มุมมองว่าด้วย พร้อม (Notes on Ready)

มุมมองว่าด้วย พร้อม (NOTES ON READY) ตอนที่ 2


อ่านฉบับก่อนหน้า… มุมมองว่าด้วย พร้อม (NOTES ON READY)

ส่วน ปัญญา (Cognition) เปรียบเหมือนโลหิตของความพร้อม อยู่คู่หัวใจ ทั้งหล่อเลี้ยงและร่วมทำงานกัน เป็นปัจจัยข้ามช่วงเวลา (Elapse) จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ปัญญาความรู้ ความเข้าใจ ความคิดย่อมเจริญงอกงามแตกฉานต่อยอดเฉียบแหลมสะสมผ่านกาลเวลา ด้วยการเรียนรู้ฝึกฝนตนตามหลักปฏิสัมภิทาญาณ (Insightful Discrimination) มีปัญญาหลักแหลมแตกฉานรอบด้านลึกซึ้งแม่นยำได้แก่ อัตถปฏิสัมภิทา (Intent) อรรถ ความหมาย ผลของเหตุ (Consequence) ธัมมปฏิสัมภิทา (Idea) ธรรม หลักคิด เหตุของผล (Cause) นิรุตติปฏิสัมภิทา (Language) นิรุกต์ ภาษา สารสัมพันธ์ (Communication) และปฏิภาณปฏิสัมภิทา (Sagacity) ปฏิภาณ ความคิด เชาวน์ (Circumspection) โดยสรุป หัวใจกับโลหิตของพร้อม (The Heart and Hema of Ready) คือการเจริญสติปัญญาให้เท่าเทียมเท่าทัน

เมื่อรวมตัวกันเป็นกลุ่มคนเป็นสังคมจึงต้องมีมิติความพร้อมส่วนรวม คือ พร้อมเพรียงกันหรือร่วมกัน ทั้งทางกาย ครอบคลุมครบถ้วนทั่วถึง และทางใจ ร่วมใจสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียว เรียกว่า คล้ายกันเสมือนเป็นหนึ่งเดียว (As One) คือ พร้อมเพรียง (Congruity) สามัคคี (Harmony) และ เอกภาพ (Unity) ทั้งเหมือนกันและต่างกัน หรือรู้จักคล้ายคลึง (Sense of Similarity) ดังนั้น ความพร้อมเบื้องต้นที่จำเป็นสำหรับทุกองค์กรคือ แกนกลางที่สามารถสอดรัดผนึกผนวกเชื่อมประสานทุกภาคส่วนทุกระดับชั้นขององค์กรเข้าด้วยกัน เพื่อร่วมคิด (Head) ร่วมใจ (Heart) และร่วมมือ (Hand) เช่น วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ นโยบาย วัฒนธรรม แนวปฏิบัติ ขั้นถัดไป สามเหลี่ยมกิจกรรมความพร้อม (A Ready Activity Triangle) ซึ่งต้องหมั่นปฏิบัติให้พร้อม ประสาน (Cooperate) คือ พร้อมคิด (Comprehend) พร้อมพูด (Communicate) และ พร้อมทำ (Coordinate)

ความพร้อมมีนัยสำคัญอยู่ที่ปัจจุบัน เป็นปัจจุบันธรรม ความพร้อมในอดีต และการเตรียมพร้อมในอดีตส่งผลมาถึงปัจจุบันตามหลักกฎแห่งกรรม ความพร้อมจึงรวมกันอยู่เป็นสถานภาพ ณ ปัจจุบัน ในแต่ละอณู อนุภาค แต่ละจังหวะ ลมหายใจ ชีพจร แต่ละขณะจิต นั่นคือสติ เพื่อก้าวต่อไปสู่อนาคต เช่น นักกรีฑาไม่ว่าฝึกซ้อมมาพร้อมเพียงไร ก็ต้องมาดูความพร้อมกันใหม่ที่เส้นเริ่มต้น ซึ่งยังแบ่งเป็นขั้นย่อย เข้าที่-ระวัง-ไป อนาคตยังไม่เกิดก็ย่อมขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอน ความพร้อมในปัจจุบันจึงไม่อาจรับประกันความพร้อมในอนาคตได้

การเตรียมพร้อมคือแนวปฏิบัติที่ดี ด้วยความเข้าใจธรรมชาติและความจริงตามหลักไตรลักษณ์ (Tri-Characteristic) ความเสี่ยงความไม่แน่นอน ความแปรปรวนเปลี่ยนแปลง และความไม่อาจควบคุมได้ รวมถึงหลักการสำคัญอื่น กล่าวคือ หลักความไม่ประมาท (Vigilance) ทั้งเชิงกาละ ได้แก่ ไม่ผัดผ่อน ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง ไม่ชะล่าใจไม่นิ่งนอนใจ ไม่รีรอไม่ลังเล ไม่รีบร้อนไม่รวบรัด และเชิงเทศะ ได้แก่ สุขุมลึกซึ้งคัมภีรภาพ ละเอียดถี่ถ้วนประณีต ครอบคลุมทั่วถึงครบถ้วน รอบคอบ ระมัดระวังรัดกุม เพื่อทำให้เรียบร้อยได้ผลดีที่สุดสมบูรณ์ที่สุดโดยสัมพัทธ์ตามศักยภาพ ตามอัตภาพ (Optimality) กิจกรรมเบื้องต้นในการเตรียมพร้อมที่คุ้นเคยกันดี เช่น ศึกษา วิเคราะห์คำนวณคาดคะเน ใคร่ครวญไตร่ตรอง เตรียมการ วางแผน ฝึกหัด ทดลอง ฝึกซ้อม ทดสอบ ฝึกฝน สอบประลอง เพื่อลดอุปสรรคปัญหา ลดตัวแปร และลดความไม่แน่นอนความแปรปรวนความไม่อาจควบคุมได้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เพื่อเพิ่มศักยภาพความสามารถ เพิ่มความคุ้นเคยเจนจบเจนจัดและเพิ่มโอกาสความสำเร็จ

หัวใจกับโลหิตของพร้อม
หัวใจกับโลหิตของพร้อม (The Heart and Hema of Ready)

หลักสัมมัปปธาน (Exertion) คือ เพียรพยายามระวังรักษายึดมั่นสี่เสาใหญ่ (Effort) ที่ถูกที่ควร ซึ่งแยกย่อยมาจากหลักการของโอวาทปาติโมกข์ ได้แก่ สังวรปธาน เพียรระวังยับยั้ง (Prevent) ปหานปธาน เพียรละกำจัด (Overcome) ภาวนาปธาน เพียรเจริญก่อเกิด (Develop) และอนุรักขนาปธาน เพียรรักษา (Maintain) กล่าวอีกนัยหนึ่ง หลักสามเกลียว (A 3-Strand Principle) ได้แก่ ข้อพึงทิ้ง ทิ้งชั่ว-ห้ามทำ (Purge-Protect) ละลดเลิก (Stop Blemish) ข้อพึงทำ ทำดี-ให้ทำ (Produce-Promote) เริ่มรุกเร่ง (Stress Boon) และข้อพึงทัน ทันจิต-หาธรรม (Purify-Procure) สะอาดสงบ สว่าง (Strike Balance)

หลักสัปปุริสธรรม (Heptanobility) คือรู้จักธรรมเป็นเหตุผลปัจจัยเป็นกรรมปัจจัย (Causing Factor) 7 ประการ อันเป็นคุณสมบัติของผู้พร้อมรู้จักประมาณ (Balance) ทั้งวิเคราะห์ (Analysis) และสังเคราะห์ (Synthesis) อย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นคุณสมบัติของบุคคลที่ถึงพร้อม ได้แก่ ธัมมัญญุตา (Cause) รู้จักธรรม หลักการและเหตุผล รู้ประมาณเหตุ อัตถัญญุตา (Consequence) รู้จัก อรรถ วัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมายและผลรู้ประมาณผล อัตตัญญุตา (Self) รู้จักตนและกายใจ รู้ประมาณตน มัตตัญญุตา (Moderation) รู้จักประมาณและพอดี กาลัญญูตา (Time) รู้จักกาลและเวลา รู้ประมาณเวลา ปริสัญญุตา Group) รู้จักบริษัท กลุ่มคน สังคม สถานที่ บริบทและสิ่งแวดล้อม รู้ประมาณสถานการณ์ ปุคคลัญญุตา (Other) รู้จักบุคคลและรายคน รู้ประมาณคน กล่าวสรุปย่อคือพอดีพอเหมาะสอดคล้องกับทั้งกาละและเทศะ สำหรับเทศะ ทั้งบุคคล เรากับเขา กลุ่มคน สถานภาพ และสภาพแวดล้อม ไม่มากหรือน้อยเกินไป สำหรับกาละ ทั้งจุดเวลา ช่วงเวลา ระยะเวลา และจังหวะเวลา ไม่ตามหลังหรือก่อนหน้าเกินไป ไม่ช้าหรือเร็ว เกินไป ไม่ชะลอหรือรีบเร่งเกินไป โดย กระชับ คือ ตามสมควร พอดี พอเหมาะพอสม พอประมาณ (Lagom) ไม่เกินไป (Excessive) ทั้งนี้ โดยมีสัทธัมมสมันนาคโต (Heptavirtue) เป็นสัทธรรมทวิภาค เป็นเหตุปัจจัย (Causal Factor) ได้แก่ ศรัทธา (Confidence) หิริ (Shame) โอตตัปปะ (Dread) พหูสูต (Guru) เพียร (Diligence) สติ (Mindfulness) และปัญญา (Wisdom)

การเตรียมพร้อมต่อเหตุการณ์ มีทั้งเชิงรุก (Offensive) และเชิงรับ (Defensive) ตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ระหว่างกระทำ (Active) กับถูกกระทำ (Passive) ในเวลาเดียวกันเสมอตลอดเวลา ไม่ว่าทางกิริยา (Action) หรือทางปฏิกิริยา (Reaction) โต้ตอบ ตอบสนอง (Response) ก็ตาม ประเด็นสำคัญคือ เงื่อนเวลา (Time Constraint) เพื่อให้พร้อมทันท่วงทีทันท่วงท่าต่อเหตุการณ์สถานการณ์ ซึ่งต้องกระทำกิจกรรมภารกิจตามวัตถุประสงค์ ความสำคัญ ความจำเป็นและความเร่งด่วน แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ด้านหนึ่งเรียกว่า ทันท่วงที (Spontaneous) อย่างเหมาะสม ได้แก่ ทันที (Instantaneous) ทันกาล (Timeous) และทันเหตุ (Simultaneous) อีกด้านหนึ่งเรียกว่า ทันท่วงท่า ท่วงทำนอง หรือชวนญาณ (Sagacious) อย่างเพียงพอ ได้แก่ สัญชาตญาณ (Indigenous) วิริยญาณ (Industrious) และวิจารณญาณ (Ingenious)

เงื่อนเวลาและความสามารถ
เงื่อนเวลาและความสามารถ (Time and Capability Constraints)

อีกประเด็นคือ เงื่อนความสามารถ (Capability Constraint) ทั้งคุณสมบัติ (Interest) ทางวิชาความฉลาดความนึกคิด คุณตรรก (Intellectuality) จนถึงระดับความรู้ความชำนาญ คุณวุฒิ (Ingenuity) ควบคู่กับทางจริยาความดี คุณธรรม (Integrity) ไม่ว่าคิดพูดหรือทำในกระบวนการเตรียมพร้อม ทั้งที่รับเอามา นำมาใช้ และปรับปรุงเพิ่มเติม ตามหลักอิทธิบาท แบ่งออกเป็นองค์ประกอบ 5 อย่าง ได้แก่ วิสยการณ์ (Endeavor) คือมีศักยภาพสมรรถภาพ พากเพียรพยายามผจญเผชิญขวนขวายค้นคว้าศึกษาสำรวจสืบเสาะ ประสบการณ์ (Experience) คือ มีผลิตภาพประสิทธิภาพ รู้เห็นคุ้นเคยชำชองชำนิชำนาญ ทักษการณ์ (Expertise) คือ มีผลภาพประสิทธิผล เก่งถนัดมีทักษะปราดเปรื่องเคยชินเชี่ยวชาญ วัตรการณ์ (Essence) คือ มีคุณภาพดุลยภาพ ทั้งคุณคติและคุณวินัย รู้แจ้งเข้าถึงลึกซึ้งประพฤติปฏิบัติแน่วแน่สม่ำเสมอต่อเนื่อง และสัมฤทธิการณ์ (Excellence) คือ มีบูรณภาพอัจฉริยภาพ ทั้งคุณวุฒิและคุณธรรมเป็นเลิศคล่องแคล่วว่องไวถูกต้องเที่ยงตรงแม่นยำดีเด่นยอดเยี่ยม

ความพร้อมในอดีตเกิดแล้วจบแล้ว เป็นที่ประจักษ์แล้ว พฤติการณ์ (Occurrence) จึงเป็นประสบการณ์ (Recognition) เป็นบทสอนบทจำบทเรียน (Lesson) ความพร้อมในปัจจุบันกำลังเกิดกำลังสลาย ยังไม่จบไม่สิ้นสุดไม่ประจักษ์ชัดไม่แน่นอน จึงเป็นสถานการณ์ (Situation) เป็นบทแสดงบททำบทรับ (Load) ซึ่งต้องสนใจใส่ใจอย่างจริงจัง ส่วนความพร้อมในอนาคตยังไม่เกิด แต่จะเกิดต่อไป ถ้าปัจจุบันพร้อม การเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตก็ง่ายขึ้น ความพร้อมในอนาคตจึงขึ้นอยู่กับความพร้อมในปัจจุบัน จึงเป็นคาดการณ์ (Anticipation) เป็นบทสรรค์สร้างบทนำบทรุก (Lead) ที่ต้องศึกษาเรียนรู้เข้าใจฝึกฝนทดสอบคิดกว้าง มองไกล กล้าคิดกล้าทำกล้านำและแก้ไข เปลี่ยนแปลงตามกาลสมัย ผ่านการกลั่นกรองต่อเนื่องเชื่อมโยงครบวงจร จึงรวมกันเป็นชีวการณ์ (Realization) เป็นบทบาทชีวิต (Lifeway) ซึ่งสรุปได้ตามแผนภูมิ เตรียมพร้อมด้วยพฤติการณ์ (Prepare with Occurrence)

เตรียมพร้อมด้วยพฤติการณ์
เตรียมพร้อมด้วยพฤติการณ์ (Prepare with Occurrence)

ในการบริหารงานทั้งหลาย ความพร้อมและการเตรียมพร้อมเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญมาก เพราะมีงานรากฐานสามัญร่วมกัน คือ เตรียมพร้อม (Prepare) ประกอบด้วยวางแผน (Plan) จัดเตรียมตามแผน (Procure) และทดสอบแผนความพร้อม (Prove) หรือวงจรคิด แปลงคิดเป็นทำ และทบทวนที่คิดที่ทำ ตามลำดับ ซึ่งตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าคนในองค์กรเข้ากันได้ดี รู้จักรับผิดชอบยอมรับ (Sense of Amenability) หลักการเตรียมพร้อมจึงได้รับความสนใจ ทั้งในระดับขั้นตอนและระหว่างขั้นตอนของงาน โดยมักมีชื่อเรียกเฉพาะแตกต่างกันไปตามสาขาวิชา เช่น การทดสอบระบบงาน (System Testing) การทดสอบรองรับวิกฤต (Stress Testing) การฝึกอบรมบุคลากร (Personnel Training) การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Planning) การวางแผนความต่อเนื่อง (Continuity Planning) การวางแผนรองรับเหตุฉุกเฉิน (Emergency Response Planning) รวมถึงงานที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงาน เช่น การสอดส่องดูแล (Supervising) การติดตามดูแล (Monitoring) การควบคุมดูแล (Controlling) การตรวจสอบ (Auditing) การประเมินสถานภาพ (Assessing) การเตรียมพร้อมจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญ โดยมีความพร้อมเป็นผลฐานที่จำเป็นที่ต้องการ ทั้งสำหรับกระบวนการคิดวิเคราะห์ ในการสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support) และกระบวนการทำงานในการบริหารจัดการ (Management) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)

ความพร้อมมีนัยที่ขัดแย้งในตัวเอง และมีประเด็นทางความหมายที่กว้างลอยยืดหยุ่น จึงกำกวมคลุมเครือ แต่การเตรียมพร้อมช่วยปิดลดช่องว่าง (Gap) ดังกล่าว ทั้งในด้านขนาดปริมาณ และด้านความถี่ความน่าจะเป็น การนำแนวคิดเรื่องความพร้อมมาใช้อย่างถูกต้องย่อมได้รับคุณประโยชน์คุ้มค่าคุ้มเวลา ความพร้อมเป็นหลักการที่ส่งเสริมสนับสนุนสร้างสรรค์โดยตรงให้การดำเนินชีวิตมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และปริตรภาพ (Resiliency) ได้แก่ ยืดหยุ่น (Flexibility) หนักแน่น (Stability) คล่องแคล่ว (Agility) และสมส่วน คู่ควร (Suitability) ซึ่งจัดเป็นความสามารถที่เรียกว่าภูมิคุ้มกัน (Immunity) ตามหลักคิดในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Philosophy of Sufficiency Economy) อนึ่ง ความพร้อมเสริมสร้างความมั่นใจ หากมั่นใจมากจนกลายเป็นความลำพองหลงผิด (Arrogance) ก็อาจทำให้รู้สึกยึดมั่นเชื่อมั่นเกินไป (Overconfidence) ซึ่งจะเสี่ยงต่อภัยอันตราย ความผิดพลาดล้มเหลวได้ เพราะธรรมชาติความพร้อมเป็นไปตามหลักไตรลักษณ์เช่นกัน

รู้จักพร้อม (Sense of Ready) คือ รู้แจ้งทำจริง เจตจำนงจริงจังจริงใจมีวินัย ทั้งด้านความคิด (Think) ได้แก่ มีความรู้คู่กับใช้ความรู้ และด้านความประพฤติ (Task) ได้แก่ ลงมือทำคู่กับทำให้ได้ผล หัวใจความพร้อมคือการครองสติ ในขณะที่หัวใจการเตรียมพร้อมคือการเจริญสติสัมปชัญญะสมาธิและปัญญา กล่าวคือ การดำเนินชีวิตตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา การพัฒนาตนตามหลักไตรสิกขา บนเส้นทางสายกลางที่มีหลักอิทธิบาท (Efficacy) เป็นกลไกส่งเสริมแรงกำลัง (Driving) ร่วมกับหลักความพอเพียง (Sufficiency) เป็นกลไกสนับสนุนสอดส่องระแวดระวัง (Directing) ซึ่งรู้จักเหตุผล พอประมาณและไม่ประมาท ด้วยคุณวุฒิคู่คุณธรรม พร้อมถึงสติปัญญาที่เท่าเทียมเท่าทัน มุ่งหมายชีวิตที่พอที่พร้อม (Ready Life) และสังคมที่พอเพียงที่พร้อมเพรียง (Ready Society) เพื่อความสำเร็จอยู่รอดปลอดภัยสงบสุขเจริญก้าวหน้าวิวัฒน์อย่างถาวรยั่งยืนยาวนาน

อ้างอิง: วิจยกรรม (Investigative Explication)
อินทาเนีย (Intania) วารสารชาววิศวจุฬา มกราคม-มีนาคม 2565 ลำดับที่ 131 ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 หน้า 58-61

ที่มา: อินทาเนีย ฉบับที่ 3 ปี พ.ศ. 2565 คอลัมน์ ข้อคิดจากนิสิตเก่า โดย ดร.ปิยะพันธ์ ทยานิธิ วศ.23


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save