์)

There was an irreconcilable conflict between knowledge belief. The opinion prevailed among advanced minds that it was time that belief should be replaced increasingly by knowledge; belief that did not itself rest on knowledge was superstition, and as such had to be opposed. According to this conception, the sole function of education was to open the way to thinking and knowing, and the school, as the outstanding organ for the people’s education, must serve that end exclusively

“คนหลงทาง อาจเสียเวลาช่วงระยะหนึ่ง แต่คนหลงชาติกำเนิดของตนเองนั้น ถึงเกิดมาก็น่าเสียดายทั้งชีวิต” ดังนั้น การศึกษาประวัติศาสตร์ของชนชาติหนึ่ง ๆ เป็นเรื่องสำคัญของชนชาตินั้น ๆ เป็นอย่างมาก เพราะเป็นการสร้างจิตสำนึกแห่งความเป็นชาติ จึงเป็นการเรียนรู้ตามความเป็นจริง เพื่อให้เกิดปัญญา มิใช่ความเชื่อ สำหรับเรื่องความเชื่อที่เล่าขานหรือเชื่อตามกันมานั้น ก็มิใช่จะปฏิเสธเสียทันที แต่เมื่อรับฟังแล้วก็ต้องวิเคราะห์พิสูจน์ต่อให้เป็นจริงกันเสียก่อน เพราะถึงแม้จะมีการสั่งสอนบอกเล่าตาม ๆ กันมา ประพฤติกระทำตาม ๆ กันมา มีกล่าวอ้างในตำราหรือคัมภีร์ที่เขาเขียนกันเองบ้าง พอเขาอ้างคัมภีร์ ก็เป็นหนังสือที่เขาเขียนเองนั่นแหละ เพราะเป็นสิ่งที่เข้ากับความคิดของตนเอง

กำเนิดชนชาติไทย ปฐมบทแห่งความเป็นไทย

เรื่องที่มักจะอ้างกันว่า คนไทยเป็นพวกอพยพที่มาจากนอกสุวรรณภูมินั้นและก็มักจะอ้างกันอยู่เสมอว่า เป็นนักวิชาการชาวตะวันตกและมีหลักฐานของฝรั่งนั้น เมื่อได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงก็จะพบว่า เป็นเพียงข้ออ้างของฝรั่งเพียง 2 คน และเขาเหล่านั้นก็ไม่ใช่นักวิชาการอะไร คนหนึ่งถูกนักวิชาการฝรั่งเรียกว่า “นักลวงโลก” อีกคนเป็น “หมอสอนศาสนาคริสต์” และส่วนที่ว่ามีหลักฐานนั้น ก็เป็นแต่เพียงคำกล่าวอ้าง ไม่ใช่หลักฐานอะไรอีกเช่นกัน เรื่องที่อ้างว่า “คนสุโขทัยมาจากอัลไตหรือมาจากน่านเจ้านั้น” จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ได้แม้แต่ชิ้นเดียวเรื่องความเชื่อเหล่านี้ ภายหลังก็ถูกพวกนักวิชาการฝรั่งเศสนำมาใช้เป็นแผนการยุทธศาสตร์ในการสร้างเขมรโบราณให้เป็นใหญ่ในสุวรรณภูมิแล้วก็อ้างความชอบธรรมแก่จักรวรรดิอินโดจีนฝรั่งเศส ในการรุกรานสยามให้แก่ชาติในอารักขา ดังนั้น การศึกษาหาความจริงของประวัติศาสตร์ไทยจึงต้องมีการตรวจสอบเรื่องความเชื่อทั้งหลายเหล่านั้นว่า มีหลักการพื้นฐานบนข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์อย่างมีเหตุผลเป็นวิทยาศาสตร์หรือไม่ และเมื่อไม่มีแล้วก็อย่าไปเชื่อเพราะผู้กล่าวอ้าง ดังที่พระพุทธเจ้าได้สั่งสอนแล้วใน “กาลามสูตร”

ในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ครั้งนี้ นอกจากจะอ้างอิงถึงหลักฐานพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ และศิลปวัตถุต่าง ๆ ที่เคยมีการค้นพบและศึกษามาก่อนหน้านี้แล้ว ในการนี้มีการเพิ่มเติมหลักฐานเชิงประจักษ์ใหม่ ๆ ในปัจจุบันที่โลกมีการเปิดกว้างขึ้น สิ่งต่าง ๆ และสถานที่ที่มีการอ้างถึงนั้น จากที่เคยสงสัยและคาดเดากันมาก่อนหน้านั้น ก็ได้มีการศึกษาวิจัยในเรื่องชนชาติต่าง ๆ ในสถานที่จริงเพิ่มขึ้น มีการสำรวจทางมานุษยวิทยาและภาษาศาสตร์ของชุมชนต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่เกี่ยวข้องกับสมมุติฐานต่าง ๆ โดยเฉพาะในยูนนานตอนใต้อย่างกว้างขวาง ประกอบกับการขุดพบทางโบราณคดีที่มีเพิ่มขึ้น รวมทั้งวิทยาการใหม่ ๆ ที่สำคัญ เช่น ความรู้ทางพันธุศาสตร์ การขุดค้นพบโครงกระดูกมานุษยวิทยาโบราณทั้งในสุวรรณภูมิยูนนาน และจีนตอนใต้ และความรู้ในเรื่องสภาพทางภูมิศาสตร์ของสุวรรณภูมิในสมัยยุคนํ้าแข็งทำให้เข้าใจถึงการวิวัฒนาการมนุษย์ในสมัยโบราณได้เป็นอย่างดี ก็จะช่วยเสริมการวิเคราะห์เรื่องการกำเนิดชนชาติไทยได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์เปน็ องค์ความรู้ใหม่ที่สนใจยิ่ง ดังจะสรุปเรื่องหลักฐานอ้างอิงที่สำคัญได้ดังนี้คือ

1. บันทึกประวัติศาสตร์ และเอกสารบันทึกต่าง ๆ ของจีน ที่กล่าวถึงการปกครองและอาณาจักรต่าง ๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ

แต่ก่อนนั้นข้อมูลความรู้ต่าง ๆ เหล่านี้ถูกผูกขาดโดยนักวิชาการฝรั่งเศส ใครจะเข้าถึงต้องอ่านจากฉบับแปลของฝรั่งเศสเท่านั้น แต่ปัจจุบันนักวิชาการจีนได้แปลและเผยแพร่ออกเป็นภาษาอังกฤษแล้ว อาตมาจึงได้ใส่ชื่อของบันทึกต่าง ๆ ตามสำเนียงจีนอย่างละเอียดซึ่งท่านทั้งหลายสามารถตรวจสอบได้ ทั้งที่เป็นฉบับภาษาจีนและภาษาอังกฤษ และถ้าได้อ่านอย่างละเอียดแล้วก็จะพบว่า ฉบับภาษาฝรั่งเศสมีความคลาดเคลื่อนที่แตกต่างกับต้นฉบับภาษาจีนเป็นอย่างมาก อาตมาเองก็ได้เคยปรึกษาเรื่องนี้กับมาดามหวู่กุ้ยเซียน (Wu Guixion) อดีตรองนายกรัฐมนตรีของจีน ซึ่งท่านและทางรัฐบาลจีนก็ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

เรื่องเอกสารจีนนี้ ถือได้ว่าเป็นข้อมูลใหม่ที่สำคัญ เพราะในสมัยก่อนนั้น เอกสารตันฉบับเหล่านี้ถูกผูกขาดอยู่แต่เฉพาะในหมู่นักวิชาการฝรั่งเศสเท่านั้น นักประวัติศาสตร์ทั้งทางจีนและอเมริกาต่างก็มีความเห็นสรุปว่า พวกนักวิชาการฝรั่งเศสเหล่านี้มีอคติด้วยเจตนาพิเศษทางการเมืองแอบแฝง โดยมีความประสงค์ที่จะมารุกรานและยึดครองดินแดนสยามอยู่มาก ซึ่งถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการก่อตั้งจักรวรรดิอินโดจีนฝรั่งเศสในขณะนั้น การวิเคราะห์และแปลเอกสารจึงแตกต่างกับต้นฉบับภาษาจีนเดิม

2. ปัจจุบันนักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ชาวตะวันตกได้ศึกษาหาความจริงลงสำรวจในพื้นที่ และมีการขุดพบทางโบราณคดีกันมากขึ้น

จึงได้พบว่าเรื่องต่าง ๆ ที่อ้างว่าคนไทยเป็นพวกอพยพมาจากที่ต่าง ๆ นั้น ไม่เป็นความจริง นอกจากนี้เมื่อจีนมีความเจริญทางวิทยาศาสตร์ดังที่เป็นไปในปัจจุบัน ทางรัฐบาลจีนจึงได้ส่งเสริมการศึกษาวิจัยถึงชนชาติต่าง ๆ ทั้งที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของยูนนาน อันเป็นต้นตระกูลน่านเจ้า และชนเผ่าต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณทางใต้ยูนนาน รวมทั้งชนเผ่าต่าง ๆ ในกวางสีของจีน จนถึงบริเวณตอนเหนือของสุวรรณภูมิ เอกสารการวิจัยประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของชาวตะวันตกและของจีน ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศในดินแดนต่างๆ เหล่านี้จึงเป็นความรู้ใหม่ที่มีอยู่มาก ปัจจุบันประเทศจีนได้เปิดประเทศ จึงทำให้มีการเดินทางเข้าสู่ดินแดนเหล่านี้ เพื่อศึกษาวิจัยค้นหาความจริงภาคสนาม โดยไม่ต้องเชื่อตามกันมาได้แล้ว เรื่องราวต่าง ๆ ในดินแดนแถบนี้ได้เป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวาง และเมื่อโลกได้เปิดกว้าง ความจริงทั้งหลายปรากฏ ก็จะเห็นได้ว่า แตกต่างกับความเชื่อเดิม ๆ อยู่มาก

3. ความสำคัญของดินแดนสุวรรณภูมิคือเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์มาแต่โบราณ เป็นที่กำเนิดของอารยธรรมการเกษตรเป็นแห่งแรกของโลก

ดังนั้น ชาติตะวันตกจึงได้ทำการขุดค้นพบทางโบราณคดีในยุคก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนสุวรรณภูมิไว้มาก แต่คนไทยเราเองกลับไม่ค่อยให้ความสนใจมากเท่าที่ควรเลยไม่รู้จริงว่า คนเหล่านี้ อารยธรรมเหล่านี้ เป็นใครและเป็นของใครกัน

การขุดพบซากสัตว์ในสมัยโบราณก่อนวิวัฒนาการของมนุษย์และการขุดพบกะโหลกของมนุษย์โบราณ พร้อมหลักฐานวิวัฒนาการของมนุษย์ในยุคแรกของโลกในสุวรรณภูมิเป็นจำนวนมาก ซึ่งแสดงถึงวิวัฒนาการของสายพันธุ์มนุษย์ต่างๆ ที่มีมานับแต่โบราณในบริเวณดินแดนแถบนี้มานานแล้ว ตั้งแต่สมัยที่เริ่มมีกำเนิดมนุษยชาติขึ้นในโลก เมื่อเกือบ 2 ล้านปีมาแล้ว เรียกได้ว่าเก่าแก่มากเป็นรองก็แต่ที่แอฟริกาเท่านั้น ซึ่งทำให้เชื่อได้ว่า เมื่อมนุษย์เราอพยพมาจากแอฟริกานั้น ก็ได้มายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อันอุดมสมบูรณ์แห่งนี้ ก่อนเดินทางไปที่อื่น ๆ ในเอเชีย ดังนั้น ดินแดนสุวรรณภูมิจึงถือได้ว่าเป็นแหล่งความเจริญและเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมโลกมานับตั้งแต่ยุคโบราณ โดยเฉพาะอารยธรรมการเกษตร คือการปลูกข้าวในสุวรรณภูมินั้นถือได้ว่าเกิดขึ้นเป็นแห่งแรกในโลก ในดินแดนตอนในของสุวรรณภูมินี้เอง แล้วจึงมีการพัฒนาการเป็นบ้านเมือง ทำการติดต่อทางทะเลกับอินเดียและจีนอย่างกว้างขวาง ดินแดนสุวรรณภูมิจึงเป็นที่เชื่อมต่ออารยธรรมอินเดียกับจีนเข้าด้วยกันในเวลาต่อมา

การขุดพบทางโบราณคดีนี้พอจะแบ่งเป็น 2 ช่วงยุคสมัยคือ ในส่วนมนุษย์โบราณเมื่อหลายหมื่นปีมาแล้ว นับตั้งแต่สมัยยุคนํ้าแข็งปกคลุม และเมื่อนํ้าแข็งละลายแล้วจึงเกิดเป็นผืนแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์ในที่ราบลุ่มตอนกลาง ในขณะที่ระดับนํ้าทะเลก็สูงขึ้นจนท่วมพื้นดินเดิมเกิดเป็นอ่าวไทยขึ้น มนุษย์โปราณจึงได้ลงสู่ตอนกลางของสุวรรณภูมิ ส่วนที่ 2 เป็นยุคสมัยที่มนุษย์เริ่มก่อตั้งชุมชนและสร้างบ้านเมืองขึ้นเมื่อประมาณสมัย 4 พันกว่าปีมาแล้ว ดินแดนสุวรรณภูมินี้จึงมีความเก่าแก่และมีความสำคัญเป็นอารยธรรมโบราณของมนุษยชาติ คนสุวรรณภูมินี้มีอยู่จริงเกิดเป็นชุมชนหลายเผ่าพันธุ์ที่สร้างบ้านเมืองขึ้นมานับแต่โบราณ

หมายเหตุ ถ้าตราบใดที่คนไทยเรายังไม่เข้าใจในความเป็นชาติกำเนิดที่ถูกต้อง แล้วจะมาให้ความสำคัญถึงคุณค่าของอารยธรรมโบราณสุวรรณภูมิกันได้อย่างไร เรื่องกำเนิดชนชาติไทยในสุวรรณภูมิจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นการสร้างจิตสำนึกแห่งความเป็นไทยที่ถูกต้อง

4. วิทยาการทางพันธุกรรม เพื่อสืบหาต้นกำเนิดของมนุษยชาติ ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมและสามารถตรวจสอบพันธุกรรมว่าเกี่ยวข้องว่าเป็นสายพันธุ์เดียวกัน จนเป็นการศึกษาถึงต้นกำเนิดของชนชาติได้

รัฐบาลจีนได้ศึกษารหัสพันธุกรรมของชนชาติต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายทั้งในยูนนานตอนเหนือและตอนใต้ และชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ที่อาศัยบริเวณตอนเหนือของสุวรรณภูมิจนไปถึงจีนตอนใต้ นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาเปรียบเทียบชนกลุ่มน้อยต่างๆ ในพม่าและในประเทศไทย ถึงหมู่เกาะต่างๆ ในตอนใต้สุวรรณภูมิด้วย วิทยาการสมัยใหม่เพื่อตรวจสอบสายพันธุ์ด้วยรหัสพันธุกรรม นับเป็นการพิสูจน์ที่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบสายพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง จนถือได้ว่าเป็นการวิเคราะห์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์

5. การเข้าใจถึงอิทธิพลของนักวิชาการฝรั่งเศส และประวัติศาสตร์ของการก่อตั้งจักรวรรดินิยม อินโดจีน ฝรั่งเศส และการรุกรานดินแดนสุวรรณภูมิในยุคล่าอาณานิคม ดังที่เรียกกันเป็นภาษาวิชาการว่า French Colonization นั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้อเสนอความคิดในเรื่องกำเนิดชนชาติไทยของนักวิชาการฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก

การขับเคลื่อนเรื่องเขมรเป็นใหญ่ในสุวรรณภูมินั้น ถือได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของฝรั่งเศส ในแผนการรุกรานและเข้ายึดครองดินแดนสุวรรณภูมิจากสยาม และขยายเข้าสู่ดินแดนยูนนาน (น่านเจ้า) ของจีนในขณะนั้น

ปัจจุบันเรื่องการรุกรานของฝรั่งเศสต่อสยาม มิใช่เป็นเรื่องความลับทางการทหารอีกต่อไปแล้ว ดังนั้น เอกสารและข้อตกลงรวมทั้งแผนการต่าง ๆ จึงเปิดเผยต่อสาธารณชน ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้นักวิชาการตะวันตกได้ศึกษาวิจัยถึงนักวิชาการฝรั่งเศสที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเชิงยุทธศาสตร์สมัยล่าอาณานิคมเหล่านี้ไว้อย่างน่าสนใจ แล้วนักวิชาการจีนก็นำไปศึกษาต่อ จึงทำให้เข้าใจเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนนับตั้งแต่การมาขอทำการสำรวจเส้นทางต่าง ๆ การเผยแผ่ศาสนาแก่ชนกลุ่มน้อยของจีน รวมถึงการกวาดซื้อเอกสารโบราณของจีน และการพยายามให้ความช่วยเหลือทางวิชาการของจีน การศึกษาประวัติศาสตร์โดยแนวกว้างเช่นนี้ ทำให้เข้าใจเจตนาพิเศษของนักวิชาการฝรั่งเศสทั้งหลายต่อสังคมของชนชาติต่าง ๆ ในเอเชีย ที่จริงถ้านักวิชาการประวัติศาสตร์อเมริกันไม่ได้ศึกษาในเรื่องเหล่านี้แล้ว หลายคนก็คงจะมองข้ามความจริงอันเจ็บปวดไป เพราะจิตใจที่ดีงามของชาวเอเชียคงคาดไม่ถึงกับเบื้องหลังของนักวิชาการฝรั่งเศสเหล่านี้ การศึกษาเรื่องเหล่านี้ ในชุดหนังสือ “The French Colonial Mind” จะช่วยทำให้เข้าใจถึงมูลเหตุจูงใจ และความฉลาดลํ้าลึกของการรขับเคลื่อนทางวิชาการ ที่ประสานรับกับการรุกรานทางวัฒนธรรมของจักรวรรดิอินโดจีนฝรั่งเศสในขณะนั้นได้เป็นอย่างดี


ที่มา: อินทาเนีย ฉบับที่ 3 ปี พ.ศ. 2564 คอลัมน์ เก็บมาฝาก โดย พระรุ่งเรือง ปภสฺสโร วศ.18


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save