“MAKE REAL CHANGE @2022” การขับเคลื่อนองค์กรขนาดใหญ่ในยุค NEW NORMAL ตอนที่ 2


“MAKE REAL CHANGE @2022” การขับเคลื่อนองค์กรขนาดใหญ่ในยุค NEW NORMAL ตอนที่ 2


การปรับตัวขององค์กรในโลกที่มีความเปลี่ยนไปนั้น ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่านี้เป็นยุคที่ต้องการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว แต่คำว่ารวดเร็วจะต้องมาพร้อมกับคำว่าเหมาะสมและถูกกับคำว่าบริบท ของสังคมไทย และความเป็นคนไทย ประเด็นนี้สอดคล้องกับคำตอบในคำถามที่ 2 ที่ ดร.โอ ถามเรื่องของอนาคตของประเทศไทยที่มองประเทศจีนเป็นตัวอย่างนั้นความสมดุล เป็นเรื่องที่มีความสำคัญระหว่างทุนนิยม และสังคมนิยมเป็นต้น เราจะเดินหน้าด้วยการขับรถเกียร์แบบไหน เดินหน้าด้วยองค์ประกอบแบบไหนให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย เช่นเดียวกันทาง TTB ที่ ดร.ปิติ ตัณฑเกษม เป็นผู้ดูแลยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ที่ได้มีการกล่าวถึง 4 มิติ ที่ Make Real Change เกิดขึ้นแน่นอนที่สำคัญที่จะเริ่มต้นเปลี่ยนอะไรก็แล้วแต่ ต้องเปลี่ยนที่เรา ที่จิตใจ ความเป็นตัวตนของเรา เพราะถ้าเรายังไม่เชื่อและเรายังไม่ได้เริ่มเปลี่ยน เราคงไม่สามารถไปคาดหวังให้กับคนต่าง ๆ ชุมชนต่าง ๆ เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเรื่องสำคัญ

คนรุ่นใหม่ที่อยากจะมาเป็นวิศวกรร่วมกันสร้างสรรค์สังคมไทยให้มีความยั่งยืน เนื่องจากบทบาทของวิศวกรไม่ใช่แค่เพียงการก่อสร้าง การสร้างตึก สร้างอาคารเหมือนที่เราคุ้นชินในภาพสมัยก่อน แต่บทบาทของวิศวกรในยุคปัจจุบันมีความหลากหลายมากขึ้น อาทิ วิศวกรที่ทำเกี่ยวกับทางด้าน Data วิศวกรที่ทำด้าน Software, Data Science แม้กระทั่งเหมือนกับผู้ดำเนินรายการของเราในครั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล วศ.2538 ที่ทำงานวิศวกรด้านสิ่งแวดล้อม แน่นอนว่าอีกหนึ่ง Role Model ที่เป็นวิศวกรผู้สร้างนั้นก็คือวิทยากรที่ให้เกียรติพูดจาประสาช่างกับเราในตอนที่ 2 โดยมี ดร.ปิติ ตัณฑเกษม วศ.2531 ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (คณะผู้บริหาร) ร่วมพูดคุยต่อยอดประเด็นจากที่มีการทิ้งท้ายเอาไว้ในตอนที่ 1

การสร้างการเปลี่ยนแปลง Make REAL Change อย่างแท้จริง และบทบาทของธนาคารที่ทำได้นั้นทำให้คนไทยทุกคนมี Finance ที่สมบูรณ์และไม่เป็นภาระให้กับคนในรุ่นต่อไปผ่าน 4 มิติดังนี้

  1. ทำอย่างไรให้เขาสามารถบริหารจัดการตัวเอง ให้มีหนี้สินน้อยลง
  2. ทำอย่างไรให้มีการออม ไม่ใช้จ่ายเกินตัว
  3. รู้จักลงทุนเพื่ออนาคต
  4. มองในเรื่องของความมั่นคง ผ่านระบบการประกันต่าง ๆ

ซึ่งนี้เป็นเรื่องที่ได้พูดคุยไปแล้วในสัปดาห์ที่แล้ว ที่จะเชื่อมโยงในเรื่องของการลงทุน หรือในเรื่องของ Digital Economy

.ดร.พิสุทธิ์ กล่าวว่า ทุกวันนี้หากพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่ได้ ในปัจจุบันจะมีเรื่องของ Cryptocurrency เรื่องของ Digital Economy ประเทศจีนก็คือ หยวนดิจิทัล หรือ Digital Currency Electronic Payment (DCEP) อยากเรียนถามเกี่ยวกับมุมมองของ ดร.ปิติ ว่าย้อนกลับมาที่ประเทศไทย เราสามารถใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้ได้หรือไม่ หรือแม้กระทั่งน้อง ๆ นักเรียน พี่น้องประชาชนทั่วไปต้องรู้จักพวก Digital Economy, Digital Assent พวกนี้อย่างไรบ้าง

Blockchain และคริปโตนั้นไม่ต่างอะไรกับนิวเคลียร์สิ่งนี้คือดาบ 2 คม

ดร.ปิติ ตัณฑเกษม วศ.2531 กล่าวว่า ผมคิดว่าเรื่องพวกนี้มาจาก Blockchain Technology เทียบแบบนั้นแล้วกันเราบอกว่าโลกเรารู้จักนิวเคลียร์ หากกล่าวว่า นิวเคลียร์ฟิวชั่นมี Use Case มากมาย แต่ First Use Case ไปเกิดที่ฮิโรชิม่าและนางาซากิภาพพจน์จึงไม่ค่อยสวยสักเท่าไหร่ แต่กลับกันนิวเคลียร์ใช้ถนอมอาหารก็ได้ สร้างพลังงานสะอาดก็ได้แต่ต้องดูแลให้ดี ในการแพทย์มีการใช้เยอะมาก เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเรื่องของ Blockchain และคริปโตนั้นไม่ต่างอะไรกับนิวเคลียร์สิ่งนี้คือดาบ 2 คม

ดังนั้น ถ้าผมชวนคิดว่าจะดีกว่าไหมถ้าหากแบงค์ชาติออก Digital Currency จุดประสงค์ที่ 1 เลย Use Case คือใช้ในการจ่ายโครงการรัฐ ทุกโครงการรัฐเกินกี่บาทจะต้องจ่ายด้วย Currency เพื่อให้เห็นว่าเงินนั้นไปถึงไหน เพราะฉะนั้นแล้วเรื่องของการทุจริตจะทำไม่ได้เลย อย่างการประมูล Bill of Quantities หรือ B.O.Q. มีการก่อสร้างถนนเท่าไหร่ เหล็กเท่าไหร่ บ่อปูนเท่าไหร่ ทำไมปูนถึงไม่ไปที่ปูนซิเมนต์ไทย ทำไมบอก 100 แล้วไปเพียงแค่ 20 ซึ่งอันนี้คือ Use Case อันที่ 1

หากบอกว่า Blockchain คือ Smart Contact แล้วตัวโฉนดบ้านที่เป็นกระดาษหายไปแล้วเปลี่ยนมาเป็น Blockchain การที่จะขอมาค้ำประกันกู้แบงค์ หรือจะขายบ้าน ขายที่ดิน แล้วทำการโอนผ่าน Electronic มีสูตรชัดเจนว่าค่าโอนเท่าไหร่ไม่ต้องไปที่กรมที่ดิน ไม่ต้องมีการประเมินที่เป็นแบบดุลยพินิจ นี้จะช่วยลดต้นทุน ลดความไม่โปร่งใสต่าง ๆ

อีกอย่างเรื่องของทะเบียนรถใช้กู้แบงค์ ใช้จำนอง หรือจำนำต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ถ้าเป็น Use Case ของ Smart Contact ของ Blockchain ผมว่าสร้างประโยชน์มหาศาล

แต่ถ้าเป็นแบบ Use Case ที่นำไปสร้างเครื่องมือในการเงินสีเทา ๆ ดำ ๆ หรือเป็นสิ่งที่ไม่ดีนั้นก็จะเหมือนนิวเคลียร์ที่ไปลงที่ฮิโรชิม่าและนางาซากิ ดังนั้นแล้วอย่าไปมองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นผู้ร้ายหรือพระเอก โดยส่วนตัวคิดว่าสิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับเราว่าเราจะนำ Technology เหล่านี้ไปทำอะไร เรารู้อยู่ด้วยหัวใจของเราว่าเราจะนำไปรักษาอาการป่วย ถนอมอาหาร ไปสร้างพลังงานสะอาด หรือนำไปทำสิ่งไม่ดี…  

.ดร.พิสุทธิ์ กล่าวว่า ดังนั้นสิ่งนี้ก็เหมือนกับเครื่องมือตัวหนึ่งวิธีการใช้อยู่ที่จิตใจ ความพร้อมที่จะนำเครื่องมือชิ้นนี้ไปใช้ประโยชน์สูงสุด เหมือนกับ Little Boy ที่ไปลงที่ประเทศญี่ปุ่น เรารู้จัก Little Boy เริ่มต้นไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่ถ้าเราหา Use Case ดี ๆ ที่ทำให้ประเทศและสังคมได้เห็นว่า Digital Economy นั้นสามารถที่จะ 1.จับต้องได้ 2. จะต้องเป็นประโยชน์ทุกภาคส่วน ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่ไม่มีใครไม่รู้จักแอปเป๋าตังค์ ที่ทาง ดร.ปิติ ตัณฑเกษม เป็นหนึ่งในทีมที่ร่วมทำเรื่องนี้ด้วย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนไทยได้รู้จักเรื่องเหล่านี้

ย้อนกลับมาที่ TTB ตลอดที่เราคุยกันมาโดยตลอดเราเห็นความท้าทาย การเปลี่ยนแปลง ทาง TTB เองก็พยายามที่จะเปลี่ยน และในระยะเวลา ค.ศ. 2020-2030 จะเป็นโลกของความยั่งยืนและโลกของการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก ๆ อาจจะทำให้เกิดการ Disruption เกิดขึ้นอย่างแน่นอน อยากเรียนถามว่า “TTB กับการ Disruption การเดินทางไปสู่อนาคต นั้นจะเป็นอย่างไร”

COVID-19 ทำให้คนตัวใหญ่ ๆ รู้ว่า ตัวใหญ่แค่ไหนก็ล้มได้…

รายการพูดจาประสาช่าง
ดร.ปิติ ตัณฑเกษม

ดร.ปิติ กล่าวว่า Disruptions เหมือนพายุมาตลอดเวลา จริง ๆ ถ้าคนตัวใหญ่ล้มก็ล้มดัง จริง ๆ แล้วคนตัวใหญ่ก็จะทานพายุได้มากกว่า แต่ด้วยความที่เขาทานพายุได้มากกว่าเกิดอาการของความรู้สึกที่ว่าฉันไม่ต้องเปลี่ยนฉันก็อยู่ได้ พายุมาทีไรฉันก็รอด ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Compensation รู้สึกฉันอยู่ได้ เพราะฉะแล้วบทบาทของผู้นำองค์กรทุกแห่งโดยเฉพาะองค์กรที่มีขนาดใหญ่ต้องทำให้คนในองค์กรตระหนักถึงภัยของ Disruption ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา COVID-19 ทำให้คนตัวใหญ่ ๆ รู้ว่า ตัวใหญ่แค่ไหนก็ล้มได้ เพราะฉะนั้นแล้ว COVID-19 ทำให้ผู้บริหารระดับสูงหรือ CEO หลาย ๆ บริษัทช่วยบอกกับคนในองค์กรว่าช่วยช้าก่อนที่เราคิดว่าเรายังพอมีเวลาที่จะเปลี่ยนเราไม่ได้มีเวลาเยอะขนาดนั้นนะคิดว่า Disruption จะมาอย่างช้า ๆ ไม่ได้ช้าแบบนั้น

เพราะฉะนั้น อยากให้ทุกคนมองย้อนกลับไปเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา แล้วดูว่าเราทำอะไรไปบ้างในช่วงวิกฤตที่เกิดขึ้น อย่างที่ทำให้หลายคน หลายองค์กรไม่ได้เตรียมตัวรับมือ กว่าจะจับจุดกันได้นั้นเราทำอย่างไรกันมาบ้าง อยากให้เห็นสิ่งเหล่านั้นเป็นนาฬิกาปลุก Wake up Call ที่เห็นสงบ ๆ จริง ๆ แล้วเราอาจจะอยู่บนสถานการณ์ Burning Platform หรือที่เหมือนกับอยู่บนแท่นเจาะน้ำมันที่กำลังไฟไหม้

หากไม่เร่งแก้ไข หรือหาทางรับมือนั้นจะไม่ได้ไม่ได้ แต่ถ้าหากมองในมุมกลับกันถ้าเราทำได้เร็วทำได้ก่อนนั้นคือโอกาสที่เราจะได้รับจะมหาศาลอย่างมาก อย่างที่ผมเรียนเรื่องของ World Banking และเป๋าตังค์ ที่เชื่อมาตลอดว่าคนชนชั้นล่างของสังคมเขาใช้ไม่ได้หรอก แต่ถ้า Use Case ถูกต้อง Incentive ถูกต้องว่าใช้แล้วได้อะไร ใช้แล้วมีประโยชน์อย่างไร คนเขาก็พร้อมที่จะเปลี่ยน ดังนั้นการคว้าเรื่องใหม่ ๆ ผมมองว่าประเทศไทยเราเร็วหมด อย่างเรื่องคริปโต ประเทศไทยก็เป็นอันดับต้น ๆ Mobile, Facebook เราก็เป็นอันดับต้น ๆ การเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ ๆ ของคนไทยนั้นค่อนข้างที่จะเร็ว

เพราะฉะนั้นแล้วอยากให้องค์กรหันมามองว่า ความเชื่อเดิม ๆ ต้องลบทิ้งและที่สำคัญหากองค์กรอยากที่จะเปลี่ยนเร็วจะต้องให้โอกาสคนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในการให้แนวทาง และคนรุ่นเดิม ๆ อย่างรุ่นผม หรือสูงกว่าผมต้องเปิดใจให้มาก เพราะว่าเราเองคือคนที่กุมทรัพยากรและจัดสรรปันส่วนทรัพยากรในองค์กร ถ้าหากเราจัดสรรกันเองในรุ่นนี้หรืออายุมากกว่านี้ผมว่าเรามีโอกาสจัดสรรผิดทิศ

“เราจะต้องดึงแนวร่วมคนรุ่นใหม่เข้ามาเพราะว่าเขามีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนเร็วกว่าเรา เราควรจะฟังเขาให้มาก จะได้จัดสรรทรัพยากร และแนวทางองค์กรได้ถูกต้องมากขึ้น”

.ดร.พิสุทธิ์ กล่าวว่า เป็นคำตอบที่ชัดเจนเป็นอย่างยิ่ง ตลอดระยะเวลา 2 ปี ที่ผ่านมานั้นทำให้เห็นได้ว่าเหมือเป็นกรณีศึกษาเป็นเหตุการณ์ที่เข้ามาแล้วทำให้เราเห็นจริง ๆ ว่าคุณต้องเปลี่ยน เราไม่ได้มีเวลามากมายขนาดนั้น และอีกประเด็นหนึ่งที่ทาง ดร.ปิติ ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ได้พูดถึงเรื่องของคนรุ่นใหม่ น้อง ๆ นิสิตทั้งปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยที่เรียนทางด้านเทคโนโลยีนวัตกรรม อยากฟังมุมมองของ ดร.ปิติ ว่าน้อง ๆ รุ่นนี้เขามีวิกฤตหรือว่าโอกาส ที่รออยู่เยอะถ้าเขาจะคว้าโอกาสตรงนี้ ดร.ปิติ มีคำแนะนำอย่างไรบ้าง

ให้คนรุ่นใหม่เจอ Passion, Purpose ในตัวเองให้เร็วขึ้น

ดร.ปิติ กล่าวว่า ผมคิดว่าคนรุ่นใหม่นั้นมีความแตกต่างจากคนรุ่นผม และรุ่นคุณพ่อคุณแม่ คำว่า Passion, Purpose รุ่นพ่อรุ่นแม่ไม่มีหรอกเพราะว่าต้องหาเงินมาเลี้ยงชีพนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาโดยตลอด เพราะฉะนั้นไม่มีหรอกการที่ทำงานนี้แล้วทำให้ไม่มี Passion ทำแล้วจุดมุ่งหมายงานนี้คืออะไร รุ่นพ่อรุ่นแม่คือมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนคือการนำเงินมาเลี้ยงชีพ แต่เด็กรุ่นใหม่นั้นโชคดีที่มีคุณพ่อคุณแม่เป็นรุ่นนี้แล้วทำให้เขาไม่ได้รู้สึกว่าเขาเดือนร้อนขนาดนั้น ดังนั้นเขาจึงมองหา Purpose และ Passion ถ้าหากสิ่งนั้นไม่มีจุดมุ่งหมาย สิ่งนั้นทำแล้วทำให้เขาไม่อยากทำ คนรุ่นใหม่ก็จะไม่ทำ

เขามีตัวเลือกทำให้คนรุ่นใหม่อยู่ในโหมดของการค้นหา ทำให้ผมคิดว่าถ้าหากทำให้นิสิตสามารถทำงานร่วมกับพี่ ๆ ที่ทำงานในองค์กรใหญ่ ๆ ที่พร้อมเปิดโอกาสให้กับเด็กรุ่นใหม่ค้นหาตัวเองในทุก ๆ ปี คือการเรียนหนังสือแล้วก็ออกมาดูโลกภายนอกตอนปิดเทอมหรือตอน Summer ให้ทำ Project, Intern พอขึ้นปี 2 เริ่มเจอตัวตน พอปี 3 ฝึกงานทำให้เริ่มรู้ได้ว่าตัวเขาชอบอะไร อยากที่จะทำอะไร ผมว่าสิ่งเหล่านี้จะทำให้เขาค้นพบจุดมุ่งหมายในชีวิต ค้นพบ Passion ในชีวิตตัวเองได้เร็วขึ้น ผมมองว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ Win-Win เป็นอย่างมากเพราะคนรุ่นใหม่นั้นมีพลัง มีฝัน ถ้าเราทำให้ Runway นั้นสั้นลงทำให้คนรุ่นใหม่หาฝันได้เร็วขึ้น สิ่งนี้จะส่งผลดีให้กับประเทศชาติกับองค์กรที่เขาจะไปทำงานด้วย

ดังนั้น ผมมองว่าคณะวิศวฯ จุฬาฯ น่าจะทำงานร่วมกับพี่ ๆ ที่จบไปแล้วในการหยิบยื่นโอกาสเหล่านี้ให้น้อง ๆ สามารถเจอตัวเองได้เร็วมากขึ้น

.ดร.พิสุทธิ์ กล่าวว่า นี้คือคำแนะนำในฐานะที่เป็นอาจารย์ด้วย ขออนุญาตรับและจะนำไปส่งต่อ เราเริ่มดำเนินการไประดับหนึ่งในการที่จะลดจำนวนหน่วยกิตการเรียน รวมไปถึงพูดถึงเรื่องการฝึกงานที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เห็นด้วยกับ ดร.ปิติ อย่างยิ่งที่ 4 ปี จะต้องไม่ใช่เดินตามปกติ แต่จะต้องมีโอกาสให้นิสิตได้ไปค้นพบตัวตนของเขา เพราะจริง ๆ หากค้นพบได้เร็วที่สุด ยิ่งเร็วมากเท่าไหร่ก็น่าจะส่งผลดีให้ตัวเขาเองและองค์กร สังคมไทยด้วยเช่นกัน

ดร.ปิติ กล่าวทิ้งท้ายว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมพูดคุยกับทาง .ดร.พิสุทธิ์ จากสถานการณ์ที่เราต้องพบเจอกันในตอนนี้ทำให้เรากำลังเครียด กำลังเหนื่อยกับสถานการณ์ COVID-19 แต่อยากให้ลองมองในเชิงบวกในมุมที่ว่า COVID-19 เป็นตัวที่ปลุกเราขึ้นมา เพราะว่าถ้าเราไม่เจอ COVID-19 เราก็คงต้องเจอการแข่งขันในรูปแบบอื่น ๆ อยู่ดี ประเทศที่มาใหม่รอบข้างเราก็แกร่งขึ้นทุกวัน คู่แข่งเราก็แกร่งขึ้นทุกวัน ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคน การที่เราทุกคนผ่าน 2 ปี มาได้นั้นทำให้เรารู้ได้ว่าเราก็ไม่ธรรมดา ถ้าเราผ่านสถานการณ์เหล่านี้ไปได้ผมเชื่อว่าสิ่งที่เราคิด สิ่งที่เราทำมาโดยตลอดจะต่อยอดให้เราแข่งแกร่ง พอสถานการณ์ COVID-19 นั้นจบลง จะทำให้เรามีความแข่งแกร่ง พร้อมพัฒนายกระดับสิ่งต่าง ๆ ในประเทศให้ดีขึ้นอย่างแน่นอน…


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save