พงษ์เดช เสรีเชษฐพงษ์ วศ.2523

กรรมการประชาสัมพันธ์และสาราณียกร


เมื่อน้อง ๆ นิสิตเห็น สวจ. จัดกิจกรรมที่มีการร้องเพลงเชียร์ ในงานวันอำลาหอประชุม (ปิดหอประชุมเพื่อปรับปรุงใหม่) ที่แสดงให้เห็นถึงความมียูนิตี้ของพี่ ๆ ชาววิศวฯ และเห็นยอดเงินสนับสนุนของกรรมการบริหารสมาคมฯ ที่มี ศักดิ์ชัย ยอดวานิช วศ.2524 เป็นนายกสมาคมฯ พร้อมทั้งคณะกรรมการในสมาคมฯ ที่มีความสามารถหาเงินสนับสนุนจากรุ่นพี่เก่า ๆ มาได้ 100 กว่าล้านบาท ภายในระยะเวลา 2 เดือน สำหรับการปรับปรุงหอประชุม ในสภาพเศรษฐกิจแบบนี้ ยิ่งทำให้น้องนิสิตเกิดคำถามในใจมากมายว่า “ทำไมพี่ ๆ ถึงร่วมแรงร่วมใจลงเงินส่วนตัวมาบริจาค” ทั้ง ๆ ที่ไม่สามารถนำมาหักภาษีได้ และพี่ ๆ ทุกคนที่มาในงานล้วนร้องเพลงประจำคณะ (หลายเพลง) ได้พร้อมเพรียงกัน แต่ละรุ่นที่มาอายุก็แตกต่างกัน และเมื่อพี่ ๆ ร้องเพลงคณะนั้น สีหน้าและแววตาก็อิ่มไปด้วยความสุข

พี่เปิ้ล และน้องบูม

พงษ์เดช เสรีเชษฐพงษ์ วศ.2523 หรือที่พี่ ๆ น้อง ๆ เรียกกันว่า พี่เปิ้ล เล่าว่า “โครงการสอนน้องร้องเพลง” เกิดจากน้อง หัวหน้ากรรมการนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ (กวศ.) ปี 3 หรือ น้องบูม ได้เข้ามาพูดคุยกับทาง สวจ. ว่า ในเดือนมกราคมของทุกปีจะมีการจัดรับน้องกลุ่ม ปกติการรับน้องที่ทำกันก็มีกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้น้องใหม่รู้จักกัน แต่ที่ผ่านมาไม่มีกิจกรรมใดที่แสดงออกถึงความเป็นวิศวฯ จุฬาฯ เลย ซึ่งแตกต่างจากวันอำลาหอประชุมฯ พี่ ๆ หลาย ๆ รุ่นแสดงออกถึงความเป็นวิศวฯ ผ่านเสียงเพลงออกมา

น้องบูม กล่าวว่า “ผมลองสอนน้องให้บูม Intania ในวันแรกเข้าและดูน้องใหม่ก็ตื่นเต้นและตอบรับการบูมได้โดยไม่ได้คิดว่ามันล้าสมัย กลับเห็นว่าการบูม Intania เป็นการแสดงถึงอัตลักษณ์ของตนเองว่า ฉันเรียนที่คณะวิศวฯ และนี่คือจุดเริ่มต้นของน้อง ๆ ที่อยากจะร้องเพลงของคณะวิศวฯ ได้เกิดขึ้น

จากที่ พี่เปิ้ล ได้คุยกับน้อง ๆ ทำให้ได้ทราบว่า มีรุ่นพี่นายช่างที่ร้องเพลงเชียร์คณะประสาทแดง เพลงมหาจุฬาลงกรณ์ และเพลงจามจุรีศรีจุฬาฯ ไม่ได้นั้นมีตั้งแต่รุ่น 95 (พ.ศ. 2554) ซึ่งปัจจุบันน้องปี 1 รุ่น 107 ซึ่งประมาณ 12 ปี ผ่านมาแล้ว เรียกได้ว่าเพลงเชียร์คณะฯ และเพลงมหาวิทยาลัยได้สูญหายไปนานพอควร…

ร้องเพลงเชียร์

จะเริ่มต้นใหม่ต้องหาครูสอนเก่ง ๆ พี่ทวีวิทย์ (รุ่น 59) พี่ศิลปชัย (รุ่น 60) ได้ให้คำแนะนำทุกอย่างและมาร่วมสอนน้องด้วย ได้ น้องสิน (รุ่น 73) น้องเอฟ (รุ่น 73) น้องเปเล่ (รุ่น 72) น้องวิกิจ (รุ่น 70) น้องแก้วใจ (รุ่น 68) น้องเบ้ (รุ่น 69) เป็นแกนหลักในการจัดลำดับเพลงตัวโน้ตเสียงสูงต่ำ และพี่ ๆ น้อง ๆ นายช่างอีก 50 ชีวิตที่มารวมตัวกันสลับกันมาใน 3 อาทิตย์โดยมีน้อง ๆ นิสิตมาร่วมเรียนร้องเพลงอย่างตั้งอกตั้งใจ

เมื่อเรียนร้องเพลงจบก็ถึงเวลาที่น้อง ๆ จะได้พูดคุยกับพี่ ๆ โดยเรื่องราวเก่า ๆ สมัยพี่ ๆ ยังเป็นนิสิต ประวัติคณะฯ  ทำไมพวกเราถึงรักกัน ก็ได้ส่งต่อมาถึงน้อง ๆ ทำให้น้อง ๆ รู้จักคณะวิศวฯ ของเรามากขึ้น ทุกคำพูดทุกเรื่องราวที่พี่ ๆ ได้เล่าให้น้องฟัง ดูน้อง ๆ สนุกและพยายามจดจำเพื่อไปเล่าต่อแก่เพื่อน ๆ ที่ไม่ได้มา จากนั้นน้อง ๆ ก็ได้ไปชวนเพื่อน ๆ มาร่วมกิจกรรมมากขึ้นเรื่อย ๆ และทำแบบนี้ในทุกอาทิตย์ ทำให้น้อง ๆ รู้สึกภาคภูมิใจ จนถึงวันที่ต้องร้องเพลงให้พี่ ๆ ฟังในวันเปิดหอประชุมมีน้อง ๆ รวมตัวกันมาประมาณ 300 กว่าคนร่วมร้องเพลงคณะกับพี่ ๆ

พี่เปิ้ล กล่าวก่อนจบว่า “ทุกคนที่ได้เข้ามาเรียนคณะวิศวฯ จุฬาฯ ต้องมีความภาคภูมิใจอย่างสูงและเมื่อน้อง ๆ ได้เข้ามาแล้ว ตอนนี้แหละที่ต้องอาศัยพี่ ๆ จะต้องปลูกฝังให้น้อง ๆ รู้จักกัน มีน้ำใจ เสียสละ รักพวกพ้อง รักคณะฯ ภาคภูมิใจที่ได้มาเรียนที่นี่ และการร้องเพลงคณะฯ เพลงมหาวิทยาลัย ร่วมกันแสดงถึงความมีหัวใจเป็นหนึ่งเดียวกัน


ที่มา: อินทาเนีย ฉบับที่ 4 ปี พ.ศ. 2566 คอลัมน์ สัมภาษณ์พิเศษ โดย กองบรรณาธิการ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save