ตรอกบ้านจีน ชุมชนโบราณเมืองตาก

ตรอกบ้านจีน ชุมชนโบราณเมืองตาก (1)


ทำไมคนจีนจึงมาตั้งรกรากที่นี่ ทั้งที่เป็นเพียงหัวเมืองเล็ก ๆ ไม่มีเส้นทางรถไฟ ไม่มีผลิตผลหลักการเกษตร การประมง ไม่มีเหมืองสินแร่ขนาดใหญ่ มีแต่แม่นํ้าปิงและป่าไม้

ลมหนาวเย็นพัดมาปลายธันวาคม พ.ศ. 2562 ช่วงนั้นเป็นจังหวะเหมาะพอดีกับที่พาเพื่อน ๆ วิศวฯ จุฬาฯ 2517 ไปร่วมงานการกุศลวิ่งพิชิตสันเขื่อนภูมิพล 13 กิโลเมตร พร้อมมอบเงินสนับสนุนอุปกรณ์การแพทย์แก่โรงพยาบาลสามเงา จังหวัดตาก และมอบผ้าอ้อมผู้ป่วยติดเตียงกับเงินช่วยเหลือครอบครัวผู้ยากไร้ในชนบทจังหวัดตาก ให้แก่มูลนิธิยันฮี ที่พวกเรามอบให้ต่อเนื่องกันมา 3 ปีแล้วบ่ายวันอาทิตย์มีโอกาสเข้าเมืองตาก แวะไปเที่ยวตรอกบ้านจีน เพื่อน ๆ และครอบครัวชอบและประทับใจกันมากหลายคนไม่รู้ว่ามีชุมชนโบราณที่ยังมีสภาพสมบูรณ์และสวยงามที่จังหวัดตาก

พรรคพวกค้นข้อมูลแล้วเคยขับรถหลงเข้าไป หวังจะเจออย่างตลาดสามชุก ตลาดโบราณบ้านสวน ตลาดท่านาและเเห่งอื่น ๆ แต่กลับไม่เจออะไร ตรอกเงียบเหงา บ้านก็ปิดหมด ไม่มีร้านค้าและไม่มีคนเดินเที่ยวคึกคักอย่างที่เห็นในเพจโซเชียล ฟาวล์กินแห้วกันไปหลายกลุ่มหลายครอบครัว แต่ก็ยังชื่นชอบบรรยากาศกับงานสถาปัตยกรรม แม้เพียงเดินชมภายนอกเท่านั้น…

โดนเพื่อน ๆ ทวงให้เล่าเรื่องชุมชนตรอกบ้านจีนให้รู้จักกันหน่อย…

ตรอกบ้านจีนนี้อยู่ไม่ไกลจากบ้าน (ในอดีต) ของผมเลย วันนี้ยินดีจะพาไปทำความรู้จักชุมชนโบราณแห่งนี้ ที่นี่ไม่ใช่เมืองโบราณจำลอง แต่เป็นของจริง อาคารทุกหลังพื้นที่ตรอกซอกซอยทุกตารางนิ้ว ปลูกสร้างมาแล้วไม่น้อยกว่า 100 ปี …

ตรอกบ้านจีน ชุมชนโบราณเมืองตาก

“ตรอกบ้านจีน” ที่เรียกว่าตรอกเพราะทางเข้าเล็กมาก รถยนต์สวนกันไม่ได้ เพราะเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ถนนคงมีเพียงคนเดินเท่านั้น ด้านข้างมีแม่นํ้าปิงไหลผ่านติดชิดหลังบ้าน เลยกลายเป็นเส้นทางเดินเรือ เป็นย่านการค้าที่มีคนจีนมาตั้งรกรากและเจริญรุ่งเรืองสุด ๆ บ้านเรือนในชุมชนมีลักษณะเด่นแตกต่างกับที่อื่น ทั้งศิลปะสมัยสุโขทัย อยุธยา และคลาสสิกสไตล์ยุโรปสมัยรัชกาลที่ 5 เทศบาล และจังหวัดไม่ได้แก้ไขตกแต่งอะไรเพิ่มเติม ทุกสิ่งยังเป็นสภาพเก่าแก่เหมือนเดิม…

ตรอกบ้านจีน ชุมชนโบราณเมืองตาก

สนใจไปเที่ยวเมืองตากบ้านผมก็ตามมาเลยครับ…

พ.ศ. 2553 ต้องกลับไปทำงานที่จังหวัดตากทุกสัปดาห์ และเป็นเวลาเดียวกับที่มีการฟนื้ ฟูตรอกบ้านจีนให้กลับมามีชีวิตชีวาเป็นถนนคนเดิน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ตรอกบ้านจีน ชุมชนโบราณเมืองตาก

วันนั้นเดินจากต้นตรอกไปจนถึงท้ายซอย เห็นสภาพทั่ว ๆ ไปก็ดูดีและถูกใจนักท่องเที่ยวต่างถิ่น รวมทั้งคนตากเอง ไปเที่ยวกันอย่างคึกคัก มีบ้าน 5-6 หลัง เปิดประตูต้อนรับแขกอนุญาตให้เข้าไปชมภายในบ้าน ดูเครื่องเรือน รูปภาพ ของใช้ และเล่าถึงประวัติของบ้าน ตระกูลของเจ้าบ้าน ส่วนอีก 30-40 หลัง เจ้าของไม่อยู่ที่บ้านนี้แล้ว และปิดตายถาวร การเดินชมภายนอกหน้าบ้านทั้ง 2 ฟากของตรอก ถือว่าเป็นการเดินย้อนยุคไปสู่อดีตกาลผ่านบรรยากาศที่ยากจะพบเห็นได้ในปัจจุบันนี้ มีหนุ่ม ๆ สาว ๆ มาเปิดร้านขายของที่ระลึก เสื้อผ้า อาหาร ขนม หน้าบ้าน ริมตรอกและที่ว่าง

ตรอกบ้านจีน ชุมชนโบราณเมืองตาก

ผ่านไปไม่ถึง 2 ปี ทราบข่าวว่าถนนคนเดินตรอกบ้านจีนเลิก บางคนบอกว่าไม่ประสบผลสำเร็จ น่าเสียดายมาก ไม่รู้สาเหตุของความล้มเหลวว่าขาดการประชาสัมพัน์ ทำให้คนมาเที่ยวกันน้อยลง หรือไปกระทบความเป็นอยู่ของผู้อยู่อาศัยในตรอกและพื้นที่ใกล้เคียง ชุมชนจึงไม่ให้ความร่วมมือ หรือหรือมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายจากราชการ…ไม่มีใครรู้… ไม่มีใครบอก…

มารู้จัก “ตรอกบ้านจีน” กันดีกว่า

จากแหล่งที่อยู่อาศัยและค้าขายของคนจีนที่รุ่งเรืองในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ราว ๆ ประมาณ พ.ศ. 2400 มาจนถึง พ.ศ. 2479 (นับยุคสมัยก็เริ่มจากปลาย ร.4 เป็นต้นมา) อยู่ไม่ไกลจากบ้านของผมที่อยู่ถัดไปทางเหนือ คือ ตำบลหนองหลวง เป็นคนละตำบลกับที่นี่ ตำบลระแหง อำเภอเมือง อยู่ด้านทิศใต้ของที่ทำการศาลากลางจังหวัด ห่างไม่ถึง 100 เมตร

ตรอกบ้านจีน ชุมชนโบราณเมืองตาก

ถ้าให้เห็นภาพของอำเภอเมืองตาก ที่ตั้งของตรอกบ้านจีนอยู่ด้านใต้ขึ้นไปทางเหนือคือตำบลหนองหลวง เป็นย่านตลาดสด ที่ทำการธนาคารร้านค้า บ้านเกิดผมเป็นห้องแถวอยู่เหนือตลาดสดไป 300-400 เมตร ซึ่งในปัจจุบันตลาดสดกลายเป็นตลาดใน (เรียกกันว่าตลาดคุณนาย) ขายแต่อาหารปรุงสำเร็จ อาหารสด ขนม และเหลือร้านค้าไม่มากเพราะเทศบาลเมืองตากสร้างตลาดใหม่ (ช่วง พ.ศ. 2512-2514) ตั้งอยู่ริมแม่นํ้าปิง โดยดูดทรายขึ้นมาถมลำแม่นํ้าปิง กลายเป็นที่ดินใหม่ของกรมธนารักษ์ ขยายพื้นที่เขตเมืองชั้นใน จัดคิวรถโดยสารจากต่างอำเภอรอบนอก และสร้างตึกแถวให้เซ้งเช่า ทำเอาถนนตากสินสายหลักเดิม (ที่เลียบหน้าอาคารพาณิชย์ริมแม่นํ้าปิง) เงียบเหงาไปใน 10-15 ปีต่อมา แม้ยังเป็นที่ตั้งของธนาคารพาณิชย์บริษัท ห้างสรรพสินค้าเก่า ร้านค้าส่ง ร้านค้าปลีกเดิม รวมทั้งโรงหนังก็ตาม

ตรอกบ้านจีน ชุมชนโบราณเมืองตาก

ในวัยเด็กจาก พ.ศ. 2499-2509 จำความได้ว่าไม่เคยแวะเวียนผ่านไปตรอกบ้านจีนเลย เพราะไม่มีญาติพี่น้องอาศัย ไม่ใช่ย่านการค้าหลักของจังหวัด มีแต่บ้านเรือนไม้เก่า คนพักอยู่อาศัยลดน้อยลง ๆ เนื่องจากลูก ๆ หลาน ๆ ย้ายออกไปเรียนหนังสือ ไปทำงานที่กรุงเทพฯ หรือจังหวัดอื่น ๆ ทำให้ตรอกบ้านจีนเงียบเหงาไม่น้อย

“ตรอกบ้านจีน” เปน็ พื้นที่ยาวเลียบฝงั่ ตะวันออกของแมน้ำปิง เกือบ 200 เมตรขนานกับถนนตากสิน ถนนสายหลักภายในตัวเมือง มีถนนแคบ ๆ ผ่ากลางชุมชนกว้างประมาณ 2.5 เมตร อาคารส่วนมากเป็นเรือนไม้สักชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้องแป้นเกล็ดดินเผาสีส้มและกระเบื้องว่าว ฝาบ้านกรุไม้สัก พื้นปูด้วยไม้เนื้อแข็ง บานประตูเป็นบานเฟี้ยม ผนังทุกหลังมักปิดทึบไม่มีหน้าต่างบานกระจกมองแล้วประเมินในใจว่าอายุเกิน 100 ปีแน่นอน มีเพียงไม่กี่หลังเป็นบ้าน 2 ชั้น เข้าใจว่าคงมาต่อเติมภายหลัง งานไม้ดูมีฝีมือละเอียด ละเมียดละไม ทั้งการจัดวางเข้ามุม ต่อฉากต่อแผ่น งานวิจิตรศิลป์ที่เตะตามากคือพวกบันไดไม้ มีไม้ดัดโค้งราวและขั้นบันไดหน้าบ้าน มีระเบียงไม้ทรงหรูหรา ไม้ปิดชายคากันสาดที่ตกแต่งประณีตสวยงาม ผสมศิลป์ไทยกับตะวันตก เพลินตาสำหรับคนชอบงานไม้งานบ้านโบราณ

พ.ศ. 2510 หลังจบชั้นประถมต้องมาเรียนที่โรงเรียนชายประจำจังหวัด คือโรงเรียนตากพิทยาคม ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ สี่แยกท่าเรือ ปั่นจักรยานมา 500 เมตร ก็เจอหัวถนนต้นทางเข้าตรอกบ้านจีนที่สี่แยกตัดถนนตากสินสายหลักของตลาดเมืองตาก ผมขี่จักรยานมาเรียนหนังสือเลยต้องผ่านสี่แยกนี้ทุกวัน และเริ่มคุ้นตาคุ้นเคย รู้จักสถานที่ดีขึ้น บางวันต้องเข้าไปเที่ยวเยี่ยมเยียนบ้านคุณครูชั้นอนุบาลชั้นประถมและมัธยม คนรุ่นเก่าในชุมชนตรอกบ้านจีนนี้จะมีการศึกษาที่ดีด้วยพื้นเพจากปู่ยาตาทวดที่เป็นข้าราชการ วิศวกร ทนายความ หมอ พยาบาลเจ้าหน้าที่สรรพากร ห้องคลัง ตอนนั้นที่นี้ไม่มีภาพย่านคนจีนเลย แต่โดยประวัติของบรรพบุรุษล้วนก่อกำเนิดมาจากกลุ่มคนจีนที่เข้ามาปลายสมัย ร.4 แล้วได้ขึ้นมาทำงานให้ราชการ รับสัมปทาน ทำการค้าขาย ขยายตัวจากเชียงใหม่ลงมาพอสมัย ร.5 เปิดการค้าเสรีกับฝรั่งตะวันตกตามสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง จึงเกิดหัวเมืองการค้า ตาก เชียงใหม่ นครราชสีมา

ตรอกบ้านจีน ชุมชนโบราณเมืองตาก

ก่อนสร้างทางรถไฟประชาชนภาคกลางและเหนือใช้เรือสัญจรขนส่งสินค้าท้องถิ่นไปกรุงเทพฯ เพื่อส่งออก มีชาวจีน 3 คนที่มีหัวการค้าและมองการณ์ไกลจับมือกันก่อร่างสร้างตัวเป็นบริษัทที่ชุมชนตรอกบ้านจีนแห่งนี้ ค่อย ๆ ขยายงานจากจังหวัดตากออกไปมีกิจการที่กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ในเวลาต่อมา…จนเป็นต้นตระกูลมีชื่อเสียงในภาคธุรกิจของประเทศไทย ส่วนครอบครัวอื่น ๆ ก็มีลูกหลานรับราชการและภาคเอกชน จนมีตำแหนง่ สูงถึงอธิบดี รัฐมนตรี ผูบ้ ริหารสูงสุดขององค์กร แต่จะมีใครบ้าง ท่านเหล่านั้นชื่อและนามสกุลอะไรบ้าง สังคมไทยรู้จักคนตากกันหลายท่านโดยไม่ทราบภูมิลำเนา

ขอพักยกยอดไปเล่าต่อในภาค 2 ครับ

ขออนุญาตกล่าวถึง คุณครูที่เคยสอนและยังอาศัยอยู่ในชุมชนตรอกบ้านจีนนี้ คือ

คุณครูศรีรวญ โสภโณดร (โรงเรียนอนุบาลตาก)
คุณครูลักษณา วงศ์เสรี (โรงเรียนตากสินราชานุสรณ์)

ทราบว่าท่านยังมีชีวิตอยู่ครับ ยังคิดถึงท่านเสมอเช่นเดียวกับคุณครูท่านอื่น ๆ ขอให้ท่านดำรงชีพในบั้นปลายอย่างมีความสุขด้วยครับ


ที่มา: อินทาเนีย ฉบับที่ 4 ปี พ.ศ. 2564 คอลัมน์ เที่ยวกับอินทาเนีย (Journey & Yummy) โดย สุวิทย์ เมฆวิบูลย์ วศ.17


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save