มุมมองว่าด้วยกรรม

มุมมองว่าด้วยกรรม (Notes on Deed)


คำไทยที่มีรูปพยัญชนะล้วนพยางค์เดียวเสียงสามัญ แต่มีความสำคัญสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชีวิตเรามากที่สุด แถมคำในภาษาอังกฤษยังมีอักษรสมมาตร ซึ่งเป็นความบังเอิญที่สุดสวยงดงาม แสนสง่า เรียบร้อย แต่ล้ำลึก คือคำว่า กรรม (Deed) มีความหมายว่า การ กิจ งาน การกระทำ (Action) กิจกรรม (Activity) พฤติกรรม (Act) ที่เริ่มต้นด้วยเจตนา (Purpose) วัตถุประสงค์ (Objective) ความมุ่งมั่น (Intent) หรือความตั้งใจ (Will) ซึ่งล้วนสำคัญทั้งสิ้น

กรรมจัดแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ในเชิง นิยาม เหตุการณ์ การเปลี่ยนแปลง (Change Event) ได้แก่ มโนกรรม (Think) วจีกรรม (Talk) กายกรรม (Task) หรือเรียกกันทั่วไปว่า คิด พูด และทำ หากพิจารณาในเชิงนิมมาน สถานการณ์ ความเปลี่ยนแปลง (Change Element) กรรมก็จัดแบ่งออกได้ 3 แบบ ได้แก่ จินตภาพ ตรรกภาพ (Logical) คือ นึกคิด คิดเห็นจินตนาการ สำนึกรู้จัก เข้าใจ วรรณภาพ (Rhetorical) คือ สื่อภาษาบรรยายพรรณนา ทั้งภาษาพูดฟังและภาษาเขียนอ่าน และกายภาพ (Physical) คือ เคลื่อน ขยับปรับ เปลี่ยน ก่อ ทลาย เริ่ม เลิก เพิ่ม ลด รับ ละทั้งวัตถุมวลสารและพลังงาน สรุปคือ นามรูป กับการปรุงแต่งนั่นเอง

กรรมมีขนาดต่างกันไป กรรมใหญ่ประกอบด้วยหลากหลายกรรมย่อยที่เกิดขึ้นต่อกันไปตามลำดับเวลา หรือต่างเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันโดยที่หลากหลายกรรมย่อยที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง ไม่ว่าต่อกันหรือควบกัน อาจถูกจัดรวมกันเป็นกรรมใหญ่ขึ้นมาแทน กรรมจึงมีลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างกัน ทั้งเชิงซ้ำซ้อน (Repetitive) และเชิงซ้อน (Recursive)ละเอียดลึกลงไป (Granularity) ตามมิติกาลเทศะ (Space and Time) จนสุดระดับความสามารถแยกแยะที่เรียกว่า ความต่อเนื่อง (Continuity) อันเป็นรากฐานของการครองสติ โดยที่ช่วงเวลา คาบเวลา (Period of Time) คือระยะห่างระหว่างจุดเวลา (Point in Time) นับจากจุดเวลาตั้งต้นจนถึงจุดเวลาสิ้นสุดของแต่ละกรรมหากช่วงเวลาสั้นมากเกินกว่าความสนใจ คาบเวลาแคบมากจนบอกระยะความแตกต่างไม่ได้ ก็คล้ายลมหายใจ (Breath) หรือขณะจิต (Instant) หากกรรมมีขนาดใหญ่มากขึ้น (Scale) ก็ยากแก่การแยกแยะที่เรียกว่า ความยุ่งยากซับซ้อน (Complexity) โดยเฉพาะเมื่อเพิ่มมิติของคน ซึ่งเต็มไปด้วยความผสมปนเปก็มักจะจัดระเบียบระบบตั้งชื่อเรียกให้ชัดเจนขึ้นเป็นระดับมหกรรม (Grand) เช่นโครงงาน โครงการ โรงงาน หน่วยงาน องค์การ องค์กร รากฐานของการบริหาร (Management) จึงเป็นเรื่องการบริหารกรรม ซึ่งแผ่ขยายเจริญงอกงามเติบโตมาจาก การบริหารจิต การบริหารใจ

แผนภาพกรรม (Deed Diagram)
แผนภาพกรรม (Deed Diagram)

กรรมปกติมีมโนกรรมนำ แล้วตามด้วยวจีกรรมหรือกายกรรม มโนกรรมจึงสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นแหล่งกำเนิดก่อกำลังกำหนดความคิดตั้งต้น คติ ทิฏฐิดำ ริ และสำนึก หากมโนกรรมตามด้วยมโนกรรมซ้ำอีก ก็อาจนับรวมเป็นมโนกรรมเดียวกันที่มีขนาดใหญ่ขึ้นยาวขึ้นนานขึ้น กรรมจึงมีตั้งแต่แบบเรียบง่าย (Simple)ไปจนถึงแบบสลับซับซ้อนแยบยล (Complex) ซึ่งเป็นความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งที่มีนัยลึกซึ้งสำคัญในการเรียนรู้ทำความเข้าใจ (Education) ตั้งแต่ขั้นกำหนดสมมติฐาน (Hypothesis) ทั้งข้อสมมติยัน (Thesis) และข้อสมมติแย้ง (Antithesis) จำแนกแจกแจงวิเคราะห์ (Analysis) รวบรวมประกอบสังเคราะห์ (Synthesis) อธิบายขยายความ (Exegesis) รวมทั้งคาดคะเนทำนายทายทัก (Prognosis) ไปจนถึงขั้นสรุปย่อประมวล (Synopsis)

ในการพิจารณาเรื่องกรรม เราสามารถประยุกต์ใช้แผนภาพความสัมพันธ์ (Relationship Diagram) ซึ่งเป็นรูปแบบการแสดง (Representation) ด้วยกราฟ (Graph) หรือโครงข่าย (Network) เพื่อระบุชี้จำแนกลักษณะการเชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องกันของสิ่งที่สนใจ (Contemplation) เรียกว่า ปม (Node) ด้วยสิ่งที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่สนใจ (Connection) เรียกว่า เส้นสาย เส้นเชื่อมเส้นต่อ หรือเส้น (Link) ซึ่งวาดเป็นเส้นลูกศรแบบมีทิศทางเดียว (Direction)ลากออกจากปมหนึ่งไปยังอีกปมหนึ่ง เมื่อให้ปมแทนกรรม และเส้นแทนความสัมพันธ์เชิงอิทธิพล (Influence) ระหว่างกรรม จากกรรมเก่าไปยังกรรมใหม่ตามแกนเวลา เรียกว่า แผนภาพกรรม (Deed Diagram) หรือรูปภาพแสดงหลักคำสอนที่รู้จักกันในนามของ กฎแห่งกรรม (Law of Karma)

แผนภาพกรรมเป็นแบบจำลองทางความคิด (Conceptual Model) ปมแทนกรรม เรียกได้อีกอย่างว่า เหตุการณ์ (Event) แสดงด้วยรูปประโยค (Sentence) ซึ่งประกอบด้วย ประธาน (Subject) กริยา (Verb) และกรรม (Object) หรือเรียกขยายว่ากรรมกริยา คือ บุคคลหรือสิ่งที่รับผลจากกริยา ดังนั้น เหตุการณ์จึงแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลา หลายเหตุการณ์อาจเกิดอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน (Simultaneous) ในช่วงเวลาต่อกัน (Sequential) หรือในช่วงเวลาต่างกัน (Separate) องค์ประกอบเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทั้งสิ้น เหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วในอดีต ภายใต้กลไกของระบบนิเวศ (Ecosystem) กับสิ่งแวดล้อม (Environment) รวมถึงภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ดิน น้ำ ลม ไฟเรียกว่า ประสบการณ์ (Experience) หากการศึกษาใคร่ครวญไตร่ตรองด้วยสติปัญญา (Edification) สามารถเปรียบเทียบระหว่างผลที่เกิดจริง (Execution) กับ ผลที่คาดหวัง (Expectation) ก็ย่อมช่วยขัดเกลาปัญญา พัฒนาความรู้จักรู้จริงรู้พอได้มากขึ้นเจริญขึ้นกว่าการเรียนรู้ปกติทั่วไป

เส้นแทนความสัมพันธ์เชิงอิทธิพล เรียกว่า สถานการณ์ (Expression) แสดงสถานภาพ (State) ซึ่งมีหลายชื่อหลายแบบเช่น สัมพันธภาพเหตุและผล สัมพันธภาพพึ่งพาอาศัย สัมพันธภาพประมวลผล กรณีสัมพันธภาพเหตุและผล (Cause-Effect Relation) มี 2 องค์ประกอบ คือ เหตุ (Cause) ได้แก่ ต้นเหตุมูลเหตุ สาเหตุ กับผล (Effect) ได้แก่ ผลลัพธ์ ผลกระทบปลายเหตุ (Consequence) โดยอาจให้ผลปรากฏในเวลาช้าเร็วต่างกันไป ได้แก่ ในเวลาทันทีทีเดียว ตำตาต่อหน้าต่อตา ทิฏฐธรรม (Immediate) ในเวลาต่อมาติดตามมา ทีหน้าทีหลัง อุปปัชชะ (Subsequent) หรือในเวลาต่อไปต่อนี้ไปทีนี้ ลึกลับลี้ลับ ลับหู ลับตา อปราปริยะ (Indefinite) ซึ่งอาจช่วยให้เข้าใจชีวิตได้ดีขึ้นโดยเฉพาะเมื่อเหตุผล (Reason) อาจไม่ใช่เหตุและผล แต่เป็นเพียงคำอธิบายบางส่วน

อนึ่ง เหตุผลมักควบคู่ขนาบขนานเพียบพร้อม (Coexistence) ตามวาระ (Occasion) จังหวะ (Cadence) และโอกาส (Chance) ด้วยปัจจัยรวบรัด บริบูรณ์ เหตุผลท่ามกลาง เหตุผลตลอดทางปัจจยการ สารพัดเงื่อนไข (Condition) ได้แก่ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ข้อจำกัด (Constraint) กับข้อกำเนิด ข้อบังเอิญ ข้อจำแลง (Contingent) ทั้งขาดเกินจากที่คิด และคลาดเคลื่อนจากที่คาดเนื่องจากปัจจัยเร่งรัด บริลักษณ์ (Capability) ในความพยายามที่ส่งผลต่อความแตกต่าง ได้แก่ ปัจจัยรวบรวม บริบท (Context) กับปัจจัยรายรอบ บริภาค (Circumstance) โดยนิยาม เมื่อเริ่มต้นที่เหตุนำไปสู่ผล จากนั้น ผลจะกลายเป็นเหตุซึ่งนำไปสู่ผลอื่นต่อไป คล้ายชุดลูกโซ่ (Chain) ต่อเนื่องกันไป แต่ละลูกโซ่แปรเปลี่ยนแตกต่างกันไป และยังอาจไปเชื่อมเกี่ยวกับชุดลูกโซ่อื่นอีกหลายชุดด้วย ความยากยิ่งอยู่ที่เส้นเชื่อมที่ไม่รู้ไม่เห็นไม่ปรากฏ

ดังนั้น การระบุเหตุผลให้ครอบคลุมครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งหมดจึงไม่ใช่เรื่องง่าย แม้ว่าทำด้วยความรอบรู้รอบคอบอย่างเต็มที่ก็ตาม หัวใจคือจะต้องแยกแยะแจกแจงเหตุผลหลักสำคัญ (Significant) ที่เกี่ยวพันตรงกรณี (Relevant) ให้ได้ ทั้งเชิงความจำเป็น (Necessary) เพียงพอ (Sufficient) และเหมาะสม(Appropriate) นอกจากนั้น ยังต้องสามารถวิเคราะห์จับประเด็นได้เฉียบคมชัดเจนกระชับแนบแน่น ตรงจุดถึงแก่น ครอบคลุมรอบคอบรัดกุม (Critical Analysis) ตามหลักโยนิโสมนสิการ(Yonisomanasikara) ได้แก่ ชี้แจ้ง แจกแจง ประพจน์ประจักษ์(Articulate) ชี้แจง ส่องขยาย ประทักษ์ประเทือง (Elucidate) ชี้แสดง แจ่มกระจ่าง ประกบประกอบ (Illustrate) จัดแจงคล้องจอง ประเจิดประจวบ (Orientate) และจัดแจ้ง ตกแต่งประดิษฐ์ประยุกต์ (Update)

กรณีสัมพันธภาพพึ่งพาอาศัย (Dependency Relation)เหมือนกับสัมพันธภาพเหตุและผล แต่ต่างมุมมอง เริ่มต้นกลับทางกัน คือพิจารณาที่ผลว่าเกิดขึ้นหรือพึ่งพาอาศัยเหตุประการใดรวมถึงสัมพันธภาพแอบแฝง เช่น พันธุกรรม (Heredity) จึงจำกัดขอบเขตเพียงสิ่งที่ปรากฏสนใจ

สำหรับกรณีสัมพันธภาพประมวลผล (Input-Process-Output : IPO Relation) มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ หนึ่ง สิ่งที่ใส่เข้า (Input) สิ่งที่นำเข้า (Income) วัตถุดิบ ตัวกำหนด สองกระบวนการ การกระทำตามขั้นตอน (Process) รวมถึงสิ่งที่สร้างขึ้นภายในหรือสิ่งที่ปรุงแต่งภายใน (Within-Process) และสามสิ่งที่เอาออก (Output) สิ่งที่ส่งออก (Outcome) ผลผลิต ผลลัพธ์ผลพวง ผลพลอยได้ ผลข้างเคียง ผลที่ตามมา (Result) หรือในลักษณะคล้ายคลึงกันกับกรณีสัมพันธภาพส่งลำลียง (Logistics Relation) ได้แก่ ส่งเข้านำเข้า (Import) ส่งต่อนำต่อ (Transport)ส่งเสริมหนุนนำ (Support) และส่งออกนำออก (Export) ทั้งเชิงเส้น (Line) และเชิงโครงข่าย (Network) เช่น ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) โครงข่ายคุณค่า (Value Network) ไม่ว่าแบบการสื่อสาร (Communication) หรือการกระจาย (Distribution) ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานในการคิดออกแบบวางระบบ (System Design) ทั้งนี้ พึงคำนึงถึงหลักการเบื้องต้นเชิงคุณภาพอยู่เสมอว่า ขยะเข้า-ขยะภายใน-ขยะออก (Garbage-In, Garbage-Within, Garbage-Out: GIGWGO)

สถานการณ์ สถานภาพ คือ ลักษณะ (Characteristic) ฐานะ (Position) สภาวะ (Situation) คุณสมบัติ (Property) ที่เกี่ยวข้อง ณ จุดเวลาขณะใดขณะหนึ่ง ดังนั้น เหตุการณ์แสดงสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องตามเวลา เปรียบเสมือนภาพเคลื่อนไหว ส่วนสถานการณ์แสดงเพียงส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจนมาถึงจุดเวลาหนึ่ง เปรียบเสมือนภาพนิ่ง กล่าวโดยสรุป เหตุการณ์กับสถานการณ์เป็นเรื่องเดียวกัน เหตุการณ์กับสถานการณ์ต่างเป็นทวิภาค (Duality) ซึ่งกันแลกันของปริณาม เปลี่ยนแปลง (Change) เหตุการณ์รวมลำดับการเปลี่ยนแปลงทุกสถานการณ์ในช่วงเวลา ถ้าเหตุการณ์ครบถ้วนสมบูรณ์ชัดเจนเพียงพอ ก็แสดงเป็นเหตุการณ์เดียวได้ โดยไม่ต้องแยกเป็นเหตุการณ์ย่อยร่วมกับสถานการณ์ระหว่างกลาง ในทางตรงข้าม ถ้าเหตุการณ์เดียวไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ชัดเจนเพียงพอก็แสดงแยกเป็นหลายเหตุการณ์ย่อยร่วมกับสถานการณ์ระหว่างกลางของแต่ละเหตุการณ์ ในทำนองเดียวกัน เราอาจแยกเหตุการณ์เดียวเป็นหลายเหตุการณ์ย่อยในช่วงเวลาเดียวกันระหว่างคู่สถานการณ์ หรือกลับกันก็ได้ หลักการนี้ใช้เป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการวิเคราะห์เชิงปัจจัย ด้วยการขยับขยายโยกย้ายตัดตอนต่อเติมตกแต่งปรับปรุง (Scaling) หลายเหตุหลายผล ระหว่างเอกภาค (Simplex) กับพหุภาค (Multiplex) ทั้งมิติกาลเทศะ ให้เหมาะสมพอดี (Right) ได้แก่ การยุบย่อรวมส่วน (Aggregation) และการแยกย่อยแบ่งส่วน (Disaggregation)

สถานภาพในความสัมพันธ์ เรียกกันทั่วไปว่า ปัจจัย (Factor) หรือชื่ออื่น เช่น ตัวแปร (Variable) ตัวประกอบ (Parameter) สัญลักษณ์ (Symbol) เหตุกับผลต่างเป็นทวิภาค (Duality) ของปัจจัย เหตุกับผลจึงเป็นเรื่องเดียวกัน เมื่อมองจากเหตุการณ์ ปัจจัยขาเข้าก็คือสิ่งที่ใส่เข้านำเข้า หรือเหตุ ในขณะที่ปัจจัยขาออกก็คือสิ่งที่เอาออกส่งออก หรือผล ปัจจัยเป็นไปตามหลักไตรลักษณ์ (Tri-Characteristic) ไม่แน่นอน (Uncertain) แปรเปลี่ยนไม่คงที่ (Unstable) และไม่อาจควบคุมได้ทุกอย่าง (Uncontrollable) อีกทั้งยังมักไม่อาจระบุปัจจัยได้ครบถ้วนอีก ยิ่งประเภทปัจจัยขาวนเวียนภายใน (Within) ทั้งกึ่งขาเข้าและกึ่งขาออก นอกจากนั้น ทั้งเหตุการณ์และสถานการณ์เป็นไปตามหลักไตรลักษณ์ด้วยเช่นกัน คุณลักษณะและสัมพันธภาพเหล่านี้ ไม่ว่าทางมิติเวลาหรือความลึกซึ้งของปัจจัย ทั้งภายในปัจจัยเองและภายนอกปัจจัย จึงเป็นหลักพื้นฐานของการกำกับดูแลปกครอง (Governance) เช่น การบริหารจัดการทั่วไป (Management) ปริวรรตกรรม การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) การสั่งการบัญชาการ (Command) การควบคุม (Control) การสื่อสารสื่อความ (Communication) และการช่วยเหลือร่วมมือ (Collaboration)

กรรมทวิภาค (Deed Duality)
กรรมทวิภาค (Deed Duality)

ตัวอย่างหนึ่งที่พบได้เสมอในห้องเรียน คือการวัดผลการเรียนหรือความเก่งของเด็กนักเรียนด้วยการสอบ (Examination) มีข้อกำหนดในหลายปัจจัย เช่น ข้อสอบวันเวลาสอบ บรรยากาศในห้องสอบ สุขภาพผู้สอบ ประโยชน์ของการสอบและนัยของผลสอบ ภายในปัจจัยยังถูกจำกัดด้วยเพดานคะแนนเต็ม แม้ว่าเด็กจะเก่งเกินแต่ข้อสอบนั้นก็วัดอะไรไม่ได้แล้ว หรือตรงข้าม ก็ถูกตัดตอนด้วยพื้นคะแนนศูนย์ซึ่งข้อสอบไม่สามารถวัดความเก่งได้เลย หากมองภายนอกปัจจัย การสอบไม่ได้คำนึงถึงอิทธิพลของความเก่งของเด็กต่อกันและกันระหว่างเพื่อนเรียนร่วมห้อง เพราะอาจมีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ของคนอื่น ทำให้มีผลสอบดีขึ้น คะแนนเฉลี่ยของห้องก็ย่อมมีโอกาสดีกว่าด้วย หรือในทางตรงข้าม

อีกตัวอย่างหนึ่งเป็นเรื่องความเป็นผู้นำ (Leadership) เรามักให้ความสำคัญแก่ตัวผู้นำขององค์กรโดยสนใจที่ตำแหน่งสูงสุด ซึ่งเป็นมุมมองสำหรับองค์กรแบบบนลงล่าง (Top-Down) จึงมุ่งเน้นประเมินคุณสมบัติตัวบุคคลบางส่วน ประกอบกับผลงานขององค์กรอีกบางส่วน การเชื่อมโยงคุณสมบัติระดับบุคคลข้ามไปถึงผลงานรวมขององค์กรจึงเป็นจุดอ่อนข้อบกพร่องตั้งแต่เริ่มต้น ยิ่งกว่านั้น ข้อจำกัดภายในปัจจัยขึ้นอยู่กับชุดคุณลักษณะความเป็นผู้นำที่นำมาใช้ (Profile) รวมทั้งกระบวนการประเมิน เพราะว่าประสิทธิผลสัมฤทธิผลของคุณลักษณะเหล่านั้นอยู่ที่พฤติกรรมการประพฤติการปฏิบัติ ส่วนภายนอกปัจจัยนั้นก็ไม่ได้คำนึงถึงองค์ประกอบของความเป็นผู้นำขององค์กร (Organizational Leadership) เช่น ผู้นำ ผู้ตาม ผู้แวดล้อม ซึ่งไม่ได้แสดงถึงผลของอิทธิพลของผู้นำสูงสุดที่มีต่อผู้นำในระดับรองลงมา หรือแม้แต่บุคลากรโดยรวมทั้งหมดขององค์กร และที่สำคัญ เนื่องจากมุมมองแบบบนลงล่าง จึงมักจะมองข้ามการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากความสามารถและความเป็นผู้นำที่ดีของผู้นำทุกระดับชั้นในองค์กร กล่าวคือการผสมผสานร่วมด้วยมุมมองแบบล่างขึ้นบน (Bottom-Up) และแบบรอบตัวรวมตัวถ้วนทั่ว (Around) เสมือนหนึ่งเดียว (As One) ในทุกแนว ไม่ว่าแนวตั้ง แนวตัดหรือแนวต่อ

หลักอิทัปปัจจยตา (Causality Principle) ถือว่าเป็นรากฐาน ทั้งเชิงปรัชญาแนวคิด(Philosophy) และกลยุทธ์แนวทาง (Strategy)เปรียบเสมือนรากแก้ว ซึ่งเน้นการพินิจพิเคราะห์ศึกษารู้จักทำความเข้าใจตาปัจจัยด้วยสติปัญญาอย่างสุขุมละเอียดรอบคอบระมัดระวังทำให้เกิดเป็นแนวทางวิธีการปฏิบัติ เรียกว่าการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) ในหลายสาขาวิชาการ เช่น การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Analysis) การวิเคราะห์เชิงแนวทางสู่ทางออก (Means-End Analysis) การวิเคราะห์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Analysis) การสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support)

ทั้งนี้ แผนภาพอาจแสดงเป็นแบบจำลองทั่วไป (Generalized Model) โดยลากเส้นสายเชื่อมต่อโยงให้ครบปมทุกคู่ (Combination)และใช้น้ำหนัก (Weight) กำกับแต่ละเส้นแต่ละมิติปัจจัย เช่น ปริมาณและคุณภาพของความสัมพันธ์นั้น ถ้าน้ำหนักเป็นศูนย์ก็เหมือนกับไม่มีเส้นเชื่อมนั่นเอง รวมถึงรองรับแบบจำลองได้ทั้งเชิงกำหนด (Deterministic) และเชิงเป็นไปได้ (Probabilistic) แต่ไม่อาจขจัดปัญหาความครบถ้วนสมบูรณ์ได้หมด

สรุปสารัตถะคือ กรรมสัมพันธ์กัน กรรมเป็นปัจจัย กรรมเป็นเหตุ กรรมเป็นผล กรรมอาศัยกรรม กรรมก่อกรรม กรรมรับผลจากกรรมเก่า โดยระดับอิทธิพลขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งหลาย แบ่งอย่างย่อเป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติกาลกาละ (Time) เช่น ทันทีทันใด-ถัดไปต่อไป ระยะเวลาสั้น-ยาว อัตราเร็ว-ช้า กับมิติเทศเทศะ (Space)เช่น บุคคล สถานที่ ขอบเขตแคบ-กว้าง ขนาดเล็ก-ใหญ่ ปริมาณน้อย-มาก คุณภาพสูง-ต่ำ ขั้นเบา-หนัก ทางตรง-อ้อม หรือจัดแบ่งอย่างย่อยเป็นเสขะ ปณิธาน 8 ด้าน ได้แก่ เวลา (Time) สถานที่(Place) กรรมของตน (Act) ชิ้นงาน (Job) บทบาท (Role) ใจความ(Core) ความจริง (Truth) และความเห็น (View)

เนื่องจากเวลาเดินหน้าเสมอ สัมพันธภาพของกรรมจึงดำเนินไปตามแกนเวลาในทิศทางเดียวเท่านั้น จากอดีต (Past) ถึงปัจจุบัน (Present) สู่อนาคต (Future) ไม่มีย้อนกลับหลัง ดังนั้น กรรมในอดีตกระทบกรรมในปัจจุบัน และกระทบต่อไปถึงกรรมในอนาคตอดีตจบแล้ว ทุกอย่างมารวมอยู่ที่ปัจจุบันเท่านั้น ปัจจุบันจึงเป็นหัวใจของอนาคต คือ หลักปัจจุปปันธรรม (Paccuppan-dhamma) โดยเฉพาะกรรมที่เกี่ยวกับการวางแผนเตรียมพร้อม (Preparation) ตามหลักอัปปมาทธรรม (Appamada-dhamma) ความไม่ประมาท (Vigilance) รวมถึงการเลือก (Selection) และการตัดสินใจ (Decision) ซึ่งคำนึงถึงทางเลือก (Choice) อันนำไปสู่กรรมอื่นต่อไป กล่าวคือ การแก้ปัญหาหนึ่งสร้างปัญหาใหม่หรือนำไปสู่ปัญหาอื่นต่อไป ถ้าคิดถูกเข้าใจถูกก็ช่วยลดความวิตกกังวลใจได้

สุภาษิตกล่าวไว้อย่างกระชับงดงามยิ่งแล้ว ที่เรียกว่า กฎแห่งกรรม กล่าวคือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ซึ่งเป็นบทสรุปอย่างย่อจากบริบทหลักคิดเฉพาะเจาะจงว่า ตนเองทำดีตนเองย่อมได้ดีด้วยตนเอง แต่อาจไม่ได้ดีจากคนอื่น ไม่ใช่ต้องได้ดีจากคนอื่นทุกคนเสมอไป หากมองโลกกว้างพอไกลพอ เข้าใจอย่างถูกต้องตรงตามความจริงแล้ว ก็จะไม่มีคำกล่าวเชิงประชดประชันโต้แย้ง เช่น ทำดีได้ดีมีที่ไหนทำชั่วได้ดีมีถมไป และที่สำคัญที่สุดคือ ความคิดตั้งต้นที่ดี (Good Conception) เมื่อรู้จักความดี รู้จริงเข้าใจถึงความดีแล้ว เราคิดดีพูดดีทำดี ใจเราย่อมได้รับผลความดีนั้นในทันทีคือสุขใจ ดีกับใจ ดีต่อใจ ดีในใจ ดีที่ใจ สรุปคือ กรรมสำเร็จที่ใจ (Efficacy) โดยมีสติปัญญา (Intellect) ความรู้ความเข้าใจเป็นแกนกลาง ห่อหุ้มด้วยศรัทธา (Faith) ความเชื่อ (Belief) ความเกรงกลัว (Fear) ผูกพันด้วยความเชื่อใจ (Trust) จนเกิดความเชื่อมั่นวางใจ มั่นใจ (Confidence) ซึ่งเป็นทั้งอุปสรรค (Obstacle) และความท้าทาย (Challenge) ในทางปฏิบัติ สะสมพอกพูนจนถึงระดับค่านิยมคุณค่า (Value) นิสัยความเคยชิน (Habit) ธรรมเนียมประเพณี (Custom) และวัฒนธรรม (Culture) ในสังคม

อารมณ์ ทั้งสุขและทุกข์ ล้วนเกิดขึ้นหรือเป็นผลจากการกระทำของตนเอง คือ ตนเองเป็นคนสร้างหรือปรุงแต่งอารมณ์ความรู้สึกนั้นให้แก่ตนเองทั้งสิ้น คนอื่นทำได้เพียงป้อนสิ่งนำเข้าให้แก่เราสำหรับความกลัวผลร้ายหรือไม่พึงประสงค์จากกรรมนั้น ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้ทำอะไรเลย เพราะว่ากรรมอยู่คู่กับทุกชีวิตตราบใดที่ยังมีชีวิต ก็ต้องทำกรรม ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ กรรมที่เป็นกิจหน้าที่ความรับผิดชอบที่ถูกที่ควรซึ่งต้องทำ ก็จำเป็นต้องมุ่งมั่นทำให้ดี หากไม่ทำก็เป็นการละเลยหน้าที่ (Ignorance) การละเลยไม่ทำกรรมอย่างนี้ (Avoidance) ก็ย่อมมีผลของกรรมเช่นกันส่วนกิจใดที่ไม่ถูกไม่ควร ก็จำเป็นต้องหาทางหลีกเลี่ยงยับยั้งให้ได้ (Abstinence) เช่น ลาออก กรรมคือเปลี่ยนแปลง (Change) อยู่เคียงคู่กับโชค (Chance) จึงเป็นมติกรรมอุบัติกรรม (Choice) ที่ตามมาด้วยวิบากกรรม (Consequence) ไม่ว่าจะเรียกว่า ชะตากรรม เคราะห์กรรม (Destiny) เวรกรรม หรือยถากรรม (Fate)ก็ตาม เมื่อปรากฏว่ามีแบบแผน (Pattern) ที่คล้ายคลึงกัน เหมือนมากกว่าต่าง แต่ต่างเวลากัน กอปรกับความยึดมั่นในกรรมคติคิด พูด ทำ แบบเดิม จึงสังเกตเรียนรู้สะสมถ่ายทอดเป็นภูมิปัญญาความรู้หลักการ (Code) เรียกว่า วงจรหรือ วัฏจักร (Cycle) เช่นกงกรรมกงเกวียน

กฎแห่งกรรมเป็นความจริงของธรรมชาติ เป็นไปปกติธรรมดาตามธรรมชาติโดยธรรมชาติ ดังนั้นกรรมจึงเป็นแกนกลางของหลักธรรมชาติ (Law of Nature) ในการดำเนินชีวิตกิจวัตรประจำวันพึงเริ่มต้นมโนกรรมด้วยพรหมวิหาร (Brahmavihara) สืบสานกิจกรรมตามอิทธิบาท (Iddhipada) สำรวจกิริยา สำรวมจิตใจสำเร็จสติปัญญา และพัฒนากายเจริญจิตตามหลักไตรสิกขา (Trisikkha) โดยอาจสรุปย่อ (Aphorism) ให้กระชับว่า หลักกรรม (Deed Principle) คือ ทำกรรมใดย่อมได้รับผลของกรรมนั้นทำดีได้ดี-ทำชั่วได้ชั่ว หรืออีกนัยหนึ่งว่า หลักธรรม (NaturePrinciple) ตามโอวาทปาติโมกข์ (Ovada Patimokkha) กล่าวคือ ไม่ทำชั่ว-ทำดี-ทำใจให้ผ่องใส เพราะเราไม่อาจรู้ได้แน่ชัดว่าปัจจุบันกรรมจะส่งอิทธิพลแสดงผลภาพต่อใคร ต่อโลก ต่ออะไรบ้าง อย่างไรและเมื่อไรต่อไป

อ้างอิง: มุมมองประเด็นการเปลี่ยนแปลง–ปริณาม และปริวรรตกรรม : นิยามและนิมมานการเปลี่ยนแปลง (Notes on Change Issues– Meaning and Managing of Change) อินทาเนีย (Intania) วารสารชาววิศวฯ จุฬาฯ เมษายน-มิถุนายน 2563 ลำดับที่ 124 ปีที่ 25 ฉบับที่ 2 หน้า 54-56

ที่มา: อินทาเนีย ฉบับที่ 3 ปี พ.ศ. 2563 คอลัมน์ ข้อคิดจากนิสิตเก่า โดย ดร.ปิยะพันธ์ ทยานิธิ วศ.23


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save