พูดจาประสาช่าง

“Make REAL Change @2022” การขับเคลื่อนองค์กรขนาดใหญ่ในยุค New Normal


ทางวารสารอินทาเนียได้ทำการแกะเทปสัมภาษณ์รายการพูดจาประสาช่าง ตอนที่ 1 Make REAL Change @2022


พูดจาประสาช่าง_2

รายการพูดจาประสาช่างร่วมกับวารสารอินทาเนียตอนพิเศษ เป็นที่ทราบกันดีว่ารายการพูดจาประสาช่างเป็นรายการดี ๆ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ปัจจุบันเราเรียกตัวเองว่า Chula Engineering มีการต่อยอดจากองค์ความรู้และนวัตกรรมไปสู่การร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งความยั่งยืน ซึ่งได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล วศ.2538 เป็นผู้ดำเนินรายการ และ ดร.ปิติ ตัณฑเกษม วศ. 2531 ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (คณะผู้บริหารระดับสูง) ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร ร่วมพูดคุยเรื่องของการขับเคลื่อนองค์กรขนาดใหญ่ในยุค New Normal ที่พร้อมจะก้าวผ่าน Digital Disruption

ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล กล่าวว่า หากมีการกล่าวถึงประเด็นการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คงจะหนีไม่พ้น Keyword ใหญ่ ๆ 2 คำคือ 1. Digital 2. การเงิน การธนาคาร

เพราะทั้ง 2 เรื่อง เป็นประเด็นที่สำคัญ เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของพวกเราทุกคน และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นนี้ มีพื้นฐานความรู้จากทางด้านวิศวกรรม มีมุมมองเรื่องของ Technology รวมไปถึงการปรับตัวไปสู่ความยั่งยืนในโลกอนาคต รายการพูดจาประสาช่างในครั้งนี้ได้รับเกียรติเป็นอย่างยิ่งจาก ดร.ปิติ ตัณฑเกษม วศ.2531 ซึ่งเป็นนิสิตเก่าจบการศึกษาจากภาควิชาอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นบุคคลสำคัญ ที่เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน การธนาคารที่เชื่อมโยงกับคำว่า Digital

ดร.ปิติ ตัณฑเกษม วศ.2531 ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (คณะผู้บริหารระดับสูง) ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โชคดีที่ได้เรียนภาควิชานี้ ที่เป็นภาควิชาทำให้ได้มุมมองที่กว้างขึ้น ในปัจจุบันการเงิน การธนาคาร และ Digital นั้นมีบทบาทสำคัญอย่างมาก และยังเข้ามามามีบทบาทต่อการขับเคลื่อนองค์กรในการปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่อนาคต

“แนวทางในการขับเคลื่อนองค์กร ผมคิดว่า Digital เป็นทั้ง วิกฤตและโอกาส”

โอกาสสำหรับคนที่ปรับตัวเร็ว และจะเป็นวิกฤตสำหรับคนที่ปรับตัวช้า หากคิดว่า Digital ช่วยลดต้นทุนในการเข้าถึงลูกค้าในแต่ละราย ลดต้นทุนการที่เราจะสามารถเข้าใจและเห็นลูกค้าแต่ละราย เรื่องปัจเจก ลองนึกภาพว่าไม่มีใครอยากใส่เสื้อโหล มีแต่คนอยากใส่เสื้อสูทสั่งตัด แต่เรื่องต้นทุนนั้นก็จะสูงขึ้น เพราะฉะนั้นแล้วคนส่วนใหญ่จึงต้องซื้อเสื้อที่เป็นมาตรฐาน ลองนึกว่าสมัยก่อนเราไม่เคยหลงรักโทรศัพท์หมุน ๆ ที่เราใช้กันเลย แต่ตอนนี้ทุกเช้าทุกคนคว้าโทรศัพท์ก่อนเลย

ไม่ว่าจะเป็นระแบบ Android หรือ IOS ระบบหรือแอพพลิเคชัน นั้นไม่เหมือนกันเลย ไม่ว่าจะใช้รุ่นไหนที่เหมือนกันหรือต่างกัน ของแต่ละคนจะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป มีการโหลดแอป โหลดข้อมูลในเครื่องที่ต่างกันไป เพราะฉะนั้นทุกคนจะรักโทรศัพท์ตัวเอง เพราะรู้สึกว่านี้คือโทรศัพท์ของฉัน สิ่งนี้เราจึงเรียกว่า Segment of One

อย่าพูดว่าเป็น Segment คนรายได้ปานกลาง  Segment คนมีเงินเยอะ  Segment ผู้หญิง หรือ  Segment ผู้ชาย แต่ละคนมีรูปแบบที่เป็นของตัวเอง เพราะจริง ๆ แล้วทุกคนไม่อยากเหมือนใคร ทุกคนเป็นตัวของตัวเอง ดังนั้นแล้วใครที่สามารถนำ Digital มาตอบโจทย์ปัจเจกได้เป็น Segment of One คนนั้นก็จะสามารถประสบความสำเร็จในการเข้าถึงลูกค้า พูดง่าย ๆ คือทำรายได้ได้มากกว่าธุรกิจคนอื่น ๆ เหมือนอย่างที่ในโลกของ Social Media อย่าง Mark Zuckerberg สามารถทำ Facebook ขึ้นมาทำให้แต่ละคนได้ใช้ความเป็นปัจเจกของตัวเองบนพื้นที่ของตัวเอง

ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล วศ.2538
ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล

ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ กล่าวว่า จากที่ได้ฟังทาง ดร.ปิติ พูดมานั้นคือให้เรามองว่าตัว Digital นั้นคือการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ความสำคัญอยู่บนคำว่า Segment of One ที่ใช้ในการขับเคลื่อนองค์กร ซึ่งนี้เป็นประโยชน์อย่างมากใน Keyword คำนี้

ถ้ามองประเทศในช่วงระยะเวลา 20 ปี ที่ผ่านมานั้นพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือผมคิดว่า 1 ในประเทศนั้นเป็นประเทศจีน ขอเรียนถามจากเรื่องของ Disruption Technology อะไรต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นประเทศไทยสามารถเรียนรู้อะไรจากประเทศจีนในส่วนตรงนี้ได้บ้าง

ดร.ปิติ กล่าวว่า ก่อนที่จะพูดถึงประเทศจีน เราลองถอยมาดูโลกทั้งใบนี้ ลองมองว่าโลกของเรานั้นมีอยู่ประมาณ 3 Operating System

  1. ทุนนิยม
  2. สังคมนิยม
  3. คอมมิวนิสต์

ลองมองเป็น 3 เหลี่ยม 3 จุด ไม่มีประเทศไหนหรอกที่อยู่สุดขอบหรืออาจจะมีแต่น้อยมากที่อยู่สุดขอบ หากถามว่าประเทศจีนเองเขาเป็นคอมมิวนิสต์ หรือไม่ ผมว่าจีนนั้นก็ทุนนิยมสุด ๆ เลยบุคคลที่รวยที่สุดในโลกส่วนใหญ่เป็นคนจีนทั้งนั้นประเทศจีนมีความเป็นสังคมนิยม ความเป็นคอมมิวนิสต์นั้นเริ่มหายไปแล้วด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นแล้วเราคงต้องหันมามองว่า 3 Operating System แต่ละจังหวะของประเทศเหมาะกับการที่ต้องชิดขอบไหนของสามเหลี่ยม แล้วจีนนั้นมีการเคลื่อนตัวจากคอมมิวนิสต์ในช่วงหนึ่งมีการสวิงแรงไปหาทุนนิยมแล้วด้วยซ้ำ ในตอนนี้อยู่ในช่วงที่พยายามจะสวิงกลับเพราะฉะนั้นแล้วถ้ามองว่าเขาวางจุดตรงไหนในสามเหลี่ยมอันนั้นน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะผมคิดว่าหากเราขับรถแบบเกียร์ แต่ในปัจจุบันอาจจะมีคนขับน้อยลง การขับเกียร์เดียวคงไม่ได้ หากเราใส่เกียร์ 1 เหยียบคันเร่งและลากความเป็นคอมมิวนิสต์ไปถึง 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เครื่องคงพังอย่างแน่นอน แต่จะออกตัวด้วยเกียร์ 4 เกียร์ 5 รถก็คงไปไม่ได้

เพราะฉะนั้นแล้ว 3 Operating System ก็คงต้องย้อนกลับมามองว่าจีนนั้นมีการขับเคลื่อนอย่างไร จากช่วงที่ปิดประเทศเขามีความสุดโต่งเลยในการเป็นคอมมิวนิสต์ แล้วเขาค่อย ๆ ให้ความเป็นทุนนิยมขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมเกิดสิ่งใหม่ ๆ และเขาก็เริ่มถามว่า “ทุนนิยมแบบ Winner Take All ใช่หรือไม่?” เราอาจจะมองอีกขั้วแล้วกัน อย่างอเมริกา ที่มีความเชื่อในระบบทุนนิยมและความเลื่อมล้ำก็สูงขึ้นเรื่อย ๆ และคนส่วนใหญ่ คนไทยที่จบการศึกษาจากต่างประเทศโดยส่วนมากจบจากประเทศสหรัฐเมริกา เพราะฉะนั้น จะมีความเชื่อในทุนนิยมค่อนข้างสูง ซึ่งเรามองกลับกันหากถามว่าอเมริกาประสบความสำเร็จเรื่องของการลดความเลื่อมล้ำหรือเปล่า ก็ไม่ ดูเหมือนมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยซ้ำ

คำถามที่ถามว่าเราควรเรียนรู้อะไรจากประเทศจีน?

จีนก็ไม่ได้ไปเกียร์เดียว เพราะฉะนั้นเราเองก็ไม่ควรไปเกียร์เดียว เกียร์ 1 ของประเทศจีนคือคอมมิวนิสต์ เกียร์ 1 ของประเทศไทยคือทุนนิยม เราจะลากทุนนิยมเหยียบไปเรื่อย ๆ หรือไม่ ตอนนี้เราควรที่จะมองแล้วว่าทุนนิยมในรูปแบบไหนควรทำงานยังไงในประเทศไทย

ผมเคยพูดคุยในหลายเวทีเรื่องแนวคิด “ดอกไม้กับแมลง” ว่าไม่ใช่ปลาใหญ่กินปลาเล็ก แต่ควรที่จะอยู่คู่กัน ถ้าในสังคมซึ่งรัฐเป็นใหญ่ มีการจัดการควบคุมเรื่องของทรัพยากร สั่งซ้าย สั่งขวา ได้นั้น แล้วรัฐเป็นคนออกแบบที่เรียกรูปแบบ Business Model ก็ว่าไป แต่ที่แน่ ๆ เมืองไทยไม่ใช่แบบนั้น เมืองไทยนั้นภาคเอกชนเก่ง แต่จะทำอย่างไรให้ภาคเอกชนเป็นเหมือนหัวรถจักร ที่พาเอกชนไป ในรายกลาง รายเล็กขึ้นไปด้วยกัน นำไปโดย Platform รางนี้ด้วยกัน แน่นอนหากเป็นหัวรถจักรเขาจะต้องจ่ายเชื้อเพลิง ค่าน้ำมันเอง ในการลากที่เหลือไปและเขาไม่ได้ผลประโยชน์ใด ๆ จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่าเขาจะทำไปทำไม

เพราะฉะนั้นรัฐบาลควรจะใส่กลไกให้รางวัลรายใหญ่ในการร่วมกันขับเคลื่อนธุรกิจรายกลาง รายเล็ก ลองนึกภาพ 2 Model ถ้าทุกวันนี้รายใหญ่ทำแข่งกับรายเล็กแล้วได้ผลกับภาษีคือได้ TOI รายเล็กจะได้รับผลกระทบอย่างมาก ถ้าบอกว่ารายใหญ่จะได้รับประโยชน์ต่อเมื่อมีการซื้อของรายเล็ก แล้วรัฐจะช่วยลดภาษีให้กับคุณ แปลว่าน้ำมันที่นำมาเติมหัวรถจักรนั้นจะช่วยเติมในการลากรายกลาง รายเล็กไปด้วย

ซึ่งผมคิดว่าเมืองจีนนั้นได้มีการดำเนินธุรกิจประมาณนี้ เพราะว่าเขาจะคอยป้องกันไม่ให้เกิดการผูกขาดแบบเบ็ดเสร็จ อันนี้คือเรื่องแรกเลย เรื่องที่ 2 คือประเทศที่ใหญ่เขาต้องการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเพราะว่าไม่มีทางที่ทั้งประเทศทำเหมือนกันหมด ดังนั้นแล้วการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เป็นสิ่งที่จีนทำแล้วได้ผล เราจะสังเกตได้ว่ามณฑลนั้นทำแบบนั้น มณฑลนี้ทำแบบนี้ แต่ละพื้นที่มีการทำที่แตกต่างกันออกไป แต่เขามีการเข้าไปควบคุมเมื่อถึงจังหวะเมื่อเกิดอาการทุนนิยมสุดโต่งขึ้นมา

Winner Take All แล้วจะเกิดการสมดุลไหม ผมว่านี้คือจีนทำได้น่าสนใจ คือทำอย่างไรให้เกิดความสมดุลระหว่างสังคมนิยม และทุนนิยม ผมว่าความเป็นคอมมิวนิสต์ของจีนนั้นค่อย ๆ หายไปแล้ว

Keywords ใหญ่ ๆ 2 คำที่รายการพูดจาประสาช่างได้รับมา คำที่ 1 คือคำว่า “ความสมดุล” การที่จะลากเกียร์ โมเดลใด โมเดลหนึ่ง ที่มี Represent ในด้านนี้คงไม่ใช่คำตอบ แต่ว่านี้คือเรื่องของความสมดุล ทุกคนในประเทศหรือแม้กระทั่งผู้นำประเทศ คงจะต้องเปิดใจกว้างและมองภาพตรงนี้ให้ใหญ่มากขึ้น Keywords คำที่ 2 ที่เป็นประโยชน์อย่างมากคงเป็นคำที่ว่า Symbiotic คือการที่ธุรกิจใหญ่ กลาง เล็ก ยังรวมไปถึงชุมชนพี่น้อง ชุมชนในวงที่กว้างมากขึ้น บทบาทดอกไม้กับแมลง เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ กล่าวว่า การต่อยอดมาที่มิติของธนาคาร บทบาทของธนาคาร Keywords ที่ได้รับมานั้นคือคำว่า “Make Real Change” การที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนหลากหลายรูปแบบในประเทศไทยหรือรวมไปถึงหลากหลายประเทศ บทบาทของธนาคาร การเงินของธนาคาร ผมว่าจุดเริ่มต้นนั้นมีความสำคัญ ไม่เช่นนั้นจะหาเม็ดเงินลงทุน Investment การลงทุนตัวนี้ได้อย่างไร

ดร.ปิติ ตัณฑเกษม วศ. 2531
ดร.ปิติ ตัณฑเกษม

ดร.ปิติ กล่าวว่า ผมว่าตอนนี้ถ้าเรามองจากภาคครัวเรือนก่อนนั้นซึ่งเป็นจุดที่เล็กที่สุดของสังคม และมาในภาคธุรกิจตั้งแต่เล็ก กลาง ใหญ่ ผมว่าชัดเจนว่าเรามีปัญหาตั้งแต่ภาคครัวเรือน เพราะว่าพูดกันว่าครัวเรือนนั้นเป็นส่วนมากของ 90% GDP ลองนึกภาพว่าอัตราการเกิดของเรานั้นติดลบแล้ว คนที่จะทำงานนั้นแปลว่าเหลือน้อยลง แถมคนที่ทำงานอยู่ตัวหนักมากก็คือแบกหนี้ไว้อยู่ข้างหลัง ถ้าเป็นสมัยก่อนเขามีลูกหลาน ให้ลูกหลานมาช่วยแปลว่าหนี้นั้นก็ถูกแบ่งกันไป ทำให้ธุรกิจขยาย ประเทศขยาย หนี้ก็เล็กลงในนัยยะ เพราะคนเยอะขึ้นเนื่องจากเป็นธุรกิจครอบครัว แต่วันนี้ลองนึกภาพว่าคนแก่ไม่มีลูกและแบกหนี้ไปจนเกษียณ จะเกิดอะไรขึ้น ภาค SMEs ที่เราคุยกันในโจทย์ในก่อนหน้านี้ว่า SMEs นั้นต่อสู้ไม่ได้เลยเพราะว่าเป็นระบบของปลาใหญ่กินปลาเล็ก ปลาเร็วกินปลาช้า ภาคข้างล่างที่สำคัญมากคือภาคครัวเรือน กับภาค SMEs แล้วถามว่าใครละมีบทบาทไม่มากก็น้อยในการเปลี่ยนแปลงสิ่งนี้ โดยส่วนตัวคิดว่าภาคธนาคาร อย่างน้อยเรามองว่าเราเป็นจุดเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่งถ้าเราสร้างแรงกระเพื่อม น่าจะเป็นสิ่งที่ดี จึงมีสโลแกน มาจุดประกายกระตุ้นจากข้างใน เรามา Make Real Change สร้างแรงเปลี่ยนแปลงให้มีผลกระทบในเชิงบวกให้กับลูกค้าดีไหม จากตรงนั้นเรานิยามว่าให้มอง 4 ด้าน  ของมนุษย์โดยทั่วไป

  1. คนไทยมีความตระหนักแค่ไหนในเรื่องการออมการใช้ ผมใช้คำว่าออมก่อนใช้ รู้ไหมว่าถ้าหากเกษียณตอน 60 จะต้องออมเท่าไหร่ เราพึ่งเริ่มทำงานอยากมีบ้านมีรถ ไม่กู้ไม่ได้หรอก
  2. ดังนั้นสิ่งต่อไปคือกู้ให้เป็น รู้ว่ากู้แบบไหนถูกต้อง กู้แบบไหนเป็นการกู้ไม่เกินตัว กู้ไม่จำเป็น อันนี้คือมิติที่ คือการมีความรู้เรื่องของการกู้ยืม
  3. พอเราผ่านจุดนั้นมาได้เราจะต้องรู้จักการลงทุน เพื่ออนาคต ดอกเบี้ยสมัยนี้ไม่ถึง 1% เพราะฉะนั้นหลีกไม่พ้นที่เราจะต้องการลงทุน
  4. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็มีหลายโปรแกรมให้เลือกว่าจะต้องทำอย่างไร เพราะฉะนั้นการลงทุนเพื่ออนาคตอาจจะเป็นปัจจัยหนึ่ง ท้ายที่สุดแล้วการล่วงลงมามีอะไรรองรับก็คือประกันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพ ประกันชีวิต

ดร.ปิติ กล่าวว่า เราปัก 4 แกนนี้ไว้ ทำยังไงให้พนักงานเรามีความรู้ แล้วนำตัวเองให้ดีได้ด้วย 4 แกนนี้ลองนึกภาพเป็นคุณหมอไปรักษาคนไข้แต่ตัวเองดูป่วยมาก คนไข้อาจจะดูไม่มั่นใจได้ ซึ่งพนักงานเราเองเป็นหน่วยของสังคมก็คือคน ๆ หนึ่ง ต้องผ่าน 4 ด่านนี้ให้ได้ พอเขาผ่านได้บางคนเป็น Sale เป็นคนที่สาขาสามารถคุยกับลูกค้าได้ว่าควรใช้ชีวิต 4 ด้านนี้ได้อย่างไร ดังนั้นสิ่งสำคัญคือคนที่พัฒนาคนในแบงค์และผลิตภัณฑ์ในแบงค์ จะทำอย่างไรให้คนไทยโดยส่วนใหญ่สามารถเข้าใจและตระหนักเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ชีวิต 4 ด้านนี้ดีขึ้นโดยไม่ยากจนเกินไปแล้วท้ายสุดโจทย์ที่เราคุยกันในเรื่องของดิจิตอลนั้นจะมีบทบาทอย่างไรในการทำให้คนไทยตระหนักรู้และเข้าใจในจุดตรงนี้ได้ เปรียบกลับไปเหมือนหมอ หมอมีอยู่นิดเดียวเอง ถ้าคนไข้เป็นหวัดเล็กน้อย คนป่วยหนักก็คงไปหาหมอไม่ได้เพราะหมอเต็มหมด

ดังนั้น ดิจิตอลเหมือนตะแกรง สามารถทำให้คนส่วนใหญ่ประเมินการเจ็บป่วยตัวเองได้ รักษาได้ด้วยตัวเอง จนกระทั่งเจ็บหนัก ๆ ถึงไปพบคุณหมอ การให้ความรู้ในการดูแลตัวเองจนถึงหนักจริง ๆ ค่อยไปถึงหมอ Bank เหมือนกันเลยถ้าดิจิตอลสามารถทำให้แต่ละคนนั้นตระหนัก ดิจิตอลสามารถทำให้คนไทยแต่ละคนเข้าถึงผลิตภัณฑ์ง่าย ๆ เพื่อป้องกันตัวเองได้ ออกแบบผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่งที่ชื่อว่า All Free เพราะฉะนั้นแล้วการไปถอนเงินที่ต่าง ๆ ไม่มีค่าธรรมเนียม นอกจากนั้นหากออมสักนิดถ้าคุณออมเงินไว้ 5,000 บาท คุณจะได้ประกันอุบัติเหตุฟรี หากเกิดอุบัติเหตุเข้าโรงพยาบาลธนาคารจ่ายให้ หากโชคร้ายกว่านั้นประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตมีเงินเท่าไหร่ในธนาคารคูณ 20 ให้ประกันชีวิตฟรี

ทางทีมมีการไป Engineer การทำ Products ข้างหลังบ้านในการไปซื้อประกันกลุ่มปิดความเสี่ยงของธนาคารเอง แต่พอเป็นประกันกลุ่มนั้นเราซื้อถูกกว่าที่ให้แต่ละคนไปซื้อเอง เพราะฉะนั้นการทำแบบนี้ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ซึ่งทำให้เข้าใจง่าย และทำให้คนไทยนั้นสามารถเข้าถึง

อย่างน้อยมิติที่ 4 ที่ได้กล่าวว่าไปว่าการคุ้มครองความเสี่ยง อย่างน้อยก็เรื่องของอุบัติเหตุหรือการเสียชีวิตโดยไม่คาดฝัน เพราะฉะนั้นแนวคิดนี้จะมาช่วยทำให้คนในองค์กรทราบได้ว่าเป้าหมายของธนาคารไม่ได้มีเพียงเพื่อทำกำไรอย่างเดียว แต่เป้าหมาของธนาคารที่ถูกควบคุมโดยแบงค์ชาติ เรามีลายเส้น ลายเส้นนั้นไม่ได้มาจากแบงค์ชาติแต่มาจากสังคมและลูกค้า ต่อให้แบงค์ชาติให้ลายเส้นแต่ลูกค้าไม่โอเคลายเส้นก็ไม่มีประโยชน์ เพราะฉะนั้นลายเส้นคือการย้อมรับจากลูกค้าและสังคม

ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์  กล่าวว่า ดังนั้นคำว่า Make Real Change ต้องเริ่มต้นจากเรา จากพนักงาน จากคนทุกคนที่อยู่ในองค์กร อย่างการเรียนการสอนที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรามองว่าอยากที่จะ Lifelong Learning ปรับให้นิสิตมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต แต่ถ้าอาจารย์ พี่ ๆ บุคลากรในมหาวิทยาลัยไม่เริ่ม นั้นก็ไม่ใช่จุดเริ่มต้นที่ถูกต้อง ก็คงต้องทำให้ลูกค้าประชาชนไทยเชื่อและเห็นจริง ๆ เราเริ่มและทำที่ตัวเราเอง 4 มิติที่กล่าวว่ามานั้นเป็นจุดสำคัญอย่างยิ่ง

 


 

Clip Video

รายการพูดจาประสาช่าง ดร.ปิติ ตัณฑเกษม วศ.2531




เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save