มุมมองว่าด้วยใจ (Notes on Mind)

มุมมองว่าด้วยใจ (Notes on Mind)


เมื่อพูดถึงคำว่า ใจ เรามักนึกถึงความรัก ความอ่อนหวาน อารมณ์ความรู้สึกละเอียดอ่อน บอบบาง รวมถึงความต้องการปรารถนาใฝ่ฝันจินตนาการ ซึ่งมักเรียกส่วนนึกคิดนี้ว่า จิตใจหรืออาจนึกถึงอวัยวะในร่างกายที่เรียกว่า หัวใจ ซึ่งเป็นนามรูปคู่แฝดสำคัญที่ต่างทำหน้าที่ตลอดชีวิตจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ใจ หมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่รู้ รู้สึก นึกและคิด ความรู้สึกนึกคิดและหัวใจ โดยให้ความหมายต่อไปว่า หัวใจ หมายถึงอวัยวะที่ฉีดเลือดให้หมุนเวียนเลี้ยงร่างกาย สิ่งที่มีหน้าที่รู้คิดและนึก และส่วนสำคัญแห่งสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยสรุปแล้ว ใจและหัวใจมีความหมายเกือบเหมือนกัน

สุภาษิตไทย เช่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา ก็เน้นย้ำความสำคัญของใจมาตลอดทุกยุคทุกสมัย ซึ่งเป็นไปตามหลัก รู้จักใจเขาใจเรา (Sense of Minds: Theirs and Ours) อันมีสาระสำคัญ ได้แก่ความเข้าใจถึงธรรมชาติของใจคน (Characteristic) การคำนึงถึงความเหมือน (Conformance) กับความต่าง (Difference) ของใจแต่ละคน และการบรรลุถึงดุลยภาพเหมาะสมพอดีของใจ (Balance)

หากขยายนิยามของ ใจ (Mind) ทางความรู้และความรู้สึกนึกคิดให้เชื่อมสัมพันธ์กันชัดเจนขึ้นจะได้ภาพของแบบจำลองใจ (A Mind Model) ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรกหัวใจ (Heart) เป็นรูปธรรม เปรียบเสมือนโครงร่างแผนผังกลไก เป็นความคิดตั้งต้น บทคิดทฤษฎีปริยัติ (Conception) หมายถึงส่วนหัวของใจ หรือส่วนสำคัญส่วนบนส่วนหน้าส่วนต้น แม้ว่าโดยสรีรวิทยาแล้วเป็นบทบาทหน้าที่ของสมอง (Brain) และระบบประสาท (Nervous System) ส่วนที่ 2 อยู่ระหว่างกลางเรียกว่า นํ้าใจ (Spirit) เป็นนามรูป เปรียบเสมือนสายใยเส้นทางกระแส เป็นความประพฤติต่อเติม บทแสดง ปฏิบัติ (Course)และส่วนสุดท้าย จิตใจ (Soul) เป็นนามธรรมเปรียบเสมือนสถานภาพใจในแต่ละขณะจิต เป็นผลกรรมติดตาม บทประจักษ์ ปฏิเวธ (Conduct) กล่าวอีกนัยหนึ่ง นํ้าใจเป็นวิญญาณเสมือนกาวใจหรือทางเชื่อมกลางใจ ซึ่งยึดโยงคู่แฝดหัวใจกับจิตใจ ให้ประกอบสอดประสานแนบแน่นรวมเข้าเป็นใจเดียวกัน เสมือนหนึ่งเดียวภายในตนระดับบุคคล (As One–Within) โดยสะท้อน (Reflect) แสดง (Represent) ความเป็นรูปธรรมกับนามธรรมควบคู่กัน ตามแบบจำลองนี้ ใจจึงมีลักษณะแบบทวิภาค (Duality) เหมือนกับเหรียญสองหน้า

แบบจำลองใจ (A Mind Model)
แบบจำลองใจ (A Mind Model)

ด้านรูปธรรมคือ หัวใจ ใจเดินทางบนเส้นทางวนตามวงจรปรุงแต่งใจ (A Mind-Traversing Cycle) ประกอบด้วยรู้จักจัก (Sense) 5 ตอน ได้แก่ ตอนแรกรู้ใจเข้าใจถึงใจ (Concept) หลักการวิชาศรัทธา ด้วยปัจจยภาพ คัมภีรภาพสารัตถภาพ คติภาพ ตอนที่ 2 วัดใจลองใจเตือนใจ (Continence) ด้วยตรรกภาพวิจยภาพ สัมพันธภาพ ตอนที่ 3 ฝึกใจสอนใจเจริญใจ (Competence) ด้วยมนุษยภาพ กรรมภาพ บูรณภาพ ตอนที่ 4 ไว้ใจวางใจหวังใจ (Credence) ด้วยศักยภาพ สมรรถภาพ วิริยภาพ คุณภาพ และตอนสุดท้าย เชื่อใจมั่นใจปักใจ (Confidence) ด้วยพฤติภาพ ผลิตภาพ ผลภาพ สัมฤทธิภาพ ทั้งนี้ การเดินทางต้องเตรียมพาหนะใจให้พร้อมด้วยดวงใจแห่งโยนิโสมนสิการ (Attention) และคติปัจจัย (Conceiving Factor) ตามหลักอิทธิบาท (Efficacy) กล่าวคือ สนใจจูงใจน้อมใจ คือ ฉันทะ (Aspiration) ตื่นใจใส่ใจเต็มใจ คือ วิริยะ (Exertion) ตั้งใจ สงบใจจงใจจริงใจ คือ จิตตะ (Devotion) และตรองใจเปิดใจปรับใจ คือ วิมังสา(Inspection) ทั้งหมดนี้ล้วนสำเร็จที่ใจด้วยใจ คือ อาศัยใจนำ เป็นหลักเป็นแนวเป็นแรง

ด้านนามธรรมคือ จิตใจ ใจเดินทางบนเส้นทางวนตามวงจรปัจจัยปรุงแต่งใจ (A Mind-Conditioning Cycle) บนพื้นฐานความเข้าใจแก่นแท้ของการเปลี่ยนแปลง (Essence) คือ กำเนิดก่อเกิด (Creation-Formation) กำหนด เก็บกัก (Continuation-Function) และกำจัด กัดกร่อน (Cancellation-Fusion) อีกทั้งยังต้องเตรียมเสบียงใจให้พร้อมด้วยสายใจแห่งปรโตโฆสะ(Persuasion) และมติปัจจัย (Concluding Factor)ตามหลักพรหมวิหาร (Nobility) กล่าวคือ เมตตากรุณา (Benevolence) เห็นใจมัดใจผูกใจ คือ เมตตา(Clemency-Beneficence) ปลอบใจจับใจเป็นใจคือ กรุณา (Compassion-Pity) ส่งใจชอบใจเติมใจคือ มุทิตา (Contentment-Delight) และปลงใจตัดใจพอใจ คือ อุเบกขา (Complacence-Indifference) ซึ่งส่งพลังใจ (Energy) แสดงความรู้สึกออกมาตามลำดับขั้น เริ่มจากเห็นใจ (Sympathy) ปรับใจ (Empathy) สู่ปลงใจ (Apathy)

วงจรปรุงแต่งใจ (A Mind-Traversing Cycle)
วงจรปรุงแต่งใจ (A Mind-Traversing Cycle)

ด้วยความหมายที่แสดงนัยสำคัญและความจำเป็น คือ แก่น (Core) หรือศูนย์กลาง (Center) ใจจึงมักแทนศูนย์กลางของชีวิต แกนกลางของปัจเจกชน และสื่อกลางของมนุษยชาติ ดังนั้น ใจทั้งหัวใจ จิตใจและน้ำใจ จึงเป็นองค์ประกอบสามัญทั้งที่แสดงตัว (Explicit) และซ่อนตัว (Implicit)แทรกกระจายอยู่ถ้วนทั่วในทุกภาคส่วน ตั้งแต่ รากฐาน (Foundation) พื้นฐาน (Fabrication) ไปจนถึงผลฐาน (Fruition) ของการบริหารตนเองกิจวัตรกิจกรรม (Self) การบริหารบุคลากรทรัพยากรบุคคล การบริหารงานพันธกิจภารกิจธุรกิจ ในทุกระดับชั้นทุกแง่มุมของการบริหารองค์กร กิจการ(Subgroup) และการบริหารปุถุชนมวลชน เศรษฐกิจรัฐกิจ ในสังคมประเทศชาติ (Society)

นอกจากนั้น ภาษาไทยยังมีคำขยายความหมายโดยรอบและโดยนัยคำว่าใจ ทั้งภายนอกและภายในล้อมหน้าล้อมหลังล้อมข้าง สารพัดหลากหลายใจอีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขยายความบทวินัยบนแถบค่าความต่อเนื่อง (Continuum) ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ซึ่งตอกย้ำความสำคัญของดุลยภาพสมภาพความสมดุลในชีวิต เช่นเดียวกับศีลคู่กับธรรมข้อพึงทิ้ง ละลดเลิก คู่กับพึงทำ เริ่มรุกเร่ง ผ่านประสบการณ์และกระบวนการปลูกฝังบ่มเพาะ ฝึกฝน อบรม บำรุงรักษา ขัดเกลา เรียนรู้

ด้านนามรูป รูปธรรมควบนามธรรม คือ นํ้าใจ เป็นตัวแทนใจ คอยกำกับควบคุมชักนำใจ (Guide) ซึ่งสะท้อนแสดงออกมาเป็นเจตนา (Will) ความมีพลังจิตพลังใจน้ำจิตนํ้าใจ เช่น นํ้าใจนักกีฬา การพัฒนาดูแลรักษาใจให้สมบูรณ์จึงต้องเข้าใจความเปลี่ยนแปลงตามหลักไตรลักษณ์ (Tri-Characteristic) โดยดำเนินชีวิตอย่างบริสุทธิ์ใจจริงใจในกิจวัตร ภารกิจ พันธกิจตามแนวคิดแบบสามเหลี่ยมทางกลยุทธ์(A Strategic Triangle) ให้สอดคล้องต่อเนื่องสัมพันธ์ กันระหว่างรับรู้-รู้รับ (Sense-Reach) รับรุก-รุกรับ (Serve-Rein) และเรียนรู้-รู้เรียน (Seize-Read) ซึ่งอาศัยการศึกษาร่ำเรียน ฝึกฝนสอนใจตามแนวทางสายกลาง คือ ไตรสิกขา (TriangularStudies) ด้วยสติสัมปชัญญะสมาธิปัญญา พร้อมสรรพด้วยสติปัจจัย (CognizingFactor) และเหตุปัจจัย (Causing Factor) ตามหลักอิทัปปัจจยตา (Causation) ทั้งปัจจัยเข้าสู่ใจและปัจจัยออกจากใจ ทั้งจากการกระทำกระทบต่อตนเองและต่อคนอื่น ผ่านทางพฤติกรรม ไม่ว่าในระดับลักษณะนิสัย ความเคยชิน ทัศนคติค่านิยม ธรรมเนียมจารีตประเพณี หรือวัฒนธรรมก็ตาม เช่น ตั้งใจ-นอนใจ ปักใจ-เปลี่ยนใจ ตามใจ-ขัดใจ เตรียมใจ-ชะล่าใจ ห้ามใจ-ปล่อยใจ สอนใจ-ล่อใจ สานใจ-สลายใจ ร่วมใจ-แบ่งใจ ขอบใจ-ข้องใจ

ปัจจัยนำเข้าสู่ใจ (Import) เช่น ดีใจ-เสียใจ สุขใจ-ทุกข์ใจ สบายใจ-เศร้าใจชอบใจพอใจ-กลุ้มใจกังวลใจวุ่น วายใจ ชื่นใจ-ช้ำใจ ปลื้มใจประทับใจ-ตรอมใจ ตั้งใจสนใจ-นอนใจ ใส่ใจใฝ่ใจ-นอกใจ ปักใจตรึงใจ-ปันใจกลับใจ ตามใจสมัครใจ-ขัดใจฝืนใจซ่อนใจ วางใจไว้ใจ-แคลงใจหมางใจตายใจ มั่นใจ-หวั่นใจระทึกใจ เบาใจ-หนักใจ เย็นใจอุ่นใจ-ร้อนใจ จริงใจจงใจ-จนใจจำใจ เต็มใจเป็นใจ-ขืนใจคับใจทั้งใจหมดใจ-กินใจ ล้นใจท่วมใจ-คาใจ ตรงใจดั่งใจสมใจถูกใจ-ผิดใจ ถึงใจขึ้นใจ-สะเทือนใจ อิ่มใจซึ้งใจ-น้อยใจ ภูมิใจปลื้มใจ-ท้อใจ เกรงใจ-กลัวใจ จับใจ-เจ็บใจบาดใจขาดใจ คุ้นใจครองใจสงบใจ-แปลกใจตกใจ อ่านใจเดาใจทายใจ-ฝังใจ ข่มใจอดใจห้ามใจ-ปล่อยใจ แข็งใจ-อ่อนใจ ขอบใจ-ข้องใจเคืองใจ

วงจรปัจจัยปรุงแต่งใจ (A Mind-Conditioning Cycle)
วงจรปัจจัยปรุงแต่งใจ (A Mind-Conditioning Cycle)

ปัจจัยส่งออกจากใจ (Export) เช่น ใจดี-ใจร้าย ใจงาม-ใจทราม ใจสูง-ใจต่ำใจทราม ใจบุญ-ใจบาป ใจพระ-ใจยักษ์ใจมาร ใจผ่องใส-ใจขุ่น ใจแข็ง-ใจอ่อน ใจกล้า-ใจขลาด ใจสู้-ใจใจป้ำ -ใจฝ่อ ใจถึง-ใจหายใจคว่ำ ใจเด็ด-ใจรวนเร ใจเหี่ยวแห้ง ใจจดใจจ่อ-ใจลอย ใจกว้าง-ใจใจใหญ่-ใจน้อย ใจบาน-ใจหดใจหู่ใจห่อ ใจมา-ใจเติบใจโต-ใจจืดใจดำ ใจเย็น-ใจร้อน ใจแกใจสะเทือน ใจสลาย ใจแตก ใจเพชร ใจหนักแน่น-ใจง่าย ใจเบา

รากฐานที่ดีของใจ (Good Foundation of Mind) ต้องมีหัวใจ จิตใจ และน้ำใจ ครบถ้วนสมบูรณ์ทั้ง 3 ส่วนรวมกันเสริมกันเป็นหนึ่งเดียว ใจว่างจากตัณหาอุปาทาน พันธนาการจินตนาการความยึดติดใจสงบสะอาดสดใสสว่าง (Calm, Clean, Candid, Chaste, Clear) พร้อมด้วยคุณานุภาพ (Value) คุณค่า คุณประโยชน์คุ้มค่าอย่างรอบด้าน 3 ด้านได้แก่คุณวุฒิ (Intelligence) การศึกษาวิชาความรู้ คุณธรรม(Integrity) การประพฤติฝึกฝน ขัดเกลา และคุณากร (Instrumental) ทักษะสมรรถนะ ทางใจ เช่น กายใจลมหายใจ สุขภาพใจ กำลังใจ พลังใจ แรงใจ แรงบันดาลใจแรงชักจูงใจ แรงดึงดูดใจ แรงโน้มน้าวใจ แรงกระตุ้น ใจแรงปลุกเร้าใจ หลักใจ ธรรมใจ โดยมีหลักธรรมเป็นเงื่อนไขสามัญ (Common Constraint) และบริบทเบื้องต้น (Coherent Context) ที่จำเป็น เช่นนิติธรรม ยุติธรรม จริยธรรม ศีลธรรม คุณธรรมมโนธรรม มนุษยธรรม วัฒนธรรม อารยธรรมสามัคคีธรรม สัจธรรม ธรรมาภิบาล ธรรมชาติ แต่ผลสุดท้ายอยู่ที่การประพฤติปฏิบัติจริงให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบใจสบายใจสุขใจได้เท่านั้น คือ ต้องร่วมกัน (Harmony) สมัครสมานสามัคคีกลมเกลียว ได้แก่ ร่วมคิด (Head) ร่วมใจ (Heart) และร่วมมือ (Hand) เสมือนหนึ่งเดียวภายในกลุ่มชนภายนอกตนระหว่างบุคคล (As One–Without) ทั้งนี้ ข้อปฏิบัติที่สำคัญยิ่ง คือการตั้งอยู่ในความไม่ประมาท (Vigilance) แวดระวังกับดับทางใจ (Mind Trap) จากอบายมุข อกุศล อกรณีย์ อดีต อนาคต อธรรม อคติ อวิชชาและอัตตา ตามหลักเบื้องต้น เชิงคุณภาพว่า ขยะเข้า-ขยะภายใน-ขยะออก (Garbage-In, Garbage-Within, Garbage-Out: GIGWGO)

รากฐานที่ดีของใจ (Good Foundation of Mind)
รากฐานที่ดีของใจ (Good Foundation of Mind)

โดยสรุป ใจเป็นแกนกลางของการกระทำหรือกรรม ไม่ว่ามโนกรรม วจีกรรม หรือกายกรรม ก็ตามการตัดสินใจ (Decision) จึงเป็นหัวใจของการคิด(Think) พูด (Talk) และทำ (Task) แสดงออกมาเป็นผลกรรมที่เป็นรูปธรรม ฉะนั้น กรรมและธรรมต้องสมดุลกันต้องมีดุลยภาพ ใจจึงจะสามารถกำกับควบคุมดูแลตัวเองได้ (Self-Discipline) คุ้มครองใจยับยั้งชั่งใจ ขัดเกลาใจได้ ท่ามกลางกระแสอัตภาพ อานุภาพอิสรภาพ เสรีภาพ อนันตภาพ (Influence) ดั่งสุภาษิตว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน คือการพึ่งใจตนเอง แต่ไม่ใช่แยกขาดจากกันเป็นเอกเทศ เพราะเมื่อคนเราอยู่ด้วยกันในกลุ่มสังคม ยังต้องรวมใจร่วมใจกันเพื่อทำให้กลุ่มสังคมทุกระดับทุกภาคส่วนมีดุลยภาพด้วยคุณานุภาพ ซึ่งสอดคล้องกับหลักความพอเพียง (Sufficiency) หรือรู้จักใจเขาใจเรา นั่นเอง

อ้างอิง: รู้จักใจเขาใจเรา (Sense of Minds: Theirs and Ours)
อินทาเนีย (Intania) วารสารชาววิศวฯ จุฬาฯ กรกฎาคม-กันยายน 2562 ลำดับที่ 121 ปีที่ 24 ฉบับที่ 3 หน้า 57-59

ที่มา: อินทาเนีย ฉบับที่ 4 ปี พ.ศ. 2563 คอลัมน์ ข้อคิดจากนิสิตเก่า โดย ดร.ปิยะพันธ์ ทยานิธิ วศ.23


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save