เรื่องเหนียว ๆเกี่ยวกับ “นํ้ามัน” ตอน โลกก่อนและหลังยุคน้ำมัน

เรื่องเหนียว ๆ เกี่ยวกับ “นํ้ามัน” ตอน โลกก่อนและหลังยุคน้ำมัน


ในอดีตไม่มีประเทศอิรัก!

เพราะที่ตั้งของประเทศอิรักในปัจจุบันเดิมเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนจักรวรรดิ ออตโตมาน (Ottoman Empire) ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ตุรกี และดินแดนแถบนี้ตกอยู่ ในการปกครองของอังกฤษในยุคล่าอาณานิคม

เรื่องเหนียว ๆเกี่ยวกับ นํ้ามัน

ประเทศที่เรียกว่าอิรักเพิ่งจะได้รับการก่อตั้งและเป็นอิสระจากการปกครอง ของอังกฤษใน ค.ศ. 1932 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 1932 โดยจัดตั้งเป็น ราชอาณาจักร (Kingdom) คือ มีกษัตริย์ปกครอง ส่วนสภาพการเป็นสาธารณะรัฐ คือ “Republic” เพิ่งจะประกาศเมื่อ ค.ศ. 1958

แต่แท้ที่จริงแล้วประเทศอิรักถูกปกครองโดยพวกทหารกลุ่มต่าง ๆ มาโดยตลอด ตั้งแต่ตั้งประเทศมาแต่ต้นจนถึงล่าสุด ซัดดัม ฮุสเซน ที่เพิ่งสิ้นอำนาจไปเมื่อเร็ว ๆ นี้

การล่มสลายของอิรักเนื่องจาก ซัดดัม ฮุสเซน เริ่มขึ้นเมื่ออิรักเริ่มมีข้อพิพาทเรื่อง เขตแดนกับประเทศอิหร่านจนทำให้เกิดสงคราม 8 ปี (ค.ศ. 1980-1988) ระหว่างอิรัก กับอิหร่าน

ต่อมาในเดือนสิงหาคม 1990 ซัดดัม ฮุสเซน สั่งกองทัพบุกคูเวต ไม่รู้เกิดบ้าอะไร ขึ้นมา อาจจะถูกคูเวตทวงหนี้ก็เลยขอเทกโอเวอร์ประเทศเจ้าหนี้เสียเลย และอีกอย่าง อังกฤษก็วาดแผนที่อิรักไว้อย่างน่าเกลียดมาก เพราะดูไปคูเวตก็คล้ายกับลูกกระเดือก ของอิรัก การเข้าออกทะเลก็ต้องผ่านคูเวตไปสู่ปากอ่าว แต่อังกฤษลากเส้นอ้อมตัดออก ตั้งเป็นประเทศคูเวตอีกหนึ่งประเทศ จนอิรักเหลือทางออกทะเลนิดเดียว เพราะว่าตรงที่ เป็นประเทศคูเวตมีน้ำมันมหาศาล เหมือนกับที่อังกฤษวาดแผนที่ประเทศบรูไน แยกออก จากมาเลเซีย เพราะตรงนั้นมีน้ำมัน

อย่าลืมว่าน้ำมันก็เป็นของเหลวเหมือนน้ำ แม้ว่าจะอยู่ในชั้นของหินใต้ดิน มันก็ค่อย ๆ ไหลซึมจากที่สูงไปสู่ที่ต่ำกว่าได้ ถ้าดูจากแผนที่ คูเวตอยู่ปากแม่น้ำ ซึ่งพื้นที่โดยทั่วไป ก็คงต้องต่ำกว่าประเทศอิรัก ท่านว่าน้ำมันจะไหลไปทางไหน?

การที่ ซัดดัม ฮุสเซน บุกคูเวต หรือเป็นเพราะว่า ซัดดัม ฮุสเซน อาจจะเพิ่งนึกขึ้นได้ ว่าตัวเองโง่มาก เป็น “Stupid Ass” ที่ดันไปกู้เงินคูเวตมารบกับอิหร่านโดยที่คูเวตและ อเมริกาก็คงจะเชียร์อิรักกันใหญ่ ฝ่ายหนึ่งขายน้ำมัน อีกฝ่ายขายอาวุธ อย่าลืมว่าตอนนั้น อิหร่านเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของอเมริกา เพราะ อะยาโตเลาะห์ โคไมนี เคยจับชาว อเมริกันเป็นตัวประกันในกรุงเตหะรานตั้งนาน ซัดดัม ฮุสเซน เองมัวแต่รบอยู่ไม่มีเวลามา ขายน้ำมัน และบ่อน้ำมันของอิรักก็ถูกอิหร่านถล่มจนผลิตน้ำมันไม่ได้ ส่วนคูเวตก็ปั๊มเอา น้ำมันขึ้นมาขายเอา ๆ จนร่ำรวย

อาวุธของ ซัดดัม ฮุสเซน ก็เอามาจากอเมริกาโดยการ ซื้อเชื่อ คงจะเซ็นเอาไว้ก่อนโดยกู้จากคูเวตมาจ่ายให้อเมริกา โดยที่ตนเองคงจะหวังว่าจะใช้เงินจากการขายน้ำมันมาจ่าย ค่าอาวุธและคูเวตคงจะช่วยจ่ายค่าอาวุธให้บางส่วน เนื่องจาก คูเวตได้รับประโยชน์จากสงคราม เพราะอิหร่านเองก็คงจ้อง บ่อน้ำมันของคูเวตตาเป็นมันอยู่เหมือนกัน

ท้ายที่สุด ซัดดัม ฮุสเซน คงจะฉุนคูเวตที่ไม่ยอมลดหนี้ ค่าอาวุธให้ แถมยังคงจะมาเรียกดอกเบี้ยอีก ซึ่งอิสลามที่ดี เขาจะไม่ทำกัน เพราะการเรียกเก็บดอกเบี้ยเป็นบาปอย่างหนึ่ง ก็เลยพาลหาเรื่องยึดคูเวตเสียเลย

คล้าย ๆ กับว่าได้รับสัญญาณไฟเขียวจากอเมริกา เพราะเหมือนกับว่า ซัดดัม ฮุสเซน คงจะทดสอบส่งสัญญาณ ให้แก่ทูตอเมริกาประจำอิรักและคูเวต แล้วเห็นว่าทั้งคู่ไม่ว่า อะไร อาจจะตีความผิดว่าทางวอชิงตันคงไม่คัดค้าน

แต่ประชาคมโลกได้ออกมาต่อต้านทันที ต่อมากองทัพ สหประชาชาติภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ได้ขับไล่ทหารของ ซัดดัม ฮุสเซน ออกจากคูเวตในสงคราม อ่าวครั้งแรกเมื่อมกราคม-กุมภาพันธ์ 1991

หลังจากสงครามอ่าวครั้งแรก คณะมนตรีความมั่นคง ของสหประชาชาติได้มีมติให้อิรักทำลายอาวุธที่มีอานุภาพ ทำลายล้างสูง ที่เรียกว่า Weapons of Mass Destruction ซึ่งรวมถึงพวกจรวดพิสัยไกลอย่างเช่นสกั๊ดที่อิรักยิงถล่มใส่ อิสราเอลในช่วงสงครามอ่าวครั้งแรก รวมทั้งต้องยอมให้ ผู้ตรวจสอบอาวุธของสหประชาชาติเข้าไปตรวจสอบการ ทำลายอาวุธของอิรัก

แต่การที่อิรักฝ่าฝืนมติการทำลายอาวุธทำลายล้างสูง ของสหประชาชาติมาโดยตลอด 12 ปีภายหลังสงครามอ่าว จนเป็นข้ออ้างให้อเมริกาและอังกฤษร่วมมือกันบุกเข้าไปอิรัก ในสงครามอ่าวครั้งหลังที่เพิ่งจบลงไป และขับไล่ “อาณา ทรราช” (Regime) ของ ซัดดัม ฮุสเซน พ้นจากอำนาจ และ ขณะนี้กองทัพคู่หูพันธมิตรอังกฤษกับอเมริกาอยู่ระหว่าง การฟื้นฟูและจัดตั้งรัฐบาลใหม่เพื่อมาปกครองอิรักต่อไป

เศรษฐกิจของอิรักอยู่บนฐานของการส่งออกน้ำมัน ซึ่ง เป็นแหล่งรายได้ของเงินตราต่างประเทศกว่าร้อยละ 95

สงครามกับอิหร่านที่ยาวนานถึง 8 ปีในช่วงทศวรรษ 1980 ได้ทำให้เกิดปัญหาทางการเงินแก่ประเทศอย่าง ใหญ่หลวง นอกจากแหล่งผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออกจะถูก ทำลายจากสงคราม จนประเทศที่เคยผลิตและมีน้ำมันใช้ อย่างเหลือเฟือราวกับน้ำประปา ต้องใช้มาตรการประหยัด น้ำมันและเข้าคิวปันส่วนน้ำมันกัน

การขาดแคลนเงินตราต่างประเทศจากการขายน้ำมัน ทำให้ประเทศต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาใช้ซื้ออาวุธในการทำ สงคราม ทำให้หนี้ของประเทศพอกสูงขึ้น จนในที่สุดต้อง ปรับโครงสร้างหนี้โดยการยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไป ผลของสงครามทำให้ประเทศชาติเสียหายถึงกว่าหนึ่งแสน ล้านเหรียญสหรัฐฯ

แม้หลังสงครามสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1988 และอิรักเริ่ม บูรณะซ่อมแซมแหล่งผลิตน้ำมันและวางท่อส่งน้ำมันใหม่ ทำให้การส่งออกน้ำมันเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แต่การบุกคูเวต ใน ค.ศ. 1990 ก็เป็นข้อผิดพลาดอย่างมหันต์ประการต่อมาของ ซัดดัม ฮุสเซน ถัดจากการทำสงครามกับอิหร่านหลังจากสงครามอ่าวครั้งแรก อิรัก ก็ถูกแซงชั่นโดยสหประชาชาติ คือ การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ โดยที่ ประเทศตะวันตกไม่มีใครยอมติดต่อค้าขายด้วย ขณะที่ความเสียหายจาก สงครามอ่าวครั้งแรกนั้นก็ทำให้เศรษฐกิจของประเทศถดถอยลง นอกจากนี้ ทาง ซัดดัม ฮุสเซน ยังคงใช้นโยบายที่แข็งกร้าว ทำให้เงินทองที่ควรถูกใช้ ฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศยังคงถูกใช้จ่ายให้แก่ทางการทหารและการรักษา ความมั่นคงภายในในสัดส่วนที่สูง เศรษฐกิจของประเทศจึงยิ่งย่ำแย่ลงไปอีก และประชาชนเดือดร้อนมาก

ทางสหประชาชาติจึงยอมให้อิรักขายน้ำมันบางส่วนเพื่อแลกกับอาหาร และยา เพื่อเหตุผลทางมนุษยธรรม ตั้งแต่ ค.ศ. 1996 เป็นต้นมา ซึ่งก็ได้ช่วย บรรเทาความทุกข์ยากของประชาชนอิรักได้บ้าง

แม้ว่าหลังจาก ค.ศ. 1999 เป็นต้นมาทางสหประชาชาติจะยอมให้อิรัก ขายน้ำมันได้มากขึ้นตามความต้องการทางด้านอาหารและยา และด้าน อื่น ๆ ทางมนุษยธรรม แต่เงินรายได้ค่าน้ำมันของอิรักก็ถูกหักไปจำนวน ถึง 28% เพื่อใช้หนี้เป็นค่าปฏิกรรมสงครามและค่าใช้จ่ายด้านธุรการของ สหประชาชาติในการควบคุมดูแลการปฏิบัติตามมติของสหประชาชาติ ทำให้ เงินที่เหลือไม่เพียงพอแก่การฟื้นฟูเศรษฐกิจของอิรัก

การล่มสลายของอิรัก ถ้าถามคนทั่วไปถึงสาเหตุก็คงจะตอบว่าเป็น ความบ้าระห่ำของ ซัดดัม ฮุสเซน

แต่ถ้าวิเคราะห์ให้ลึกลงไป สาเหตุหนึ่งก็เนื่องมาจากอิรักมีข้อพิพาท เรื่องเขตแดนกับประเทศอิหร่านจนบานปลายเป็นสงคราม 8 ปีระหว่างอิรัก กับอิหร่านในช่วง ค.ศ. 1980-1988

ถ้าจะถามว่าทำไมอิรักจึงมีข้อพิพาทเรื่องเขตแดนกับประเทศอิหร่าน? คำถามนี้ก็ออกจะคุ้น ๆ เพราะแผนที่ของอิรักก็ถูกเขียนให้โดยชาวอังกฤษ

คนที่วาดแผนที่ก็อยู่ในกรุงลอนดอนและไม่เคยออกไปดูด้วยซ้ำ ว่าเส้นที่ลากผ่านไปบนแผนที่นั้นผ่านหมู่บ้านอะไรบ้าง คนที่อยู่ภายใน ภายนอกและระหว่างเส้นของแผนที่เป็นใครและเชื้อชาติอะไร นับถือศาสนา อะไร ทำมาหากินอย่างไร ทำไมไปลากเส้นแบ่งเขาที่ตรงนั้น

ประเทศไทยเองก็มีปัญหาด้านเขตแดนกันประเทศเพื่อนบ้านเนือง ๆ ทั้งลาว เขมร พม่า และมาเลเชีย ยกตัวอย่างเช่น กรณีเขาพระวิหาร จนต้อง ขึ้นศาลโลกกับเขมร และการกระทบกระทั่งกับลาวเรื่องเนินเขาชายแดน และเกาะแก่งในแม่น้ำโขง

เพราะแผนที่ประเทศไทยก็ถูกวาดโดยชาวอังกฤษ (และฝรั่งเศส) เช่นเดียวกัน!


ที่มา: อินทาเนีย ฉบับที่ 3 ปี พ.ศ. 2566 คอลัมน์ เก็บมาฝาก โดย ว่าที่ร้อยตรีสมชาย วสันตวิสุทธิ์ วศ.17


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save