ประสบการณ์การถูกทำทางเบี่ยง (บายพาส) หลอดเลือดหัวใจ 4 เส้น


ผมตรวจสุขภาพประจำปีตั้งแต่อายุ 40 ปี โดยตรวจตามโปรแกรมของโรงพยาบาล เช่น ตรวจเลือด ตรวจคลื่นหัวใจ ด้วยไฟฟ้า เป็นต้น เมื่อผลการตรวจเลือดหลายครั้ง คำที่ได้สูงกว่าคำมาตรฐานทั่วไป และแก้ไขด้วยตัวเองไม่ได้ ทำให้คุณหมอ ต้องสั่งให้กินยาเพื่อลดคำต่าง ๆ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ จนปัจจุบันอายุเกือบ 67 ปีแล้ว ต้องกินยา 3 ชนิด เพื่อลดความดัน ไขมันและเก๊าห์ หลายปีมานี้ ส่วนใหญ่ตรวจเลือดอย่างเดียวตามที่คุณหมอนัด 3-4 เดือนต่อครั้ง

30 เมษายน 2566

ผมถามคุณหมอว่า ถ้าผลเลือดบ่งบอกว่าอยู่ในเกณฑ์ เราจะตรวจสอบได้อย่างไรว่าหลอดเลือดของเรายัง อยู่ในสภาพดีหรือไม่ คุณหมอจึงบอกว่าครั้งหน้าจะให้เพิ่มการเดินสายพานและตรวจคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้า

27 สิงหาคม 2566

นัดตรวจเลือด เดินสายพานและตรวจคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้า ผลการตรวจเลือดส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ แต่ผลการเดินสายพาน พบว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด คุณหมอให้ทำการฉีดสีสวนหัวใจ เพื่อดูสภาพของหลอดเลือด โดยคุณหมอให้พักในร.พ.ในวันนั้นเลย อ้างมีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวาย โดยให้พักห้อง CCU เพื่อจะได้ดูแลอย่างใกล้ชิด และคุณหมอที่ทำการฉีดสีสวนหัวใจนัดทำประมาณ 5 ทุ่ม โดยทำการฉีดยาซาและสอดสายสวนไปทางข้อมือขวา ซึ่งผมรู้สึกตัวตลอดเวลาที่ทำ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง และผลก็คือ หลอดเลือดหัวใจตีบ 3 เส้น และมีหินปูนเกาะ คุณหมอที่ทำการฉีดสีแนะให้ผ่าตัดทำบายพาสทั้ง 3 เส้น

28 สิงหาคม 2566

คุณหมอที่ทำการผ่าตัดมาอธิบายและบอกความเสี่ยงของการผ่าตัด 4-5 อย่างซึ่งผมยอมรับได้ คุณหมอที่ทำการผ่าตัดจึงนัดทำในวันศุกร์ 1 ก.ย.2566 ประมาณ 18:00 น. โดยยังคงให้พักในห้องCCU ไม่ให้พักห้องธรรมดา

29 สิงหาคม – 1 กันยายน 2566

การพักในห้อง CCU (Coronary Care Unit – หน่วยอภิบาลโรคหัวใจ) ตั้งแต่วันแรก ผมต้องอยู่บนเตียงตลอดเวลา มีสายวัดความดันรัดที่แขนซึ่งจะวัดโดยอัตโนมัติตามเวลาที่ต้องการ พร้อมวัดออกซิเจนที่ปลายนิ้ว ดังนั้น ไม่ว่าจะกินข้าว หรือปัสสาวะ(ในกระบอก) แปรงฟัน, เช็ดตัว เปลี่ยนชุด ก็ทำบนเตียง ถ้าจะถ่ายอุจจาระก็ให้นั่งถ่ายบนส้วมรถเข็นที่เอาเข้ามาไว้ข้างเตียง ทุกวันได้แต่นั่ง ๆ นอน ๆ บนเตียง อ่านไลน์ ดูหนัง ฟังเพลง ลุกจากเตียงมายืนขยับแข้งขยับขาข้างเตียงบ้าง (ถ้าอยู่บ้าน นอนบนเตียงทำแบบนี้ทุกวัน ไม่เกิน 1 อาทิตย์จากไม่ป่วยก็คงต้องป่วยเป็นแน่)

ขณะเดียวกัน ก็มีการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทุกเช้า-เย็นจนถึงวันก่อนทำการผ่าตัด มีการเอกซเรย์ปอด การตรวจหัวใจด้วยเครื่องอัลตร้าโซนิค เพื่อดูความพร้อมก่อนทำการผ่าตัด และคุณหมอก็สลับกันมาตรวจอาการทุกวัน นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่กายภาพบำบัดก็มาสาธิตและให้ฝึกการหายใจเข้าออก ทำกายบริหารมือ แขน เท้า ขา การพ่นเอาเสมหะออก การดูดลมบริหารปอด เพื่อบริหารหลังการผ่าตัด

1 กันยายน 2566

ก่อนเวลา 18:00น. เตียงผมถูกเซ็นไปเข้าห้องผ่าตัดซึ่งมีหมอและพยาบาลอยู่หลายคนมาก ช่วยกันเจาะแขนซ้าย แขนขวา และคอเพื่อใส่สายโน่นนี่ ก่อนที่แป๊บเดียวผมก็สลบไม่รู้เรื่องอะไรแล้ว ผลการผ่าตัดจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับฝีมือของทีมคุณหมอที่ทำการผ่าตัดแล้ว

2 กันยายน 2566

ตอนเช้าตี 5 กว่า ถูกปลุกให้แปรงฟันเอง ยังคงพักในห้อง CCU พยาบาลเช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้าให้ ได้รับทราบว่าทำการผ่าตัดบายพาสถึงประมาณตี2 และทำบายพาสจริง 4 เส้น โดยใช้หลอดเลือดที่ขามาทำ 3 เส้น และใช้หลอดเลือดที่ออกมาทำ 1 เส้นผมมีแผ่นปิดแผลที่หน้าอกและมีผ้าพันแผลรอบขาขวาตั้งแต่เลยข้อเท้าจนเกือบถึงโคนขาหนีบ แต่ผมไม่รู้สึกเจ็บอะไร (คงเพราะยาแก้ปวด?) สามารถนั่งบนเตียง กินข้าวเองได้ แต่ขลุกขลักนิดหน่อยเพราะมีสายออกจากที่หน้าท้อง 3 สาย มีสายระบายปัสสาวะ 1 สาย สายออกซิเจนช่วยหายใจที่จมูก และนอกจากสายวัดความดันรัดที่แขนและวัดออกซิเจนที่ปลายนิ้ว ตามปกติแล้ว ก็ยังมีสายให้น้ำเกลือ และสายให้เลือดเป็นบางเวลาด้วย จึงไม่สะดวกที่จะต้องลุกจากเตียง พยาบาลต้องใส่ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ให้ตลอดเวลา เจ้าหน้าที่กายภาพบำบัดมาให้ทำกายบริหารตามสภาพเท่าที่จะทำได้ทุกวัน

3 กันยายน 2566

ตั้งแต่ผ่าตัด ยังไม่ได้ถ่ายอุจจาระเลย เมื่อแจ้งคุณหมอ จึงให้กินยาช่วยระบาย แต่ไม่ได้ผล มีแต่ลมออกมาทั้งคืนเท่านั้น

4 กันยายน 2566

ตอนเช้าเจ้าหน้าที่มาทำการเอกซเรย์ปอด ตอนบ่ายคุณหมอที่ทำการผ่าตัดมาตรวจและทำการดึงถอดสายที่หน้าท้องออก 3 เส้น ที่คอออก 1 เส้น พยาบาลถอดเข็มน้ำเกลือ, สายปัสสาวะออก เหลือแต่สายวัดความดันและสายออกซิเจนช่วยหายใจที่จมูก เจ้าหน้าที่กายภาพบำบัดมาให้ทำการบริหารเหมือนเดิมและให้ยืนเดินย่ำเท้าอยู่ข้างเตียง เมื่อถอดสายปัสสาวะออกแล้ว ต้องปัสสาวะเองในผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ซึ่งกว่าจะปัสสาวะสำเร็จเกือบตี3 และรู้สึกปวดตอนปัสสาวะมากทำให้น้ำตาไหลพรากทุกครั้งที่ปัสสาวะ

5 กันยายน 2566

เจ้าหน้าที่กายภาพบำบัดมาให้ทำกายบริหารเหมือนเมื่อวาน ตอนเย็นได้ย้ายไปพักในห้องพักเดี่ยว ไม่ต้องใส่สายอะไรแล้ว นอกจากสายออกชิเจนช่วยหายใจที่จมูก โดยพยาบาลมาวัดความดันและออกซิเจนปลายนิ้วเป็นบางเวลา และห้ามลุกออกจากเตียง พยาบาลเช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้าให้ โดยแปรงฟันเอง

6 กันยายน 2566

เจ้าหน้าที่กายภาพบำบัดมาให้ทำกายบริหารและให้เดินภายในห้อง 3 รอบ จนถึงวันนี้ยังไม่ถ่ายอุจจาระอีกคุณหมอบอกจะสวนกันให้ แต่กลับให้ยาระบายแบบน้ำมากินแทน จนถึง 4 ทุ่มก็ยังไม่ถ่าย คุณหมอจึงให้ทำการสวนก้น ซึ่งทำให้แทบจะพุ่งออกมาเลย ต้องกลั้นรอให้ใส่ผ้าอ้อมผู้ใหญ่เรียบร้อยก่อน จึงได้ฤกษ์ถ่ายออกมาทั้งคืนรวม 3 ครั้ง ค่อยโล่งหน่อย

7 กันยายน 2566

พยาบาลเอาสายออกซิเจนช่วยหายใจที่จมูกออกตั้งแต่เช้า วันนี้เช้าถึงเย็นยังคงถ่ายอุจจาระอีก 3 ครั้งเจ้าหน้าที่กายภาพบำบัดมาให้ทำกายบริหารและให้เดินตรงทางเดินนอกห้อง 4 รอบ เจ้าหน้าที่มาทำการเอกซเรย์ปอด คุณหมอมาตรวจหัวใจด้วยเครื่องอัลตาโซนิค และบอกให้เตรียมกลับไปพักที่บ้านพรุ่งนี้ได้แล้ว…ไชโย

8 กันยายน 2566

เจ้าหน้าที่กายภาพบำบัดมาให้ทำกายบริหารและให้เดินขึ้น-ลงบันได น่าจะถือว่าจบคอร์สแล้ว เช้านี้ได้นั่งโถชักโครกถ่ายอุจจาระเป็นครั้งแรกตั้งแต่เข้าโรงพยาบาล เมื่อจัดการเรื่องการเงินเรียบร้อย ตอนบ่ายได้เวลากลับบ้าน…ขอบคุณทีมแพทย์และพยาบาลทุกท่าน

สรุป นอนห้อง CCU 27 สิงหาคม – 4 กันยายน พ.ศ. 2566 รวม 9 คืน แบบไม่เห็นเดือนเห็นตะวันเลย

  • นอนห้องพักเดี่ยว 5-7 ก.ย.66 รวม 3คืน และได้เห็นท้องฟ้าอันสดใสแล้ว
  • รวมนอนในโรงพยาบาล 12 คืน ผมใช้สิทธิ์ของประกันสังคม ทำให้เสียเงินเฉพาะส่วนที่เกินสิทธิ์ เป็นเงินหมื่นบาทนิดหน่อย
  • กลับบ้าน 8 กันยายน 2566 ทำให้ได้สระผมเสียทีหลังจากไม่ได้สระผม 12 วัน
  • ไม่ต้องทำแผลที่หน้าอกตั้งแต่ 13 กันยายน 2566
  • ไม่ต้องทำแผลที่ขาตั้งแต่ 24 กันยายน 2566 จึงได้อาบน้ำถูสบู่หลังจากเช็ดตัวมา 29 วัน ต้องขัดขี้ใคลหลายจุด

น่าจะถือว่าผมโชคดีที่คุณหมอตรวจพบก่อน มิฉะนั้น ผมอาจโชคร้ายถ้ามีอาการหนักกะทันหันแล้วไปถึงมือคุณหมอช้าเกินไป เพื่อน ๆ ล่ะครับ ต้องการความโชคดีหรือโชคร้าย อย่างไรก็ตาม หมั่นดูแลสุขภาพตัวเองและครอบครัวกันด้วยครับ

หวังว่าบทความนี้คงมีประโยชน์บ้างนะครับ

ขอให้ทุกท่านโชคดี


ผู้เขียน

MR.PSP วศ.2517 หมายเลข9445


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save