สรุปการบรรยาย Generation Disruption

สรุปการบรรยาย Generation Disruption


ยุคนี้เราจะเห็นความแตกต่างทางด้านความคิดของคนต่างวัยต่างรุ่นอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น หัวข้อเกี่ยวกับ Generation Gap จึงเป็นเรื่องที่คนจำนวนมากสนใจ รวมทั้งผมด้วยครับ เพราะผมเป็นคน Gen X แต่เป็นอาจารย์สอนนิสิตที่เป็นคน Gen Y, Gen Z และมีลูกสาวใน Gen Z ด้วย

เมื่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชิญ ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ซึ่งเป็นประธานกรรมการโรงเรียนกำเนิดวิทย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และอีกหลายตำแหน่ง มาบรรยายเรื่อง Generation Disruption ในวันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2562 ในช่วงบ่าย จึงมีคนจำนวนมากสนใจ รวมทั้งผมด้วย

ผมจึงขอสรุปประเด็นต่าง ๆ ที่วิทยากรคือ ดร.ไพรินทร์ บรรยายมาเล่าให้ฟังในบทความนี้ครับ

1.อัตราการเกิดในยุคนี้

Disruption คือความไม่ต่อเนื่อง ที่ของเก่าพังหมด ดังนั้นคนจึงพูดเรื่อง Disruption ในทางธุรกิจมากขึ้น ปีนี้นักเรียนเข้าโรงเรียนหายไป 5 หมื่นคน เท่ากับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆ 1 แห่ง แล้วสถาบันการศึกษาจะปรับตัวอย่างไร เด็กเกิดมากหลังสงครามโลก ซึ่งเราเรียกคนที่เกิดรุ่นนี้ว่า Baby Boomer… ในยุคนี้อัตราการตายลดลง เพราะคนอายุยืนขึ้น แต่อัตราการเกิดก็ลดลงด้วย… ในอนาคตอันใกล้ โลกใบนี้จะเป็นโลกของคนแก่ ไม่ใช่คนหนุ่มสาวอย่างที่คิด เพราะคนหนุ่มสาวน้อยลง

วิทยากรได้แสดงกราฟและข้อมูลต่าง ๆ เพื่อบอกว่า คนแก่กำลังเป็นคนกลุ่มใหญ่ของสังคมแรงงานที่อยู่ในระบบจะลดลง ประชากรไทยไม่ถึง 70 ล้านคน พม่า 80 ล้านคน ฟิลิปปินส์เกือบ 100 ล้านคน ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยน้อยลง เพราะคนทำงานน้อยลง จีนและญี่ปุ่นเจอปัญหาเรื่องคนเกิดน้อย เพราะจีนเคยมีนโยบายเรื่องลูกคนเดียว แต่ตอนนี้จีนยกเลิกนโยบายนี้แล้ว นโยบายของญี่ปุ่นคือ เอาคนแก่ ผู้หญิง และคนต่างชาติมาทำงาน

2. Urbanization

ประชากรไปรวมกันทำงานที่เมืองใหญ่ เด็กเกิดใหม่ก็จะทำงานเข้าเมือง ความหมายเดิมของ Smart City คือ เมืองน่าอยู่ มีการจัดสรรสิ่งแวดล้อมหรือสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ ไม่ใช่มีสลัมติดตึกสูง แต่ตอนนี้ไปแปล Smart City เป็นเมืองอัจฉริยะ สิ่งเกิดขึ้นใน Urbanization คือ มีการใช้พลังงานเยอะมาก มีการจ้างงาน ทำให้คนเข้ามาทำงานมากขึ้น

3. ความแตกต่างระหว่างรุ่น

มีหลักฐานหรืองานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ว่าคนแต่ละรุ่นแตกต่างกัน มีการทดสอบ 2 อย่างคือ ความสามารถทางชีววิทยาและความสามารถทางประสบการณ์ แบบทดสอบความสามารถเชิงชีววิทยา เช่น ความจำการทำงาน ซึ่งคนอายุน้อยดีกว่าผู้สูงวัย เพราะความสามารถ

เชิงชีววิทยาจะลดลงตามอายุอย่างรวดเร็ว แต่ความสามารถเชิงคิดวิเคราะห์หรือประสบการณ์จะดีขึ้นตามอายุจะเกิดการปะทะระหว่าง Generation เช่น ความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกันอย่างมาก หรือสไตล์การทำงานที่ต่างกัน ซึ่งคนรุ่นเดิมจะทำงานในที่เดิมนาน ๆ แต่คนรุ่นใหม่อดทนต่ำ จะไม่ยอมทำงานที่เดียวนาน ๆ ความแตกต่างระหว่างอายุ เกิดจากความต้องการด้าน Maslow ที่แตกต่างกัน เช่น คนวัยทำงานต้องการเงินเพื่อดูแลครอบครัวคนวัยรุ่นเรียนมหาวิทยาลัยต้องการ Self Actualization

https://pixabay.com/photos/boy-mobile-phone-addiction-phone-3360415/

4. World 4.0

Gen Alpha คือเด็กอายุน้อยกว่า 7 ขวบ ในยุคนี้เกิดมาพร้อมกับโลกดิจิทัลและยุคเอไอ Gen Alpha ไม่จำเป็นต้องมีทักษะแบบคนยุคนี้ เช่น ไม่ต้องขับรถเป็น เพราะอนาคตจะมีรถอัตโนมัติ ไม่ต้องขับรถเองอุปกรณ์ ไอที เช่น มือถือ ช่วยขยายความฉลาดและสติปัญญาของเด็กยุคนี้ แต่ความฉลาดทางวิชาการอย่างเดียวจะไม่พอ เพราะต้องมีความฉลาดทางอารมณ์ด้วย

ต่อไปมหาวิทยาลัยต้องสอน E.Q. ด้วย เพราะเด็กหาความรู้ได้จากมือถือ เนื่องจากทักษะหลายอย่างขึ้นกับ E.Q. คนที่ไม่มีสมรรถนะทางพฤติกรรมหรือขาด Competency จะเกิดปัญหาในการทำงาน มหาวิทยาลัยไม่ได้สนใจ Competency Based เท่าไร

5. การเรียนตั้งแต่เด็กจนจบปริญญาตรี อาจไม่เหมาะสมในยุคนี้แล้ว

Front-Loaded Learning คือการเรียนอย่างเดียว เช่น เรียนตั้งแต่เด็กจนจบปริญญาตรี โท เอก แล้วค่อยออกมาทำงาน ซึ่งอาจไม่เหมาะกับโลกยุคนี้

รูปข้างบนด้านขวาแสดงให้เห็นว่า เพียงภายใน 5 ปี ก็มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องความต้องการของทักษะอย่างมาก

การเรียนแบบ Front-Loaded ที่เรียนไปเรื่อย ๆ แล้วค่อยออกมาทำงานถึงจุดอิ่มตัวแล้วบริษัทหาคนมาทำงานไม่ทัน ต้องการเด็กเข้าทำงานก่อนจบปริญญาตรี

ไอเดียใหม่ที่เสนอตอนนี้คือ เรียนแล้วออกมาทำงาน จากนั้นกลับไปเรียน แล้วก็ออกมาทำงาน ซึ่งอาจเป็นงานใหม่หรืออาชีพใหม่

Generation Disruption

ตัวอย่างเช่น เราจะเห็นแนวโน้มว่า ผู้ก่อตั้งสตาร์ตอัปอาจมีอายุ 45 ปี เพราะสตาร์ตอัปจากคนก่อตั้ง 20 กว่าปีมีโอกาสเจ๊ง เพราะยังขาดประสบการณ์

โรงเรียนของกระทรวงศึกษาธิการยัง Disrupt ตัวเองไม่ได้ ไม่ต้องห่วงแทนคนรุ่นใหม่ว่า เอไอจะทำงานแทนหรือไม่ เพราะเขาจะปรับตัวเข้ากับเอไอได้ดีกว่าคนรุ่นสูงวัย อีกประการหนึ่งคือ การทึ่มีคนทำงานน้อยลง ทำให้จำเป็นต้องใช้เอไอหรือหุ่นยนต์มาช่วยทำงานมากขึ้น

ธุรกิจของมหาวิทยาลัยเป็น Red Ocean เช่น มหาวิทยาลัยบางแห่งจะเปิดคณะแพทย์ ทั้ง ๆ ที่ไม่จำเป็น ทำให้ต้องมาแข่งขันกันเอง
มหาวิทยาลัยชั้นนำ 10 แห่งของโลกมีนักศึกษาประมาณหมื่นกว่าคน เพราะโฟกัสมากกว่า

ถ้าสมมติว่า มีบริษัทใหญ่ในไทยประกาศว่า ไม่รับคนที่จบปริญญาตรี จะเกิดผลกระทบแก่มหาวิทยาลัยอย่างมหาศาล และถ้ามีบริษัทแห่งหนึ่งประกาศ ก็จะมีแห่งอื่นประกาศตาม มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จะเกิดผลกระทบทันที ดังนั้น ควร Disrupt ตัวเองก่อนที่จะถูกคนอื่น Disrupt เพราะถ้าถูกบังคับ จะเจ็บปวดมาก ทุกคนจะหนีตายหมด

วิทยากรแนะนำหนังสือเรื่อง Super Ager ที่พูดเรื่องการพัฒนาสมองของคนสูงวัย วิทยากรปิดท้ายด้วยข้อความนี้ครับ “อย่าห่วงว่าตัวเองจะแก่แต่จงห่วงว่าจะคิดแบบแก่ ๆ”

(บทความจาก https://medium.com/@thongchairoj)


ที่มา: อินทาเนีย ฉบับที่ 4 ปี พ.ศ. 2562 คอลัมน์ เรื่องพิเศษ โดย อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล
อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save