ViaBus แอปพลิเคชันติดตามและนำทางระบบขนส่งประจำทางแบบเรียลไทม์

ViaBus แอปพลิเคชั่นเพื่อมวลชน


จุดเริ่มต้นของ ViaBus ที่เกิดจากประสบการณ์ “ตกรถ”

จุดเริ่มต้นของ ViaBus เกิดจากที่ คุณอินทัช พบเหตุการณ์ “ตกรถ” ที่สยามในขณะที่กำลังเดินทางมาร่วมกิจกรรมรับน้องในสมัย ที่กำลังจะเข้าเรียนชั้นปี 1 คณะวิศวฯ จุฬาฯ ทำให้วันนั้นไปเข้าร่วมทำ กิจกรรมที่มหาวิทยาลัยล่าช้า และถูกรุ่นพี่ต่อว่า จากประสบการณ์ที ทำให้รู้สึกอึดอัดใจในวันนั้น ทำให้คุณอินทัชมีความคิดว่า หากเรารู้ว่า รถอยู่ตรงไหน เราก็จะไม่ตกรถและคงไม่ไปร่วมกิจกรรมล่าช้า ใน ขณะนั้นเป็นช่วงปิดเทอมพอดี จึงได้ร่วมมือกับเพื่อนที่พบปัญหาเดียวกัน สร้างแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า Chula Pop Bus ขึ้นมา เป็นแอปพลิเคชัน ติดตามรถ Pop ที่ใช้ในจุฬาฯ ในตอนแรกคิดว่าจะทำขึ้นมาเพื่อ ตอบโจทย์ความต้องการของตัวเองเป็นหลัก ปรากฏว่าผลตอบรับดีมาก มีคนโหลดมาใช้งานประมาณ 4,000 คน/เดือน และเกือบ 40,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ทั้งระบบ IOS และ Android ถือว่าเป็นแอปพลิเคชัน ที่ตอบโจทย์ทั้งในจุฬาฯ และประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงเป็นอย่าง มาก

อินทัช มาศวงษ์ปกรณ์
อินทัช มาศวงษ์ปกรณ์ วศ.2556 ประธานกรรมการบริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง ViaBus

จนกระทั่งวันหนึ่ง…คุณป้าท่านหนึ่งที่มาขายผักในตลาดจุฬาฯ ได้ ขอบคุณรองอธิการบดีว่า แอป Chula Pop Bus ที่คุณอินทัชสร้างขึ้น มานั้นสามารถช่วยเหลือคุณป้าเรื่องการเดินทางในจุฬาฯ ได้เป็นอย่าง มาก จากที่คุณป้าต้องเดินขนผักจนเหนื่อย แต่หันมาใช้รถของจุฬาฯ แทน โดยให้ลูกสอนใช้แอป ซึ่งผมมองว่ามีประโยชน์มาก ๆ ทั้งในเรื่อง ความปลอดภัยและความสะดวกสบาย

ด้วยเหตุนี้จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการแก้ปัญหา การขนส่ง และต่อมาได้มีโอกาสทำแอปพลิเคชัน ViaBus ขึ้นมา จากโครงการ Chula Engineering Innovation Hub ซึ่งเปิด โอกาสให้นักศึกษาสร้างนวัตกรรม เราจึงได้ส่งเรื่องนี้ไป ปรากฏ ว่าตอนนั้น ดร.คชา ทวีแสง บอกว่า หากสนใจให้รีบทำเพราะ ช่วงนั้นโครงการมีเงินทุนสนับสนุน จากนั้นจึงได้ทดลองทำมา ประมาณ 1-2 ปี ตั้งแต่ช่วงที่รถเมล์ไทยยังไม่มี GPS และทำการ ทดสอบ 1-2 รอบ จนเกิดเป็นแอปพลิเคชัน ViaBus ที่เราเห็น กันอยู่ในปัจจุบัน และเนื่องจากโครงการ Chula Engineering Innovation Hub ต้องการให้เกิด Sustainability ของ Innovation ท่ีทำขึ้น เราจึงต้องทำให้โครงการนี้สานต่อได้ โดยการสร้าง Impact ให้มากกว่าพื้นที่ในกรุงเทพฯ ช่วงนั้น เราใช้ระบบการทำงานในรูปแบบ Work from Home จนกระทั่ง ท่านคณบดีให้มาต้ังออฟฟิศอยู่ในพ้ืนท่ีของจุฬาฯ ซึ่งเป็นท่ีมา ของ ViaBus ที่มาอยู่ในพื้นที่จุฬาฯ

ViaBus แอปพลิเคชันการเดินทางโดยรถเมล์ เนื่องจาก คุณอินทัชอยากให้ผู้ใช้แอปฯ ทราบว่า ViaBus คือแอปพลิเคชัน ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางโดยรถเมล์ หากเรานึกถึงรถสาธารณะ เราก็มักจะนึกถึงรถเมล์เป็นอันดับแรก จึงได้ใช้ชื่อว่า ViaBus คำว่า “Via” หมายถึงการเดินทาง “Bus” หมายถึงรถเมล์

จุดเด่นของ ViaBus

ViaBus เป็นแอปพลิเคชันติดตามและนำทางระบบขนส่งประจำทางแบบเรียลไทม์ที่เชื่อมระบบคมนาคมทุกระบบเข้าไว้ด้วยกันในแอปฯ เดียว ทั้งรถเมล์ รถสองแถว รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟ เรือด่วน และ เรือข้ามฟาก ผู้ใช้งาน ViaBus สามารถรู้ตำแหน่งและหมายเลขรถโดยสาร ประจำทาง ป้ายประจำทางที่ใกล้ที่สุด ค้นหาเส้นทางการเดินทางที่เร็วที่สุด คุณอินทัชยังออกแบบแอปพลิเคชันมาให้ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน รองรับ ผู้ใช้งานทั้งระบบ IOS และ Android ผู้ใช้งานสามารถเลือกเมนูที่ต้องการ เช่น วิธีการเดินทาง ดูแผนที่ ค้นหาป้ายรถเมล์ที่ใกล้ที่สุด

ViaBus ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถวางแผนการเดินทางด้วยระบบขนส่ง โดยสารสาธารณะได้ง่ายและสะดวกขึ้น สามารถบริหารจัดการเวลาได้ โดยเช็คเวลารถเมล์ เรือ หรือแม้กระทั่งเช็คเวลารถไฟ ไม่เสียเวลากับการรอ รถหรือเรือโดยสารเป็นเวลานาน ๆ รวมถึงลดความเสี่ยงจากการหลงทาง สามารถตรวจสอบและสอบถามเส้นทางรถเมล์ รถไฟ และเรือโดยสารได้ ผู้ใช้งานสามารถดูตารางเดินรถ เที่ยวรถ พร้อมเวลาที่รถจะมาถึงยังสถานี ไม่ต้องเสียเวลารอรถที่สถานี ลดข้อจำกัดการเข้าถึงบริการสาธารณะ ของคนพิการ เพราะ ViaBus จะระบุรถคันที่สามารถรองรับรถเข็นของ คนพิการได้ รวมทั้งช่วยให้ผู้พิการทางสายตาเข้าถึงบริการสะดวกขึ้น อีกทั้ง ยังสะดวกสบายแก่ชาวต่างชาติ เพราะ ViaBus สามารถแสดงผลเป็นภาษา อังกฤษได้

ViaBus

ปัจจุบัน ViaBus ให้บริการโซลูชันด้านการขนส่งแบบครบวงจร

“ในช่วงแรกเรามีความคิดว่า แอปพลิเคชัน เหล่านี้จะสามารถสร้างเงินให้เราได้อย่างไรบ้าง เป็น โจทย์ที่ผมค่อนข้างคิดอยู่นาน และโชคดีที่เราได้มี โอกาสเรียนวิชา Design Thinking ได้เรียน Business Model จึงได้นำวิชาเหล่านี้มาลองคิดดูว่าสามารถ ทำอะไรได้บ้าง และด้วยความที่เราทำแอปพลิเคชันนี้ ขึ้นมา ไม่ใช่เพียงการแก้ปัญหาสำหรับผู้โดยสาร อย่างเดียว แต่เรายังคิดแก้ปัญหาให้ครอบคลุมไปถึง ผู้ประกอบการหรือบริษัทขนส่งต่าง ๆ ให้ครบวงจร”

ปัจจุบัน ViaBus ดำเนินธุรกิจในรูปแบบ B2B และเรียกตัวเองว่า End-to-End Transit Solutions คือ โซลูชันด้านการขนส่งแบบ End-to-End (ครบ วงจร) ให้บริการครอบคลุมตั้งแต่คนขับ ผู้ประกอบการ ผู้โดยสาร และให้บริการด้านระบบแก่คู่ค้าที่สนใจใช้ บริการด้านซอฟต์แวร์ ในส่วนนี้ผู้ประกอบการสามารถ นำเทคโนโลยีไปบริหารจัดการตามที่ต้องการได้ตาม ขนาดธุรกิจ

ViaBus ไม่ได้ทำเฉพาะระบบส่งสาธารณะ สำหรับรถเมล์อย่างเดียว แต่ยังขยายเครือข่าย ครอบคลุมไปถึงการเดินทางสาธารณะประเภทอื่น ๆ เช่น รถมินิบัส รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟ เรือด่วน เรือข้ามฟาก อย่างเช่นรถ Pop ของจุฬาฯ ที่ สามารถใช้ได้ทุกคน แต่จะมีคนพื้นที่เท่านั้นท่ีรู้ หรือ จะใช้ภายในองค์กร ซ่ึงเรามีให้องค์กรไปใช้ในโรงงาน สถานท่ีท่องเท่ียว ห้าง โรงพยาบาลต่าง ๆ ที่มีรถ ให้บริการ ซึ่งเขาสามารถให้ลูกค้าดูได้ และสามารถ บริหารจัดการได้ รวมถึง Solutions Smart Driver บริการที่คนขับสามารถบริหารจัดการได้เอง รวมทั้ง เรายังมีรายได้จากการสนับสนุนจากผู้ใช้งานที่อยาก สนับสนุนการพัฒนาระบบการใช้งานของแอปพลิเคชัน ให้อยู่ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ViaBus

แผนสำหรับขยายเครือข่ายปต่างประเทศ

“หากถามว่าอนาคตมีแพลนขยายเครือข่ายไปต่างประเทศไหม เป็นเรื่องที่น่าคิดมาก ๆ เนื่องจากเราไปออกบูท มีชาวต่างชาติเดินมาคุยและทักว่า ให้นำแอปฯ ไปใช้ที่ประเทศเขา ผมก็คิดในใจว่า ประเทศเขาไม่ได้เจริญอยู่แล้วหรอ เพราะ เนื่องจากเป็นประเทศที่อยู่ทางฝั่งยุโรป ซึ่งเขาบอกว่าไม่มี เราจึงลองหาข้อมูลและ พบว่าบางประเทศไม่มีแอปฯ ใช้จริง ๆ มีเฉพาะบางประเทศที่มีโซลูชันคล้าย ๆ กัน”

เรามีความคิดว่า ก่อนที่เราจะออกไปในต่างประเทศ ก้าวแรกที่ ViaBus ต้อง ทำคือ พยายามจะขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ กับการ ขนส่งหลาย ๆ รูปแบบ ทั้งทางใกล้ ไกล และขนส่งข้ามจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งเราก็เริ่ม Survay แล้ว และล่าสุด ViaBus สามารถติดตามได้ทั้งรถที่เข้าออกกรุงเทพฯ ไปยังต่างจังหวัด หรือการเดินทางข้ามจังหวัด รถโดยสารต่าง ๆ ตามสนามบิน รวมถึงรถสองแถวที่เรากำลังขยายผลออกไป เราพยายามจะขยายเครือข่าย ออกไปให้มากที่สุด

คำแนะนำสำหรับรูปแบบการศึกษา ในคณะวิศวฯ จุฬาฯ

สำหรับผมอยากให้น้อง ๆ มองออกเป็น 2 ด้าน คือ การเรียน และการทำงาน เป็นเรื่องที่เราต้องทำให้ Balance เพราะช่วยสอนเราในเรื่องของการบริหารจัดการ เวลา ให้สามารถรับผิดชอบในหลาย ๆ เรื่องได้ และมองว่าการเรียนคณะวิศวฯ ช่วยสร้าง Mindset ให้แก่เราได้ มีความคิดที่เป็นตรรกะ เป็นเหตุเป็นผล รู้สึกว่า เป็น Mindset ที่เสริมสร้างขึ้นมาจากการที่เราเรียนวิชาต่าง ๆ รวมถึงพื้นฐาน หลาย ๆ วิชา และหลาย ๆ วิชาที่เราเรียนในคณะก็หาเรียนจากที่ไหนไม่ได้ เช่น Software Engineering เรียนที่ไหนก็คงไม่ดีเท่าเรียนที่คณะ ทำให้เราได้เรียนรู้ ในด้านลึก อย่างสาขาผมจะได้เรียนในเรื่อง Management และหากเราต้องทำ Project จะมีการบริหารอย่างไร ที่สำคัญในแต่ละวิชาจะมีการพาไปดูงานในแต่ละที่ ซึ่งเป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ ๆ ผมรู้สึกว่าหากเราเรียนเองคงไม่มีโอกาสได้ไปดูงาน แบบนั้น สำหรับผมมองว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ

ส่วนเรื่องกิจกรรมเป็นเรื่องที่น่าทำมาก ๆ เช่นกัน เพราะคณะวิศวฯ เป็นสังคม ที่ดีและ Friendly ไม่ได้มีการแข่งขันอะไรกันมากขนาดนั้นในมุมมองของผม แต่ เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันมากกว่า อยู่กันแบบพี่น้อง ผลัดกันให้ความช่วยเหลือ ปัจจุบันเรายังอยากกลับมาอยู่ตรงนี้ และคอยให้ความช่วยเหลือเสมอ

การ Balance เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะในขณะที่เราทำงานก็จะไม่ได้มีเฉพาะ เรื่องงานอย่างเดียว ต้องมีเรื่องกิจกรรมอื่น ๆ ด้วย และในขณะที่เราเรียนที่วิศวฯ จุฬาฯ เราก็ได้ทำกิจกรรมควบคู่ไปกับการเรียนด้วยเหมือนกัน ทำให้เราได้ฝึกฝน ทำให้ไม่ลำบากจนเกินไปเวลาที่เราได้ออกไปทำงาน ไม่ต้องปรับตัวมาก สำหรับ เรื่องการบริหารจัดการเวลาต้องขึ้นอยู่กับแต่ละคน ต้อง Balance ให้เข้ากับสไตล์ การใช้ชีวิตของตัวเอง


ที่มา: อินทาเนีย ฉบับที่ 3 ปี พ.ศ. 2566 คอลัมน์ สัมภาษณ์พิเศษ โดย กองบรรณาธิการ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save