ชยุตม์ สกุลคู วศ.2556

วิศวกรผู้สร้างความยั่งยืน


Sustainability เรื่องที่หลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสนใจ รวมทั้งอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เริ่มตื่นตัวมากขึ้น เพราะได้รับผลกระทบโดยตรงในการทำธุรกิจ และต้องยอมรับว่าหลายคนอาจยังไม่คุ้นชินกับเรื่องเหล่านี้เท่าไรโดยเฉพาะ SME หรือธุรกิจขนาดเล็ก วันนี้กองบรรณาธิการวารสารอินทาเนีย มีโอกาสได้พูดคุยกับ ชยุตม์ สกุลคู วศ.2556 หรือที่หลายคนรู้จักกันในนาม “แม็ก” ประธานเจ้าหน้าบริหาร Tact ซึ่งจะมาอธิบายเรื่อง Sustainability ให้ทุกคนเข้าใจมากขึ้น และหากอยากเริ่มต้นที่จะลงมือทำ สามารถเริ่มต้นได้อย่างไร

Tact เกิดจากความต้องการแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม

ในสมัยเรียน แม็ก ชอบทำกิจกรรมเป็นนักโต้วาทีของคณะและมหาวิทยาลัย จนกระทั่งในช่วงชั้นปีที่ 4 ได้เป็นประธานจุฬาวิชาการ และทำกิจกรรมมาระยะหนึ่งได้คุยกับเพื่อน ๆ ว่า เห็นทุกคนเริ่มออกค่ายอาสา เริ่มพยายามสร้าง Impact ต่อสังคม ซึ่งเห็นว่าชุมชนที่ไปนั้นไม่ค่อยได้ประโยชน์เท่าไร จึงได้พูดกับเพื่อนว่า เราควรทำอย่างไรดีที่จะสามารถสร้าง Impact ให้แก่ชุมชนให้มากกว่านี้ จากนั้นจึงได้เริ่มศึกษาเรื่องแนวคิดของความยั่งยืนว่าจะพัฒนาอย่างไรให้เห็นผล ทั้งก่อนไปและหลังไปว่าเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ใช้เวลาไปอยู่กับชุมชนประมาณ 1-2 ปี และดูว่า เขามีแนวคิดอย่างไร และเริ่มนำแนวคิดมาใช้ โดยก่อตั้งชมรมขึ้นมาและชวนเพื่อน ๆ ชมรมอื่นไปทำด้วยกัน ซึ่งผลลัพธ์ก็ออกมาดี และคิดว่าการพัฒนายั่งยืนเป็นเรื่องยาก

ต่อมาอาจารย์ได้เชียร์ให้ก่อตั้งบริษัทเพราะเห็นว่าน้อง ๆ ที่ร่วมกิจกรรมกับเราในช่วงนั้นคิดถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าผลักดันในวันนั้น แม็กเลยรับฟังแนวคิดจากผู้ใหญ่หลายคนและก่อตั้ง Tact ขึ้นมา โดยใช้ความตั้งใจและด้วยแรงสนับสนุนจากผู้ใหญ่ในเรื่องของ Budget เพราะฉะนั้นเราต้องเป็นผู้ที่ลงมือทำเพราะเรายังมีแรงและศักยภาพ Tact จึงเป็นบริษัทที่รวบรวมการลงมือทำเพื่อแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยเป็น Agency รับแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นช่วงที่แม็กเรียนจบปริญญาตรี อายุเพียง 22 ปี เท่านั้น ซึ่งช่วงนั้นยังไม่ค่อยมีใครสนใจเรื่องความยั่งยืนและเรายังไม่ค่อยมีความรู้เรื่องนี้เท่าไร

หลังโควิด-19 ทำให้เรามี Impact ที่สูงขึ้นจากประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมา และได้รับคำแนะนำเรื่องของ ESG จาก ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวฯ และจากต่างประเทศว่า อนาคตทุกคนจะต้องให้ความสนใจเรื่องนี้ รวมทั้งความต้องการของลูกค้าที่อยากให้ทำ จากนั้นจึงเริ่มศึกษาเรื่องของ ESG และสะสมองค์ความรู้เรื่อยมา จนกระทั่งมีโอกาสได้จัด Forum ให้แก่หลาย ๆ บริษัท ทำให้มีประสบการณ์ในด้านนี้มากขึ้น และปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นรูปแบบของ Service Consultant ในด้าน Sustainab

ESG คือ แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน

ก่อนอื่นต้องขออธิบายว่า ESG เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน ย่อมาจาก Environment, Social และ Governance ปัจจุบัน ESG ได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลก เนื่องจากเป็นแนวคิดที่นักลงทุนใช้ประกอบการพิจารณาลงทุน โดยจะให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจที่คำนึงถึงความรับผิดชอบ 3 ด้านหลัก คือ สิ่งแวดล้อม สังคม การกำกับดูแล

  • สิ่งแวดล้อม (Environment-E) เป็นหลักเกณฑ์ที่คำนึงถึงด้านความรับผิดชอบของบริษัทต่อสิ่งแวดล้อม
  • สังคม (Social-S) เป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้วัดว่าบริษัทมีการจัดการความสัมพันธ์ และมีการสื่อสารกับลูกจ้าง Suppliers ลูกค้า หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) อย่างไร
  • การกำกับดูแล (Governance-G) เป็นหลักการที่ใช้วัดว่าบริษัทมีการจัดการบริการความสัมพันธ์ในเชิงการกำกับดูแลอย่างไร เพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย

จะมีการดูว่าบริษัทนั้น ๆ จะปล่อย Carbon Emission เท่าไร ปล่อยของเสียมากเพียงใด เพื่อจะดูข้อมูลเหล่านี้ว่าส่วนทำให้บริษัทใดบริษัทหนึ่งยั่งยืนหรือไม่ ถ้าบริษัทไม่รับผิดชอบต่อสิ่งเหล่านี้อาจจะโดนภาษีทำให้มีต้นทุนที่สูงขึ้น

SME สามารถเริ่มต้นทำ ESG ได้อย่างไร

สำหรับในประเทศไทยบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับ Global Supply Chain ที่มีการซื้อขายและส่งออกไปยังต่างประเทศมีความตื่นตัวที่สูง ขอยกตัวอย่างอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ในประเทศไทย เช่น โตโยต้า ประกาศทำเรื่อง Sustainability ซึ่งโตโยต้าต้องถาม Denso ว่าคนที่จะส่งชิ้นส่วนของรถยนต์มาให้โตโยต้านั้น เรื่อง Footprint เป็นอย่างไร ซึ่ง Denso ไม่ได้ผลิตชิ้นส่วนด้วยตัวเองทั้งหมด ต้องไปถามโรงเหล็กต่าง ๆ ซึ่งจะกระทบกับเจ้าเล็ก ๆ เพราะไม่ได้ส่งออกโดยตรง แต่จะอยู่ใน Supply Chain ซึ่งการที่เขาจะทำ Net Zero Supply Chain ในเวลา 10-30 ปีนี้ ต้องวางแผนกลับมาแล้วว่าต้อง Sourcing  มี Procurement เพราะฉะนั้นหลายอุตสาหกรรมที่อยู่ในสภาอุตสาหกรรมจะมีการพูดคุยถึงเรื่อง ESG อยู่เสมอ

หากถามว่าธุรกิจขนาดเล็กจะใช้เงินลงทุนเท่าไร ขอยกตัวอย่างเรื่องการวัดประเมิน Footprint ที่แม็กทำให้บริษัทขนาดเล็กจะใช้เงินที่ประมาณ 40,000-50,000 บาท ก็สามารถทำได้ จากนั้นยื่นตรวจสอบกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) รวมแล้วประมาณ 100,000 บาท จะสามารถเริ่มเป็นจุดแรก ๆ ได้ หลังจากเรามีเรื่อง Footprint เราสามารถที่จะบริหารจัดการเองได้ และดูว่าเราสามารถลดคาร์บอนในส่วนไหนได้บ้าง ซึ่งทำได้หลากหลายรูปแบบ

ส่วนเรื่องของการบริหารจัดการ Waste ยกตัวอย่างเรื่องการจัดการบริหารขยะ ซึ่งแม็กมีประสบการณ์ไปทำให้ในแต่ละที่ที่ มีการเก็บข้อมูลขยะ จัดการคัดแยกขยะให้ดีขึ้น เช่น Food Waste เป็นสิ่งที่หลายองค์กรเริ่มทำได้ไม่ยาก เช่น การจัดการบริหารขยะในองค์กร การจัดการ Carbon Footprint ในองค์กรของตัวเอง

บทบาทของภาครัฐและประชาสังคม

การทำ Sustainability เป็นเรื่องของคนหมู่มาก กว่าจะเกิดขึ้นอาจจะใช้เวลาอีกนาน อย่างเช่นการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอย่าง Climate Change กว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เราอยู่ไม่ได้จริง ๆ คงหลัก 100 ปี แต่มนุษย์หรือทุกบริษัทมักจะมี Mindset ของ Me&Now เป็นของตัวเรา ของเพื่อนเรา ของวันนี้ ซึ่งรอให้ถึง 100 ปีไม่ได้ แล้วจะจัดการอย่างไรให้สามารถที่จะ Comple ตามตรงนี้ได้

ปัจจุบันเอกชนไม่มีใครทำก่อนถ้าตัวเองเสียผลประโยชน์ ขอยกตัวอย่างยุคหนึ่งที่เราอยากเลิกแจกถุงพลาสติกในห้าง เพราะในแต่ละปีมีการใช้ถุงพลาสติกเป็นจำนวนมาก ซึ่งในแต่ละห้างก็ไม่อยากทำเพราะกลัวเสียลูกค้า แต่ในปัจจุบันที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เชิญทุกห้างมาร่วมพูดคุยกัน และให้ทุกคนปฏิบัติพร้อมกันในเรื่องของการเลิกแจกถุงพลาสติก นี่คือส่วนที่ภาครัฐเข้ามามีบทบาทในเรื่องของ Sustainability

หากเป็นเรื่องที่ใหญ่ขึ้นสำหรับบริษัทที่ผลิต Packaging จะมีเรื่องของขยะและ Waste ที่สร้างขึ้นมาจำนวนมาก ๆ หากไม่มีกฎกติกาในการควบคุม หลายบริษัทก็คงไม่ค่อยอยากรับผิดชอบในส่วนนี้เท่าไรเพราะเป็นเรื่องของต้นทุนที่สูงขึ้น ปัจจุบันจึงมีกฎหมายที่เข้ามาช่วยควบคุมที่เรียกว่า EPR (Extended Producer Responsibility) เป็นกฎหมายบังคับในเรื่องของการเก็บขยะ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ผลิตสร้างความรับผิดชอบ และสามารถให้ผู้ผลิต Include ค่าใช้จ่ายเพิ่มลงไปใน Packaging ด้วย เพื่อให้ผู้ผลิตมารับผิดชอบขนขยะไปจัดการ โดยวิธีผลิตเท่าไหร่จ่ายเท่านั้น และนำเงินกองกลางในส่วนนั้นทำเป็น Infrastructure ของประเทศให้เกิด Efficiency ของการ Take Back Packaging ซึ่งตอนนี้หลายประเทศได้ทำแล้ว ไม่ว่าจะเป็นยุโรป รวมถึง South East Asia หลายประเทศเริ่มมีกฎหมาย Circular และ EPR แล้ว ซึ่งปัจจุบันเป็นกฎหมายที่จุฬาฯ สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมควบคุมมลพิษ กำลังผลักดันมาระยะหนึ่งแล้ว และกำลังยื่นร่าง ซึ่งจะผ่านในอีก 3-4 ปี ข้างหน้า ใช้ระยะเวลานาน เป็นเรื่องที่ภาครัฐสามารถเรียนรู้จากบริบทของกฎหมายจากประเทศอื่น ๆ แล้วเร่งให้เกิดการกำกับดูแลให้ได้

สำหรับเรื่อง Climate Change ปัจจุบันยุโรปมีกฎหมายที่ชื่อว่า CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) ใครที่ทำการค้าขายในยุโรปถ้าปล่อยคาร์บอนสูงต้องจ่ายแพง ซึ่งในสมัยก่อนจะมีเพียงเรื่องของต้นทุนการผลิต แต่ปัจจุบันหากเราทำอะไรแล้วส่งผลเสียกับสิ่งแวดล้อม ต้นทุนในการผลิตเราจะสูงขึ้น เพราะมีมาตรการมากำกับดูแล

ในประเทศไทยเชื่อว่าหลาย ๆ องค์กรได้ทำกันอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องศึกษากติกาในเรื่องพวกนี้ให้มาก เพราะ SME หลายคนไม่ทราบในเรื่องนี้ ยังคิดว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัว ความจริงเรื่องของ Supply Chain เปลี่ยน เป็นเรื่องที่เราต้องปรับตัวกันมาก ๆ  ซึ่งบริบททุกกระทรวงที่เราเห็นจากครั้งที่แล้วที่มี BCG Economy แล้ว Define สิ่งนี้ไปแต่ละกระทรวง เห็นได้ว่าทิศทางเริ่มดีแล้วในเรื่องของการปรับตัว แต่จะทำอย่างไรให้คนตัวเล็กสามารถที่จะเปลี่ยนผ่านและเกิดประโยชน์จากตรงนี้จริง ๆ ซึ่งเป็นโจทย์หนึ่งที่ท้าทายเหมือนกัน

และหากการทำงานของภาครัฐเป็นไซโล (Silo) ที่แต่ละกระทรวงทำงานครอสกันไม่ค่อยได้ ทำให้กฎหมายที่คอส ฟังก์ชันแบบนี้เกิดยาก เพราะถ้าเราจะเปลี่ยนผ่านความยั่งยืน และหากกติกาไม่เกิด ทำให้เอกชนไม่สามารถผลักดันได้ เพราะเรื่องความดีเป็นเรื่องที่ยังไม่พอให้เกิด Movement ที่ใหญ่ ดังนั้นต้องเร่งจัดตั้งกติกาขึ้นมาและสร้าง Eco System ในกติกานั้น ๆ และหากภาครัฐจัดตั้งกติกาขึ้นมาแล้ว ต้องทำงานร่วมกับหลายภาคส่วนมาก ๆ

ถ้ารัฐมองเห็นโอกาสเรื่อง Sustainability เป็น Mega Trend ที่เอกชนก็เห็นโอกาสเช่นกัน การที่จะพาให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตในแบบกระแสโลกยุคใหม่ได้ รัฐต้องพยุงและสร้างกติกาใหม่ และ Implement สู่เอกชนทั้งระดับใหญ่และ SME ให้ทันกระแสโลก”

คณะวิศวฯ จุฬาฯ

ทิศทางของการพัฒนาโซลูชันและบุคลากร

สิ่งที่จะสามารถขับเคลื่อนไปได้ทาง Tact แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.เป็นที่ปรึกษา 2.โซลูชัน ที่เราสามารถจัดหาให้ได้ 3.บุคลากร ซึ่งเราทำงานกับผู้ใหญ่หลายคนและเห็นว่าทุกคนมีความ Active มาก ยังสวนทางกับน้อง ๆ รุ่นใหม่ ยังไม่เห็นว่าเรื่องนี้เป็นโอกาส ต้องเรียกว่ายังไปไม่ถึงภาคการศึกษา น้อง ๆ ทุกคนยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ แต่ละบริษัทที่จะจัดหาพนักงานเขาจะหาตำแหน่ง Senior Director Sustainability ไม่ได้หา Sustainability Analyst ทำให้น้อง ๆ ไม่เห็นตำแหน่งงานสำหรับเด็กจบใหม่ในเรื่องนี้ ความเป็นจริงอีก 4-5 ปี ข้างหน้า บุคลากรด้านนี้จะขาดแคลนและมีความต้องการ Marketing ที่เข้าใจ ESG ต้องการวิศวะที่เข้าใจในเรื่อง Climate Change จะได้ปรับทักษะปัจจุบันที่มีให้เข้ากับกติกาใหม่ของโลกได้

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เรากำลังจะจัดหลักสูตรกับคณะวิศวฯ ซึ่งจะเปิดเร็ว ๆ นี้เป็นหลักสูตรของบุคคลทั่วไป สอนประเด็นของความยั่งยืน ประเมิน Carbon และเขียน Report และทำหลักสูตรสอนนิสิตจุฬาฯ สำหรับหลักสูตร Social Innovation Hub ด้วย เพื่อให้บุคลากรใหม่ ๆ และนิสิตมีทักษะความพร้อมในเรื่องนี้มากขึ้น

เพราะเราเชื่อว่าทิศทางของการพัฒนาโซลูชัน ทิศทางของการพัฒนาคน และทิศทางของการสร้างกติกาที่ดี จะช่วยให้เรื่องนี้ขับเคลื่อนไปได้ เพียงเป้าหมายอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องหา Eco System มารองรับการเปลี่ยนแปลงตรงนี้ด้วย

ข้อแนะนำสำหรับหลักสูตรต่าง ๆ และระบบการเรียนการสอนของคณะวิศวฯ จุฬาฯ

เรื่อง Sustainability เป็นเรื่องใหญ่และสำคัญ ควรแนะนำให้น้อง ๆ เห็นโอกาสและสามารถนำแนวคิดภาควิชาของตัวเองผสมเข้าไปกับเรื่อง Sustainability ได้ ให้ดูว่าดีมานด์ของเอกชนต้องการอะไร และปรับเข้ากับรายวิชาของหลักสูตรให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้ ก่อนที่จะทำแบบนั้นภาควิชาต้องปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดก่อนว่า ให้ผลิตบุคลากรแบบไหนที่จะสามารถเข้าไปเติมเต็มในตลาดได้ และเรื่องที่อยากแชร์สำหรับขอบเขตของงานในวงการนี้ คือ ปัจจุบันต้องการตำแหน่งงาน 2 แบบ คือ Direct Sustainability Job และ Indirect สำหรับ Indirect คือ การเข้าไปทำงานในแผนกที่เกี่ยวกับความยั่งยืน มีหน้าที่จัดทำ Report ในเรื่อง GRI (Global Reporting Initiative) รายงานประจำปี ซึ่งทุกคนเป็นบุคลากรที่สามารถ Adopt Mindset แบบนี้ขึ้นมาได้

และอยากแนะนำให้ปูพื้นฐานเรื่องวิชา Sustainability แก่น้อง ๆ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะออกไปสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นไอเดียที่สถานศึกษาเริ่มจริงจัง ติดอาวุธแก่น้อง ๆ และก้าวทันกับโลกที่เปลี่ยนไปด้วย รวมถึงหลักสูตรควรจะพาน้อง ๆ ไปศึกษาดูงาน และพูดคุยกับทั้งภาครัฐและเอกชน อาจจะไม่ทำให้น้อง ๆ เข้าใจทั้งหมด แต่สามารถที่จะเข้าใจใน Concept ของเรื่อง Sustainability ESG สิ่งแวดล้อมและสังคมได้ พอทุกคนมีพื้นฐานก็สามารถศึกษาหาความรู้ต่อได้


ที่มา: อินทาเนีย ฉบับที่ 4 ปี พ.ศ. 2566 คอลัมน์ สัมภาษณ์พิเศษ โดย กองบรรณาธิการ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save