มะละกาวอล์ก เดินทางท่องมรดกโลก ตอนที่ 2

มะละกาวอล์ก เดินทางท่องมรดกโลก ตอนที่ 2


เวลาท้องถิ่นของมาเลเซียเร็วกว่าบ้านเรา 1 ชั่วโมง เมื่อคืน ถึงจะไม่มีฝน อากาศตอนหัวค่ำอุณหภูมิราว 30 องศาเซลเซียส ก็ไม่ค่อยร้อนเท่าไร แม้เขาอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมากกว่าเรา คงอาศัยลมพัดจากชายทะเลตลอดเวลา ในขณะที่เพื่อนใน กทม. ไลน์คุยกันบอกว่า ร้อนมากอิ้บอ๋าย เกือบ 36 องศา แล้ว

ตื่น 6 โมงเช้ามองออกไปนอกหน้าต่างท้องฟ้ายังมืดตื๋อ ใน บ้านเราตอนนี้ก็เป็นเวลา 05.00 น. ซึ่งเป็นความเคยชินในความมืด ที่ก็ควรจะเป็นเวลานั้นจริง ๆ มาเลเซียปรับเวลาให้ตรงกันกับฮ่องกง และสิงคโปร์ด้วยเหตุผลด้านตลาดเงิน ตลาดหลักทรัพย์ สำนักงาน ที่นี่ส่วนใหญ่เริ่มทำงานสาย 9 โมงเช้า หากพักในย่านกลางเมือง แนะนำให้ใช้เส้นทางเดินเท้ามะละกาตามนี้

ปกติเมื่อไปเที่ยวเมืองไหน ก็จะเอาแผนที่ฉบับล่าสุด มาปักหมุด

เพื่อเป็นการหาจุดสำคัญของเมือง และวัดสเกล จัดระยะทางเป็น เมตร แปลงเป็นนาที แล้วลากเส้นทางคร่าว ๆ พร้อมกำหนดเวลา เช็คอินของการเดินเท้าเข้าไปในแต่ละแห่ง แต่ถ้ามียานพาหนะ เช่น รถไฟใต้ดิน รถบัส เรือ ก็ยืด ปรับกันนิดหน่อย

สำหรับมะละกาวอล์กเช้านี้ หลังอาหารเช้าอันอลังการ อิ่มมาก ๆ นักท่องเที่ยวมาก ทุกคนต้องระวังกระเป๋า ถือกล้องถ่ายรูป ห้ามวาง ท้ิงไว้บนโต๊ะเด็ดขาด หากไม่มีเพื่อนหรือฝากใครให้เฝ้าของสัมภาระ มิจฉาชีพรู้ดีว่าจุดอ่อนของนักท่องเที่ยวมีที่ไหนบ้าง

9 โมงเช้า เริ่มเลย สะพายเป้ หมวก ร่มและแว่นกันแดดแล้วไปขึ้น หอคอยมะละกาเป็นลำดับแรก อยู่ถนนหลักชื่อ Jalan Merdeka เช้า ๆ คนยังไม่มากนัก แถวสั้น ๆ ถือโอกาสขึ้นชมวิวมุมสูง ๆ หอนี้ไม่ใช่ อาคาร เป็นเพียงเสาแกนหลัก ยกกระเช้าขึ้นลง รัศมีไม่เกิน 10 เมตร โดยประมาณ นั่งเก้าอี้ในลิฟต์กระเช้าที่กรุกระจกทรงกลม 1 เท่ียว สามารถบรรจุคนได้ไม่เกิน 40 คนต่อรอบ ค่อย ๆ ขึ้นแล้วหมุนรอบตัว ช้า ๆ ประมาณ 10 นาที ถึงยอดที่ระดับ 110 เมตร จ่ายไป 23 ริงกิต (นี่คือราคาซีเนียร์นะ) ถ่ายรูปและดูวิวบ้านเมือง ท่าเรือ ทะเล ช่องแคบ ก็คุ้มสตางค์แล้ว พอลงมาแล้วให้เดินออกไปทางขวามุ่งไป…

ตั้งต้น “มะละกาวอล์ก” ที่ออกแบบไว้… ที่ปากแม่น้ำมะละกา ซึ่งเป็นท่าเรือรบโบราณ ตลอดเส้นทางถนนเดินเลียบริมน้ำชื่อ Jalan Quayside ล้วนเป็นที่สาธารณะ 100% เราสามารถเดินผ่านได้ ทุกอาคาร โกดังและบ้านเรือนทั้ง 2 ฝั่ง มองไม่เห็นเสาไฟฟ้าเลย (เช่นเดียวกับเมืองหลักทุกเมืองในมาเลเซีย สายไฟฟ้าลงดินหมด แล้ว) ไม่พบเห็นพื้นที่สกปรกรกรุงรังเลย ต้นไม้ยืนต้นปลูกและดูแล รักษาดีมาก ลำต้นโต ๆ ขนาด 8 คน 10 คนโอบกันไม่รอบ ปลูกแบบ จัดวางกระจายไปทั่วทุกมุมถนน เต็มเมืองไปหมด แม้อากาศร้อนจัด แต่เมื่อมีร่มเงา มีสีเขียวปกคลุมแบบจัดวางกระจายไปทั่วทุกถนน เต็มเมืองไปหมด พื้นดินพื้นถนนก็คลายร้อนไปได้มาก บางต้นมีเฟิร์น มีมอสขึ้นตามลำต้นและกิ่งก้าน ต้นไม้ใหญ่เรียงรายริมถนน ทั้ง ต้นมะขามป้อม (ต้นไม้ประจำเมือง) ฉำฉา ลั่นทม ปาล์ม มะพร้าว หูกระจง

เดินไปก็ฉุกคิด แปลกใจและสงสัย เอ… ทำไมกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต พัทยา สงขลา พิษณุโลก หรือแม้แต่จังหวัดเล็ก ๆ น่าน แพร่ ตาก สุโขทัยของเรา จะปลูกต้นไม้คลุมเมืองอย่างเขา ไม่ได้เลยหรือ…

ข้ออ้างอากาศร้อนมันจะตายเอา พื้นที่ริมทางไม่เอื้ออำนวย หรือหาเจ้าภาพไม่ได้ ขาดงบประมาณ ไม่มีวิสัยทัศน์ ไร้องค์ความรู้ ไม่มีความตั้งใจและการบำรุงรักษา หรือเขลาเบาปัญญา ไม่รู้ว่า งานภูมิทัศน์สาธารณะเป็นงานของใคร? เศร้าโศกมากนะครับ เมื่อ มาเที่ยวเมืองนอก ที่ไม่ไกลจากเราทั้งระยะทางและความเจริญ ก้าวหน้า

มองไปอีกฟากถนน Lorong Hang Jebat รูปลักษณ์อาคาร มีความหลากหลายด้านสถาปัตยกรรม มีทั้งโปรตุเกส ฮอลันดา จีน และอังกฤษผสมผสานกัน ดูเผิน ๆ เหมือนปีนัง ภูเก็ต สงขลา แต่มี จำนวนมากกว่า ใครชอบเล่นกล้องจะสนุกสนานเพลิดเพลินไปกับ การกดชัตเตอร์ แนะว่าต้องพกพาวเวอร์แบงก์อย่างน้อย 2 ก้อน ไปด้วย…

มะละกาวอล์ก เดินทางท่องมรดกโลก ตอนที่ 2

แม้แสงแดดจะดูร้อนแรง แต่กลับรู้สึกชิล ๆ เดินสบาย ๆ แวะ ป้อมปราการเมือง ดูซากกำแพงเมืองเก่า ใกล้ 3 แยกที่มีถนน Jalan Gereja มาบรรจบแล้วให้ข้ามไปเดินสลับฝั่งตลาดร้านค้า (ถนน Lorong) บ้าง มีสตรีตอาร์ตหลาย ๆ จุด สวยเท่แบบฮิปตะวันตก ฉูดฉาดอย่างอินเดียก็มี สีสันอร่อยเหาะของอาหรับและมลายูก็ ได้เห็น เดินไปจนสุดทางเกือบ 1 กิโลเมตร ขวามือมีสะพานจะพาเรา วนออกมาถนน Jalan Laksamana ใกล้ ๆ 5 แยกหัวสะพานนั้นคือ โบสถ์ฟรานซิสซาเวียร์ (Church of St.Francis Xavier) ที่มีอายุกว่า 160 ปี รูปแบบสถาปัตยกรรมกอทิก เป็นหอคอยคู่ ทาสีเหลืองอ่อน ไปยืนดูนึกว่ามาอิตาลี ฝรั่งเศส นะครับ

ปกติชอบถ่ายรูปและเน้นดูเฉพาะโครงสร้างภายนอก ไม่ได้ หลงใหลกับศิลปะภายในโบสถ์หรือวิหารและไม่ได้จดจำเรื่องราว ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรเท่าใดนัก ไม่ว่าจะเป็นดูโอโมที่มิลาน โนทเทรอะดามที่ปารีส ที่โคโลญ วิหารเวสต์เตอร์ วิหารเซวิญา คริสตจักรวาติกัน หรือแม้แต่ที่ Sagrada Familia ของเกาดี้ที่ บาร์เซโลนา ก็ยังไม่อินเลย แต่ถึงเมืองไหนก็ต้องขอกดเช็กอิน ทุกโบสถ์ทุกวิหารเสมอไป ไม่มีตกหล่น และท้ายที่สุดเมื่อยืนดูสักครู่ ดูไป ถ่ายรูปไป ก็ได้รับความรู้สึกที่ดีกลับบ้านทุกครั้ง

เดินย้อนมาทางทิศใต้ ผ่านตึกอาคารที่ทำการไปรษณีย์เก่า (สังเกตสีแดง) สง่างามมาก ๆ ไม่ถึง 300 เมตรก็ถึงดัตช์สแควร์ ขวามือเดินข้ามแม่น้ำก็ถนนคนเดิน Jonker Street หรืออีกชื่อใน แผนที่ Jalan Hang Jebat จะซื้อของฝากก็เข้าร้านหัวถนนด้านขวา เลย คนเยอะ ปิดดึก มีกาแฟ ไอศกรีม ขนมขายด้วย ติดแอร์ ขึ้นไป ชั้น 2 นั่งแชตไลน์ อัปสเตตัสเฟซบุ๊กสบาย ๆ

เยื้อง ๆ กันอีกฝั่งห้องหัวมุมติดกับ Hard Rock Cafe คือร้าน ข้าวมันไก่ร้านเล็ก ๆ แบบชาวบ้านร้านตลาดเลย ชื่อ Hoe Kee คนไทย โพสต์เชียร์กันจัง เลยแวะไปดู แต่ว่าร้านดันปิด อดกินเลยครับ

เลยต้องกลับไปกลางซอยฝั่งซ้ายมือห่างจากหัวถนน 200-300 เมตร มีร้านข้าวมันไก่ของคนรุ่นหนุ่มชื่อ My Chicken Rice ร้าน สะอาดสะอ้านอยู่ในซอยตึก ไม่ติดแอร์แต่ก็ไม่ร้อน ข้าวมันหุงออกมา ร้อน ๆ หอม ไม่เลี่ยน สับไก่ชิ้นโตๆ เนื้อชุ่มฉ่ำน้ำไม่ทุบไม่ตี มีน้ำจิ้ม เพียงน้ำส้ม ตำพริกแดง ซีอิ้วขาวและซีอิ้วดำเท่านั้น ไม่มีพริกขี้หนู กระเทียม ขิงซอย รอดตัวอิ่มไปอีก 1 มื้อ

เดินออกมาเจอร้านขนมหวาน (Nyonya Candol) ลอดช่อง ถั่วแดงราดน้ำกะทิข้น ๆ กลิ่นหอม ๆ แล้วเติมน้ำแข็งปั่นละเอียด สุดยอด หายร้อนเลย คุ้นปากคุ้นกลิ่นเหมือนลอดช่องน้ำกะทิไทยเรา เป๊ะเลย

ถึงเวลามืดโพล้เพล้พอดี ฝนดันตกพรำ ๆ เลยไม่ได้น่ังเรือชม เมืองสองฝั่งน้ำ และก็ไม่คิดจะนั่งรถสามล้อแฟนซีด้วย เพราะหนวกหู เสียงเพลงแขก เพลงฝรั่ง แดนซ์กระจาย ท้องถิ่นน่าจะควบคุมให้ดู สุภาพเรียบร้อย ไม่สร้างภาวะมลพิษทางเสียง หรือว่านี่แหละมันคือ จุดขายของยานพาหนะโบราณของมะละกาเขา…ไม่ชอบก็ไม่ต้องนั่ง ดูเฉย ๆ อิอิอิ

คำถามยอดนิยมทุกทริป ควรไปมะละกาสักกี่วันดี คำตอบคือ 3 วัน 2 คืน เหมาะสมที่สุด ขอแนะนำให้มานอนที่ Equatorial Hotel ราคาไม่แพง ห้องพักกว้างและสะอาด วิวเห็นทะเล อาหารเช้า อร่อยและเมนูเยอะมาก ๆ ทั้งมุสลิม จีน ฝรั่ง ข้าวต้ม ข้าวผัด ขนมปัง เพียบ ในห้องพักก็มีหนังฝรั่งให้ดู แยกหมวดดราม่า แอ็กชัน โรแมนติก แฟมิลี่ การ์ตูน พร้อม CNN BBC NHK ครบถ้วน ผมให้ 5 ดาวเลย สำหรับโลเคชันและคุณภาพของท่ีพัก อยู่ห่างจากย่านเมืองเก่า ในรัศมีไม่ถึง 1 กิโลเมตร สะดวกสุด ๆ ชอบ ๆ ครับ

สวัสดี


ที่มา: อินทาเนีย ฉบับที่ 3 ปี พ.ศ. 2566 คอลัมน์ เที่ยวกับอินทาเนีย (Journey & Yummy) โดย สุวิทย์ เมฆวิบูลย์ วศ.17


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save