คณะวิศวฯ จุฬาฯ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กับกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวิศวกรรมกับโปรตีนไหมไทย


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวิศวกรรมกับโปรตีนไหมไทย เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อและระบบนำส่งยาของการรักษา โรคมะเร็ง โรคข้อเสื่อม การผลิตหลอดเลือดเทียม เส้นประสาทเทียม ท่อน้ำตาเทียม การพิมพ์เนื้อเยื่อสามมิติ การทำเปลือกตาเทียม ทำแผ่นปิดแผลนำส่งยา การทำผิวหนังเทียม และกระดูกเทียม

ความร่วมมือของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกรมหม่อนไหม เป็นโครงการที่ได้ร่วมมือกันมา 17 ปี และที่ผ่านมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับความร่วมมือจากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ โคราช ที่สนับสนุนด้านองค์ความรู้ มาโดยตลอด ทำให้สามารถผลิตผลงานวิจัยเรื่องการประยุกต์ใช้ไหมไทยในงานทางการแพทย์เป็นจำนวนมาก จากผลงานวิจัยเหล่านี้ วันนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำมาต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อให้เกิดการนำงานวิจัย จากหิ้งมาสู่ห้าง โดยมีบริษัท เอนจินไลฟ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัท spinoff ที่บริษัท CU Enterprise และบริษัท CU Engineering Enterprise ร่วมถือหุ้น มาสานต่อการนำไหมไทยออกสู่ตลาดและการประยุกต์ใช้งานทางการแพทย์ โดยบริษัท เอนจินไลฟ์ ดำเนินโครงการตั้งแต่ต้นน้ำ คือ กระบวนการปลูกหม่อนอินทรีย์ เพื่อให้ได้คุณภาพทางการแพทย์ และได้รับการรับรองมาตรฐาน สร้างโรงเรือนเลี้ยงหนอนไหมและผลิตรังไหมอินทรีย์ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมหม่อนไหมเป็นที่แรกของประเทศไทย ที่เป็นไปตามมาตรฐานสินค้าเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยได้รับความร่วมมือจากกรมหม่อนไหมในการร่วมพัฒนาแปลงหม่อนอินทรีย์ รวมถึงกระบวนการผลิตรังไหมสาหรับการใช้งานทางการแพทย์ ที่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี โครงการกลางน้ำ คือ การสร้างโรงงานสกัดโปรตีนจากรังไหมตามมาตรฐาน ISO13485 ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการทดสอบความปลอดภัยตามมาตรฐาน ISO10993 และโครงการปลายน้ำ คือ การผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีความร่วมมือกับภาคเอกชน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะใช้ทุกส่วนของรังไหมให้เกิดประโยชน์สูงสุด แบบครบวงจร รวมไปถึงการพัฒนาอาหารฟังก์ชั่นจากดักแด้หนอนไหม ซึ่งเป็นอาหารที่ทาจากแมลงที่กำลังเป็นที่นิยมเพราะให้สารอาหารโปรตีนสูง

 

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวว่า “ถือเป็นความภูมิใจและความสำเร็จที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ทำการวิจัยค้นคว้า เป็นผลสัมฤทธิ์ที่เป็นที่ประจักษ์ สามารถนำงานวิจัยมาพัฒนาเพื่อการสร้างศักยภาพให้กับเกษตรกร ได้มีความรู้ ความสามารถ และยกระดับมาตรฐานในอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงหม่อนไหมได้อย่างดียิ่ง ทั้งยังเป็นการสร้างนวัตกรรมให้กับทางการแพทย์ ให้มีศักยภาพในการรักษาผู้ป่วยได้อย่างทั่วถึงด้วยผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานสากล สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยงานวิจัยที่เป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ”

ประกอบ เผ่าพงศ์ อธิบดีกรมหม่อนไหม ได้กล่าวว่า “เป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย มาสู่ชาวเกษตรกรเลี้ยงหม่อนไหม อย่างเป็นรูปธรรม และยั่งยืน สร้างคุณค่าให้กับประเทศ กรมหม่อนไหม มีงานวิจัยอย่างต่อเนื่องในการแก้ปัญหาให้กับชุมชน และเกษตรกร และนี่เป็นอีกหนึ่งโครงการที่กรมหม่อนไหมได้รับความร่วมมือจากสถาบันชั้นนำอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการยกระดับอาชีพเกษตรกร และเป็นการสร้างคุณค่าและมูลค่าให้อาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมได้รับประโยชน์ และมีองค์ความรู้เพิ่มเติมจากการที่จะบ่มเพาะเลี้ยงตัวไหมให้มีคุณภาพเพื่อใช้งานทางการแพทย์ และนอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมและต่อยอดงานทางด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมของต้นหม่อนที่มีอยู่กว่า 200 พันธุ์ เป็นการขยายผลและต่อยอดงานด้านภูมิปัญญาด้านหม่อนไหม งานด้านวิชาการ และ เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่จะให้การตลาดนำการผลิต

งานวิจัยเรื่องไหมไทยสำหรับการประยุกต์ใช้ทางการแพทย์นี้ ริเริ่มโดย ศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร ดำรงศักดิ์กุล และ รองศาสตราจารย์ ดร.โศรดา กนกพานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเห็นความสำคัญของไหมไทย ที่เป็นวัตถุดิบทางการเกษตรที่สำคัญ และมีสมบัติที่ดีเหมาะสมสำหรับการนำมาใช้ทางการแพทย์ จึงได้ดำเนินงานวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง ในวันนี้ บริษัท เอนจินไลฟ์ จำกัด นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ได้ทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้มา และมีพันธกิจร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการนำ “ไหมไทย”สู่การเป็นวัตถุดิบทางการแพทย์ พัฒนาเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่นำไป ใช้งานได้จริง และที่สำคัญคือการช่วยยกระดับเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ให้สามารถเลี้ยงไหมที่มีมูลค่าสูงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ความร่วมมือในโครงการ “ไหมไทย” จากอุตสาหกรรมสิ่งทอสู่นวัตกรรมเพื่อการแพทย์นี้ ดำเนินการโดย บริษัท เอนจินไลฟ์ จากัด (EngineLife) ซึ่งเป็นบริษัท ที่อยู่ภายใต้การบ่มเพาะของ CU Engineering Enterprise ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจาก CU Innovation Hub ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save