7 ดรุณี ผู้ครองโลกด้วยนํ้ามัน

เรื่องเหนียว ๆเกี่ยวกับ “นํ้ามัน” ตอน 7 ดรุณี ผู้ครองโลกด้วยนํ้ามัน


ใครคือ 7 ดรุณี ผู้ครองโลกด้วยนํ้ามัน?
กาลครั้งหนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้เอง ก่อนที่โลกจะมี OPEC
ผู้ที่ควบคุมนํ้ามันและการค้านํ้ามันของโลกคือบริษัทนํ้ามันยักษ์ใหญ่ของโลกของประเทศตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทนํ้ามันที่ใหญ่ที่สุดของโลก 7 บริษัท

เรื่องเหนียว ๆเกี่ยวกับ นํ้ามัน

ชื่อของบริษัททั้ง 7 ได้ปรากฏแก่สายตาของชาวโลกด้วยป้ายขนาดใหญ่ที่มีชื่อของบริษัทและเครื่องหมาย พร้อมด้วยสีสันอันสะดุดตาที่เราเห็นกันจนชาชิน ปานประหนึ่งราวกับแท่งลูกกวาดอมยิ้มขนาดยักษ์ที่ได้ปักเอาไว้ข้างถนน ตามปั๊มนํ้ามันต่าง ๆ ในเมืองทั้งหลาย และชนบทต่าง ๆ ทั่วโลก

ชื่อเหล่านั้น ได้แก่ Exxon (หรือ Esso ในบ้านเรา), Shell, BP, Gulf, Texaco, Mobil, Socal (หรือ Chevron)

ในประเทศไทย ชื่อ Esso และ Shell คือสัญลักษณ์ของปั๊มนํ้ามันที่เราเห็นกันจนชินตา และเราเห็นกันมาตั้งแต่เกิด เพราะชื่อเหล่านี้มีมาก่อนเราเกิดเสียด้วยซํ้า

แม้ว่าบางชื่อเพิ่งจะมาเห็นในประเทศไทย (เช่น BP) หรือบางชื่อก็ได้ลบเลือน (เช่น Gulf ได้ขายให้แก่ Shell และ Chevron) และบางชื่อก็ได้เปลี่ยนแปรไป โดยการควบรวมกิจการ (เช่น Mobil ตราม้าบิน ถูก Exxon กลืนไปเป็น ExxonMobil ส่วน Texaco และ Chevron ได้เปลี่ยนมาเป็น Chevron Texaco) แม้ว่าดรุณีทั้ง 7 ปัจจุบันจะเหลือเพียง 4 แต่ธุรกิจก็ไม่ได้หายไปไหน อยู่ในแวดวงของกลุ่มนี้แหละ

แต่ชื่อเหล่านี้ก็ได้แพร่กระจายไปทั่วโลก จนปักหลักลึกลงไปในวัฒนธรรมการบริโภคและชีวิตประจำวันของชนชาติต่าง ๆ ในโลกนี้ กล่าวได้ว่า ลึกเสียยิ่งกว่าความลึกของเสาป้ายชื่อของปั๊มนํ้ามันต่าง ๆ ที่ได้กล่าวถึงมาข้างต้นเสียอีก

5 ใน 7 ของบริษัทยักษ์เหล่านี้มีรากเหง้าอยู่ในสหรัฐอเมริกาดินแดนต้นกำเนิดของธุรกิจนํ้ามัน (Exxon, Gulf, Texaco, Mobil, Chevron) ที่เหลืออีก 2 บริษัทมาจากอังกฤษ (Shell, BP)

ช่างเป็นการบังเอิญเสียเหลือเกินที่ 2 ประเทศถิ่นฐานของ 7 ดรุณีผู้ครอบครองโลกในอดีตด้วยอำนาจเงินตราจากนํ้ามันทองคำสีดำ ซึ่งก็คืออเมริกาและอังกฤษ ก็เพิ่งจะผ่านการทำสงครามอ่าวรอบ 2 กับอิรัก

การโจมตีอิรักด้วยข้ออ้างว่าอิรักสะสมอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างรุนแรง ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อประชาคมโลกในอนาคตเป็นข้ออ้างที่ขาดหลักฐานชัดแจ้งอย่างไร้ข้อสงสัยมาประกอบ อีกทั้งการเคลื่อนทัพของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษเพื่อเตรียมเข้าโจมตี ก่อนขอมติจากสหประชาชาติทำให้ประชาคมโลกเริ่มไม่เห็นด้วยกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ

ประกอบกับประสบการณ์จากการฉกฉวยผลประโยชน์ในธุรกิจนํ้ามันที่พบเห็นจากการที่อเมริกายกกองทัพบุกเข้าทำลายล้างอัฟกานิสถาน โดยที่พอเสร็จสิ้นภารกิจสงครามในอัฟกานิสถานชนิดที่ควันปืนยังไม่ทันจะจาง การลงทุนในกิจการนํ้ามันและพลังงานจากแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในอัฟกานิสถานก็เริ่มต้นขึ้นทันที ทั้งการขุดค้นหาแหล่งนํ้ามันดิบและโครงการวางท่อก๊าซธรรมชาติ

ดังนั้น จึงเห็นได้ชัดว่า การที่สหรัฐฯ บุกเข้าอัฟกานิสถานและอิรักก็เพราะมีเป้าหมายทางเศรษฐกิจ คือการเข้ายึดครองทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่ายิ่งและเป็นฐานแห่งอำนาจทางเศรษฐกิจ คือ “นํ้ามัน” อีกทั้งยังได้ประโยชน์จากการได้เงินหมุนเวียนจากเศรษฐกิจของสงคราม ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า เบื้องหลังสงครามคืออุตสาหกรรมอาวุธ และผูผ้ ลิตอาวุธสงครามรายใหญ่ของโลกก็คือ สหรัฐอเมริกา

ค่าใช้จ่ายในการทำสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งก่อนมีกว่า 61,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งชาติพันธมิตรอย่างคูเวต ซาอุดีอาระเบีย ญี่ปุ่น และเยอรมนี ต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายนี้ไว้เกือบทั้งหมด ได้มีส่วนช่วยเหลือเศรษฐกิจของอเมริกาอย่างยิ่ง เพราะทำให้สหรัฐอเมริกาในขณะนั้นสามารถก้าวผ่านวิกฤตเศรษฐกิจซึ่งตั้งเค้าว่าจะเกิดฟองสบู่แตก ทำให้ฟองสบู่ในยุคนั้นไม่แตก และอเมริกาค่อยๆ ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้ในเวลาต่อมา

และเมื่อเกิดเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 ก็มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อย่างรุนแรงพอสมควร แต่ก็ไม่มากพอที่จะจุดระเบิดให้เกิดวิกฤตฟองสบู่แตกอีกครั้งหนึ่งได้

เพียงแต่ได้กลายเป็นชนวนเหตุให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ อ่อนแอลงอีก ซึ่งเพิ่งจะเริ่มมีสัญญาณขึ้น จากเค้าเมฆดำทมึนของภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ได้ก่อตัวขึ้นหลังจากฟองสบู่ของพวกบริษัทคอมพิวเตอร์ไฮเทค “ด็อตคอม” ทั้งหลายที่ได้แตกไปก่อนหน้านี้

และบังเอิญผสมกับการหลอกลวงผูล้ งทุนโดยการแตง่ บัญชีของฝ่ายบริหารระดับสูงของบริษัทจดทะเบียน อย่างเช่นกรณี Enron ซึ่งได้สั่นคลอนความเชื่อมั่นในระบบตลาดหลักทรัพย์ที่นับเป็นหัวใจของระบบทุนนิยม จนทำให้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของวอลสตรีทที่มีการจับผู้บริหารใส่สูทไปติดคุก และทำให้บริษัทผู้สอบบัญชียักษ์ใหญ่ที่เซ็นรับรองบัญชีของบริษัทดังกล่าวต้องล้มตามบริษัทขี้โกงเหล่านั้นไปด้วย หลังจากตั้งมาได้นับเป็นร้อยปีและรอดผ่านมรสุมของตลาดหุ้น ตกต่ำมาหลายรอบ แต่ก็ไม่ตายน้ำตื้นๆ ด้วยข้อหาง่ายๆ ว่า “ชุย่ ” ไปรับรองพวกบริษัทไร้จรรยาบรรณได้อย่างไร

แต่การที่รัฐบาลสหรัฐฯ จะยอมรับว่า เศรษฐกิจที่แท้จริงของประเทศมีปัญหาย่อมเป็นสิ่งที่รัฐบาลทำไม่ได้ เพราะนอกจากจะทำให้นักลงทุนสูญเสียความเชื่อมั่นแล้ว ยังจะก่อปัญหาแก่เศรษฐกิจภาพรวมของประเทศด้วย เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ถ้าเศรษฐกิจล้ม รัฐบาลก็จะอยู่ไม่ได้

รัฐบาลอเมริกาจึงถือโอกาสเปลี่ยนวิกฤตที่เกิดขึ้นให้เป็นโอกาสในทันทีด้วยการประกาศ “สงครามต่อต้านการก่อการร้าย” โดยเริ่มจากอัฟกานิสถานก่อนและมาจบลงที่อิรัก ทำให้ผู้คนกำลังหวั่นเกรงว่าอิหร่านจะเป็นเป้าหมายต่อไป

ดั่งเหมือนสวรรค์มาโปรดนายจอร์จ บุช
เพราะสงครามสร้างวีรบุรุษ ส่วนวิกฤตสร้างโอกาส

เพราะตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งประธานาธิบดี ก็ถูกค่อนแคะว่าชนะคะแนนการเลือกตั้งอย่างฉิวเฉียดในรัฐฟลอริดา ซึ่งเป็นรัฐสุดท้ายและเป็นรัฐตัดสินโดยที่มีน้องชายของตนเองเป็นผู้ว่าการรัฐ

ต้องมีการเปิดหีบบัตรเลือกตั้งมานับกันใหม่หลายรอบ และมีการประกาศบัตรเสียและเดาใจคนเลือกตั้งว่ารูที่เจาะไว้บนบัตรเลือกตั้งลงคะแนนให้ใคร เพราะมีการเจาะรูแบบเบี้ยว ๆ บนบัตรบัตรเลือกตั้งก็เป็นบัตรคอมพิวเตอร์แบบเจาะรูรุ่นโบราณที่เรียกว่าบัตรแบบ Hollerith ซึ่งปัจจุบันเขาเก็บกันไว้ในพิพิธภัณฑ์คอมพิวเตอร์แล้ว พวกเราถ้าใครอายุเกิน 40 ปี อาจจะจำได้สมัยเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยก็ต้องหอบบัตรเจาะรูคอมพิวเตอร์พวกนี้เป็นตั้ง ๆ เวลาไปรันโปรแกรมกันที ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าประเทศที่ก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์อย่างอเมริกายังใช้งานบัตรคอมพิวเตอร์ประเภทนี้กันอยู่อีก

ทั้ง ๆ ที่คะแนนรวมของผู้ลงคะแนนทั้งประเทศที่เรียกว่า Popular Vote มีน้อยกว่าคู่แข่งเสียด้วยซํ้าไป แต่คะแนนรวมของรัฐที่ชนะที่เรียกว่า Electoral Vote มากกว่า เลยทำให้บุชได้เป็นประธานาธิบดี

น่าจะให้คณะกรรมการเลือกตั้งของรัฐฟลอริดามาดูงานการเลือกตั้งกับคณะกรรมการ กกต. ที่เมืองไทย

นี่ยังไม่นับรายการค่อนแคะ IQ ของท่านประธานาธิบดีประจำวันของ Comedian หรือนักเล่าเรื่องตลกชื่อดังอย่าง Jay Leno ทางโทรทัศน์ NBC ซึ่งที่อเมริกาเขาถือเป็นการล้อเลียนที่ต้องไม่โกรธกัน (แต่บุชคงอยากจะบีบคอนาย Jay เสียเหลือเกินถ้ามีโอกาส) คล้าย ๆ กับการ์ตูนล้อเลียนนักการเมืองในหนังสือพิมพ์ของไทยในปัจจุบันผมเองยังเคยได้รับ Joke เกี่ยวกับ IQ ของท่านประธานาธิบดีทางอีเมลด้วย

ปัจจุบันประธานาธิบดีบุช จึงกลายเป็นผู้ที่มีอำนาจมากที่สุดในโลกขณะนี้ไปแล้ว…


ที่มา: อินทาเนีย ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2565 คอลัมน์ เก็บมาฝาก โดย ว่าที่ร้อยตรีสมชาย วสันตวิสุทธิ์ วศ.17


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save