มุมมองว่าด้วยทาง (Notes on Way)

มุมมองว่าด้วยทาง (Notes on Way)


คำนามอย่าง ทาง (Way) ที่สั้นเพียงพยางค์เดียว เขียนง่ายออกเสียงคล่อง ใช้กันบ่อยแพร่หลายทั่วไปในวงกว้างขวางนอกจากให้ความหมายที่สมบูรณ์ในตัวเองแล้ว ยังเป็นรากฐานของการสื่อความหมายเพิ่มเติมต่อยอด ขยายกรอบสร้างโครงลงลึกได้อย่างแจ่มแจ้งครบถ้วนครอบคลุมแบบบูรณาการให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นจากเชิงความคิด คำพูดสื่อความ จนถึงความประพฤติลงมือทำ จากภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ จนถึงภาคปฏิรูป

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน คำว่า ทาง หมายถึง ที่หรือแนวหรือพื้นที่สำหรับใช้สัญจรเดินไปมา ช่อง โอกาส แนว วิธีกลยุทธ์ แถว แถบ ถิ่น ฝ่าย ข้าง ส่วน ซึ่งตรงกับศัพท์ในภาษาอังกฤษหลายคำ เช่น Chance, Channel, Condition, Course, Means, Pass, Path, Route, State, Trace, Track, Walk, Way เบื้องต้นดูเหมือนเกี่ยวกับภูมิสภาพเท่านั้น แต่ความหมายเป็นนามรูปทั้งด้านกายภาพ (Physical) และคติภาพมโนภาพ (Logical!) แสดงศักยภาพ (Potential) พฤติภาพ (Behavioral) จนถึงสัมฤทธิภาพ (Actual) ตลอดแถบนามรูป Physical, Chemical, Biological, Electrical, Digital, Informational, Logical, Mental และ Spiritual

โดยรูปแบบปกติทั่วไป ต้นทาง (Origination) เป็นจุดเริ่มตันจุดเริ่มทาง ณ ปัจจุบัน (Now) จากนั้นก็เป็นอนาคต (Next) เปิดทาง (Initiation) ไป ตามทาง (Transition) ระหว่างทางขวางทางถึง กลางทาง (Intervention) ต่อไปจนถึง ปลายทาง (Completion) สุดทาง (Destination) ปิดทาง (Termination) เป็นจุดหมายจุดจบจุดประสงค์ ส่วน เส้นทาง (Route) แสดงการเคลื่อนที่ย้ายที่เปลี่ยนตำแหน่งแปลงสภาพไปตามทางผ่าน (Passage) ทางเดินทางวิ่ง ทางแล่น ทางล่อง จากจุดเริ่มต้นถึงจุดจบ เรียกว่า การเดินทาง (Expedition) ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงแตกต่างกัน(Difference) ทั้งมิติเทศ-เทศะ (Space) ได้แก่ ระยะทาง (Distance) กับระยะทางตรง (Displacement) และมิติกาล-กาละ (Time) ได้แก่ระยะเวลา (Duration) กับระยะเวลาตรง (Interval) ซึ่งสัมพันธ์กันด้วยอัตราเร็ว (Speed) กับความเร็ว (Velocity) ตามลำดับหากออกจากจุดเริ่มต้นได้เร็ว การเดินทางจะใช้เวลาบนเส้นทางได้เต็มที่ เมื่อถึงจุดหมายซึ่งจะกลายเป็นจุดเริ่มตันใหม่เป็น ต้นทางใหม่ (Recursion) สำหรับการเดินทางครั้งถัดไปต่อเนื่องตาม วงจรทาง (A Route Cycle) เป็น วงจรชีวิต (A Life Cycle) หรือ เส้นทางชีวิต วิถีชีวิต (A Life Path) เพราะทุกขณะ ปัจจุบันเดิมกลายเป็นอดีต และบางส่วนของอนาคตเดิมกลายเป็นปัจจุบัน

วงจรทาง (A Route Cycle)

วงจรทาง (A Route Cycle)

ทั้งนี้กรอบความคิดอันเป็นโครงสร้างแสดงการกระทำหรือ กรรม (Interaction) ทั้งกิริยา (Action) และปฏิกิริยา (Reaction) จุดเริ่มตันก่อนอื่นใดคือ ลำดับสำคัญ อภิวิถี (Attention) ความรู้ความเข้าใจตระหนักรู้สภาพจริงคติภาพความคิดตั้งต้น ต้นทาง (Conception) ที่ทาง (Proposition) ตำแหน่ง (Position) ทำเล (Location) สถานภาพ (Condition) สถานการณ์ (Situation) ตามมาด้วยความคิดเห็นดำริ ชี้ทาง (Intention) พินิจพิเคราะห์วิเคราะห์วิจัย กำหนดวิสัยทัศน์ภาพใหญ่ (Mission) ในปัจจุบัน (Present) อ้างอิงเชื่อมโยงพึ่งพิงยึดเหนี่ยวด้วย หลักทาง (Foundation) คุณค่าคุณธรรมนำไปสู่ ทิศทาง (Direction) ในอนาคต (Future) แล้วระบุชัดเจนขึ้นตาม คาดทาง (Contemplation) ถึงแนวโน้ม (Trend) เป็นแนวทาง (Course) หนทาง (Path) ลู่ทาง (Track) กรอบทาง (Frame) และชัดเจนมากขึ้นตาม ร่องทาง (Conduction) ถึงการเคลื่อนที่ลงมือทำ (Toil) เป็นวิถีทาง (Approach) ช่องทาง (Channel) ขอบทาง (Bound) จนสามารถบรรลุการ ดำเนินการเดินทาง (Execution) หรือการเดินทาง (Journey) แสดงได้ด้วยประสบการณ์ (Experience) บันทึกการเดินทาง (Journal) รอยทาง (Trace) ถึงจุดหมายคือ สุดทาง (Conclusion) ตามความต้องการปรารถนาตั้งใจได้สมบูรณ์ (Completion) สอดรับกันตาม องค์ประกอบพื้นฐานของทาง (Basic Building Blocks of Way) โดยมีคน (People) เป็นจุดหมุนแกนร่วม ได้แก่ สารัตถปัจจัย นัยสำคัญ (Priority) ปรัชญา ความเชื่อ (Philosophy) โครงสร้าง บริบท (Profile) วัตถุประสงค์ (Purpose) หลักการ (Principle) นโยบาย (Policy) ขั้นตอน (process) วิธีการ (Procedure) การปฏิบัติ (Practice) ผลการปฏิบัติ (Performance)

ในทางปฏิบัตินั้น เมื่อประสบเหตุการณ์ที่มีความเป็นไปได้ (Possibility) และน่าจะเป็น (Probability) คือมีทาง (Plausibility) ควบคู่กับความไม่แน่นอน (Uncertainty) หรือความเสี่ยง (Risk) ที่มักรู้จักกันในรูปทวิภาค ได้แก่ ข้อดี (Strength) กับข้อด้อย (Weakness) โอกาส (Opportunity) กับอันตรายภัยคุกคาม (Threat) พร้อมความท้าทาย (Challenge) กับอุปสรรค (Obstacle) รวมทั้งผลได้ผลดี (Help) กับผลเสียผลร้าย (Hut) ซึ่งเป็นคุณสมบัติปกติตามหลักไตรลักษณ์ (Tilakkhana) ได้แก่ อนิจจัง (Uncertain) ทุกขัง (Unstable) อนัตตา (Uncontrollable) กิจกรรมภารกิจที่สำคัญตามกรอบปัจจัย CO’SWOT จึงเกิดขึ้นและดำเนินสืบเนื่องไปอย่างมีเหตุมีผลตาม หลักอิทัปปัจจยตา (Idappaccayata) เช่น นำทาง (Lead) ตามทาง (Follow) สำรวจทางกรุยทาง (Survey) หาทาง (Seek) ประเมินทาง (Assess) สร้างทางวางระบบ (Layout) มุ่งทาง (Determine) จัดทาง (Arrange) เตรียมเดินทาง (Prepare) เดินทาง (Move) ร่วมทาง (Share) เสริมทาง (Support) หลงทาง (Lose) ซ่อมทาง (Mend) ดูทาง (Monitor) เปลี่ยนทิศทาง (Revise) หลบทาง (Abscond) ปรับทาง (Tune) คุมทาง (Control) ตรวจทาง (Audit) ทั้งรูปธรรมและนามธรรม เช่น ทางคมนาคม ทางขนส่งทางติดต่อสื่อสาร ทางสื่อสาร

องค์ประกอบพื้นฐานของทาง (Basic Building Blocks of Way)

องค์ประกอบพื้นฐานของทาง (Basic Building Blocks of Way)

เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง (Change) มีหลายทางเลือก (Choice) หลายทางที่เป็นไปได้ (Chance) ที่จุดทางตัดทางแพร่งทางแยก (Junction) จึงต้องมีการเลือก (Selection) ตอบคำถาม (Question) ไขปริศนา (Conundrum) แก้ปัญหา (Problem) หรือตัดสินใจ (Decision) เพื่อหาทางหาคำตอบ (Answer) ทางเข้า (Entrance) ทางออก (Exit) ทางแก้ (Solution) หลีกหนีทางตัน (End) พิจารณาสารพัดทางหลากหลายทางเลือก (Alternative) ทางเผื่อเลือก (Option) ตามสภาพทาง (Constraint) ท่ามกลางเครือข่ายทาง (Network) เช่น ทางหลัก ทางรอง ทางสำรอง ทางใหญ่ ทางเล็ก ทางตรง ทางอ้อม ทางคู่ ทางขนาน ทางเบี่ยง ทางเสี่ยง ทางข้าม ทางด่วน ทางพิเศษ ทางลัด ทางเลี้ยว ทางโค้ง ทางกลับ ทางวกทางวน ทางต่อ ทางเรียบ ทางลาด ทางลื่น ทางชัน ทางเปลี่ยวทางเกิด ทางตีบ ทางตัน ทางตาย ทางรุ่ง ทางร่วง ผสมผสานสลับสับเปลี่ยนกันไป ในทางเดียวกันนั้นแต่มีหลายลักษณะอยู่ร่วมกันพร้อมกันบางช่วงบางตอนบางขณะ ตามสถานการณ์ความเหมาะสมสู่ทางปลอดภัยทางหนีทางรอด (Escape) ต่อไปถึงทางเจริญก้าวหน้า (Excel) ให้สุดทาง (Extreme) โดยใช้เครื่องนำทาง (Guide) เช่น เข็มทิศทาง (Compass) แผนที่ แผนทาง (Map) โครงร่างแผน (Plot) แผนการ (Plan) จึงต้องหมั่นฝึกเจริญสติปัญญาตาม หลักอัปปมาทะ (Appamada) รู้รวบ (Space) รู้รอบ (Span) รู้รวด (Spring) รู้รักษ์ (Spare) สมเหตุผล เหมาะสมพอประมาณ ระมัดระวัง ไม่ประมาท ซึ่งต้องหมั่นทบทวนแก้ไขปรับปรุง (Revision) ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ เพราะมองไกลคงไม่อาจเห็นได้ชัดเจนถูกต้องแม่นยำดีเท่ากับมองใกล้ กล่าวคือ ปัจจุปปันธรรม (Paccuppan-dhamma) อยู่กับปัจจุบันตาม หลักปฏิจจสมุปบาท (Paticcasa-muppada) หลักอิทัปปัจจยตา (Idappaccayata)

การจำแนกทาง (Anatomy of Way)

การจำแนกทาง (Anatomy of Way)

โดยทั่วไป ลักษณะของทางอาจแจกแจงได้ตาม การจำแนกทาง (Anatomy of Way) ประกอบด้วย 6 มิติ ดังนี้ หนึ่ง มิติกรรม (Deed) การกระทำ อายตนะ ได้แก่ ทางการคิด (Think) ทางการพูด (Talk) ทางการทำ (Task) สอง มิติพฤติกรรม (Act) อาการ อาวุธ ได้แก่ ทางตรง (Direct) ทางอ้อม (Indirect) สาม มิติกิจกรรม (Activity) อารมณ์ อาวรณ์ ได้แก่ ทางเปิดเผยปรากฏ (Explicit) ทางปิดบังอำพรางแอบแฝง (Implicit) สื่อ มิติบทกรรม (Role) บทบาท รูปแบบ ได้แก่ ทางรับ (Defensive) ทางรุก (Offensive) ห้า มิติยศกรรม (Rank) ขั้น ระดับ ชั้น ได้แก่ ทางยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ (Strategic) ทางยุทธวิธี กลไกยุทธ์ (Tactical) ทางยุทธศิลป์ เทคนิคมาตรการ กลวิธียุทธ์ (Technical) ทางยุทธการ กิจการยุทธ์ (Operational) และสุดท้าย หก มิติชุดกรรม (Set) ระบบกระบวนการ ได้แก่ ทางจัดการ (Management) ทางคุมการ (Control) ทางทำการ (Operation) ทางรายการ (Transaction)

อย่างไรก็ตาม ในชีวิตความเป็นจริง ตามบริบทของสังคม(Society) ด้วยระบอบการเมืองการปกครอง (Government) และตามบริบทขององค์กร (Company) ด้วยการกำกับดูแลบริหารจัดการ (Governance) ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะจากโลกาภิวัตน์และเทคโนโลยี ทำให้ต่างคนต่างรู้สึกว่าก้าวไปด้วยกันทั้งที่เพราะว่าทุกคนถูกแรงขับเคลื่อนไปเช่นเดียวกัน แต่บางคนยังใส่แรงเข้าไปอีก ไม่ว่าแรงเติม (Persistence) หรือแรงต้าน (Resistance) ก็ตาม ถ้าความต่างกันเกิดตั้งแต่จุดเริ่มต้น แม้ว่าจะเดินร่วมทางมาตามทางด้วยกัน ก็เหมือนกันเพียงในเชิงรูปธรรมกายภาพวัตถุ แต่ยังคงต่างกันในเชิงนามธรรมมโนภาพอารมณ์ จึงเป็นความแตกต่างที่สะสมช่อนรูปในความเงียบ นอกจากนั้น ยังมีประเด็นการตีความหมาย (Interpretation) เช่น ทางตรง อาจเป็นมุ่งตรงไปยังเป้าหมายโดยไม่คำนึงถึงปัจจัยอื่น ตรงไปตรงมา แข็งกร้าวไม่ยืดหยุ่น มักง่ายเอาสะดวก หรือตรงปัญหาตรงประเด็นตรงกรณีตรงจุดตรงใจ หรือตรงเหตุตรงผล เที่ยงตรง ความความถูกต้องเป็นธรรม ยิ่งต่างคนต่างไป ต่างคิดต่างทำ ยิ่งทำให้ทางเบี่ยงเบน (Deviation) มากขึ้นกลายเป็นทางบานปลายที่อาจพลาดเป้าไม่ตรงจุดหมาย

ทั้งนี้ กระบวนทรรศน์ แบบเยี่ยงอย่างยืนยัน (Paradigm) สำหรับการควบคุมดูแลรักษาสมดุลถ่วงดุลที่เหมาะสม ระหว่างปริทรรศน์ แบบแยกแยะ (Parallel) กับปฏิทรรศน์ แบบแยกแย้ง (Paradox) ย่อมส่งเสริมให้เกิด อุตมทรรศน์ แบบยอดเยี่ยมยิ่งยวด (Paragon) หากปราศจากดุลยภาพ (Balance) โดยเฉพาะระหว่างอิสรภาพเสรีภาพ (Liberty) กับสมภาพเสถียรภาพ (Stability) ระหว่างความหลากหลายเบี่ยงเบนแปรปรวน (Disparity) กับความคล้ายคลึงกลมกลืนสม่ำเสมอ (Consistency) และระหว่างการกระจายแยก (Segregation) กับการกระจุกรวม (Congregation) เสียแล้ว ความแตกต่างเชิงลบจะสะสมเพิ่มมากขึ้น (Entropy) และอาจมากเกินไป (Excess) จนถึงขั้นนำไปสู่ปัญหาวุ่นวาย (Disorder) บานปลาย (Divergence) เป็นช่องว่าง (Gap) ได้ในหลายลักษณะ เช่น เหลื่อมล้ำ ขัดแย้ง แตกแยก หักล้าง ถดถอยหายนะ ตัวอย่างเช่น นวัตกรรม (Innovation) ที่มุ่งเน้นคิดผลิตวัสดุชนิดใหม่ จนนิยมใช้งานกันแพร่หลายมานานทีเดียว ต่อมาภายหลังวิทยาศาสตร์สายอนุรักษ์ (Conservation) จึงเพิ่งศึกษาชี้ปัญหาแก้ปัญหาลดผลกระทบจากวัสดุนั้น อีกตัวอย่าง กฎหมายจำกัดกำกับควบคุม (Regulation) การถือครองค้าขายอาวุธที่มีอำนาจรุนแรงหรือยาที่เป็นสารเคมีตั้งต้นของยาเสพติด

การดำเนินชีวิตคือการเดินทางต่อเนื่องกันไปเป็นห่วงโซ่ วงเวียนกรรมหรือวงจรทาง บนเส้นทางชีวิต อยู่รอดปลอดภัย (Survive) เจริญรุ่งเรือง (Thrive) และสำเร็จบรรลุ (Revive) เพื่อความอยู่รอดเผชิญหน้าผจญประสบ ผ่านพ้นรอดพ้น (Address) ความเจริญก้าวหน้าพัฒนา (Progress) และความสำเร็จ นำหน้าสัมฤทธิผล (Success) ได้อย่างยั่งยืน (Sustainable) ไปตลอดทางชีวิต อย่างน้อยต้องอาศัย หลักทางสู่สัมฤทธิผล (Efficacy Way) อิทธิบาท (Iddhipada) หรือเส้นทางการพัฒนา เส้นทางแห่งความเจริญ (Efficacious Developing Course) ได้แก่ ฉันทะ (Aspiration) วิริยะ (Exertion) จิตตะ (Devotion) และวิมังสา (Inspection) และหลักทางสายกลาง (Middle Path) มรรค (Magga) ไตรสิกขา (Tisikkha) ได้แก่ ศีลธรรม (Conscience-Morality) สมาธิ (Concentration-Meditation) กับสติ (Consciousness-Mindful-ness) และปัญญา (Comprehension-Mentality) ซึ่งอาจสรุปรวมกันให้ง่ายว่า ทางพอเพียง (Sufficiency Way) คือ รู้จักตัวเอง รู้เขารู้เรา รู้จักใจเขาใจเรา (Sense of Minds) รู้จักกาลเทศะ (Sense of Space and Time) รู้จักพอเพียง (Sense of Sufficiency) หรือย่อว่า รู้จักทาง (Sense of Ways) นั่นเอง

อ้างอิง:

รากของหลักการความพอเพียง (Root of Sufficiency Principle) บทส่งท้ายในหนังสือ “ประเทศไทยในรัชกาลที่ 9: ครบรอบ 72 ปี ธนาคารกรุงเทพ,” ปิยะพันธ์ ทยานิธิ และคณะ (ISBN 978-974-8106-47-2) มิถุนายน 2560 หน้า 249-254


ที่มา: อินทาเนีย ฉบับที่ 1 ปี พ.ศ. 2563 คอลัมน์ ข้อคิดจากนิสิตเก่า โดย ดร.ปิยะพันธ์ ทยานิธิ วศ.23


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save