ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล

วิศวฯ จุฬาฯ กับก้าวเดิน #MOVE ที่เชื่อมโยงกับทุกส่วนในสังคม (E: Engaging Stakeholders)


Landscape ของการศึกษา เริ่มเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน มีเรื่องวิชาชีพ วิชาคน วิชาชีวิต ในมหาวิทยาลัยนอกจากจะให้ ความรู้ในช่วงสั้น ๆ เราต้องเป็นผู้ให้ โอกาสในการเติบโตสำหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัย หนึ่ง ในหลักการก้าวเดินแบบ MOVE โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งนี้ท่านจะมาถอดบทเรียนเรื่อง MOVE ว่ามีส่วนเชื่อมโยงกับทุกส่วนในสังคมอย่างไร จากการเป็นผู้นำของคณะวิศวฯ ตลอดระยะเวลา 8 ปี ที่ผ่านมา

หลักการบริหารแบบ MOVE

ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในรอบหลายปีที่ผ่านมา เราได้พบกับการ Disrupt เรื่องระบบการศึกษาค่อนข้างมาก ก่อนโควิด-19 ระบบการศึกษารูปแบบ Online Learning กำลังจะเข้ามาและเกรงว่าระบบการเรียนในมหาวิทยาลัยอาจหมดไป เพราะ ทุกคนสามารถเรียนรู้ที่ไหนก็ได้ แต่ความเป็นจริงไม่ได้เปลี่ยน Business Model และ Landscape ของระบบการศึกษาเท่าไร เพราะยังมีคนที่รู้ รู้น้อยกว่าหรือยังไม่รู้ 2 คน มาเจอกัน การเข้าถึงข้อมูลน้อยกว่าและยาก บางครั้งการเข้าถึงแหล่งข้อมูลจำกัด และ เมื่อมี AI เข้ามาทำให้ Landscape การศึกษาเปลี่ยนไป นักศึกษามีความรู้มากขึ้น เพราะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายมากขึ้น การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของ AI ตั้งแต่ วาระที่ 2 ผมเริ่มมองว่า ในอดีตเราเป็น Academic เป็น Education แต่ในช่วงที่ผ่านมา ทุกภาคส่วนที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเป็นเรื่องของการไขว่คว้าหาโอกาสที่จะ เติบโต ทั้งนิสิต นักศึกษา บุคลากร ภาคเอกชนที่เข้ามาทำงานกับเราทั้งหมด เราจึง กลับไปมองที่เป้าหมายว่า ทำไมเขาอยากเข้ามาร่วมกับเรา เรื่องที่สำคัญที่สุดคือ การเข้ามาร่วมเติบโตไปด้วยกัน จึงมีคำว่า MOVE ขึ้นมา

MOVE ความหมายคือ มีพลวัต เคลื่อนไป สิ่งที่เราคุ้นชินคือ M: Maximize Learning System และ O: Outstanding Research & Innovation ทั้ง 2 ตัวช่วยสร้าง Value ให้แก่คนที่ เกี่ยวข้องกับเรา ทำให้เขาและเราเติบโตไปพร้อม ๆ กัน เพราะฉะนั้น 2 ตัวนี้คือตัวหลักที่ทำให้เกิดการขยับขับเคลื่อน ในส่วนของ V: Value Creation for Society การสร้างคุณค่าให้แก่สังคม เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเราคือสิสิตนักศึกษา เพราะฉะนั้นการมองสังคมเป็นจุดเริ่มต้นในชีวิตของเขาถือเป็นเรื่อง สำคัญ เพราะเราต้องสร้างคนที่เก่งให้เติบโตและสร้างคนที่ดีไป พร้อม ๆ กัน และเมื่อถึงเวลาที่เขาต้องออกไปเติบโตข้างนอก เขา ต้องใส่ใจในสังคมก่อนจึงจะเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นสิ่งที่เราต้อง ปลูกฝัง ตัวสุดท้าย คือ E: Engaging Stakeholders เป็นตัวที่ สำคัญมาก เพราะเรามุ่งหวังให้ทุกภาคส่วนที่มาทำงานร่วมกับเรา มีการเติบโต การมีส่วนร่วมจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด

E: Engaging Stakeholders พื้นฐานสำคัญของ คณะวิศวฯ

Stakeholders หลักของคณะวิศวฯ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. กลุ่มผู้คน 2. สังคมและสิ่งแวดล้อม กลุ่มผู้คนคือ นิสิตนักศึกษา รวมไปถึงนิสิตเก่า เพราะเรามองเรื่องการเติบโตตลอดชีวิตของเขา ไม่ได้เติบโตเพียงในมหาวิทยาลัย เพราะฉะนั้นเราต้อง Engage คน เหล่านี้ตลอดชีวิต รวมถึงกลุ่มคนอื่น ๆ ที่ต้องการ Reskill, Upskill ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มใหญ่และสำคัญมากที่สุด แต่มีสิ่งหนึ่งที่มหาวิทยาลัย ลืมไปคือ บุคลากรของมหาวิทยาลัย เราลืมไปว่าบุคลากรก็ต้องเติบโต เช่นกัน ทั้งบุคลากรฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายวิชาการ เพราะทุกคน มีบทบาทในการสร้างโอกาสในการเติบโตให้แก่ทุกกลุ่มที่เข้ามา ร่วมกับเรา รวมถึงภาคเอกชนซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่เข้ามามีบทบาท สำคัญของคณะ เพราะการที่เขามาจ้างเราทำวิจัยหรือการเข้ามา มองหาโอกาสใหม่ ๆ ที่จะเติบโตไปด้วยกัน เราจึงต้องมีแพล็ตฟอร์ม ที่จะมารองรับคนเหล่านี้

ตัวอย่างที่เกิดจากผลลัพธ์ของ E: Engaging Stakeholders

  1. หลักสูตรของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ยกตัวอย่างหลักสูตรของคณะวิศวฯ ที่อยู่มาเกือบ 100 ปี และเป็นหลักสูตรต้นแบบสำหรับคณะวิศวฯ ท้ังประเทศ เรียนท้ังหมด 150 หน่วยกิต แต่เนื่องจากโลกเปลี่ยนไปเร็ว เราไม่สามารถตอบโจทย์ ความต้องการของทุกภาคส่วนได้ แต่สิ่งที่เราทำได้คือลดหน่วยกิตลง ให้นิสิตมีโอกาสเลือกวิชาที่ชื่นชอบและสามารถตอบโจทย์ภาคส่วน ต่าง ๆ ที่เขาจะเข้าไปมีบทบาทได้ และเขาสามารถเข้าไปเติบโต ในองค์กรต่าง ๆ ได้ นี่คือสิ่งที่เราพยายามทำให้หลักสูตรมีความ ยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น หลักสูตร Sandbox ของคณะวิศวกรรม คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (Computer Engineering and Digital Technology: CEDT) เป็นตัวอย่าง Engaging Stake- holders ที่ชัดเจน ทำให้องค์กรได้คนที่ชอบ งานที่ใช่ และความรู้ ที่ตรง เด็ก ๆ จะมีทักษะติดตัวไปตั้งแต่ปี 1-4 เขาควรจะเดินเข้าไป ในสายงานที่เขาอยากทำ เพื่อให้เขาโตไปข้างหน้าให้ได้
  2. การทำงานร่วมกับ สวจ. ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ และการเติบโตไปด้วยกัน ที่ผ่านมาเราค่อนข้างติดขัดกับกฎระเบียบค่อนข้างมาก แต่ทำอย่างไรจึงจะดึงทรัพยากรจาก ข้างนอกเข้ามาได้ ในอดีตเรามักจะมองว่าใช้สิ่งล่อใจ เช่น การให้ บริจาคเงินเข้ามาและจะได้การคืนภาษี 2 เท่า แต่ผมคิดว่าเรื่องน้ี ไม่สามารถใช้กับสังคมปัจจุบันได้ เราจึงเปลี่ยนไปใช้แรงบันดาลใจ ซึ่ง คนที่จะเข้ามา Engage กับเราต้องมีแรงบันดาลใจ สำหรับหอประชุม เราให้แรงบันดาลใจว่า หอประชุมนี้อยู่มาแล้ว 50 ปี และจะอยู่ ต่อไปอีก 50-100 ปี อย่างแน่นอน เขาเป็นนิสิตเก่า เขาควรได้มี ส่วนร่วมในการปรับปรุงหอประชุม เพราะเป็นสิ่งที่สร้างเขาข้ึนมา และจะอยู่ตรงนั้นไปอีก 50-100 ปี เป็นอย่างน้อย และจะทำให้เขา ภาคภูมิใจว่า ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างการเติบโตของน้อง ๆ ใน อนาคต ปัจจุบันหอประชุมและลานอินทาเนียมีผู้รอใช้งานที่ ค่อนข้างมาก ที่สำคัญการเป็นวิศวฯ ไม่ได้เติบโตด้วยวิชาชีพ อย่างเดียว แต่จะมีวิชาชีวิตที่จะต้องผสมผสานและเติบโตไปด้วยกัน น้อง ๆ ไม่ได้จัดกิจกรรมใหญ่ ๆ มานาน เนื่องจากโควิด-19 เราจึงใช้โอกาสนี้ให้เขาได้ลองจัดกิจกรรมและเขาก็สามารถบริหาร จัดการได้ดีมาก รุ่นพี่และอาจารย์เป็นห่วงน้อง ๆ เพราะกิจกรรม ค่อนข้างใหญ่ กลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่ดีขึ้น แต่น้อง ๆ สามารถ เรียนรู้ได้ และเราก็เป็นพี่เลี้ยงให้เขาว่า จะต้องระมัดระวังเรื่องอะไร บ้าง สุดท้าย Skill ของนิสิตที่จัดงานกลุ่มนี้ทำออกมาได้ดีมาก
  3. การดูแลสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ในช่วงที่ ผมดูแลคณะวิศวฯ มา เราเน้นเรื่องความยั่งยืนมาตลอด ก่อนที่จะเป็นประเด็นในทุกวันนี้ เช่น เรื่องฝุ่น PM2.5 เรื่องการสร้าง จิตสำนึก ความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการ NY Mission ซึ่งได้ทางวิทยุจุฬาฯ เข้ามาช่วย วิทยุจุฬาฯ จึงเป็นหัวใจสำคัญ เราจึง ต้องมีแพล็ตฟอร์มที่จะ Engage ออกไปสู่คนข้างนอกได้ ต้อง ขอขอบคุณวิทยุจุฬาฯ ไว้ ณ ที่นี้ และรายการพูดจาประสาช่าง เป็นอีกหนึ่งรายการที่เราทำร่วมกับวิทยุจุฬาฯ มามากกว่า 50 ปี และ ถือว่าเป็น Engage อย่างหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะเป็นการสื่อสารกับผู้ฟัง ทางเดียวตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันเราก็มีการปรับปรุง นำผลผลิตจากนวัตกรรมต่าง ๆ ของนิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบันสื่อสาร ออกไป และมี Feedback กลับมา วันนี้วิทยุจุฬาฯ ไม่ใช่การสื่อสาร ทางเดียวอีกต่อไป แต่จะมีการเชื่อมต่อกับผู้ฟังผ่านช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น QR Code หรือการเผยแพร่ซ้ำต่าง ๆ ซึ่งคลื่นวิทยุยังคง อยู่กับเราไปอีกนาน ส่วนตัวผมเคยทำงานพิบัติภัยมามาก คนที่หดหู่ ท้อแท้มีแต่คลื่นวิทยุเท่านั้นที่เป็นเพื่อนเขา ในประเทศญี่ปุ่นในถุง ยังชีพสำหรับอพยพหนีภัยจะมีวิทยุทรานซิสเตอร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานใน เรื่องของการดำรงชีวิต เพราะทำให้คนมีความหวังและมีชีวิตรอด กลับมา เป็นสิ่งที่นำพาคนในยามท้อแท้

MOVE ที่เชื่อมโยงกับทุกส่วนในสังคม (M: Maximize Learning System)

MOVE ขับเคลื่อนเพื่อให้โอกาสในการเติบโตแก่คนที่เกี่ยวข้อง กับเรา ทั้งนิสิต อาจารย์ บุคลากร และภาคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เรา จะต้อง MOVE ไปด้วยกัน ถึงช้าก็ไม่เป็นไร ค่อยเป็นค่อยไป สุดท้าย การไปด้วยกันจะทำให้ไปได้ไกลและไปได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเกี่ยวข้องกัน ทั้งหมด M: Maximize Learning System ทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ กันตลอดเวลา

M: Maximize Learning System คือ ทุกองคาพยพในมหาวิทยาลัย มีเป้าประสงค์เดียวกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้และการเรียนทำให้เกิดโอกาสในการ เติบโต และโอกาสในการเติบโตของคนไปลดความเหลื่อมล้ำ ย้อนกลับไปนึกถึง พระราชดำรัสในหลวงรัชกาลที่ 6 เมื่อตอนก่อตั้งจุฬาฯ ท่านไม่ได้ตรัสถึงการ เรียนรู้ แต่ท่านตรัสถึงโอกาสเรื่องการศึกษา ทุกคนมีโอกาสที่จะเข้ามาเรียนใน จุฬาฯ ย้อนกลับไปที่เป้าประสงค์เดิมของเรา ผมคิดว่าถ้าคนมีโอกาสเติบโต ความเหลื่อมล้ำจะลดลง เรา Maximize Learning System ทั้งหมด และเรื่อง Learning System มีมากกว่าการเรียนการสอนในห้อง ไม่ใช่การบรรยายแบบ เดิม ๆ อีกแล้ว ทุกองคาพยพในมหาวิทยาลัยต้องไปเพื่อขับเคลื่อน Maximize เพื่อให้การเรียนรู้เกิดที่จุดสูงสุด ซึ่งมีหลายแบบ ต้องพยายามผลักดันให้เกิดการ เติบโต ซึ่งกลุ่มใหญ่ของเราคือนิสิตนักศึกษา เราต้องเน้นที่กลุ่มนี้ก่อน อนาคต อาจจะมีกลุ่มอื่น ๆ เข้ามาเรื่อย ๆ การเรียนรู้ตลอดชีวิตเองก็ต้องเสริมเข้าไปในนิสิตปัจจุบันด้วย

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทุกองคาพยพในมหาวิทยาลัยคือการขับเคลื่อนการเรียนรู้

วันนี้ระบบการศึกษาเปลี่ยนไปมาก ในมหาวิทยาลัยมีหลายองคาพยพ ที่ผ่านมาเราเน้นให้งานวิจัยทุกงานต้องตีพิมพ์และสร้างคุณค่าให้แก่สังคม แต่เราลืมไปว่างานวิจัยเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ งานนวัตกรรมที่ผ่านมา เราจะเน้นว่าต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สังคมและประเทศ แต่เป้าหมายสำหรับ ความเป็นมหาวิทยาลัย การสร้างนวัตกรรมคือเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้เพื่อ ให้มีโอกาสในการเติบโต และเมื่อเติบโต โอกาสในความเหลื่อมล้ำทางสังคมก็ จะลดลงไป คนที่มีโอกาสในการเติบโตเขาจะไม่ทำอะไรที่นอกลู่นอกทาง เขา จะทำในสิ่งที่ถูกที่ควร ถ้าเขาเห็นโอกาสเขาจะเดินไปในทิศทางนั้น

สำหรับกิจกรรมเดิมที่เรามองว่าเป็นการช่วยเหลือสังคม แต่ผมมองว่า การช่วยเหลือสังคมเป็นเพียงเป้าหมายอย่างหนึ่ง เป้าหมายใหญ่คือการที่นิสิต ได้เรียนรู้และได้สัมผัสกับสังคม ได้รู้ว่าเมื่อเขาเรียนจบไปสังคมจะมีบทบาท อย่างไรกับตัวเขา โอกาสในสังคมมีอย่างไรบ้าง ทุกองคาพยพในมหาวิทยาลัย คือการขับเคลื่อนการเรียนรู้ เราจึง Maximize Learning System ให้ทุกอย่าง มุ่งสู่การสร้างการเรียนรู้ โดยให้เขาค้นหาโอกาสในการเติบโตของเขา หลักสูตร เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และต้องยืดหยุ่นพอ ต้องไม่มองว่า วิชาใดวิชาหนึ่งคือวิชาที่สำคัญที่สุด

อาจารย์ต้องรู้ลึกที่สุด

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เรื่อง Learning เปลี่ยนไปมาก Landscape ของการศึกษาเปลี่ยนมาตลอด แต่ที่ผ่านมาเราจะค่อย ๆ เห็นมาเรื่อย ๆ เช่น Online Learning, เรื่องการเกิด MOVE การเกิดแพล็ตฟอร์มต่าง ๆ พวกนี้ ค่อย ๆ เข้ามาทำให้ศูนย์กลางการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยไกลออกไป แต่ Business Model ยังไม่เปลี่ยน มีคนรู้และคนที่ไม่รู้ เขาต้องไปเรียนตาม มหาวิทยาลัยหรือบนแพล็ตฟอร์มต่าง ๆ ถึงแม้ปัจจุบันจะมี AI เข้ามา แต่ด้วย บทบาทของความเป็นมหาวิทยาลัยต้อง Maximize Learning System เช่น กัน มหาวิทยาลัยอาจไม่ใช่ศูนย์กลางการเรียนรู้เพียงศูนย์เดียว เมื่อ AI เข้ามา ทำให้ Disrupt Business Model นี้เกือบทั้งหมด การเข้าถึงแหล่งข้อมูลสามารถ ทำได้ง่ายมากขึ้น วันนี้ทำให้น้อง ๆ อาจรู้มากกว่าเราด้วยซ้ำ ทำให้ Disrupt Business Model เดิมค่อนข้างเร็วมาก ผมคิดว่าอาจารย์ต้องทำตัวให้รู้ มากกว่านิสิตให้ได้ โดยใช้เครื่องมือที่มีทำวิจัย Maximize งานวิจัย และ Outstanding ให้ได้ ถึงแม้จะขึ้นหิ้งก็ไม่เป็นไร แต่อาจารย์ต้องรู้ลึกที่สุดให้ได้ ซ่ึงเป็นบทบาทของแต่ละคนที่แตกต่างกันไป ปัจจุบันโลกเปล่ียนไปเร็ว เรา ไม่สามารถใช้มาตรฐานเดียวกันวัดได้อีกแล้ว เช่น การตีพิมพ์ผลงานในวารสาร ซึ่ง Maximize ในสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้แน่นอน เพราะต้องการ ความรู้เชิงลึก แต่ในสายสังคมเป็นไปไม่ได้ เพราะคนละ Concept เขาจะต้อง Maximize ในเชิง Impact ต่อสังคม การสร้างผลกระทบ ให้แก่สังคม หาคุณค่าที่ซ่อนอยู่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องใช้เวลา

ช่วงที่รับตำแหน่งคณบดีของคณะวิศวฯ เราได้ Maximize ไปหลายด้านมาก

1. เรื่องหลักสูตรที่เราพยายามปรับปรุงให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ให้มีความเป็น Personalize มากข้ึน ให้ตอบสนองต่อการเติบโตของนิสิตมากที่สุด เป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งเราอาจจะทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับ ที่ผ่านมา เช่น ในอดีตเราจะฟังแต่อุตสาหกรรม เมื่อ เขาต้องการอะไรใหม่ ๆ เราก็เพิ่มรายวิชาเข้าไป สอนนิสิต ไปเรื่อย ๆ จนหลักสูตรบวมมาก นิสิตบางคนเรียนไป ไม่เคยได้ใช้วิชาเหล่านั้นเลย เป็นสิ่งที่สะท้อนความจริงว่า เราฟังความข้างเดียว จนลืมฟังคนที่ต้องไปใช้ประโยชน์ ตรงนี้จริง ๆ นั่นคือ นิสิตนักศึกษาของเรา

วันนี้เราได้ทำตรงข้าม นิสิตเขามีความคิดเป็นของ ตัวเอง และเราไม่สามารถตอบสนองความต้องการของ อุตสาหกรรมทั้งหมดได้ อุตสาหกรรมในบ้านเราน้ัน มีมาก เพราะความเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายมากขึ้น วันนี้เราจึงถอยกลับมาที่พื้นฐาน เพื่อให้ได้พื้นฐานที่ดีที่สุด และเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ด้วยตัวเองให้มากที่สุด ด้วยการลดหน่วยกิตลง และถือเป็นคณะวิศวฯ แห่งแรก ของประเทศไทยที่ลดหน่วยกิตลง แต่จะเน้นพื้นฐานให้ นิสิตมีความรู้ที่กว้างมากขึ้น พร้อมออกไปทำงานให้มาก ขึ้น หลังจากนี้ให้เขามีโอกาสเลือกเรียนในสาขาอื่น ๆ ที่ เขาชอบ และดีไซน์ตัวเองได้ การเติบโตจะมี 2 อย่าง คือ 1. เติบโตตามทิศทางของกระแสโลก ถ้าเราอยู่ใน กระแสโลกเราเติบโตเพราะเรามีความรู้ที่ตอบกระแสโลก 2. เติบโตด้วยตัวเอง เราสามารถตอบตัวเองได้ในสิ่งท อยากรู้ ผมคิดว่านั่นคือสิ่งที่เติบโต

2. เรื่องนวัตกรรมและงานวิจัย คือ พื้นฐานของการ เรียนรู้ ที่คณะอาจจะมีเป้าหมายในเรื่องของนวัตกรรม เรื่องของ Startup หวังว่าเขาจะเติบโตและ ตัวอาจารย์ก็ต้องเติบโตเช่นกัน แต่การเติบโตในรูปแบบของ Startup จะค่อนข้างเหนื่อย เพราะบริษัท Startup เขามีกระบวนการในการหางบประมาณเพื่อส่งเสริม ตัวเอง โดยที่ไม่เป็นภาระแก่ระบบงบประมาณปัจจุบัน และมีศักยภาพค่อนข้างสูง สิ่งนี้เรา Maximize ด้วยการนำนิสิตเข้าไปทำงาน ฝึกงาน และอีกเรื่องที่เราปรับ ไปมากคือหลักสูตร Sandbox ของภาควิชาวิศวกรรม คอมพิวเตอร์ เป็นโอกาสดีที่ได้ร่วมโครงการ Sandbox ของกระทรวง อว. สำหรับคณะวิศวฯ ถือว่า Maximize มาก ๆ ในเชิงดีมานด์ของผู้เรียน ซึ่งเราได้ปรับหลักสูตร ทั้งหมด

สำหรับเรื่อง Lifelong Learning การผลักดันใน เรื่องของ Maximize นั้นยากมาก ๆ เพราะต้องการ ทรัพยากรและต้องการเปลี่ยน Mindset ของคนที่ เกี่ยวข้อง เป็นการเรียนนอกระบบดีกรี เพราะการเติบโต ช่วงเวลาจำกัด และนิสิตที่เรียนกับเรา 4 ปี เพื่อค้นหาการเติบโตของตัวเอง เมื่อเขาพบแล้วต้องดูว่าเขาจะ เติบโตไปได้อย่างไร และตัวแปรของการเติบโตคือ Lifelong ชีวิตทั้งชีวิต ตั้งแต่วิชาการ วิชาคน วิชาชีพ และ ทำอย่างไรให้เขาเติบโตในวิชาชีพหรือวิชาที่เขาเรียนได้ ซึ่งจะต่อเนื่องกันตั้งแต่วิชาการ วิชาคน วิชาชีพ และ อาชีพของเขา การเติบโตคือชีวิตเขาทั้งชีวิตจนกระทั่ง เขาเกษียณ เมื่อพูดถึงคำว่า God ของคณะวิศวฯ เดิมที จะเน้นเพียงวิชาการ วันนี้มีวิชาคน วิชาชีพ อาชีพ จนพ้น จากอาชีพนั้นไป อาจจะเป็นวิชาชีวิต

Maximize Learning System คือแนวคิดที่จะ ต้องให้คนที่เกี่ยวข้องกับเราได้รับการเรียนรู้ที่ดีที่สุด เพื่อให้เขาได้เติบโตต่อไปในอนาคต


ที่มา: อินทาเนีย ฉบับที่ 1 ปี พ.ศ. 2567 คอลัมน์ สัมภาษณ์พิเศษ โดย กองบรรณาธิการ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save