ราเมศวร์ ศิลปพรหม วศ.17

CU Engineering Enterprise พร้อมยกระดับงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง


500 บาท 1 ล้านคน วัคซีนเพื่อคนไทย โดยมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ โครงการที่ประสบความสำเร็จและเป็นที่พูดถึงกันอย่างแพร่หลายทั้งภายในและภายนอกรั้วมหาวิทยาลัย

และโครงการนี้เองทำให้บริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม ได้รับเงินสนับสนุนจากการบริจาคจำนวน 100 ล้านบาท เพื่อการค้นคว้าวิจัย พัฒนา และผลิตวัคซีนต้านโควิด-19 ภายในเวลาเพียง 1 เดือน

เมื่อพูดถึงซียู หรือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายคนคงทราบดีว่า เป็นแหล่งรวมของนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญและคณาจารย์ที่มีความสามารถ และมีผลงานวิจัยมากมายหลากหลายศาสตร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้หลายงานวิจัยที่น่าสนใจในปัจจุบันไม่ได้รับการต่อยอดรวมถึงไม่สามารถหาแหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนาต่อได้ ส่งผลให้งานวิจัยต้องหยุดการพัฒนาไป

ด้วยเหตุนี้จึงเกิด บริษัท ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด (CU Enterprise Co., Ltd.) โดยมีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกร นวัตกรรม ผู้ประกอบการและธุรกิจ โดยการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมให้มีความสมบูรณ์ ทำหน้าที่เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับภาคอุตสาหกรรมส่งเสริมให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถผลักดันนวัตกรรมธรรมดาและนวัตกรรมที่มีศักยภาพให้เจริญเติบโตและเป็นประโยชน์ต่อสังคม

ปัจจุบัน CU Enterprise ก่อตั้งมาแล้วเป็นเวลา 2 ปี กำลังสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมเพิ่มขึ้นในอีกหลายคณะ ทั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ รวมถึงคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่รู้จักกันในนาม CU Engineering Enterprise

Disrupted Chula

จุดเริ่มต้น CU Engineering Enterprise

เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ผมเป็นคณะกรรมการสมาคมนิสิตเก่าวิศวจุฬาฯ ได้ร่วมสัมมนาเรื่องยุทธศาสตร์ นโยบาย ทิศทางของคณะวิศวฯจุฬาฯ ซึ่งเวลานั้น ศ. ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ วศ.26 เป็นคณบดี ก็ได้ทราบปัญหาหลาย ๆอย่างของคณะฯ เช่น นักเรียนสละสิทธิ์เข้าเรียนในคณะวิศวฯ จุฬาฯ จำนวนมาก ในขณะที่บัณฑิตในแต่ละปีก็มีผู้ได้รับเกียรตินิยมจำนวนมากจนดูเหมือนว่า การได้เกียรตินิยมทำได้ง่าย ๆ ในทางกลับกัน ผลงานวิจัยของอาจารย์ที่ภาคเอกชนสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้นั้นมีจำนวนน้อย

ดังนั้น เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานวิจัยของอาจารย์ให้ภาคเอกชนได้รับรู้มากขึ้นสมาคมนิสิตเก่าวิศวจุฬาฯ กับคณะวิศวฯ ได้ร่วมกันจัดแสดงผลงานวิจัยต่าง ๆ ให้ออกสู่สาธารณชนมากขึ้น

CU Engineering Enterprise

ต่อมาได้มีการก่อตั้งชมรม Intania Open Innovation Club หรือ IOIC โดยเชิญ รุ่นพี่ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีมาร่วมพูดคุยกับรุ่นน้องเดือนละครั้ง และให้น้อง ๆ ที่มีไอเดียในการทำธุรกิจแบบดิจิทัลหรือเกี่ยวกับเทคโนโลยีมานำเสนอไอเดียแลกเปลี่ยนกัน มีการระดมทุนจัดตั้งบริษัทให้แก่น้อง ๆ ด้วย

แต่การที่อาจารย์หรือนักวิจัยจะทำผลงานไปพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์นั้นมีข้อจำกัดในหลาย ๆ เรื่อง ทั้งกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ทาง ศ. ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ จึงสนับสนุนให้ก่อตั้งบริษัทจำกัดขึ้น ดำเนินงานในรูปแบบเอกชน โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนนักวิจัยให้นำผลงานจากหิ้งสู่ห้างให้ได้

ENGINEX

Disrupted CU ที่มาพร้อมกับการเพิ่มศักยภาพให้แก่คณะวิศวฯ

CU Enterprise จะสนับสนุนด้านเงินทุนแก่นักวิจัยที่ได้รับการบ่มเพาะจาก CU Innovation Hubเพื่อนำผลงานการวิจัยไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ซึ่งมีคณะต่าง ๆ ในจุฬาฯ ขานรับกับนโยบายดังกล่าว ปัจจุบันที่ตั้งไปแล้ว คือ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงเป็นที่มาของ CU Engineering Enterprise ดำเนินงานในรูปแบบบริษัทจำกัด ไม่ใช้กฎระเบียบของคณะหรือของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ CU Enterprise จะถือหุ้นใน CU Engineering Enterprise เต็ม 100%

ราเมศวร์ ศิลปพรหม วศ.17

นอกจาก CU Engineering Enterprise จะไม่มีข้อจำกัดด้านกฎระเบียบ งบประมาณรายจ่าย ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง ระเบียบของบุคลากร และระเบียบการเงินของมหาวิทยาลัยแล้ว ในขณะเดียวกันก็เปิดช่องทางให้นิสิตเก่าสามารถเข้าร่วมทำงานให้แก่คณะฯ ได้ง่ายขึ้น…

CU Engineering Enterprise จะจัดตั้งกรรมการบริษัทของตัวเอง และยึด โครงสร้างรูปแบบบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ประกอบด้วยคณะผู้บริหาร คือ คณบดี และรองคณบดี 3 คน เป็นกรรมการแทนผู้ถือหุ้น พร้อมมีคณะกรรมการอิสระ 5 คน ประกอบด้วยนักบัญชี นักกฎหมาย และผู้ทรงคุณวุฒิ โดยที่กรรมการคนที่ 10 จะเป็น ประธานกรรมการบริหาร หรือ CEO ของ CU Engineering Enterprise ด้วย นอกจากนั้น CEO จะสามารถเข้าไปดำรงตำแหน่งในฝ่ายบริหารของคณะวิศวฯ ได้อีกด้วย เพราะ ระเบียบคณะฯ ปัจจุบันสามารถตั้งบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยเป็นรองคณบดีได้

ขณะนี้โครงสร้างของ CU Engineering Enterprise กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ มีนิสิตเก่าตั้งแต่ วศ.15-วศ.19 รุ่นละ 6-7 คนมาร่วมระดมสมองเพื่อช่วยผลักดันให้ CU Engineering Enterprise ประสบผลสำเร็จให้ได้ โดยมี คุณพรเลิศ ลัธธนันท์ วศ.2516 เป็น CEO และจะเป็นรองคณบดีฝ่ายพัฒนาธุรกิจ หรือฝ่าย Startup และมีตัวแทนของ รุ่นต่าง ๆ มาเป็นกรรมการบริษัท

…ด้วยโครงสร้างเช่นนี้ ผมคิดว่าต่อไปจะสามารถพัฒนาให้หน่วยงานในคณะ แยกออกมาตั้งเป็นบริษัทจำกัด ดำเนินงานแบบภาคเอกชน นอกจากจะรับทำงานของ คณะแล้ว ยังรับงานภายนอกได้อีกด้วย เป็นการสร้างรายได้ให้คณะอีกทางหนึ่ง ผม คิดว่ามีหลาย ๆ หน่วยงานในคณะที่มีศักยภาพทำได้ และน่าจะทำได้ดีด้วย

CU Engineering Enterprise จึงเป็นตัวผลักดันแนวความคิดใหม่ ๆ ให้แก่คณะ เปรียบเสมือนเรือลำน้อยที่พร้อมจะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรือลำใหญ่ นั่นเอง…

COVID-19 ผลกระทบทั้งทางลบและทางบวก

หลังจากเริ่มวางโครงสร้างบริษัทแล้วก็ได้ มีการจดทะเบียนบริษัทด้วยเงินทุน 10 ล้านบาท แต่การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้การ ดำเนินการต่าง ๆ ยังไม่คืบหน้ามากนัก แต่ผม มั่นใจว่าทางกรรมการบริษัทของ CU Engineering Enterprise จะผลักดันให้มีการนำผลงานวิจัย ของคณะออกสู่ตลาดได้อย่างแน่นอน

ที่จริงแล้วการระบาดของโควิด-19 มีทั้ง ด้านบวกด้านลบ ทางลบที่เกิดขึ้น เช่น ปัญหา ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ตัวเราเองที่ไม่สามารถ ดำเนินการได้ หรือการเรียน การทำงานของ อาจารย์และนิสิตที่ไม่สะดวก ในด้านทางบวก คือ เกิดงานวิจัยหลาย ๆ ชิ้นที่ออกมาช่วยแก้ ปัญหาเรื่องโควิด-19 และเป็นงานวิจัยที่สามารถ นำไปต่อยอดได้

ขณะนี้มีผลงานวิจัยหลายชิ้นที่เข้าร่วมใน CU Engineering Enterprise โดยจัดตั้งบริษัท แล้ว เช่น งานวิจัยรถตรวจโควิดเคลื่อนที่ งาน วิจัยเผาคาร์บอนให้เป็นเพชรในอุตสาหกรรม และงานวิจัยเกี่ยวกับหุ่นยนต์ทางการแพทย์

แนวความคิดของนักวิจัยและ การพัฒนาบัณฑิตในอนาคต

ในความเห็นของผม การพัฒนาบัณฑิต ในอนาคตจะต้องนำเรื่องของงาน Research Education และ Innovation เข้ามารวมกัน ตามยุทธศาสตร์ (Strategy) ของมหาวิทยาลัยที่ ต้องการพัฒนา Future Leaders, Impactful Research & Innovation และ Sustainability โดยมีเป้าหมายหลักในการพัฒนาบัณฑิตให้เป็น ผู้นำในอนาคต

อีกทั้ง ผู้นำในอนาคตจะต้องสร้างเศรษฐกิจ ฐานความรู้ได้ จะต้องเป็นประโยชน์ต่อสังคม หรือตามข้อกำหนดที่ทางมหาวิทยาลัยได้ เขียนไว้ แต่การที่บัณฑิตจะทำได้ไหมนั้นจะต้อง เกิดจากการวิเคราะห์ว่ากิจกรรมนั้นจะสร้าง ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสังคมไทย หรือมี ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และหรือทำให้ สังคมมีความยั่งยืนอย่างไร ดังนั้น การที่จะ พัฒนาผู้นำในอนาคตตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ ต้องพัฒนาบัณฑิตวิศวฯ ไม่เพียงแต่เป็นบุคลากร ในองค์กรชั้นนำ แต่หากต้องมีความรู้ด้าน ผู้ประกอบการอีกด้วย

5 ข้อสำคัญที่ควรจำและปฏิบัติตามจนเป็นนิสัย

ข้อควรจำ 5 ข้อ ที่สำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต คือ 1) เป้า ก่อนวิธี คือ การเน้นเป้าหมายก่อนวิธีการ ถ้าวิธีการไม่ดี ต้องพร้อมปรับเปลี่ยน ได้ตลอด แต่จะต้องยึดเป้าหมายไว้เสมอ อย่ายึดวิธีการเป็นเป้า และให้ถาม ตัวเองเสมอว่า ที่เรายึดอยู่คือเป้าหรือวิธี 2) แตกต่างและเหนือกว่า คือ การพยายามหาวิธีที่เราสามารถทำได้แตกต่างและเหนือกว่าคนอื่นเสมอ 3) ไม่มี อะไรจะเสีย คือ หากวิธีเดิมไม่ได้ผลแล้ว การทำด้วยวิธีใหม่ก็ไม่มีอะไรจะเสีย 4) คิดจะให้ผู้อื่นก่อนเสมอ คือ การคำนึงถึงความต้องการของผู้อื่นก่อนตนเอง 5) โลภจะถูกลวง หวงจะเสียเปรียบ คือ เมื่อความโลภเข้าครอบงำ เราอาจจะ โดนลวงด้วยรางวัลหรือความพอใจเล็ก ๆ น้อย ๆ จึงไม่ทันได้มองว่าสิ่งนั้นจะทำให้ เราบรรลุเป้าหมายในภาพใหญ่หรือไม่ รวมถึงการหวง การยึดติดในบางสิ่ง อาจจะ ทำให้เราไม่กล้าละทิ้งไปสู่วิธีที่แตกต่างและดีกว่าได้ จนทำให้เป้าใหญ่ไม่ประสบ ความสำเร็จ

…ผมอยากให้คนรุ่นใหม่คำนึงถึงข้อควรจำทั้ง 5 ข้อนี้ให้มาก ถ้าทำได้ก็จะ ประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน…

เปลี่ยน Mindset ในการทำวิจัย เพื่อเข้าสู่รูปแบบธุรกิจให้มากขึ้น

IOIC

ในชมรม Intania Open Innovation Club หรือ IOIC มีคนรุ่นใหม่หลายคนสนใจเป็น Startup แต่อาจารย์ที่มีผลงานวิจัยยังให้ความสนใจน้อย จึง ต้องเปลี่ยนแนวคิดของอาจารย์ให้มาทำงานวิจัยที่ สามารถพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ให้ได้

สมัยก่อน หลังจากอาจารย์ทำงานวิจัยเสร็จแล้ว อาจารย์จะต้องไปจดสิทธิบัตรที่สถาบันทรัพย์สิน ทางปัญญาของมหาวิทยาลัย (CUIP) จากนั้นจึงนำ ทะเบียนสิทธิบัตรนั้นไปให้เอกชนทำธุรกิจเชิงพาณิชย์

แต่ต่อไปอาจารย์ที่เป็นเจ้าของงานวิจัยจะจด ทะเบียนตั้งบริษัทตนเอง โดยมี CU Enterprise และ CU Engineering Enterprise ร่วมลงทุนเป็นผู้ถือหุ้น พร้อมทั้งหาผู้ร่วมทุนจากนักลงทุนภายนอก ด้วย โครงสร้างเช่นนี้อาจารย์ก็จะกลายเป็นทั้งนักวิจัยและ ผู้บริหาร และผู้ประกอบการงานวิจัยที่จะได้ออกสู่ ตลาด ไม่ใช่งานวิจัยขึ้นหิ้งอีกต่อไป

สุดท้าย คุณราเมศวร์ กล่าวเสริมว่า การ จะพัฒนาให้นิสิตเป็นอนาคตของชาติที่พร้อมจะ ยกระดับประเทศนั้น หัวใจสำคัญคือ การสร้าง แรงบันดาลใจ… ต้องทำให้นิสิตรู้สึกสนุกกับการ เรียนรู้ที่มากกว่าหลักสูตร ให้เด็กได้เรียนในสิ่งที่เขา อยากเรียน ต้องเปิดทุกอย่างออกมาว่าเรียนแล้วจะ สนองตอบสิ่งที่เขาสนใจได้หรือไม่ ต้องสร้างบรรยากาศ และสิ่งอำนวยความสะดวกให้เกิดแรงบันดาลใจ และ สนุกในการเรียนรู้ให้ลึกซึ้งในสิ่งที่สนใจโดยใช้แรงจูงใจ ทางบวก และต้องเริ่มให้เร็ว เพื่อจะได้มีเวลาบ่มเพาะ องค์ความรู้และขีดความสามารถให้มีมากพอตั้งแต่ยัง เป็นนิสิต เมื่อออกสู่สังคมทำงานก็พร้อมที่จะทำงาน และพร้อมที่จะเป็นเจ้าของกิจการตั้งแต่อายุยังน้อย

ราเมศวร์ ศิลปพรหม วศ.17 รุ่นพี่อินทาเนีย ที่เรียกว่าทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ และกำลังทรัพย์ เพื่อทำให้คณะวิศวฯ จุฬาฯ ของพวกเรายังคง ยืนหนึ่งดังที่เคยเป็นมา


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save