กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ต้องเผชิญกับปัญหามากมาย ทั้งน้ำท่วม รถติด ทางเท้าที่มีปัญหา รวมถึงปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ทุกคนต้องพบในการใช้ชีวิตประจำวัน วันนี้เราจะมาพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ว่าจะมีแนวทางการแก้ไขและแผนงาน อย่างไร เพื่อทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่น่าอยู่มากขึ้น กับ ต่อศักดิ์ โชติมงคล ประธานที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. ในหัวข้อ “เปลี่ยนกรุงเทพฯ ด้วยวิศวกรรมศาสตร์”
ประวัติการทำงานจนได้มาเป็นประธานที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม.
ต่อศักดิ์ โชติมงคล ประธานที่ปรึกษาผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาปริญญาตรี ภาควิชา วิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย วศ.18 หลังจากเรียนจบได้ทำงานในเกือบ ทุกสาขาวิชาชีพวิศวกรรม ไม่ว่าจะเป็น เครื่องกล ไฟฟ้า สุขาภิบาลหรือทำระบบประกอบอาคาร ต่อสู้กันมาตั้งแต่ ยังเป็นบริษัทเล็ก ๆ และยังไม่มี Consult ดูแล Project ขนาดใหญ่หลายโครงการ พบเหตุการณ์วิกฤตการณ์ การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ทำให้ย้อนมาคิดว่า การมี ความรู้ทางด้านวิศวกรรมอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะพา องค์กรไปต่อได้ จึงกลับมาทำงานในด้านการเงิน ทำให้มี ความรู้ในด้านนี้มากขึ้น
20 ปี ต่อมาได้ทำงานด้านการบริหารการเงิน ทั้งในฐานะเจ้าของบริษัท และดำเนินธุรกิจในหลายรูปแบบ เช่น Engineering Marketing และ สินค้าต่าง ๆ รวมไปถึงโครงการขนาดใหญ่ จากนั้นได้รับเชิญให้เข้ารับหน้าที่ เป็นประธานบริหาร และ CEO ในบริษัทตลาดหลักทรัพย์ที่เป็น Holding Company 2 ปี ต่อมาได้ออกมารับราชการในช่วงบั้นปลายของชีวิต และ รับตำแหน่งมืออาชีพของรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งประมาณ 3 ปี ช่วยทำกำไร มูลค่าเกือบ 10,000 ล้านบาท หลังจากนั้นคิดว่าจะวางมือทางการเมืองแล้ว แต่ ท่านผู้ว่าฯ ชัชชาติ ได้ชักชวนให้มาทำงานร่วมกันในตำแหน่งประธาน ที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. มาประมาณ 4 ปีแล้ว
“เราทำงานแบบหามรุ่งหามค่ำ และหวังว่าวันหนึ่งจะมีโอกาส นำประสบการณ์มาปรับเปลี่ยนประเทศได้ ซึ่งเป็นความตั้งใจที่เราทำอยู่จนถึงวันนี้ …”
นโยบาย Top 3 ที่ประสบความสำเร็จ
ก่อนที่จะเข้ามาบริหาร ทางทีมงานคิดว่าจะทำนโยบายอย่างไร แต่หลังจากที่นำนโยบายแต่ละอย่างมารวมกันแล้วเป็นทั้งหมด 214 ข้อ และหลังจากที่ท่านผู้ว่าฯ เข้ามาทำงานได้ 2 วัน ได้เพิ่มมาเป็น 216 ข้อ จนกระทั่งทีมเราได้เข้ามาทำงานได้ทราบว่า นโยบายต้องเชื่อมโยงกับ ยุทธศาสตร์ของรัฐ เพราะถ้าไม่มียุทธศาสตร์จะตั้งงบไม่ได้ ต้องเชื่อม 7 ยุทธศาสตร์ ที่เขาได้ตั้งไว้ทุก ๆ 3 ปี และต้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ ที่วางไว้ 10 ปี รวมทั้งเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งเป็นหลักการบริหารของรัฐวิสาหกิจที่ต้องยึดตามนโยบายของรัฐที่เรียงลำดับมา การที่ต้องร้อยเรียง 216 ข้อ ให้เข้ากับ 7 ยุทธศาสตร์ ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีกระบวนการและทำเป็นข้อปฏิบัติงานราชการ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา เราใช้วิธีทำคู่กันมาเรื่อย ๆ ใกล้ครบปีเราก็ดูว่ามีนโยบายอะไรที่ทำได้บ้าง และนำนโยบายมารวมกันได้ทั้งหมด 226 ข้อ ทำแล้วทั้งหมด 211 ข้อ เหลือ 10 กว่าข้อ ซึ่งได้ยุบบางข้อที่ไม่เหมาะสม เหลือเรื่องที่ใหญ่ที่สุด คือ เรื่องเศรษฐกิจ ที่เราไม่ได้ทำ เนื่องจากกรุงเทพฯ ไม่ได้มี บริบทในด้านเศรษฐกิจ บริบทเดิมมีเฉพาะนโยบายการสงเคราะห์และการปกครองดูแล จึงไม่มีภาพของการทำเรื่องเศรษฐกิจ วันนี้เราจึงขึ้น โครงเศรษฐกิจเป็นเรื่องหลักเพื่อจะปิดนโยบายประมาณ 7-8 ข้อที่เหลือให้ครบ 226 ข้อ และนำ 226 ข้อ เชื่อมโยงเข้าเป็นกระบวนการให้เข้ากับ 7 ยุทธศาสตร์ และพัฒนาต่อเป็น 27 โครงการพัฒนา ซึ่งนโยบาย Top 3 ที่ทำแล้วประสบความสำเร็จ มีดังต่อไปนี
01 ความโปร่งใส เป็นเรื่อง ขับเคลื่อนให้สำเร็จที่สำคัญเรื่องแรก คือเรื่องการบริหารจัดการบุคคลใน เรื่องการลด ปลด ย้าย และการเพิ่ม ตำแหน่งต้องโปร่งใส และจัดตั้งองค์กร เพ่ือรองรับสำหรับเร่ืองนี้ ซึ่งแต่เดิมมี การจัดการอยู่แล้ว แต่เราทำให้กระชับ ขึ้น โดยใช้หน่วยงานภายนอกที่มี ประสบการณ์เข้ามาร่วม เช่น ป.ป.ช., ปปง., งปป. และใช้วินัยของเราเป็น ตัวปฏิบัติการ
02 เทคโนโลยี ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย โดยเริ่มต้น ใช้ Traffy Fondue ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันของ สวทช. ที่ใช้มานานแล้ว และเราได้ปรึกษา สวทช. นำมา พัฒนาต่อและทดลองใช้ในช่วงก่อนเลือกตั้ง 1 ปี พบว่ามี ประชาชนร้องเรียนเข้ามา 3 แสนเรื่อง ซึ่งเราได้แก้ปัญหา ไปแล้ว 2 แสนกว่าเรื่อง และส่งผ่านให้หน่วยงานอื่น ๆ ประมาณ 5-6 หมื่นเรื่อง ปัจจุบันขยายผลนำไปใช้ประโยชน์ ในด้านการร้องเรียนเรื่องทุจริต ซึ่งตรงนี้เราเก็บเป็นความลับ Traffy Fondue ถือว่ามีประโยชน์มาก สามารถให้ประชาชน เข้าถึงได้ง่าย ผู้ปฏิบัติงานสามารถเข้าไปแก้ไขได้ทันท ถือเป็นการทลายกระบวนการบริหารของระบบข้าราชการ แบบเดิม ๆ ทำให้กระบวนการเข้าถึงของประชาชนไปสู่ หน่วยงานรัฐและไปสู่กระบวนการแก้ไขได้เกิดขึ้นอย่างมี ประสิทธิภาพ
03 สาธารณูปโภค เป็นเรื่องสำคัญ สำหรับชีวิตของประชาชน แต่ กระบวนการและข้อมูลต่าง ๆ ไม่ชัดเจน ตลอดระยะเวลา 1 ปี เราได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ กระบวนการที่ต้องใช้เงิน ซ่อมแซมและจัดการ ไม่ว่าจะ เป็น ไฟฟ้า ทำทางเท้า ซ่อมถนน หรือขุดท่อระบายน้ำ เรื่องเหล่านี้ในเชิงพื้นฐานเราได้ทำทั้งหมด
“3 เรื่องเป็น Key Success ที่เรามั่นใจ คือ “ความโปร่งใส” การใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วย และ Concentrate ไปที่ Infrastructure และที่สำคัญที่สุดเรื่อง Traffy Fondue ทำให้ประชาชนไว้ใจกรุงเทพฯ มากขึ้น”
ส่วนที่ไม่สำเร็จนั้น อุปสรรคที่สำคัญที่สุดคืออะไร?
นโยบายที่ทำไม่สำเร็จนั้น คือ “เรื่องเศรษฐกิจ” ถือว่า เป็นเรื่องหลัก เพราะเป็นเรื่องปากท้องของประชาชน อย่างที่กล่าวไปว่า เนื่องจากกรุงเทพฯ ไม่ได้มีบริบทในด้าน เศรษฐกิจ บริบทเดิมมีเฉพาะนโยบายการสงเคราะห์และ การปกครองดูแล จึงไม่มีภาพของการทำเรื่องเศรษฐกิจ และ ข้อบัญญัติเกี่ยวกับกฎหมายมีน้อยข้อที่จะให้เราทำเรื่อง เศรษฐกิจ เราจึงดึงเรื่องเศรษฐกิจมาเป็นหัวข้อหลักในปีนี้ พยายามขับเคลื่อนข้อบัญญัติเปลี่ยนเงินค่าสนับสนุน บางส่วนให้เป็นเงินทางด้านเศรษฐกิจ เรื่องการขึ้นโครงสร้าง การช่วยเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมาทำได้ยากและน้อยเกินไป คิดว่าเป็นจุดอ่อนที่สุดสำหรับปีที่ผ่านมา ปีนี้ต้องทำเต็มท่ี และบังเอิญว่าเรามีรัฐบาลใหม่ มีการพูดคุยกันว่าเราจะ เชื่อมโยงโครงสร้างของประชาชนในเรื่องของรายได้กับ รัฐบาลที่มีอยู่อย่างไรให้กระชับขึ้นและให้สอดคล้องกัน นี่คือสิ่งที่เราอยากจะทำ
“มั่นใจว่าหากเราขับเค่ลื่อนได้ดี กระบวนการการใช้งบประมาณได้ดี กระบวนการการมีส่วนร่วมกับประชาชนได้ดี ผมมั่นใจว่าเศรษฐกิจในเชิงของเมืองน่าจะเห็นภาพได้ชัด”
ท่านผู้ว่าฯ มักพูดว่า กทม. มีปัญหาใหญ่ ที่ “เส้นเลือดฝอย” ยกตัวอย่างเส้นเลือดฝอยที่เป็นรูปธรรม
ตั้งแต่ทำแคมเปญการเลือกตั้ง เราพบปะและคุยกับประชาชน กลุ่มต่าง ๆ พบว่างานใหญ่ ๆ ที่กรุงเทพฯ ทำหรือรัฐทำ บางครั้ง ประชาชนไม่ได้สัมผัสกับตัวเอง สนใจเพียงเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเขาที่ ได้รับความเสียหายว่าเมื่อไรจะได้รับการแก้ไข เช่น เรื่องฝาท่อแตก ท่อตัน น้ำเหม็น เราคิดแล้วว่าเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่สำคัญกับ ประชาชนและเป็นเรื่องที่ใหญ่สุด
โครงการใหญ่ ๆ เราก็ยังต้องทำ แต่ต้องไม่ละเลยงานเส้นเลือด ฝอย เราจึงตั้งเรื่องนี้ขึ้นมา ยกตัวอย่าง เรื่องท่อระบายน้ำ เราพบว่า ท่อระบายน้ำกรุงเทพฯ มีจำนวน 6,500 กิโลเมตร อยู่ในความดูแล ของสำนักฯ 2,500 กิโลเมตร และเขต 4,000 กิโลเมตร ท่อใหญ่ ๆ ส่วนมากจะอยู่ในความดูแลของสำนักฯ เขตจะรับผิดชอบท่อขนาด เล็ก ๆ ในช่วงที่เราเข้ามาทำงานได้ลอกท่อไปแล้วประมาณ 2,000 กิโลเมตร หลังจากนั้นก็เร่งทำเพิ่มอีกได้ประมาณ 1,000 กิโลเมตร ในระยะเวลา 2 เดือน และหลังจากผ่านช่วงน้ำท่วมไปแล้วพบว่า น้ำระบายไว ปีที่แล้วเราลอกท่อไปประมาณ 3,000 กิโลเมตร ต่อจากนี้เราจึงเร่งและได้เช็คตัวเลขแล้วว่าลอกไปประมาณ 7,100 กิโลเมตร ภายในระยะปีกว่า ๆ ที่เราเข้ามา ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี และ เราได้ย้อนกลับไปดูว่าท่อที่อยู่ในชุมชนแออัด ลอกครั้งเดียวต่อปี ไม่เพียงพอ ต้องลอกปีละ 2 ครั้ง จำนวนประมาณ 1,000 กิโลเมตร จากนั้นจึงวางแผนทำเป็นงานประจำปี และมีงบประมาณในการ ดำเนินงาน ทำให้เราบริหารจัดการได้
วันนี้มั่นใจว่าน้ำจะระบายเร็วขึ้น ตอนนี้ได้ขุดลอกคลองแล้ว ประมาณ 2,200 กิโลเมตร อยู่กับเขต 2,000 กิโลเมตร และสำนักฯ 200 กิโลเมตร แบ่งตามแผน 4-5 ปี ต้องลอกให้หมด จุดไหนที่เป็น ยุทธศาสตร์คลองต้องลอกประจำ เราพบว่าคลอง 2,200 กิโลเมตร เกินกว่า 70% 10 ปี ไม่ได้ลอก วันนี้ต้องบูรณาการใหม่ทำให้เป็น งบประจำ และบริหารจัดการได้มากขึ้น การเปิดทางน้ำไหล จัดการ ผักตบชวา และขยะ ต้องดำเนินการ ยิ่งถ้าเป็นเขตภายนอกต้อง ดำเนินการ 4 ครั้ง/ปี โดยใช้เจ้าหน้าที่ของเราและจ้างพิเศษ เพื่อให้ จัดการผักตบชวา 5 แสนตัน/ปี จะสังเกตได้ว่าหากเราไม่ได้สนใจ เรื่องเส้นเลือดฝอยจะไม่มีทางทราบตัวเลขเหล่านี้ได้เลย
สำหรับเรื่องไฟฟ้า ได้รวบรวมข้อมูลมาจากการไฟฟ้านครหลวง เรามีเสาไฟทั้งหมด 4,000 ต้น อยู่ในความดูแลของเราเกือบ 2 แสนต้น ที่เหลืออยู่ในความดูแลของหน่วยงานอื่น ๆ และได้ปรึกษา กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วว่า จะแบ่งการดูแลเรื่องนี้กันอย่างไร รวมถึงเราได้เปลี่ยนหลอดไฟที่อยู่ภายใต้ความดูแลของเราเรียบร้อย แล้ว และจะเปลี่ยนหลอดไฟธรรมดาเป็นหลอดไฟ LED เพื่อความ ประหยัดมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่เราทำได้ทันทีโดยไม่ต้องรอการไฟฟ้า ตอนนี้ได้เปลี่ยนเป็นหลอดไฟ LED ไปแล้วประมาณ 25,000 ดวง โดยที่การไฟฟ้าจะเข้ามาช่วยเราดูแลและบำรุงรักษาทุก ๆ 5 ปี นอกจากนี้ถ้างบกลางเหลือท่านผู้ว่าฯ จะทำการปรับปรุงไฟในส่วน อื่น ๆ เพิ่มเติมอีกด้วย
แผนการจัดการ “น้ำท่วม” ในอนาคต
หลังจากที่เราเข้ามาบริหารกรุงเทพฯ ประมาณ 1 เดือน น้ำ เริ่มมา เราได้ถอดบทเรียนหลังจากน้ำหยุด พบว่ากรุงเทพฯ มีพื้นที่ เสี่ยงน้ำท่วมประมาณ 700 จุด และต้องยอมรับว่ากรุงเทพฯ เป็น เมืองที่สร้างมา 300 ปี ใช้แม่น้ำเป็นกำแพง และ 70-80% คลองในกรุงเทพฯ เป็นคลองที่ขุดขึ้นมาเพื่อใช้ในการเดินทาง แต่มา วันหนึ่งถนนมาแทนที่คลอง และคลองต้องทำหน้าที่ในการระบายน้ำ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองที่สร้างมาให้อยู่กับน้ำและเรา ต้องอยู่กับน้ำให้ได้
ที่สำคัญเรามั่นใจว่า หากเขื่อนทำงานได้ น้ำในแม่น้ำจะเข้ามา ไม่ได้ จุดเสี่ยงน้ำท่วมที่มีอยู่ 700 กว่าจุด ต้องทำแผน หากยัง แก้ถาวรไม่ได้ต้องใช้ปั๊ม ใส่งบประมาณในการบริหารน้ำ พ.ศ. 2566 โดยใช้งบกลาง 4,500 ล้านบาท ต่อมาทำแก้มลิง ทะลวงท่อ และใช้ อุโมงค์ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ เช่น อุโมงค์หนองบอน ที่ก่อสร้างช้า มาก ๆ เราต้องเข้าไปแบ่งเบาภาระบางส่วนท่ีทำงานได้ เพื่อให้คลอง จากลาดกระบังสามารถระบายน้ำออกมาให้เร็วขึ้น
“กระบวนการต่างๆ ที่มาจากปัญหาน้ำท่วม ถอดบทเรียน มาจากปีที่แล้ว ทำให้เรารู้ว่า ถ้าทำอย่างตั้งใจ ในรูปแบบวิทยาศาสตร์แล้ว น้ำท่วมต้องไหลเร็ว นี่คือวิธีการที่จะทำให้คนกรุงเทพฯ อยู่กับน้ำได้ เพราะเมืองเราสร้างมาเพื่ออยู่กับน้ำ”
ข้อแนะนำน้องๆ วิศวฯ จุฬาฯ สำหรับการเรียนและการทำกิจกรรม
สำหรับการเรียนในมหาวิทยาลัย ไม่มีวิชาผู้นำในเนื้อหา การเรียนการสอน ซึ่งเป็นวิชาที่มีความจำเป็น เพราะการจะเป็นผู้นำ ได้นั้นต้องเรียนรู้กระบวนการการวางตัว และการอยู่ในมหาวิทยาลัย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการทำกิจกรรม นั่นคือ วิชาผู้นำ เพราะฉะนั้น การทำกิจกรรมคือกระบวนการอย่างหนึ่งซึ่งเราต้องย่อยไปเป็น วิชาการเรียน
01 เมื่อเราไม่มีวิชาผู้นำในระบบการเรียน เพราะฉนัน้นทุกคนควรทำกิจกรรม
02 เป็นวิศวกรอย่าขี่ช้างจับตั๊กแตน จะทำอะไรต้องเหมาะสมและอย่าทำตัวเป็นแก้วล้นน้ำ ให้รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ฟังให้จบ และสรุปแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน อย่าคิด ว่าตัวเองเป็นคนที่เก่งแล้ว
“อยากฝากน้องๆ ไว้สำหรับเรื่องเหล่านี้ วิชาวิศวกรไม่มี อะไรเป็น Logic ที่ชัดเจน พูดแบบตรงไปตรงมาได้ แต่การวิเคราะห์ยังเป็นวิทยาศาสตร์เท่านั้นเอง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ ที่อยากฝากน้องๆ ไว้”
ที่มา: อินทาเนีย ฉบับที่ 3 ปี พ.ศ. 2566 คอลัมน์ สัมภาษณ์พิเศษ โดย กองบรรณาธิการ