SOUL GOAL

โลกยุค BANI นั้นน่ากลัวยิ่งกว่าโลกยุค VUCA มากนัก เพราะเป็นโลกที่เต็มไปด้วยความเปราะบางและพร้อมจะแตกเป็นเสี่ยงๆ ได้ทุกขณะ ทั้งไม่เป็นเส้นตรงให้สามารถวิเคราะห์หรือดูแนวโน้มกันได้ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงปัจจุยที่อยู่เบื้องหลังที่ยาก จนถึงขั้นอาจพูดได้ว่า ไม่สามารถทำความเข้าใจได้ ที่สำคัญคือผลของมันทำให้เกิดความวิตกจริต ครอบงำไปทุกหัวระแหง

ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดก็คือโควิด-19 ที่อยู่ดี ๆ ก็โผล่ มาแบบไม่สามารถหาต้นตอได้ สร้างความวิตกจนบาง ช่วงเวลาคนป่วยเพราะเครียดมากกว่าคนป่วยเพราะ ไวรัส ขณะที่ทุกระบบเปราะบางก็พังทลายลงมาไม่เพียง เป็นศูนย์ แต่ติดลบแบบทันที ไม่ใช่การผันผวนวูบวาบ

ซึ่งหากจะมุ่งพุ่งไปที่เรื่องของการทำธุรกิจการงาน ทางรอดในยุค BANI ก็คือ SDGs หรือ Sustainable Development Goals 17 ประเด็นของสหประชาชาติ ที่เราเคยคุยกันไปแล้วนั่นเอง เพราะ SDGs นี้ตั้งอยู่บน ฐานของความจริงทำให้เป็นหลักที่แข็งแกร่งพอจะทำให้ ธุรกิจที่อยู่บนพื้นที่นี้มีความมั่นคงพอจะต่อกรกับ BANI ได้ อย่างไรก็ตาม แม้เราจะมีแนวทางให้เดินทางกันแล้ว แต่การผจญภัยจริงไม่ได้ราบรื่นเช่นคิด เพราะมีอุปสรรค ระหว่างทางมากมายที่ทำให้เราอาจไปไม่ถึงเป้าหมาย

เช่นเดียวกับตัวฐานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเอง ที่แม้องค์กรทั้งรัฐ เอกชนและประชาสังคมล้วนตอบรับ แต่ผลที่ออกมานั้นยังไม่ลุล่วงตามที่คาดจนต้องมีการ ทำการศึกษาหาสาเหตุกันใน ค.ศ. 2020 หรือ 5 ปีหลัง จากการเริ่มใช้ IDGs จนในที่สุดเราจึงทราบสาเหตุหลัก ว่า เกิดจากตัวผู้นำองค์กรหรือบุคลากร ประชากรทุกคน นั่นเองที่ยังขาดทักษะที่จำเป็นต่อความยั่งยืนนี้

ค.ศ. 2021 โลกจึงได้รู้จักกับชุดทักษะสำคัญที่นักวิชาการด้านความยั่งยืน ทำการศึกษาและสรุปออกมาแล้วว่า หากใครที่มีทักษะเหล่านี้ย่อมไม่ยากเลยที่จะนำพาองค์กรหรือชีวิตของตนสู่ความสำเร็จได้

ทักษะนี้เรียกว่า IDGs Inner Development Goals ที่มี 5 มิติ 23 ทักษะ คือ

  • Being 5 ทักษะ
  • Thinking 5 ทักษะ
  • Relating 4 ทักษะ
  • Collaborating 5 ทักษะ
  • Acting 4 ทักษะ

ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่า 5 มิตินี้เป็นการไล่เรียงความตื้นลึกของมนุษย์เราคือ เริ่มจากแก่นของคนคือความเป็นตัวตนว่าต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง จากนั้น ถึงมาที่มิติของความคิดว่า ทักษะการคิดใดบ้างที่สำคัญในโลกยุคนี้ ก่อนจะต่อ ออกมาเป็นความสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่น ๆ ว่าต้องใช้ทักษะใดให้ความสัมพันธ์ นั้นแนบแน่นและก่อประโยชน์ ถัดจากความสัมพันธ์ก็คือการรวมกลุ่ม ความ ร่วมมือกันว่าจะต้องใช้ความสามารถด้านใดในการขับเคลื่อนกลุ่มนั้นให้เดินต่อ มาที่มิติสุดท้ายคือการลงมือทำได้

ด้วยความเป็นระบบเช่นนี้ IDGs จึงเป็นเรื่องที่เราควรให้ความสนใจ เพราะ จะได้ไม่ต้องฝึกทักษะสะเปะสะปะ ที่แม้ทักษะนั้นจะดีมีประโยชน์ แต่มันอาจ ไม่ส่งต่อให้เกิดผลต่อเนื่องตามมาจนบรรลุเป้าหมายได้

เมื่อรู้ความสำคัญและความน่าสนใจแล้ว วารสารอินทาเนียฉบับนี้ขอนำทั้ง 23 ทักษะมาย่นย่อให้ฟังเป็นเบื้องต้นก่อนนะครับ ก่อนฉบับต่อ ๆ ไปจะเริ่มไล่ ลงลึกแต่ละทักษะในแต่ละมิติที่จะนำมาฝาก พร้อมแนวทางในการพัฒนาทักษะ นั้น ๆ ด้วย

อ่อ..มีเคล็ดให้ว่า ระหว่างอ่านก็ค่อย ๆ จำลอง คุณสมบัตินั้นขึ้นในตน จะทำให้เห็นความต่อเนื่องที่ ส่งต่อกันและกัน เริ่มจาก มิติตัวตนที่มี 5 ทักษะ คือ

  • Inner Compass หรือ เข็มทิศภายใน ที่มีความชัดเจนและเป็นเป้าหมายของตัวเองจริง ๆ ท่ี จะทำให้มีความมั่นคงในการใช้นำทางชีวิตได้จริง
  • Integrity & Authenticity หรือ ความเที่ยงธรรมและความเป็นเนื้อแท้ของตัวเอง ไม่ได้ เป็นตัวตนที่หล่อหลอมมาจากค่านิยมหรือความ ต้องการจากภายนอกที่ปัจจุบันมีคนเป็นจำนวนมาก ไม่ได้เป็นเนื้อแท้ของตนเอง
  • Openness and Learning Mindset หรือ ความเปิดกว้างและความรักในการเรียนรู้ เป็น ทักษะตรงข้ามกับ Fix Mindset ที่แข็งจนตรึงให้ ความรู้ไม่สามารถพัฒนาต่อได้ โดยเฉพาะในยุคท่ี ทุกสิ่งแปรเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว รวมถึงตัวความรู้เอง ก็เปลี่ยนเร็วมากด้วย
  • Self-Awareness หรือ การตระหนักรู้ในตนเอง หรือจะเรียกว่าความรู้สึกตัว ไม่หลงไปกับ ความคิดที่มาล่อหลอกก็ได้
  • Presence หรือ การอยู่กับปัจจุบัน ไม่ติดข้องอยู่แต่กับอดีต หรือไม่ฟุ้งซ่านเลยไปในอนาคต จนหลุดออกจากความจริงตรงหน้า

ถัดจากนั้นจะเข้าสู่ ทักษะที่เกี่ยวข้องกับความคิดที่มี 5 ทักษะ เช่นกันคือ

  • Critical Thinking หรือ การคิดเชิงวิพากษ์ หมายถึงการแจกแจง แยกองค์ประกอบของเรื่อง นั้น ๆ เป็นหน่วย ไม่ได้รู้แต่เพียงภาพรวม
  • Complexity Thinking หรือ การคิดเชิงสลับซับซ้อน คือความสามารถในการคิดเชื่อมโยง เหตุปัจจัยของแต่ละองค์ประกอบนั้นเข้าด้วยกันว่า มีสัมพันธ์กันเช่นไร
  • Perspective Skill หรือ มุมมองที่หลากหลาย คือการเคลื่อนมุมมองของเราที่มีต่อเหตุการณ์นั้น อย่างรอบด้าน จนเห็นในทุกแง่มุม
  • Complexity Thinking หรือ การคิดเชิงสลับซับซ้อน คือความสามารถในการคิดเชื่อมโยง เหตุปัจจัยของแต่ละองค์ประกอบนั้นเข้าด้วยกันว่า มีสัมพันธ์กันเช่นไร
  • Perspective Skill หรือ มุมมองที่หลากหลาย คือการเคลื่อนมุมมองของเราที่มีต่อเหตุการณ์นั้น อย่างรอบด้าน จนเห็นในทุกแง่มุม
  • Sense-Making หรือ การคิดให้เห็นสาระที่ปรากฏอยู่ คือการเห็นความเป็นสาระหรือนัยใน เหตุการณ์นั้น
  • Long term Orientation & Visioning หรือ การมีวิสัยทัศน์สามารถมองการณ์ไกลได้ เป็น ทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งในการใช้เดินทาง

จากนั้นคือ มิติของความสัมพันธ์ที่มี 4 ทักษะ สำคัญคือ

  • Appreciating หรือ การชื่นชมกับผู้อื่น คือ การมองในมุมบวกตามความเป็นจริง ไม่ใช่การเยินยอ เพื่อหวังผล
  • Connecting หรือ การรักษาการเชื่อมต่อ ที่เป็นทักษะในการบริหารความสัมพันธ์ รวมไปถึง การหาสายสัมพันธ์ใหม่ ๆ
  • Humulity หรือ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ที่ทำให้การเข้าถึงง่าย ไม่ก่อเกิดความต้านจากการรู้สึก หยิ่ง จองหอง
  • Compassion & Empathy หรือ ความเห็นอกเห็นใจและความเข้าใจที่สำคัญมาก โดยเฉพาะ เป็นปัจจัยในการเกิดความคิดสร้างสรรค์

ขณะที่ มิติของการร่วมมือจะมี 5 ทักษะ คือ

  • Communication Skill หรือ ทักษะการสื่อสาร ไม่เพียงแต่การพูด แต่รวมถึงการส่ือใน รูปแบบต่าง ๆ รวมถึงภาษากายด้วย
  • Co Creation หรือ การร่วมสร้างสรรค์ และเมื่อรวมกลุ่มกันแล้วต้องมีทักษะนี้เพื่อให้การรวมนั้น สร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ออกมา มิใช่เพียงรวมกัน เฉย ๆ
  • Trust หรือ ความเชื่อในกันและกัน ต้องรู้จักพิจารณาและเลือกที่จะวางใจในหมู่ ทำให้เกิดพลัง ความสามัคคี ไม่คอยระแวงกันจนแตกสลาย
  • Mobilization หรือ การขับเคลื่อนงานออกมาเป็นรูปธรรม ทักษะสุดท้ายของมิติการ รวมกลุ่มที่จะส่งต่อไปสู่การกระทำ ไม่เพียงแต่รวม แล้วแลกเปลี่ยนกัน

สุดท้ายคือ มิติของการกระทำที่มี 4 ทักษะ คือ

  • Courage หรือ ความกล้าหาญที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่เผลอไปใช้วาทกรรมประมาณ ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์
  • Creation หรือ ความคิดสร้างสรรค์ในงานที่จะทำนั้น เป็นทักษะที่ต่อมาจากความกล้าที่จะ ตัดสินใจลงมือทำ แล้วถึงจะส่งต่อไปคิดพัฒนา
  • Optimist หรือ การมองในด้านบวกให้มกำลังใจ เพราะสังคมทุกวันนี้ใช้ความเกลียดในการ ขับเคลื่อนไปตามวิวัฒนาการของสมองและกายภาพ จนทำให้คนมักชอบมองในแง่ร้าย ซึ่งมีการนำเรื่อง ร้าย ๆ มาสู่ตน
  • Perseverance หรือ ความอดทนรอคอยผลสำเร็จได้ ทักษะนี้คือการฝึกให้รู้เท่าทันเหตุปัจจัย ที่คอยมายั่วแหย่ให้เราหลุดจากทางที่ควรเดินไปสู่วิถี มักง่าย

ที่มา: อินทาเนีย ฉบับที่ 3 ปี พ.ศ. 2566 คอลัมน์ ข้อคิดจากนิสิตเก่า โดย กองบรรณาธิการ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save