ประเทศไทย 5.0 ภาพนิมิต คุณภาพชีวิตคนไทย 5.0 ภาคสอง การเมือง 5.0 บทที่ 5 ระบอบการปกครองแบบสังคมธรรมาธิปไตย

ประเทศไทย 5.0 ภาพนิมิต คุณภาพชีวิตคนไทย 5.0 ภาคสอง การเมือง 5.0 บทที่ 5 ระบอบการปกครองแบบสังคมธรรมาธิปไตย


ในระหว่าง พ.ศ.2575-2580 รัฐบาล คชป. ได้ปฏิรูประบอบการปกครองให้เป็นประชาธิปไตยที่เป็นธรรมแก่ทุกคนในสังคม ซึ่งประชาชนสามารถควบคุมการใช้อำนาจรัฐ ให้มีความโปร่งใส เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมส่วนรวมอย่างเป็นธรรมได้ตลอดเวลา พร้อมทั้งกระจายอำนาจ งบประมาณ และข้อมูลข่าวสาร-ความรู้ที่ถูกต้องไปสู่ประชาชนโดยตรงอย่างทั่วถึง ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตฟรีทั่วประเทศ และสื่อสังคมออนไลน์ที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการบรรลุเข็มมุ่งที่จะลดความเหลื่อมล้ำ ขจัดความยากจน ช่วยให้ทุกคนเข้าถึงปัจจัยในการผลิตได้ตามที่ต้องการและอย่างพอเพียง ได้ประกอบอาชีพที่ตนถนัดและชื่นชอบกันถ้วนหน้า อย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็น ‘สังคมอุดมธรรม’ ที่ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างมี จริยธรรม คุณธรรม มนุษยธรรม ยุติธรรม นิติธรรม

ประเทศไทย 5.0 ภาพนิมิตคุณภาพชีวิตคนไทย 5.0: อนุทินแห่งความสำนึกบุญคุณ-จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน บันทึกความทรงจำโดย ดร.วีรพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล นวัตกรรมสังคมเผยแพร่ครั้งแรกทางอินเทอร์เน็ต ระหว่างวันที่ 16 เมษายน 2561-10 พฤศจิกายน 2561 เนื้อหาโดยรวมทั้งหมด 8 ภาค ประกอบด้วย ภาคหนึ่ง การศึกษา 5.0 ภาคสอง การเมือง 5.0 ภาคสนาม สังคม 5.0 ภาคสี่ การเงิน 5.0 ภาคห้า จักรพรรดิ เงินตรา 1.0 ภาคหก ทรราชเงินตรา 2.0 ภาคเจ็ดอสูรเงิน 3.0 และภาคแปด อารยธรรม 5.0

“ระบอบการปกครองแบบสังคมธรรมาธิปไตย” มีองค์ประกอบและลักษณะที่สำคัญ ดังนี้

1) รัฐสภา-คัดกรองคนดีเข้าสู่อำนาจ

1.1) ส่งเสริมให้มีการจัดตั้ง “หน่วยพรรคการเมืองประจำหมู่บ้านและตำบล” เพื่อให้ประชาชนที่มีจิตสาธารณะมีพื้นที่รวมตัวกันโดยสมัครเป็นสมาชิกพรรค เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่ และตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้บริหารส่วนท้องถิ่นได้อย่างเข้มข้น

1.2) ประชาชนเลือกตัวแทนของพรรคการเมืองในหมู่บ้านจากผู้ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน และมีการดำเนินกิสาธารณะร่วมกันมาตลอด รู้ว่าใครดีใครชั่วอย่างไร จึงสามารถเลือกคนตี ไม่โกงกิน มีคุณรรม-กล้าต่อสู้กับความไม่ถูกต้อง มีความรู้ เสียสละมุ่งทำงานเพื่อส่วนรวม ได้ถูกคน

1.3) ตัวแทนของหมู่บ้านประกอบกันเป็นสมาชิกของสภาตำบล และเลือกประธานสภาตำบล

1.4) ประธานสภาตำบลประกอบกันเป็นสมาชิกของสภาจังหวัด และเลือกประธานสภาจังหวัด

1.5) ประธานสภาจังหวัดและรองอีก 2 คน เป็นสมาชิกรัฐสภา

2) รัฐบาลสรรหาคนเก่งมาบริหาประเทศเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

2.1) รัฐสภา สรรหาคัดเลือกและว่าจ้างนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจากผู้ที่มีความรู้ความสมารถและประสบการณ์ในการบริหารเป็นที่ประจักษ์ และต้องไม่เป็นสมาชิกรัฐสภาตามกระบวนการที่กำหนด ผู้ได้รับกาวจางต้องเสนอเข็มมุ่ง-เป้าหมาย-แผนงานในการบริหารที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้บรรลุผลตามตัวชี้วัดผลงานถึงระดับที่ตกลงกันในสัญญาจ้าง มีวาระตามสัญญาจ้างครั้งละ 2 ปี ต่ออายุได้โดยความเห็นชอบของรัฐสภา

2.2) ตำแหน่งทางการเมืองอื่น ๆ เช่น ประธาน/คณะกรรมการบอร์ด ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ ทั้งหลาย ได้รับการสรรหาและเสนอชื่อโดยรัฐมนตรีประจำกระทรวงที่เกี่ยวข้องและต้องได้รับการเห็นชอบจากรัฐสภา

3) กรรมาธิการแห่งรัฐสภา-กำกับการทำงานของคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานราชการ

รัฐสภา แต่งตั้งสมาชิกรัฐสภาให้เป็นกรรมาธิการด้านต่าง ๆ เพื่อกลั่นกรองและอนุมัติแผนงานและงบประมาณ ติดตามตรวจสอบใช้งบประมาณและการดำเนินงานของกระทรวง-ทบวง-กรม-หน่วยงานของรัฐทั้งหลาย ให้เป็นไปตามเข็มมุ่ง-เป้าหมาย-แผนงานที่ตกลงกันไว้ในสัญญาจ้าง

เข็มมุ่ง-เป้าหมาย-แผนงาน ที่ตกลงว่าจ้างในแต่ละระยะ จะต้องสอดคล้องกับเข็มมุ่งหลักของพรรคคุณภาพชีวิตประชาชนไทยที่ครองเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภา นั่นคือ การลดความเหลื่อมล้ำ การแก้ไขปัญหาความยากจน การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และการพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ตัวอย่างเช่น

ประเทศไทย

เข็มมุ่งด้านการสร้างสังคมดิจิทัล

1) พัฒนาต่อยอด [เครือข่ายอินทอร์เน็ตใยแก้วนำแสงแห่งชาติ] เพื่อให้ประชากร 100 เปอร์เซ็นต์ ทุกหลังคาเรือนใน 76,000 หมู่บ้านทั่วประเทศ ใช้งานโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเดียวกับการใช้ถนน สายไฟฟ้า ท่อประปา เพื่อให้สามารถเข้าถึงสารสนเทศ ความรู้แอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้โดยเท่าเทียมกัน

2) สร้าง [ชานชาลาระบบระบุตัวตนแบบดิจิทัลแห่งชาติ] และ [Hopebook] ให้เป็น ชานชาลาแห่งชาติสำหรับประชาชนทั่วไปเข้ามาใช้งานแอปพลิดชันต่าง ๆ ได้ฟรี เพื่อการรับบริการด้านสาธารณสุข การหาความรู้ในการประกอบอาชีพต่าง ๆ การวางจำหน่ายสินค้าออนไลน์ รวมทั้งการทำธุรกรรมทางการเงิน และการลงประชามติ

เข็มมุ่งด้านการปฏิวัติระบบการศึกษา

1) มีโรงเรียนอนุบาลทั่วประเทศจำนวน 20,000 แห่ง สามารถให้บริการรองรับเด็กก่อนวัยเรียนได้ครบทุกคน

2) แม่ลูกอ่อนทุกคน ได้รับการอุดหนุนค่าใช้จ่ายและสิ่งของที่จำเป็นในการดูแลครรภ์จนถึงอายุ 36 เดือน

3) เยาวชนทุกคน ได้รับการอุดหนุนค่าใช้จ่ายค้นการศึกษาที่เพียงพอ ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับมหาวิทยาลัย

4) พัฒนา [หลักสูตรแห่ชาติและสาระการเรียนรู้แบบรายวัตถุ] เป็นแอปพลิเคชันอย่างหนึ่งใน [Hopebook] ตามที่อธิบายมาแล้วในภาค 1 เพื่อให้นักเรียนและครูในทุกหมู่บ้านทั่วประเทศไทยใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพสูง

5) ปฏิวัติแนวคิดและวิธีการจัดการศึกษาใหม่ที่เอื้ออำนวยให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้ตรงตามความถนัดทางปัญญาของแต่ละคน ร่วมด้วยช่วยกันเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน ยกเลิกการสอบเพื่อจัดลำดับ-ตัดเกรดในชั้นเรียน และยกเลิกการสอบเพื่อคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย แทนที่ด้วยการจับคู่ตามความเข้ากันได้ด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์

เข็มมุ่งด้านการดูแลสุขภาพของประชาชน

1) เพิ่มจำนวนโรงพยาบาล สถานรักษาพยาบาล และคลินิกตามหมู่บ้าน ให้มีเตียงคนไข้ 5 เตียง พยาบาล 2.5 คน และแพทย์ 0.5 คน ต่อประชากรทุก ๆ 1,000 คน

2) จัดให้มี [หมอประจำตัว] และ (แอปพลิดชัน-ระบบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ) ซึ่งประชาชนทุกคนสามารถข้าถึง เพื่อไต้รับคำแนะนำในการรักษาได้ฟรีผ่าน (เครือข่ายอินเทอร์เน็ตแห่งชาติ)

3) สร้างสนามกีฬาชุมชน เพื่อให้ประชากรร้อยละ 40 ได้ใช้เวลาออกกำลังกายในสถานที่เหล่านี้ เพื่อให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์

4) อัตราการตายของเด็กแรกเกิดลดลงเหลือ 0.5 ต่อ 1,000 คน

5) อายุเฉลี่ยของประชากรเพิ่มขึ้นจาก 76.5 ปี เป็น 85 ปี

เข็มมุ่งด้านการดูแลสวัสดิภาพของผู้ด้อยโอกาส

1) สร้างบ้านหรืออะพาร์ตเมนต์ให้คนจนทุกคนได้มีที่อยู่อาศัย

2) อุดหนุนปัจจัยดำรงชีพ 5 ประการ คือ 1. อาหาร 2. เสื้อผ้า 3. การรักษาพยาบาล และยา 4. ที่อยู่อาศัย และ 5. ค่าทำศพ โดยสมทบให้แก่ครอบครัวที่ยังมีรายได้ไม่ถึง 30,000 บาทต่อคนต่อปี ให้ได้ครบเต็มจำนวน

3) การดำเนินการตามข้อ 1) และ 2) ให้กระทำแผน [กองทุนแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและส่งเสริมการแบ่งปันมูลค่าเพิ่มของสังคมอย่างเป็นธรรม] ซึ่งจะอธิบายต่อไปในบทที่ 7

เข็มมุ่งด้านการเสริมพลังให้ประชาชนเข้าถึงปัจจัยการผลิตโดยเท่าเทียมกัน

1) ตั้ง [กองทุนและธนาคารที่ตินประจำหมู่บ้าน] เพื่อให้เกษตรกรมีที่ดินหมุนเวียนใช้เพาะปลูกได้ตลอดไป และมีเงินลงทุนในการผลิตสินค้าประจำหมู่บ้าน (บทที่ 8)

2) ตั้ง [กองทุนวิสาหกิจประจำหมู่บ้าน] เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนและร่วมทุนใน [วิสาหกิจประจำหมู่บ้าน] โดยให้ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในหมู่บ้านนั้นเป็นพนักงานและถือหุ้นของวิสาหกิจ (บทที่ 9)

3) ตั้ง [กองทุนวิสาหกิจมวลประชา] เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนและร่วมทุนในวิสาหกิจขนาดใหญ่ในระดับภูมิภค เช่น โรงผลิตไฟฟ้า 3 จังหวัดชายแดนใต้ บริษัทสโมสรฟุตบอลหนองนักสู้ยูไนเต็ด โดยให้ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในภูมิภาคนั้นเป็นพนักงานและถือหุ้นของวิสาหกิจ (บทที่ 10)

4) การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น-กระจายอำนาจเพื่อระดมสรรพกำลังสร้างชาติให้เข้มแข็ง

สภาท้องถิ่น (ทั้งระดับตำบลหรือระตบจังหวัด) เป็นผู้สรรหาและว่าจ้างผู้บริหารองค์กรส่วนท้องถิ่น โดยคัดเลือกจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการบริหารเป็นที่ประจักษ์ และต้องไม่เป็นสมาชิกของสภาท้องถิ่นตามกระบวนการที่กำหนด มีเข็มมุ่ง-เป้าหมาย-แผนงานในการบริหารตามที่ตกลงในสัญญาจ้างมีวาระตามสัญญาจ้างครั้งละ 2 ปื

รวมทั้งแต่งตั้งตัวแทนประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นกรรมการในคณะกรรมการกำกับกิจการที่องค์กรส่วนท้องถิ่นตั้งขึ้น เช่น กรรมการบริหารตลาดนัดประจำอำเภอผู้บริหารองค์กรส่วนจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารกิจการภายในจังหวัด ดังนี้

  1. กิจการตำรวจ บริหารงานโตยคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะ
  2. การควบคุมดูแลโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การวางผังเมือง ถนน ทางหลวง แม่น้ำ เคหะชุมชน
  3. การบริหารจัดการโรงเรียนมัธยมปลาย การจัดสรรเงินเดือนและสวัสดิการของครู
  4. สวัสดิการสังคม ได้แก่ สวัสดิการเด็ก สวัสดิการผู้สูงอายุ
  5. การสาธารณสุขและอนามัย
  6. การพาณิชย์และการอุตสาหกรรม เช่น การสนับสนุนให้เกิด [วิสาหกิจประจำหมู่บ้าน] ทั่วทั้งจังหวัด (บทที่ 9) และยกระดับเป็น [วิสาหกิจมวลประชา] (บทที่ 10) การสร้างศูนย์อุตสาหกรรมเพื่อดึงดูดการลงทุนในจังหวัด

การกระจายอำนาจ ช่วยเพื่อประสิทธิภาพในการพัฒนาท้องถิ่นให้เข้มแข็ง และชาติก็เข้มแข็งขึ้นอย่างรวดเร็ว

อนึ่ง ในอดีตก่อน พ.ศ. 2575 การบริหารราชการมีลักษณะรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง กล่าวคือ

ราชการส่วนกลาง ซึ่งหมายถึงกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ที่มีรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดแบ่งอำนาจการบริหารไปให้ ราชการส่วนภูมิภาค ซึ่งหมายถึงจังหวัดและอำเภอ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในจังหวัด และนายอำเภอซึ่งสังกัดกรมการปกครองเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในอำเภอ มีอำนาจเฉพาะเพียงได้รับมอบหมายจากราชการส่วนกลาง ไม่มีงบประมาณเป็นของตนเอง ต้องอาศัยการจัดสรรจากราชการส่วนกลางไปให้ในพื้นที่ ใช้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลางมีหน้าที่เพียงดำเนินการตามนโยบายและวัตถุประสงค์ของรัฐบาลกลาง

แต่ระบอบการปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง โดยเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่นเป็นนิติบุคคลแยกอิสระจากการบริหารราชการส่วนกลาง มีสิทธิและอำนาจในการทำนิติกรรมและสัญญาต่าง ๆ เป็นเจ้าของหรือถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่าง ๆ มีงบประมาณเป็นของตนเอง เพื่อใช้ในการดำเนินงานขององค์กรให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนในท้องถิ่น มีอำนาจว่าจ้างและกำกับการทำงานของผู้บริหารมืออาชีพและเจ้าหน้าที่ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คือสภาพการเมืองการปกครองของประเทศไทยที่ได้รับการปฏิรูปเรื่อยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2566 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2599) ตามแนวทางการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ภายใต้การนำของรัฐบาลพรรคคุณภาพชีวิตประชาชน ส่งผลให้คนไทยมีความสุขกันโดยถ้วนหน้าเกิดสภาพ “สังคมอุดมธรรม” ที่ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม ยุติธรรม นิติธรรม และมนุษยธรรม เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วประเทศก้าวหน้าเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ทัดเทียมกับประเทศแนวหน้าอื่น ๆ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน รัสเซีย เวียดนาม

ขั้นตอนที่ 6 แปรมาตรการไปสู่การปฏิบัติ

การแปรขบวน [เข็มมุ่ง-ป้าหมาย-และแผนงานของรัฐบาล] ในต้านต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาข้างตัน ไปสู่การปฏิบัติ ตามแนวทางของ TQM แยกออกได้เป็น 3 ช่องทาง ตามลักษณะของการนำไปปฏิบัติและระดับของผู้รับผิตชอบดังนี้

1) ระดับกลยุทธ์ของประเทศ อยู่ในความรับผิตชอบของรัฐบาลกลาง เช่น การพัฒนาชานชาลาระบบระบุตัวตนแบบดิจิทัลแห่งชาติ การสร้างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแห่งชาติผ่านใยแก้วนำแสง การตั้งบริษัทพลังงานแห่งชาติ เพื่อเป็นตัวแทนการจ้างผลิตแทนการให้สัมปทานขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ การพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมเพื่อการขนส่งคนและสินค้าอย่างไร้รอยตะเข็บ การพัฒนาเขตระเบียงเศรษฐกิจแถบตะวันออก (EEC)

2) ระดับการปรับปรุงกระบวนการข้ามหน่วยงาน (Cross Functional Management) อยู่ในความรับผิดชอบของที่มงานที่มาจากหลายกระทรวงหลายกรม เช่น การพัฒนา Hopebook และแอปพลิเคชันต่าง ๆ

3) ระดับการปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานอันเป็นหน้าที่หลักของหน่วยงาน อยู่ในความรับผิดชอบของกรม กอง หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยใดหน่วยหนึ่ง

เมื่อมีการแปรขบวนแผนเข็มมุ่งของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติแล้ว รัฐบาลก็ได้ส่งเสริมให้เกิดการปรับปรุงาน ด้วยการจัดให้มีการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคในการปรับปรุงคุณภาพงานแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐทั่วประเทศโดยได้รับความช่วยเหลือจกมูลนิธิส่งเสริมที่คิวเอ็มในประเทศไทย ติดตามตรวจวินิจฉัยความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผน และจัดให้มีการประกวดผลงานการปรับปรุงคุณภาพงานประจำปี (QC Conference)

ขั้นตอนที่ 7 ประเมินประสิทธิผลและปรับปรุงแผน

รัฐบาล คชป. ได้ติดตามประเมินสิทธิภาพผลของการลดความเหลื่อมล้ำและการแก้ไขปัญหาความยากจนว่า เข้าใกล้เป้าหมาย (ซึ่งก็คือ อิสโตแกรม แสดงการกระจายรายได้สีน้ำเงิน ในหน้า 4) ได้ดีเพียงพอหรือไม่ พร้อมทั้งค้นหาอุปสรรคที่จะต้องนำมาแก้ไขอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลของการบรรลุเป้าหมายต่อไป

(อ่านต่อฉบับหน้า – บทที่ 6 [การเมืองยุคดิจิทัล]


ที่มา: อินทาเนีย ฉบับที่ 1 ปี พ.ศ. 2563 คอลัมน์ เก็บมาฝาก โดย ดร.วีรพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล วศ.18


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save