เมกะโปรเจกต์ภาครัฐ วิศวกรไทยได้หรือเสีย

เมกะโปรเจกต์ภาครัฐ วิศวกรไทยได้หรือเสีย


สภาวิศวกร (COE) จัดงานเสวนา “โครงการเมกะโปรเจกต์ภาครัฐ วิศวกรไทยได้หรือเสีย” รวมทั้งการปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “โครงการเมกะโปรเจกต์ภาครัฐในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” โดย ดร.วีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้านการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)

การเสวนาในครั้งนี้ สภาวิศวกร เสนอแนะให้ดึง “วิศวกร-ช่างเทคนิคไทย” ลุยเมกะโปรเจกต์แบบมีส่วนร่วม พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านวิศวกรรม อาทิ ขั้นตอนการออกแบบ การก่อสร้าง การผลิต ฯลฯ หนุนใช้วัสดุชิ้นส่วนแบรนด์ไทยพัฒนาโครงการยกระดับศักยภาพวิศวกรไทยคิดค้นนวัตกรรมใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยี-นำเข้าสิ่งก่อสร้าง

ภาพตัวอย่างโครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1
ภาพตัวอย่างโครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1

ดร.ประเสริฐ ตปนียางกูร เลขาธิการสภาวิศวกร กล่าวว่า จากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ (Mega Project) ของภาครัฐด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศในระยะเร่งด่วน 8 ปี (พ.ศ. 2558-2565) เป็นจำนวนถึง 44 โครงการ วงเงิน 1.974 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาด้านการขนส่งทางถนน ระบบราง ทางน้ำ และทางอากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการด้านระบบราง อาทิ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 7 เส้นทาง 993 กิโลเมตร ในเส้นทางฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย เส้นทางชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น โครงการความร่วมมือด้านรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน 252 กิโลเมตร และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) 3 เส้นทาง ในสายพัทยา-มาบตาพุด

ภาพตัวอย่าง โครงการความร่วมมือด้านรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (Shinkansen ประเทศญี่ปุ่น) (1)
ภาพตัวอย่างโครงการความร่วมมือด้านรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (Shinkansen ประเทศญี่ปุ่น) (1)

สายบางปะอิน-นครราชสีมา และสายบางใหญ่-กาญจนบุรี โครงการลงทุนขนาดยักษ์ รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน การขยายสนามบินสุวรรณภูมิอู่ตะเภา โครงการลงทุนขนาดยักษ์ในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ EEC โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ฯลฯ

ภาพตัวอย่างโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่
ภาพตัวอย่างโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่

แต่ทั้งนี้ ที่ผ่านมากลับพบข้อจำกัดในการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านวิศวกรรม ทั้งในขั้นตอนการออกแบบ การก่อสร้าง และการผลิตแก่วิศวกรไทย อันเป็นผลให้ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและนำเข้าสิ่งก่อสร้างจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

สภาวิศวกร หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหน่วยงานต่าง ๆ จะให้การส่งเสริมวิศวกรและช่างเทคนิคชาวไทยเข้ามามีส่วนร่วม รวมทั้งสนับสนุนการใช้วัสดุชิ้นส่วนที่บริษัทไทยสามารถผลิตได้เข้ามาใช้ในโครงการลงทุนขนาดใหญ่เหล่านี้ ตลอดจนสนับสนุนให้บริษัทไทยคิดค้นนวัตกรรมควบคู่กับการศึกษาวิจัยและพัฒนา เพื่อลดการพึ่งพาสินค้าจากต่างประเทศ


ที่มา: อินทาเนีย ฉบับที่ 4 ปี พ.ศ. 2562 คอลัมน์ เก็บมาฝาก โดย กองบรรณาธิการ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save