คณะวิศวฯ จุฬาฯ จัดการบรรยายพิเศษ เรื่อง “ทรัพย์สินทางปัญญากับงานที่สร้าง โดย Generative AI และ The Future of Cybersecurity” และเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “ยุค AI มาถึงแล้ว สายวิทย์ปรับตัวอย่างไร?”


คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิอรุณ สรเทศน์ ร่วมกับรายวิชาส่วนกลางคณะ Engineering Essentials และ ภารกิจยุทธศาสตร์และโครงการพิเศษ ภายใต้โครงการอาศรมความคิด อรุณ สรเทศน์ ณ ลานเกียร์ (เปิดโลกลานเกียร์) จัดการบรรยายพิเศษ เรื่อง “ทรัพย์สินทางปัญญากับงานที่สร้าง โดย Generative AI และ The Future of Cybersecurity” และเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “ยุค AI มาถึงแล้ว สายวิทย์ปรับตัวอย่างไร?” ภายใต้ความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดยในช่วงแรก ศ. ดร.ธวัชชัย ชรินพาณิชกุล รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ร่วมกล่าวเปิดงานบรรยายพิเศษในหัวข้อ เรื่อง “ทรัพย์สินทางปัญญากับงานที่สร้าง โดย Generative AI และ The Future of Cybersecurity” โดยมี รศ. ดร.ธัญญารัตน์ สิงหนาท หัวหน้ารายวิชาส่วนกลางคณะ, ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ, หัวหน้าภารกิจบูรณาการการศึกษา ฝ่ายวิชาการ เข้าร่วมต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน และวิทยากรพิเศษ ดร.ปริญญา หอมอเนก ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด ที่ให้เกียรติร่วมเป็นวิทยากรในหัวข้อดังกล่าว

และในช่วงที่ 2 ได้รับเกียรติจาก ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ เข้าร่วมต้อนรับผู้บริหารจากคณะแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ที่ได้ให้เกียรติร่วมเวทีการเสวนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในหัวข้อ “ยุค AI มาถึงแล้ว สายวิทย์ปรับตัวอย่างไร?” ได้แก่ รศ. พญ.โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ ศ. ดร.ประณัฐ โพธิยะราช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ศ. ทพ. ดร.พรชัย จันศิษย์ยานนท์ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ ศ. เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ ที่มาร่วมให้ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกรณีศึกษาในยุคเอไอที่ได้มีการพัฒนาส่งเสริมงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ และการแพทย์ที่นิสิตในยุคปัจจุบันควรทราบ ตลอดจนโอกาสในการร่วมมือกันเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมในประเทศต่อไปในอนาคต โดยมี ศ. ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ

สรุปเนื้อหาใจความสำคัญจากวิทยากรทั้ง 4 ท่าน

“AI จะมีสิ่งที่ถูกทดแทนในเร็วๆนี้ เราต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันมีการนำมาใช้ทั้งฝั่งงานวิจัย การ review paper การสกรีนยาใน Lab discovery ซึ่งเป็นตัวช่วยที่ดีพอสมควร แต่เราต้องพยายามหาความแตกต่างที่เป็นตนเองด้วย” – ศ. ภญ. ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์

“จุดสำคัญของ AI คือการมี data input ปัจจุบันมีการนำมาใช้ในเรื่อง imaging และ การ pre-screening โรคฟันต่างๆ เรียกว่า Smart Dental Clinic ที่เกิดจากความร่วมมือจากหลายภาคส่วนและนวัตกรคนไทย” – ศ. ทพ. ดร.พรชัย จันศิษย์ยานนท์ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์

“AI เป็นสุดยอดตัวช่วยในการลด trial and error ของกระบวนการต่างๆ ยิ่งเรื่องขั้นตอนการวิจัยช่วงลด waste ลดมลภาวะได้อีกด้วย” – ศ. ดร.ประณัฐ โพธิยะราช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์

“ปัจจุบันฝั่งนวัตกรรมมีการพัฒนาการใช้ AI มาเป็น assistant โดยใช้วิธีการโคลนความรู้จากอาจารย์หมอไปแล้วกว่า 80% ซึ่งไม่ใช่แค่การวิเคราะห์ รวมไปถึงการช่วยค้นหาโรค แต่สุดท้ายแล้วนั้น การตัดสินใจยังคงเป็นของแพทย์จริงๆ เป็นเพียงผู้ assist” – รศ. พญ.โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์ ผู้ช่วยคณบดีคณะแพทยศาสร์ ฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและสารสนเทศ

การบรรยายพิเศษ เรื่อง “ทรัพย์สินทางปัญญากับงานที่สร้าง โดย Generative AI และ The Future of Cybersecurity” โดย วิทยากรพิเศษ ดร.ปริญญา หอมอเนก ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด


การบรรยายพิเศษ เรื่อง “ทรัพย์สินทางปัญญากับงานที่สร้าง โดย Generative AI และ The Future of Cybersecurity” โดย วิทยากรพิเศษ ดร.ปริญญา หอมอเนก ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด


เสวนาทางวิชาการ เรื่อง “ยุค AI มาถึงแล้ว สายวิทย์ปรับตัวอย่างไร?” โดย ผู้บริหารจากคณะแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save