INTANIA Dinner Talk 2019: 2020 The next Disruption is coming

INTANIA Dinner Talk 2019: 2020 The next Disruption is coming


สมาคมนิสิตกาวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน INTANIA Dinner Talk 2019 พร้อมทั้งการเสวนาในหัวข้อ “2020 The next disruption is coming” โดยมี สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ นายกสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเปิดงานและกล่าวต้อนรับ ซึ่งการจัดงานครั้งนี้ได้รับเกียรติจก ดร.พิสิทธิ์ ลี้อธรรม เป็นประธานในพิธีและร่วมปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “2020 The next disruption is coming” ด้วย

การจัดงานสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การเสวนาเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับ Disruption ในธุรกิจต่าง ๆจากนิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีบทบาทสำคัญทั้งในฐานะผู้นำภาครัฐและผู้บริหารระดับสูงขององค์กรภาคธุรกิจประกอบด้วย สมคิด จิรนันตรัตน์ วศ.20 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) วิทวัส สวัสดิ์-ชูโต วศ.22 ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส วศ.24 กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย ยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล วศ.25 หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กรบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เชอร์วิส จำกัด (มหาชน) และ สมโภชน์ อาหุนัย วศ.28 ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) โดยมี ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ วศ.27 ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

ดร.พิสิทธิ์ ลี้อธรรม
ดร.พิสิทธิ์ ลี้อธรรม

ในการนี้ ดร.พิสิทธิ์ ได้ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “2020 The next disruption is coming” ว่า “เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากที่โลกกำลังก้าวไปสู่ทศวรรษใหม่ ค.ศ. 2020 ซึ่งจะเป็นทศวรรษที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้าน Disruption ข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตประจำวันทั้งเรื่องส่วนตัว งานด้านบริการ และการประกอบธุรกิจและเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี เช่น 5G, ED, Blockchain Technology จะมีผลกระทบต่อประเทศไทยในแง่ของสังคมที่เป็นเรื่องข้อมูลระหว่างบทบาทภาครัฐกับเรื่องความเป็นข้อมูลส่วนตัวของแต่ละบุคคล ซึ่งในประเทศไทยต้องยอมรับว่าประชากรไม่มั่นใจว่าข้อมูลส่วนตัวของตนจะมีความปลอดภัยหรือด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วนี้จะทำให้ข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ กลับมาทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหายทางสังคมหรือไม่อย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ได้นำเสนอบัญญัติต่อสภานิติบัญญัติแห่ชาติเพื่อให้รัฐบาลหรือประเทศไทยของเราได้คำนึงถึงข้อมูลส่วนบุคคล ขณะเดียวกันในโลกอนาคตเทคโนโลยีดิจิทัลจะเข้ามาทำหน้าที่แทนคน ผลกระทบทางด้านขาดตลาดแรงานในประเทศไทยจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมหาวิทยาลัยจะขาดแคลนนักศึกษาเข้าเรียนน้อยกว่าที่คาดจึงทำให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ขาดบุคลากรเข้าทำงานน้อยมาก นอกจากนี้ผลกระทบทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ของแต่ละประเทศที่แข่งขันค่อนข้างรุนแรง ก็ด้วยเทคโนโลยีในโลกสังคมออนไลน์จะเข้ามามีบทบาทมากที่สุดในโลกอนาคต”

สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์

ทางด้าน สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ นายกสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “การ
จัดกิกรรมเสวนาในปีนี้จะเป็นประโยชน์แก่นิสิตนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เป็นคนรุ่นใหม่จะได้รับมุมมองเรื่องแนวโน้ม
การ Disruption ที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้และนโยบายภาครัฐรวมถึงแนวคิดในการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ธุรกิจเพื่อรับมือจากรุ่นพี่
ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการธุรกิจต่าง ๆ ทั้งธุรกิจพลังงาน ธุรกิจซีเมนต์ธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ธุรกิจ Packaging ธุรกิจผลิตภัณฑ์ และธุรกิจโทรคมนาคม เป็นต้น นอกจากนี้ ในฐานะที่รับตำแหน่งนายกสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ฯ ในต้นปีที่แล้ว ก็ได้วิเคราะห์กับที่มงานและกรรมการสมาคมฯ ในเรื่องของการจัดกิจกรรมและประโยชน์ที่จะได้รับในแต่ละกลุ่ม คือ นิสิตเก่า นิสิตปัจจุบัน และสังคม ซึ่งกิจกรรมที่ดำเนินการมาจะได้ประเมินผลงานของสมาคมนิสิตเก่าวิศวฯ จุฬาฯ ระหว่าง พ.ศ. 2561-2562 เพื่อเตรียมเข้าสู่การทำงานจริงในโลกที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว มีความท้าทายรอบด้านเพื่อส่งเสริมโครงการที่นิสิตเก่าได้ริเริ่มทำไว้ดีอยู่แล้ว ส่งต่อรุ่นสู่รุ่นให้คนรุ่นใหม่สานต่อโครการให้ประสบความสำเร็จ และการดำเนินงานของสมาคมฯ จะเป็นต้นแบบให้สถาบันอื่น ๆ หรือ คณะอื่น เพื่อร่วมกันพัฒนาสังคมไทยต่อไปในอนาคต”

งาน Dinner Talk ในครั้งนี้ มีนิสิตเก่ นิสิตปัจจุบัน และผู้ที่ให้ความสนใจเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง ในส่วนของการเสวนาในหัวข้อ “2020 The next disruption is coming” ผู้ร่วมเสวนาได้ให้ความเห็นที่หลากหลายตามธุรกิจที่ดูแลอยู่

สมคิด จิรานั้นตรัตน์
สมคิด จิรานั้นตรัตน์

สมคิด จิรานั้นตรัตน์ กล่าวว่า Disruption นั้นมีมานานเป็น 100 ปี ตั้งแต่สมัยรถม้าถูก Disrupt ด้วยรถยนต์ จนเมื่อไม่กี่ปีมานี้ประเทศไทยจึงมีการพูดถึง Disruption ทั้งธุรกิจทางการเงิน ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ หรือเกี่ยวกับ Entertainment ส่วนทางด้านการเงินนั้นคำว่า “The next disruption is coming” นั้นเหมาะกับการเงินเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าธุรกิจการเงินหรือธนาคารจะมีความตื่นตัวมาก ธนาคารได้มี Disruption ไปแล้วบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการตั้งระบบ payment เป็น E-payment ขึ้นมาใหม่ หรือแทบทุกธนาคารใหญ่ ๆ ตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาที่ซื่อว่า Innovation Center ทำให้รู้สึกว่ามีการตื่นตัวและมีการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างมาก แต่คำถามคือ ธนาคารและสถาบันการเงินทั้งหลายจะรอดจากการถูก Disrupt ได้จริงหรือไม่?

คำว่า The Next Disruption เป็นคำที่มีความหมายและน่าคิดว่าอะไรบ้างที่จะสามารถข้ามา Disrupt สถาบันทางการเงินได้ แยกได้ เรื่องของเทคโนโลยีใหม่ ว่าสามารถ Disrupt ธนาคารได้ไหม เทคโนโลยีตัวแรกคือ A จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีทาง AI นั้นก้าวหน้าได้เร็วมาก A ถูกตั้งเป้าหมายไว้ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า AI จะมีความสมารถมากกว่ามนุษย์ และสามารถที่จะทำงานแทนมนุษย์ได้หลาย ๆ เรื่อง ทางด้านสถาบันการเงิน AI ก็จะเข้ามาตอบโจทย์ได้หลายเรื่อง อาทิ การให้ AI มาพิจารณาให้สินเชื่อแทนมนุษย์ อีกเทคโนโลยีคือ Blockchain จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกเหมือนที่อินเทอร์เน็ตเปลี่ยนแปลงโลกเมื่อ 25 ปีที่แล้ว เพราะจะไม่มีคนกลางอีกต่อไป ซึ่งธนาคารถือเป็นตัวกลางชนิดหนึ่ง ธนาคารเป็นองค์กรที่เป็นตัวกลางที่สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่คนที่ใช้เวลาเป็น 100 ปี และในสถาบันการเงินนั้นความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด เพราะฉะนั้นคนที่จะมาทำเกี่ยวกับธนาคารได้จะต้องเป็นคนที่มีเงินและมีความน่าเชื่อถือถึงจะสามารถเป็นธนาคารได้ แต่ถ้าหากเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามาอย่างเช่น Blockchain ที่บอกว่าไม่จำเป็นต้องมีคนน่าเชื่อถือเข้ามาระบบก็ทำได้ แต่ความน่าเชื่อถือนั้นอยู่ที่เทคโนโลยี อยู่ที่วิธีการที่ออกแบบเทคโนโลยีแทน เพราะฉะนั้นใคร ๆ ก็สามารถเข้ามาให้บริการได้ การที่เป็นแบบนี้สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นแก่ 2 เทคโนโลยี

นี้ก็คือทั้ง AI และ Blockchain จะทำให้ตันทุนการให้บริการเทียบกับธนาคารยุคเดิม ต่างกันตรงคำว่า The next disruption is coming เรื่องของ Platform ขนาดใหญ่ ที่กำลังจะเข้ามาในประเทศไทย หากใครมีข้อมูลก็สามารถดำเนินธุรกิจได้

วิทวัส สวัสดิ์ชูโต
วิทวัส สวัสดิ์ชูโต

ด้าน วิทวัส สวัสดิ์ชูโต ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จริง ๆ ปตท. ก็มี Disrupt อยู่เรื่อย ๆ แต่ที่จริงแล้ว โลกเรานั้นมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด ตั้งแต่ ค.ศ. 1700 ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรถไฟที่ใช้ไอน้ำ จากนั้นก็เปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้า และปัจจุบันก็เป็นเรื่องของดิจิทัล ซึ่งทุกอย่างนั้นก็คือการ Disrupt นั้นเอง พวกเราเองก็มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงปรับปรุงตลอด มิเช่นนั้นก็ไม่สามารถอยู่รอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ Industrial Revolution มี 4 ช่วงแล้วเป็นเรื่องของ Steam, Electricity, Computing, และ Intelligence ปัจจุบันอยู่ใน Cycle 6 ซึ่งเป็นเรื่องของ Technological Innovation ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาของระบบดิจิทัลที่มีการพัฒนาอย่างสูงมาก ผมคิดว่า Disruption นั้นเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตลอด จึงไม่ใช่เรื่องที่ต้องตื่นตกใจ แต่เราต้องปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัย

การถูก Disrupt ของ ปตท. คือ เรื่องของน้ำมัน ซึ่งเคยพุ่งสูง 200 เหรียญต่อบาร์เรล แต่ใน ค.ศ. 2016 ต่ำที่สุดเลยคือ 22.80 เหรียญต่อบาร์เรล นี่เป็นสัญญาณของการเกิด Disrupt ที่จะต้องเจอ จึงมีการระดมสมองและช่วยกันขึ้น วิธีการรับมือจึงเกิดมาเป็น 3D นั่นก็คือ 1. DO Now เพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขัน คือการลดต้นทุน เพื่อให้สามารถทำกำไรให้แก่บริษัทเหมือนเป็นการ “รีดไขมัน” ส่วนเกินออกไปและเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ธุรกิจเพื่อการแข่งขัน 2. Decide Now การขยายการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจแก๊ส พลังงานสะอาดปัจจุบันนอกจากความต้องการใช้มีมากขึ้น การขนส่งก็ง่ายและสะดวก สามารถส่งข้ามประเทศด้วยการเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ และ 3. Design Now แสวงหาธุรกิจใหม่ ซึ่ง ปตท. มีโครงการที่จะเพิ่มการลงทุนเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ให้แก่สายงาน

รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส
รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส

รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า SCG มีธุรกิจกระดาษ ซึ่งส่วนใหญ่ลูกค้าจะเป็นธุรกิจสื่อสิงพิมพ์ แต่ในปัจจุบันธุรกิจนี้ได้เปลี่ยนไป ด้วยเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ทำให้ SCG ประสบปัญหาพอควร ก็หันกลับมามองว่า ใน 5 ปีข้างหน้า ความต้องการกระดาษจะลดน้อยลงมากกว่า 50% เราจึงหันมาทำ Packaging และเวลานี้กว่า 909 ของธุรกิจกระดาษจะนำไปผลิต Packaging และยังมีกระดาษส่วนหนึ่งที่เป็นเยื่อกระดาษ ก็นำมาทำเป็น Food Packaging เพราะจะสะอาดมากกว่า สิ่งนี้ถือเป็น Disrupter แบบหนึ่ง

อีกสิ่งหนึ่งที่ให้ทุกคนจับตามองคือจีน มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการดำเนินธุรกิจปิโตรเคมี ในอดีตมีเพียง 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ที่จะทำเกี่ยวกับปิโตรเคมี แต่ปัจจุบันเปิดให้ผู้ที่สนใจลงทุนสามารถดำเนินการได้แต่ต้องทำให้เร็ว นั่นคือ ทางรัฐบาลจะให้เงินกู้แต่จะต้องคืนภายใน 5 ปี เพราะฉะนั้น จึงมีผู้สนใจที่จะลงทุนมากขึ้น และทุกรายพยายามหาทางว่าทำอย่างไรให้เปิดโรงงานปิโตรเคมีได้เร็วซึ่งทั้งหมดนี้เป็น Disruption ทั้งเทคโนโลยี สงครามทางการค้า และวงการอุตสาหกรรมจากจีน

ยงสิทธ์ โรจน์ศรีกุล
ยงสิทธ์ โรจน์ศรีกุล

ส่วน ยงสิทธ์ โรจน์ศรีกุล หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร บริษัท แอดวานซ์อินโฟร์ ซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าทุกวันนี้ Aร ก็ถูก Disrupt เช่นกัน ปัจจุบันการส่ง SMร น้อยลงมากเนื่องจากมีการใช้แอปพลิเคชันต่าง ๆ ในการสื่อสารได้ทั่วประเทศและทั่วโลก เพราะฉะนั้นรายได้จาก Message และ Roaming ลดไปอย่างมาก ขณะเดียวกันทาง AIร ก็มีการใช้ Data เป็นจำนวนมากอาจจะกล่าวได้ว่า Disruption ของ AIS มากที่สุดน่าจะเป็นช่วง 4G ทั้งการที่ธนาคารมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการลดสาขา ลดจำนวนพนักงาน รวมทั้งในกลุ่มสื่อสิ่งพิมพ์ การประชาสัมพันธ์ โทรทัศน์ หรือสิ่งพิมพ์ เป็นกลุ่มที่ถูก Disrupt แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งนั้น เทคโนโลยีเหล่นี้ก็เข้ามาช่วยพัฒนาเรื่องการแพทย์ การใช้เครื่องทางด้านดิจิทัลในการค้าขาย จึงกล่าวได้ว่าในทุกเรื่องจะมี 2 ด้านเสมอ ดังนั้น 4G ที่ผ่านมาก็ทำให้เกิดทั้ง Disruption และ Opportunities

ค.ศ. 2018 เพิ่มเป็น 10 Gbps/คน และ ค.ศ. 2019 ก็เพิ่มขึ้นเช่นกันแต่ราคาต่อคนนั้นลดลงเปรียบเสมือนเราต้องสร้างถนนให้กว้างขึ้นเพื่อให้รถวิ่งได้มากขึ้น แต่เก็บค่าโดยสารน้อยลง ดังนั้นจึงต้องมีการบริหารจัดการให้ดี และเรื่องที่กำลังเกิดขึ้นก็คือ 5G จะเป็น Disruption อีกหนึ่งสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับทาง AIS และเราก็ต้องหาวิธีการปรับเปลี่ยนและพัฒนาระบบของเราเองให้เข้ากับกระแสที่กำลังจะมาอย่าง 5G ถ้ามองว่า 4G นั้นเป็น Disruption คลื่นลูกแรก 5G นั้นจะเป็นนมิได้เลย จะเป็นคลื่นลูกใหญ่มากที่จะทำให้เกิด Disruption อย่างรุนแรง ผมเชื่อว่า 5G นั้นเป็น The next disruption is coming

สมโภชน์ อาหุนัย
สมโภชน์ อาหุนัย

สมโภชน์ อาหุนัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ผมมองว่า ผมเป็นผลผลิตของการเปลี่ยนแปลง บริษัทพลังงานบริสุทธิ์ตั้งขึ้นตอนที่ธุรกิจพลังงานเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งหากถามว่าการ Disruption ของพลังงานทดแทนนั้นคืออะไร จริง ๆ แล้วเกิดมาจากมนุษยชาตินั้นกลัวตายรู้สึกร้อนตัวว่า โลกกำลังจะร้อนขึ้น มีวิกฤตต่าง ๆ มากขึ้น จึงมีการปรับเปลี่ยนและทำอะไรบางอย่าง ถ้าหากไม่ทำอะไรสักอย่าง เราคงอยู่ไม่ได้ จึงเกิด Zero Carbon ต้องการพลังงานสะอาด สิ่งที่ EA ทำก็คือ ทำให้เทร็นด์นี้เกิดขึ้นเร็วกว่า และทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจเหมือนกับที่ทาง EA เกิดขึ้นแรก ๆ บริษัทได้ไปทำโชลาร์ฟาร์ม 90 เมกะวัตต์ คนก็เริ่มหันมาทำ เราจึงเริ่มหันไปทำ Win Farm และ ผมมองว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน นั่นคือ Renewable, Hydrogen Society, Distributed Generation และ Smart Grid Evolution ผมว่าสิ่งเหล่นี้จะเป็นตัวเร่ง Disruption ให้เกิดขึ้นเร็วกว่าเดิมอย่างแน่นอน


ที่มา: อินทาเนีย ฉบับที่ 1 ปี พ.ศ. 2563 คอลัมน์ สายสัมพันธ์อินทาเนีย โดย กองบรรณาธิการ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save