รศ. ดร.ต่อตระกูล ยมนาค วศ.09 โครงการแม่นํ้า เรสซิเดนท์…การก่อสร้างอาคารสูงที่ตอบโจทย์การบริหารงานก่อสร้างสมัยใหม่…

รศ. ดร.ต่อตระกูล ยมนาค วศ.09 โครงการแม่นํ้า เรสซิเดนท์…การก่อสร้างอาคารสูงที่ตอบโจทย์การบริหารงานก่อสร้างสมัยใหม่…


การก่อสร้างอาคารสูงในประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่มักจะใช้เวลานานกว่าที่กำหนดไว้ ด้วยเหตุผลหลาย ๆ ประการ แต่ในช่วง ปลายปี 2559 ที่ผ่านมา มีโครงการคอนโดมิเนียมหรูติดแม่นํ้าเจ้าพระยาแห่งหนึ่งสามารถบริหารจัดการให้สร้างแล้วเสร็จ ก่อนกำหนดเวลาถึง 4 เดือน ตามคุณภาพและมาตรฐานของโครงการระดับ 5 ดาว นั่นคือ โครงการแม่นํ้า เรสซิเดนท์ คอนโดมิเนียมหรูสูง 239 เมตร จำนวน 54 ชั้น ซึ่งเป็นอาคารที่สูงอันดับ 6 ของบรรดาอาคารที่สร้างเสร็จในประเทศไทย

ความสำเร็จของโครงการแม่นํ้า เรสซิเดนท์ เกิดจากความร่วมมือของ บริษัท แม่นํ้า เรสซิเดนท์ จำกัด บริษัท วิศวกรที่ปรึกษา ต่อตระกูล ยมนาคและคณะ จำกัด และทีมรับเหมาก่อสร้าง บริษัท แสงฟ้าก่อสร้าง จำกัด รวมถึงทีมผู้ออกแบบ ซึ่งทั้งหมดได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จทั้งในด้านของเวลาและงบประมาณการก่อสร้าง

ด้วยความตั้งใจของผู้บริหารโครงการแม่นํ้า เรสซิเดนท์ ที่ต้องการให้โครงการนี้เป็นโครงการคุณภาพระดับ 5 ดาว จึงให้ความสำคัญแก่คุณภาพเป็นอันดับแรก จากนั้นก็เป็นระยะเวลาในการก่อสร้าง และงบประมาณ จากความตั้งใจดังกล่าว ทุกฝ่ายจึงร่วมมือกันทำงานอย่างใกล้ชิด และใช้ความเป็นที่สุดของเทคโนโลยีในหลาย ๆ ด้าน เพื่อทำให้โครงการนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี

รศ. ดร.ต่อตระกูล ยมนาค วศ.09 ประธานบริษัท วิศวกรที่ปรึกษา ต่อตระกูล ยมนาคและคณะ จำกัด (TACE) และประธานที่ปรึกษาของโครงการแม่นํ้า เรสซิเดนท์ คอนโดมิเนียม ได้มาร่วมพูดคุยถึงการทำงาน ที่ทำให้โครงการแม่นํ้า เรสซิเดนท์ ประสบผลสำเร็จได้

สิ่งแรกที่ อาจารย์ต่อตระกูล กล่าวถึงคือ การทำงานเป็น “ทีม” และความสำคัญของผู้ประสานงาน “เราทราบกันดีว่างานก่อสร้างงานหนึ่งนั้นประกอบด้วยหลายส่วน ดังนั้น การจะทำให้งานสำเร็จได้เร็วขึ้น เพิ่ม ผลผลิตงานก่อสร้างก็คือการสร้างทีมงาน ซึ่งโครงการนี้สามารถสร้าง ทีมงานให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ร่วมกันคิดร่วมกันทำมาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ เรียกว่าเป็น Single Team และข้อพิสูจน์ที่ดีของการทำงาน เป็นทีมคือ การประสานงานการก่อสร้างในแบบต่อเนื่อง (Loop Construction) ทำให้งานออกมาได้เร็ว และราบรื่น”

ผู้ที่มีบทบาทสำคัญอีกคนหนึ่งในโครงการนี้ คือ เดชโรจน์ ตั้งสิน (วศ.48) Executive Director of Menam Residences ได้ลงมาร่วม ทำงานด้วยอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นผลดีต่อโครงการเป็นอย่างมาก

เดชโรจน์ เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญมาก เขาเพิ่งจบมาไม่นาน แต่เข้าใจในการทำงานของส่วนต่าง ๆ เป็นอย่างดี และอาจจะเพราะเป็นรุ่นพี่ รุ่นน้องที่จบจากวิศวฯ จุฬาฯ เหมือนกันทั้ง 3 คน หมายถึงคุณเดชา คุณเดชโรจน์ และผม ทำให้เข้าใจกันง่าย คุยกันง่าย ต่างให้ความเคารพ ในความคิดเห็นของกันและกัน ทำให้งานราบรื่นกว่าโครงการอื่น ๆ” อาจารย์ต่อตระกูล กล่าวเพิ่มเติม

อันที่จริงแล้วโครงการนี้ใช้หลักการบริหารโครงการที่ใช้ศาสตร์การบริหารคล้าย ๆ โครงการอื่น ๆ แต่ข้อแตกต่างคือ การดึงหลักการบริหารแต่ละเรื่องมาจัดประชุมระดมสมองอย่างจริงจัง และทุ่มเท

การทำ Value Engineering (VE) : ในโครงการนี้มีการนำ VE อย่างจริงจัง มีการประชุมร่วมกันระหว่างเจ้าของ ผู้ออกแบบ ที่ปรึกษา และ ผู้รับเหมา อย่างใกล้ชิด รวมทั้งผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ในบางโอกาสด้วย การทำ VE ไม่ใช่การใช้การลดคุณภาพวัสดุ หรือลดสเปกหรือเปลี่ยนวัสดุ แต่เป็นการหาทางเลือกที่จะมาทดแทนแบบที่มีอยู่เดิม โดยยังคงคุณค่า เหมือนเดิมหรือดีกว่า การทำ VE อย่างจริงจังทำให้เกิดผลที่ชัดเจนคือ สามารถตัดขั้นตอนที่ยืดยาดซับซ้อนลง ใช้แรงงานน้อยลง และที่สำคัญคือราคาลดลง

ตัวอย่างของการศึกษาทำ VE เช่น งานผนัง ทาง TACE ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติวัสดุก่อสร้างแบบต่าง ๆ เพื่อหานวัตกรรมที่เหมาะสม แต่งานที่ประสบความสำเร็จมาก สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 40 ล้านบาท คือ งานฐานราก และงานยังเสร็จเร็วกว่าที่กำหนดไว้ถึง 25 วัน ส่วนต้นทุนการก่อสร้างที่ลดเกิดจากการปรับรูปแบบให้ก่อสร้างง่าย ปรับแบบ ย้ายหรือลดงานใต้ดินออกไป ทำให้ไม่ต้องขุดดินลึก ลดงานเข็มเหล็ก (Sheet Pile)

การเพิ่มผลิตภาพงานก่อสร้าง (Increasing Productivity) : โครงการได้นำวิธีการเพิ่มผลิตภาพมาใช้อย่างจริงจัง โดยหัวหน้าทีมทั้ง ฝ่ายเจ้าของ ผู้รับเหมา และ CM ได้กำหนดแนวทางการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูง โดยเห็นตรงกันว่า ต้องทำห้องทดลองก่อสร้างก่อนสร้างจริง (Lab Room) และทำการก่อสร้างแบบต่อเนื่อง (Loop Construction) ซึ่งในระยะแรกจะมีคำทักท้วงบ้าง เพราะต้อง ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน แต่เมื่อผลงานเริ่มปรากฏก็ทำให้ฝ่ายปฏิบัติยอมรับและเห็นถึงประโยชน์ นั่นคือ สามารถลดเวลาการทำงานลง ลดข้อผิดพลาดจากคนหรือจากแบบ ลดความคลุมเครือจากแบบและ สเปก ลดงานที่ไม่เรียบร้อย ปรับปรุงกระบวนการทำงานก่อสร้าง ให้กระชับ ชัดเจน ให้ฝ่ายช่างและแรงงานได้ทำซํ้า ๆ จนชำนาญ การตรวจสอบงานก็ติดตามได้ทุกระยะ โดยการกำหนดตารางเวลาได้ถึงขั้นเป็นรายชั่วโมง ไม่ทับซ้อน ลดความเสียหายของงานที่แล้วเสร็จ และลดขยะ ลดเศษวัสดุเสียหาย ทำให้ประหยัดเงิน และได้พื้นก่อสร้างที่สะอาด

การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) : การบริหารความเสี่ยงถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการ บริหารโครงการ ทาง TACE ได้วางแผนร่วมกับทุกฝ่ายเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดขึ้นหรือถ้าเกิดก็ต้องส่งผลกระทบน้อยที่สุด

จากการใช้หลักการบริหารจัดการทั้ง 3 ข้อที่กล่าวมา รวมถึง หลักการบริหารอื่น ๆ ทำให้โครงการแม่นํ้า เรสซิเดนท์ ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายหลักของการบริหารการก่อสร้างใน 3 ประการ คือ

Time โครงการสามารถสร้างเสร็จเร็วกว่ากำหนดได้ถึง 4 เดือน ที่สามารถลดเวลาได้ถึง 4 เดือนนั้นเป็นเพราะ

1. เป็นการสอดงานก่อสร้างอาคารเข้ามาในช่วงงานเสาเข็ม คืองาน Mobilize Contractor เช่น งานรั้วรอบอาคาร งานทำ Plate Form สามารถทำเสา King Post รับ Plate Form ได้เลยจากการฝังไว้ในเสาเข็มเจาะ การรับมอบผังบริเวณ ที่ปกติใช้เวลาไม่ตํ่ากว่า 7 วัน ไปทำช่วงอื่นได้

2. การก่อสร้างอาคาร 26 เดือน เร็วกว่าแผนงานมาก เนื่องจากใช้วิธีระดมความคิด การใช้วิธีการเพิ่มผลิตภาพงานก่อสร้าง (Increasing Productivity) การใช้วิศวกรรมคุณค่า (Value Engineering : VE) การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)

Cost ประหยัดเงินส่วนฐานราก 40 ล้านบาท ด้วยการบริหารต่าง ๆ ที่กล่าวมา มีการประเมินว่า สามารถลดค่าก่อสร้างทั้งโครงการเป็นมูลค่าลดลงถึง 4,000 บาทต่อตารางเมตร หรือประมาณ 200 ล้านบาท แต่หากประเมินจากดอกเบี้ยธนาคาร ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ น่าจะลดได้อีกหลายสิบล้านบาท

Quality สามารถให้ลูกค้าเข้าตรวจนับห้อง 2 เดือนก่อนก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งโครงการ

Loop Construction ลดระยะเวลาในการทำงาน และเพิ่มคุณภาพของงาน

โครงการแม่นํ้า เรสซิเดนท์

ปัญหาของงานก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ต้องใช้คนจำนวนมาก ผู้รับเหมาในแต่ละส่วนก็พยายามให้งานของตนเองเสร็จเร็วที่สุด ทำให้บางครั้งในพื้นที่มีคนทำงานจำนวนมาก แต่บางเวลากลับไม่มีคนมาทำงานเลย โครงการแม่นํ้า เรสซิเดนท์ จึงนำแนวคิดการทำงานแบบ Loop Construction มาใช้

การทำงานแบบ Loop Construction เป็นการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ ตามลำดับขั้นตอนการทำงาน โดยที่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องกำหนดการทำงานแต่ละขั้นตอนอย่างชัดเจน และต้องทำให้เสร็จทันตามกำหนด ไม่เช่นนั้นก็จะไม่สามารถขึ้นงานในส่วนต่อไปได้

ด้วยวิธีนี้ทำให้สามารถจัดสรรทีมงานได้เหมาะสมกับปริมาณงาน สามารถวางแผนสั่งซื้อวัสดุล่วงหน้าได้ ทำให้ Defect ที่เกิดจากการทำงานลดน้อยลง อีกทั้งการทำงานแต่ละชั้นสามารถใช้ทีมงานชุดเดิมเข้าทำงานในชั้นถัดไป และผลจากการทำงานซํ้า ๆ เช่นนี้ ทำให้ ทีมงานเกิดความชำนาญ ส่งผลให้ได้งานที่มีคุณภาพดีขึ้นตามไปด้วย

นอกจากนี้ ทางโครงการได้สร้าง Lab Room ขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบก่อนจะสร้างในระดับ Mass Production ต่อไป การทำงานใน Lab Room จะทำตามลำดับขั้นตอนที่วางไว้ใน Loop มีการตรวจสอบปัญหาที่จะเกิดขึ้นก่อน เมื่อได้ข้อมูลปัญหาจาก Lab Room แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเก็บ Defect ในงาน พร้อมจ้างผู้รับเหมา ตรวจห้องเพื่อตรวจสอบ Defect ในห้อง หากพบปัญหาก็จะต้องแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการทำงานจริง

นอกจากการวางแผนการทำงานที่เป็นขั้นตอนแล้ว การติดตามงานก็มีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน หากมีปัญหาจะต้องเร่งแก้ไขอย่าง ทันท่วงที งานของทุกฝ่ายจะต้องประสานกัน หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งล่าช้าจะส่งผลกระทบถึงฝ่ายอื่น ทำให้เกิดความล่าช้าไปด้วย ผู้ประสานงานจะต้องเร่งพูดคุยเพื่อหาทางร่วมกันแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงด้วยดี และดังได้กล่าวแล้วว่า โครงการแม่นํ้า เรสซิเดนท์นั้น เจ้าของโครงการได้ลงมาดูแลอย่างใกล้ชิด ฝ่ายต่าง ๆ สามารถรายงานแก่เจ้าของโดยตรง ทำให้การตัดสินใจแก้ไขปัญหาทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

นอกจากการทำงานแบบ Single Team และการทำงานแบบ Loop Construction แล้ว ได้มีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ เช่น การขนส่งทางดิ่ง ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ยากที่สุดในการก่อสร้างอาคารสูง ผู้รับเหมาใช้ลิฟต์ถึง 6 ตัวในการขนส่ง ก่อนขนส่งจะต้องมีการ ตรวจสอบวัสดุทั้งหมดเพื่อวางแผนการขนส่ง รวมทั้งคนที่จะขึ้นไปทำงานอย่างเป็นระบบด้วย

โครงการแม่นํ้า เรสซิเดนท์ เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ได้รับรางวัลมากมาย อาทิ รางวัลจากการประกวดสุดยอดรางวัลด้านอสังหาริมทรัพย์ประจำภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิก (Asia Pacic Property Award 2015-2016) รวม 6 รางวัล เช่น รางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่งระดับ Best Residential High-rise Development เพียงแห่งเดียวของประเทศไทย และรางวัลอื่น ๆ อีกหลายรางวัล ทั้งรางวัลด้านสถาปัตยกรรม Best High-rise Architecture งานตกแต่งภายใน Best Interior และงานจัดภูมิทัศน์ Best Landscape

จากทั้งหมดนี้กล่าวได้ว่า โครงการแม่นํ้า เรสซิเดนส์ คอนโดมิเนียม สามารถตอบโจทย์การบริหารงานก่อสร้างสมัยใหม่ ที่ได้ผลลัพธ์ครบถ้วนทั้งคุณภาพ (Quality) เวลา (Time) และต้นทุน (Budget) เบ็ดเสร็จในโครงการเดียว และหวังว่าโครงการนี้จะเป็นกรณีศึกษาให้แก่โครงการก่อสร้างอาคารสูงอื่น ๆ เพื่อเป็นการพัฒนาวงการก่อสร้างของไทยต่อไป


ที่มา: อินทาเนีย ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2560 คอลัมน์ สัมภาษณ์พิเศษ โดย กองบรรณาธิการ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save