การประชุมว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศ ของโลกครั้งล่าสุดหรือการประชุมรัฐภาคีกรอบ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change Conference of the Parties: UNFCCC COP) ครั้งที่ 28 ณ เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน-12 ธันวาคม พ.ศ. 2566 การประชุมที่มีชื่อเรียกย่อ ๆ ว่า COP28 ในครั้งนี้ มีตัวแทนรัฐบาลกว่า 200 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมประชุม ประเด็นที่สำคัญคือการหารือมาตรการเพื่อรักษาไม่ให้ อุณหภูมิพ้ืนผิวโลกเพ่ิมเกิน 1.5 °C เมื่อเทียบกับอุณหภูมิเฉลี่ย ก่อนยุคการปฏิวัตอุตสาหกรรม และท่ีสำคัญคือ ในตอน เริ่มแรกมีการเรียกร้องให้เกิดข้อตกลงยกเลิกการใช้ “เชื้อเพลิง ฟอสซิล” แต่สรุปได้เพียงค่อย ๆ ลดปริมาณการใช้ลง โดยว่ากันว่าเกิดจากการรณรงค์ของกลุ่มประเทศผู้ผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลที่สำคัญของโลกครับ
สาระสำคัญที่สรุปได้จากการประชุม COP28 มีรายละเอียด ดังนี้
- การประชุมเน้นย้ำถึงเป้าหมายการรักษาระดับไม่ให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกเพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียส และตระหนักว่าจะต้องลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกลงร้อยละ 43 ภายใน พ.ศ. 2573 และร้อยละ 60 ภายใน พ.ศ. 2578 ซึ่งปัจจุบัน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังคงเพิ่มขึ้น
- เรียกร้องให้เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนทั่วโลกเป็น 3 เท่า และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ พลังงานเป็น 2 เท่า ภายใน พ.ศ. 2573
- ประกาศข้อตกลงจัดตั้งกองทุนชดเชยค่าความเสียหายและความสูญเสีย (Loss and Damage Finance Fund) ซึ่งเป็นกองทุนแรกของโลกที่มีเป้าหมายเพื่อจ่ายเงินชดเชยค่าผลกระทบ ที่ไม่อาจย้อนคืนจากหายนะทางสภาพอากาศ ให้แก่ประเทศยากจนและเปราะบาง
- นานาประเทศสนับสนุนปฏิญญา COP28 UAE เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศและสุขภาพ (COP28 UAE Declaration on Climate and Health) สำหรับเร่งดำเนินการเพื่อปกป้อง สุขภาพของผู้คนจากผลกระทบที่เพิ่มขึ้นด้าน สภาพภูมิอากาศ
- ผู้นำกว่า 130 ประเทศได้ลงนามในปฏิญญา COP28 UAE ว่าด้วยการเกษตร อาหาร และสภาพภูมิอากาศ (COP28 UAE Declaration on Agriculture, Food, & Climate) เพื่อสนับสนุนความมั่นคงทางอาหาร ในขณะเดียวกันก็ต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ และ
- Global Cooling Pledge ได้รับการรับรองจาก 66 ประเทศ เพื่อลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับการทำความเย็นลง อย่างน้อยร้อยละ 68 ภายใน พ.ศ. 2593
ขณะที่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ออกมาคัดค้าน เช่น ซาอุดีอาระเบีย ประเทศ สมาชิกกลุ่ม OPEC+ อิหร่าน อิรัก และรัสเซีย ที่ต้องพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิล ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยระบุว่าการเลิกใช้เชื้ำอเพลิงฟอสซิล อาจเป็น ข้อตกลงที่สุดโต่งเกินไป ทำให้การลงนามในร่างสุดท้ายจึงไม่ได้ระบุถึงแผนลดการใช้ พลังงานฟอสซิล
เป็นอันว่าในส่วนของการลดและการขจัดหนึ่งในต้นกำเนิดของก๊าซเรือนกระจกที่ เป็นตัวการหลักที่ทำให้โลกร้อนโลกเดือดก็ยังต้องรอกันต่อไปนะครับ ว่าอนาคตเช่น ในการประชุมครั้งต่อ ๆ ไปจะสามารถลดและขจัดตัวต้นของปัญหาได้มากน้อยเพียงใด
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการลด จำกัด ไปจนถึงขจัดหรือยกเลิกการใช้เชื้อเพลิง ฟอสซิล อันเป็นมาตรการที่ค่อนข้างเฉียบขาดแต่ได้ผลสูง กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์เรา ที่ผ่านมาในอดีตจนปัจจุบัน ได้ทำให้เกิดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่มีก๊าซคาร์บอน- ไดออกไซด์เป็นปริมาณหลัก รวมกับก๊าซอื่น ๆ ที่ก่อประสิทธิผลเช่นเดียวกัน เช่น มีเทน ไนโตรเจนไดออกไซด์ ฯลฯ โดยมีชื่อเรียกรวม ๆ ว่า “ก๊าซเรือนกระจก” หรือ Green House Gas (GHG) คงค้างอยู่ในบรรยากาศ ซึ่งปริมาณที่ตกค้างอยู่อย่างมากมายนี้ จำเป็น ต้องใช้มาตรการทางเทคโนโลยีอีกประการที่สำคัญ คือ การจับคาร์บอน ซึ่งมีทั้งประเภท ที่จับแล้วนำไปฝัง จับแล้วนำไปใช้ หรือจับแล้วนำไปฝังบ้างใช้บ้าง ถ้าจับอย่างเดียวก็เรียก
เป็นภาษาอังกฤษว่า Carbon Capture หรือ CC จับแล้วเอาไปฝังก็จะเป็น Carbon Capture and Sequestration หรือ CCS ถ้าจับแล้วใช้ด้วยฝังด้วยก็เหมาเรียกรวม ๆ ว่า Carbon Capture Utilization and Sequestration หรือ CCUS ครับ ไม่ว่าจะเป็น วิธีใดก็ตาม ล้วนเป็นมาตรการทางเทคโนโลยีที่ช่วย “จับคาร์บอนโดยละม่อม” อันเป็น วิถีสู่โลกเย็นละครับ
ลองมาศึกษาลึก ๆ ยามว่าง ๆ แบบ “อินทาเนีย” ก็จะพบว่า CC นั้นมีเทคโนโลยี ต่าง ๆ ที่หลากหลายและน่าสนใจมากครับ ผมได้อ่านบทความจากจดหมายข่าวของ สมาพันธ์ผู้ว่าการรัฐเพื่อส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพ หรือ Governors’ Biofuel Coalition แห่งสหรัฐอเมริกาท่ีผมเป็นสมาชิกอยู่ด้วย ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ลงบทความอธิบายศัพท์แสง ต่าง ๆ เกี่ยวกับการกักเก็บคาร์บอน ผมก็เลยนำมาเล่าสู่กันฟังดังนี้ครับ
บทความนี้เขียนโดย Coco Liu และ Michelle Ma แห่งสำนักพิมพ์ Bloomberg เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยตั้งต้นไว้อย่างน่าสนใจว่า ตลาดของธุรกิจการดักจับ คาร์บอนนั้นจะสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปลายทศวรรษที่ 2040 ต่อไปน้ี จะเป็นศัพท์แสงและคำอธิบายเพื่อความเข้าใจว่าหมายความว่าอย่างไร ดังนี้ครับ
1. Carbon Dioxide Removal (CDR) หมายถึงแนวทางปฏิบัติทั้งหลายทั้งปวง ในการดึงเอาคาร์บอนไดออกไซด์หรือ CO2 หลายร้อยล้านตันที่ถูกปลดปล่อยออกมาอยู่ในบรรยากาศของโลกตั้งแต่อดีตกาลมาจนถึงปัจจุบัน วิธีการหลัก ๆ สามารถใช้กระบวนการทางกลในการจับเอา CO2 ออกจากบรรยากาศ หรือเร่งกระบวนการ ทางธรรมชาติต่าง ๆ เพื่อดูดซับก๊าซดังกล่าวออกจากบรรยากาศ
ข้อจำกัด วิธีการต่าง ๆ หลายวิธีในการ “จับ” เอา CO2 ออกจากบรรยากาศนั้นแพง มหาศาล ยังไม่มีมาตรฐานการคิดคำนวณมูลค่าที่ยอมรับกันทั่วไป และยังต้องจับคู่กับ กระบวนการ “จัดเก็บ” ก๊าซที่จับมาได้อีกด้วย สุดท้ายยังเพิ่มความเสี่ยงในการทำให้ สังคมมนุษย์เบี่ยงเบนความสนใจไปจากการตัดลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพราะเข้าใจ ว่าถึงปล่อยออกมาก็ “ดักจับ” ได้
2. Point-Source Carbon Capture หรือการจับคาร์บอน จากจุดกำเนิด CDR ในข้อแรกนั้นเป็นการดักจับ CO2 จากบรรยากาศ แต่ Point-Source Carbon Capture ในข้อที่ 2 นี้จะดักจับ CO2 จากปล่องควัน โดยสามารถจะติดตั้งอุปกรณ์ไปใช้ในโรงงาน ใด ๆ ก็ได้ ตั้งแต่โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินจนถึงโรงงานอุตสาหกรรมเหล็ก วิธีการนี้ไม่ได้ลดปริมาณของ CO2 ทั้งหมดที่มีอยู่แล้วใน บรรยากาศ แต่ช่วยป้องกันการเพิ่มขึ้นได้
ข้อจำกัด ปัญหาของวิธีการในข้อที่ 2 นี้คล้ายคลึงกับข้อแรก คือ ต้นทุน สูงมากและเทคโนโลยียังไม่พร้อมเท่าใดนัก มีการระบุการดักจับ คาร์บอนอย่างโดดเด่นมากในแผนงานของอุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊ส แม้จะล้มเหลวไปนับครั้งไม่ถ้วน ทำให้สังคมสาธารณะกังวลว่าจะเป็น อุปสรรคหลักกีดขวางการปฏิรูปไปสู่พลังงานสะอาด คำถามที่มีต่อ บริษัทต่าง ๆ ที่มุ่งเดินหน้าประยุกต์วิธีการนี้ก็เช่นเดียวกับข้อที่ 1 คือ “จับมาได้แล้วจะไปขังไว้ที่ไหน?”
3. Direct Air Capture (DAC) เป็นรูปแบบการกำจัดคาร์บอน ที่ฟังดูเหมือนนิยายวิทยาศาสตร์มากที่สุด เพราะเป็นการใช้เครื่องจักรกลที่แยก CO2 จากอากาศ กระบวนการนี้จะประยุกต์ใช้ สารเคมีที่สังเคราะห์ขึ้นเป็นพิเศษหรือวัสดุธรรมชาติ เช่น หินปูน ในการจับ CO2 นำไปเก็บไว้ใต้ดิน ซึ่งตามทฤษฎีว่ากันว่าจะกักขังไว้ได้ เป็นล้านๆ ปี
ข้อจำกัด DAC เป็นวิธีการที่แพงมากถึงระดับหลายร้อยดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตันของ CO2 ที่จับมากักเก็บได้ ทั้งยังใช้พลังงานมหาศาล โดยการขจัด CO2 ปริมาณ 1 ตันต้องใช้พลังงานสะอาดถึง 2,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ที่จะต้องดึงมาจากเครือข่ายที่จ่ายกระแสไฟฟ้าทั่วไป…เทียบกับ ปริมาณกำลังไฟเฉลี่ยที่บ้านเรือนชาวอเมริกันใช้อยู่ คือ 889 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อเดือน
4. Carbon Capture and Utilization (CCU) ซึ่งก็คือ กระบวนการจับคาร์บอนแล้วนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิต ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ บางทีก็เรียกง่าย ๆ ว่า Carbon Reuse การใช้งาน ทางหนึ่งที่เราคุ้นกันมานานคือการละลาย CO2 ที่ถูกบีบอัดลงในน้ำ เพื่อทำเครื่องดื่มที่เราเรียกกันติดปากว่า “น้ำอัดลม” ในปัจจุบันได้ ประยุกต์ใช้ในด้านอื่น ๆ อีกอย่างกว้างขวาง เช่น นำมาผลิตเส้นใย สังเคราะห์พอลิเอสเตอร์ไปจนถึงการทำน้ำมันเชื้อเพลิงสังเคราะห์ สำหรับอากาศยาน
ข้อจำกัด CCU ยังคงเสียค่าใช้จ่ายสูงและต้องมี CO2 ให้ใช้ได้อย่าง ต่อเนื่องในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และมิใช่ว่าการนำ CO2 ที่จับได้ ไปใช้งานจะเกิดประโยชน์ในระยะยาวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเสมอไป เช่น CO2 ในเครื่องดื่มอัดกระป๋องนั้น พอเปิดปุ๊บ ก็ลอยกลับไปในบรรยากาศปั๊บละครับ
5. Carbon Capture and Sequestration (CCS) การดึง เอา CO2 ออกจากอากาศเท่านั้นยังไม่เพียงพอครับ ต้องเอาแก๊สที่ดึงออกมาได้ไปเก็บกักไว้ด้วย ในทศวรรษที่ 1960 บรรดาวิศวกรท้ังหลายได้หาวิธีการในการเก็บกัก CO2 ไว้ในบ่อน้ำมันหรือแก๊สที่หมด สภาพการใช้งานแล้ว ป่าทั้งหลายแหล่ยังเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ธรรมชาติที่ดีมาก แต่วิสาหกิจกำเนิดใหม่หรือ Startups หลายแห่งได้ริเริ่มรูปแบบการจับและจัดเก็บคาร์บอนล้ำสมัยหลากหลาย แบบ เช่น การถ่วงของเสียทางการเกษตรลงสู่ก้นมหาสมุทรที่ซึ่งน้ำลึก และมีออกซิเจนอยู่น้อยมากจะป้องกันการเสื่อมสภาพของชีวมวล เหล่านี้ หรือการอัดแก๊สที่จับมาได้ลงในคอนกรีต
ข้อจำกัด บางแนวทางดังกล่าวข้างต้นไม่ได้สามารถกักคาร์บอน- ไดออกไซด์ไว้ได้นาน เช่น เมื่อเกิดไฟป่าขึ้น ก็จะปล่อย CO2 ที่บรรดา ต้นไม้ในป่าดูดซับไว้ออกสู่บรรยากาศ บริษัทต่าง ๆ ที่ใช้เทคนิคทางวิศวกรรมคุยว่าแนวทางของบริษัทจะสามารถเก็บกัก CO2 ไว้ได้อย่าง ถาวร แต่เรื่องท่ีบริษัทกล่าวมาน้ียังต้องพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่เม่ือมีการ ขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้นเพื่อไปใช้งานจริง
6. CO2 Pipelines หรือท่อลำเลียงก๊าซ CO2 เป็นโครงสร้าง พื้นฐานที่สำคัญในกระบวนการดักจับและกักเก็บหรือใช้งาน CO2 เพราะถึงแม้การดักจับ CO2 จะทำที่ใด ๆ ก็ได้ แต่การกักเก็บนั้น ต้องคำนึงถึงเรื่องของความปลอดภัยและข้อจำกัดทางธรณีวิทยาด้วย บริษัทต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาได้วางท่อลำเลียงเป็นระยะทางนับร้อย ๆ ไมล์ที่ออกแบบเพื่อขนถ่าย CO2 ที่บีบอัดเรียบร้อยแล้วทั้งจาก แหล่งต้นกำเนิดและจากอากาศเพื่อไปยังสถานที่จัดเก็บที่จัดเตรียมไว้
ข้อจำกัด ความปลอดภัยคือเรื่องหลัก เพราะการรั่วไหลสามารถจะ ทำให้ออกซิเจนในบริเวณโดยรอบลดลง เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตใน บริเวณนั้น ๆ เท่าที่ผ่านมา เหตุรั่วไหลดังกล่าวมีจำนวนน้อยครั้งกว่าท่อลำเลียงน้ำมันดิบ อย่างไรก็ตาม ท่อลำเลียง CO2 ยังมีการวางและ ใช้งานไม่มากนัก ซึ่งข้อมูลทางสถิติของอุบัติเหตุอาจไม่สามารถจะเทียบ ได้กับท่อลำเลียงน้ำมันดิบ หน่วยงานกำกับดูแลของรัฐกำลังเร่งรัด การควบคุมดูแลให้เข้มงวดมากยิ่งขึ้น แต่การแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนด ต่าง ๆ ยังต้องใช้ระยะเวลาอีกนานทีเดียว
7. Enhanced Oil Recovery (EOR) เป็นวิธีการประยุกต์ใช CO2 ที่ดักจับได้ที่มีปัญหามากที่สุด เพราะเป็นการอัดก๊าซท่ีดักจับได้ลงไปไล่น้ำมันในบ่อขุดเจาะที่สูบน้ำมันขึ้นมานานแล้ว เพื่อ เพิ่มปริมาณการสูบน้ำมันท่ีเร่ิมมีระดับลดน้อยถอยลง โครงการ CCS ส่วนใหญ่ในโลกนี้มักใช้งาน CO2 แบบนี้เป็นหลัก บางบริษัทวางแผน ใช้งาน CO2 ที่ได้จากการทำ DAC มาสกัดให้ได้น้ำมันจากบ่อเก่า ๆ มากขึ้น โดยอ้างว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลที่สกัดมาได้โดยวิธีนี้เป็นชนิด “คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์” หรือ Net Zero
ข้อจำกัด การใช้ EOR จะยืดช่วงระยะเวลาการผลิตน้ำมันและก๊าซ เชื้อเพลิงให้ยาวออกไป ซึ่งจะหมายถึงการยืดระยะเวลาเพิ่มภาวะมลพิษ ที่ปลดปล่อยออกมาจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลด้วย ก่อผลกระทบ ในทางลบกับการรณรงค์เผยแพร่งานวิจัยชั้นเลิศทั้งหลายที่ชี้ชัดว่า โลก ของเราต้องลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลงอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะ ทำได้
8. Carbon Offset หรือการจ่ายชดเชยการปล่อยก๊าซ CO2 ซึ่ง มีการกำหนดกฎเกณฑ์การปฏิบัติให้ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐสามารถจ่ายค่าตอบแทนให้องค์การอื่นใดกำจัดก๊าซเรือนกระจก ออกจากบรรยากาศหรือไม่ปล่อยแก๊สมลพิษออกสู่บรรยากาศ ตาม ทฤษฎีแล้วการจ่ายชดเชยจะช่วยกำจัดผลกระทบจากการปล่อยแก๊ส มลพิษของผู้จ่าย หลายบริษัทจะยอมจ่ายชดเชยเพราะในบางกรณีการ ลดปริมาณการปล่อยแก๊สมลพิษจะเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าค่าชดเชย
ข้อจำกัด โครงการจ่ายค่าชดเชยจำนวนมากมีข้อบกพร่องหรือในบาง กรณีไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง โครงสร้างของแรงจูงใจให้จ่ายค่าชดเชยที่ ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงโดยการคิดต้นทุนให้ต่ำที่สุด จะก่อ ให้เกิดสิ่งท่ีเรียกกันว่า “คาร์บอนเครดิต” หรือหน่วยการปลดปล่อย ก๊าซเรือนกระจกที่นำมาคิดเป็นค่าชดเชยแบบเทียม ๆ เพื่อ “ฟอก” การกระทำสิ่งสกปรกของบริษัทต่าง ๆ ให้กลายเป็นความบริสุทธ เทียม ๆ ผลที่สุดคือการสร้างรายได้ให้องค์การที่ทำหน้าที่ตรวจยืนยัน ปริมาณและมูลค่าของ “คาร์บอนเครดิต” มากกว่าการหลีกเลี่ยงและ ลดการปล่อยแก๊สมลพิษอย่างแท้จริง
9. Carbon Sink หรือแหล่งฝากฝังคาร์บอน สิ่งใดก็ตามที่สามารถ จะดูดซับก๊าซ CO2 ออกจากบรรยากาศในปริมาณที่มากกว่าที่ปลดปล่อยออกมา คือ แหล่งฝากฝังคาร์บอน เช่น ต้นไม้ มหาสมุทร หรือพื้นดิน นอกจากแหล่งธรรมชาติดังกล่าวแล้ว ในเชิงวิศวกรรม ยังพัฒนาสิ่งอื่น ๆ มาใช้ฝากฝังคาร์บอนได้ เช่น การฉีดก๊าซ CO2 ลงใน ซีเมนต์และโครงสร้างทางธรณีต่าง ๆ
ข้อจำกัด แหล่งฝากฝังคาร์บอนบางแหล่งมีข้อจำกัดเช่นเดียวกับถังขยะ ที่มีปริมาตรจำกัด ยกตัวอย่างเช่น หากมหาสมุทรรับปริมาณ CO2 มาก เกินไป องค์ประกอบทางเคมีของน้ำทะเลจะเปลี่ยนไป ทำให้น้ำทะเลมี สภาพเป็นกรด ก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบนิเวศทางทะเล แหล่งฝากฝัง คาร์บอนบางแหล่งอ่อนไหวต่อภาวะภูมิอากาศท่ีรุนแรง เช่น ไฟป่าท่ีร้ายแรงมากที่ประเทศแคนาดาในปีที่ผ่านมาได้ปลดปล่อยก๊าซ CO2 ปริมาณมหาศาลที่ฝากฝังไว้ออกสู่บรรยากาศ
10. Afforestation หมายถึงการปลูกป่าในบริเวณที่ไม่ได้เป็น ป่าในระยะเวลานานมาแล้ว เมื่อต้นไม้โตขึ้นก็จะดึงเอา CO2 ออกจากบรรยากาศ ผลระโยชน์ที่ได้จากการปลูกป่าเช่นนี้ไม่เฉพาะ จะเกิดต่อบรรยากาศเท่านั้น แต่ยังสามารถแก้ปัญหาการขยายตัวของ การเกิดสภาพทะเลทราย และยังช่วยทำให้บริเวณที่เคยเป็นแหล่งสะสม ของแก๊สมลพิษทางอุตสาหกรรมสะอาดขึ้น
ข้อจำกัด หากเกิดไฟป่าซึ่งมักเกิดถี่ขึ้นและใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ทั่วโลกใน บริเวณที่ปลูกป่าใหม่นั้น ผลลัพธ์ที่ดีที่เคยเกิดต่อบรรยากาศก็จะสูญเสีย ไปทันที ยิ่งไปกว่านั้น การหาที่ว่างที่กว้างขวางในการปลูกป่าเริ่มยาก มากข้ึนตามลำดับ เพราะประชากรโลกท่ีเพ่ิมข้ึนจะต้องการพ้ืนท่ีสำหรับ ปลูกสร้างที่อยู่อาศัย โครงสร้างพื้นฐาน และพื้นท่ีสำหรับผลิตอาหาร อีกด้วย
11. Monitoring, Reporting and Verification (MRV) มีความหมาย 2 อย่าง คือ ตรวจติดตาม รายงาน และตรวจยืนยัน หรือตรวจวัด รายงาน และตรวจยืนยัน ทั้ง 2 กรณีต่างเป็น องค์ประกอบหลักท่ีสำคัญในการสร้างความมั่นใจว่าเทคโนโลยี CDR ใช้งานได้ตามที่มุ่งหวังไว้ การทำ MRV นั้นบริษัทต่าง ๆ จะต้องว่าจ้างผู้ตรวจสอบอิสระ เพื่อตรวจวัดปริมาณ CO2 ท่ีกำจัดออกได้และ ตรวจยืนยันว่าจะไม่กลับสู่บรรยากาศจริงหรือไม่ มีเทคนิคหลากหลาย ที่ใช้กันอยู่ เช่น การติดตั้งตัวตรวจจับที่สถานที่กักเก็บ กำหนดมาตรฐาน การขจัดคาร์บอน และตีพิมพ์เผยแพร่บันทึกการขายและการส่งมอบ CO2
ข้อจำกัด ยังไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนสำหรับ MRV และการปฏิบัติ ต่าง ๆ ยังเป็นไปตามความสมัครใจ บริษัทตั้งต้นใหม่หรือผู้ตรวจสอบ ทั้งหลายก็ยังไม่ได้พัฒนาเทคนิค MRV ที่เข้มจริงเนื่องจากอุตสาหกรรม การกำจัดคาร์บอนยังเพิ่งตั้งต้นมาไม่นานนัก
12. Enhanced Rock Weathering (ERW) หรือหินเสริม พลังน้ำปรับสมบัติดิน เป็นวิธีการบดย่อยหินที่มีสมบัติเสริมพลังน้ำ เป็นกระบวนการหลายขั้นตอน เริ่มจากการท่ีน้ำชะล้าง สินแร่จากหินที่บดย่อยไหลลงสู่ลำธารและแม่น้ำ ส่งผลให้ระดับความเป็นกรดในน้ำลดลง จึงดูดซับก๊าซ CO2 ได้มากข้ึน กลายเป็นอาหาร ของแพลงก์ตอนที่เป็นอินทรีย์สารในน้ำ แล้วพาก๊าซ CO2 ลงสู่พื้น มหาสมุทรเมื่อแพลงก์ตอนตายลง หินบดที่โรยไปบนพื้นดินที่ทำ กสิกรรมสามารถเพิ่มธาตุอาหารในดิน เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้
ข้อจำกัด หลักการทางทฤษฎีที่ดูดีอาจไม่สามารถใช้ได้ในชีวิตจริง ผู้ที่รณรงค์การประยุกต์ใช้ ERW ยังจำเป็นต้องพิสูจน์ยืนยันให้ชัดเจนว่าวิธีนี้จะสามารถกำจัด CO2 ได้อย่างถาวรจริงหรือไม่ กระบวนการนี้ ใช้เวลานานหลายปี ต้องใช้พื้นที่กว้างใหญ่และระยะทางที่ยาวไกล ทำให้ การวัดยืนยันผลลัพธ์จริงทำได้ยาก
13. Ocean Alkalinity Enhancement (OAE) วิธีนี้จะตรง บริเวณเป้าหมายกว่า ERW โดยการละลายหินแร่ประเภทโอลิวิน และหินบะซอลต์ (หรือหินอัคนีชนิดหนึ่ง) ทำให้น้ำทะเลมีสภาพเป็นด่างมากขึ้น น้ำทะเลจะดูดซับก๊าซ CO2 ได้มากขึ้น ทั้งยังช่วยลด ความเป็นกรดของน้ำทะเลที่เป็นผลร้ายต่ออินทรีย์วัตถุ เช่น ปะการังที่ เกิดการฟอกขาวจากกรด
ข้อจำกัด มีสิ่งที่ยังไม่รู้อีกมากมายเกี่ยวกับ OAE เช่น ผลกระทบที่จะ มีต่ออินทรียวัตถุในน้ำทะเลจากการทิ้งหินแร่นับล้าน ๆ ตันลงในทะเล และบริเวณโดยรอบ และเนื่องจากเป็นระบบการขจัดคาร์บอนแบบเปิด การทำ MRV ของระบบนี้จะเป็นสิ่งที่ท้าทายมากเช่นกัน
14. Biochar หรือถ่านชีวภาพ ได้จากการเผาวัสดุเหลือทิ้ง ทางการเกษตรในสภาพแวดล้อมที่มีปริมาณออกซิเจนจำกัด ประยุกต์ใช้งานกันหลายร้อยปีก่อนเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้ดินท เสื่อมโทรม ปัจจุบันถ่านชีวภาพเป็นทางออกที่โดดเด่นในการแก้ปัญหา ภูมิอากาศ เพราะเมื่อฟางข้าวหรือซังอ้อยย่อยสลายตัว จะปล่อยก๊าซ CO2 ที่กักเก็บไว้ขณะที่กำลังเจริญเติบโตออกสู่บรรยากาศ แต่การทำ ถ่านชีวภาพสามารถป้องกันการปลดปล่อย CO2 ดังกล่าวได้ เพราะ เป็นการแปรรูปชีวมวลให้เป็นของแข็งที่มีเสถียรภาพที่คงอยู่นานหลายศตวรรษ เท่ากับเป็นการกักเก็บ CO2 เอาไว้ได้นานเท่านาน…ตามทฤษฎี
ข้อจำกัด การผลิตและการขนส่งถ่านชีวภาพสามารถจะปล่อยอนุภาค เล็ก ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และแม้ว่าจะมีการอ้างว่าถ่านชีวภาพเป็นสารเติมแต่งดินเพื่อให้ได้ผลทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้น แต่การ ทดลองภาคสนามก็มิได้ให้ผลิตผลทางการเกษตรที่สูงขึ้นเสมอไป
ทั้ง 14 ประการข้างต้นคือศัพท์แสงเกี่ยวกับเทคนิคและ วิธีการในการดูดซับ CO2 ออกจากบรรยากาศ ซึ่งจะเห็นได้ว่า เป็นเรื่องที่พัฒนาขึ้นมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ และยังคงต้องติดตามกัน ต่อไปว่า อะไรจะเป็นสิ่งท่ีได้ผลดีที่สุดในการทำความสะอาด บรรยากาศ เพื่อช่วยลดอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกลงได้ตาม เป้าหมาย 1.5 องศาเซลเซียส ละครับ
ที่มา: อินทาเนีย ฉบับที่ 1 ปี พ.ศ. 2567 คอลัมน์ สะดุดฟันเฟือง โดย รศ. ดร.ปริทรรศน์ พันธุบรรยงก์ วศ.15